วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

714. ต่อจาก Post ที่ผ่านมา คำว่า ดื่มแบบมีความเสี่ยง (Harardous drinking), ดื่มแบบอันตราย (harmful drinking) และ ภาวะติดสุรา (alcohol dependence) มีความหมายหรือคำจำกัดความว่าอย่างไร

ต่อจาก Post ที่ผ่านมา คำว่า ดื่มแบบมีความเสี่ยง (Harardous drinking), ดื่มแบบอันตราย (harmful drinking) และ ภาวะติดสุรา (alcohol dependence) มีความหมายหรือคำจำกัดความว่าอย่างไร

การดื่มแบบมีความเสี่ยง (Hazardousdrinking) หมายถึงลักษณะการดื่มสุราที่เพิ่มความเสี่ยงต่อผลเสียหายตามมาทั้งต่อตัวผู้ดื่มเองหรือผู้อื่นพฤติกรรมการดื่มแบบเสี่ยงนี้ถือว่ามีความสำคัญในเชิงสาธารณสุข แม้ว่าขณะนี้ผู้ดื่มจะยังไม่เกิดความเจ็บป่วยใดๆ ก็ตาม แม้ว่าแนวคิดนี้จะไม่รวมอยู่ในเกณฑ์วินิจฉัยของ ICD-10 แต่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นลักษณะการดื่มที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้ประโยชน์จากการให้ความรู้ถึงการจำกัดปริมาณดื่มและอันตรายจากการดื่มมากเกินไป เปดิ โอกาสใหบุ้คลากรสุขภาพใช้มาตรการส่งเสริมป้องกัน ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล
เกณฑ์วินิจฉัยภาวะดื่มแบบอันตรายหรือ Alcohol abuse ตาม DSM-IV ระบุว่า
เป็นรูปแบบการดื่มสุราที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่ความบกพร่องหรือความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ ซึ่งแสดงออก
1.อาการ (หรือมากกว่า) ในเวลาใดก็ตาม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา1. มีการดื่มเป็นประจำจนทำให้ไม่สามารถทำงานสำคัญที่จำเป็น การศึกษาหรืองานบ้านได้เช่น ขาดงานจากการดื่ม ถูกพักหรือให้ออกจากการศึกษา ละเลยการดูแลบุตรหรืองานบ้าน
2. มีการดื่มเป็นประจำในสถานการณ์ที่อาจก่ออันตรายต่อร่างกาย เช่น ขับรถยนต์หรือใช้
เครื่องจักรขณะอยู่ในสภาพไม่พร้อมจากก
3. มีปัญหาทางกฎหมายอันเกิดจากการดื่มอยู่เป็นประจำ เช่น ถูกจับกุมเนื่องจากพฤติกรรม
เมาสุรา
4. คงมีการดื่มอยู่แม้จะก่อให้เกิด หรือกระตุ้นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาความสัมพันธ์
ระหว่งงบุคคลขึ้นอยู่ตลอดหรือบ่อยๆ เช่น ทะเลาะกับคู่สมรส หรือมีการทำร้ายร่างกายกันการดื่ม
เกณฑ์วินิจฉัยภาวะติดสุราตาม DSM-IV ระบุว่า
เป็นรูปแบบการดื่มสุราที่ไม่เหมาะสม นำไปสู่ความบกพร่องหรือความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ ซึ่งแสดงออก 3 อาการ(หรือมากกว่า) ในเวลาใดก็ตาม ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
1. มีการดื้อยา ซึ่งมีนิยามอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
a) มีความต้องการดื่มเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อให้เกิด intoxication หรือผลอื่นที่ต้องการ
b) ได้รับผลจากการดื่มลดลงอย่างมากหากยังคงดื่มเท่าเดิม
2. มีอาการขาดยา ซึ่งมีนิยามอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
a) มีอาการขาดสุรา (อาการถอนพิษสุรา)
b) การดื่มสุรา (หรือสารใกล้เคียง) สามารถลดหรือกำจัดอาการขาดสุราได้
3. มีการดื่มสุราในปริมาณมาก หรือเป็นเวลายาวนานกว่าที่ตั้งใจ
4. มีความต้องการดื่มอยู่ตลอด หรือไม่สามารถหยุดหรือควบคุมการดื่มได้
5. ใช้เวลาอย่างมากในการกระทำเพื่อหาสุรามาดื่ม ในการดื่มหรือในการฟื้นจากการเมาสุรา
6. ต้องงดหรือลดการเข้าสังคม การงานหรือการหย่อนใจอื่นๆ เนื่องจากการดื่ม
7. คงยังดื่มอยู่ แม้จะทราบว่ามีโอกาสก่อหรือกระตุ้นปัญหาทางร่างกายหรือจิตที่มีอยู่แล้วให้เกิดขึ้น เช่นยังคงดื่มสุราแม้จะทราบว่าสุราจะทำให้แผลในกระเพาะแย่ลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น