วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

798. Isolated systolic hypertension

ผู้ป่วยหญิง 79 ปีมาตรวจด้วยปวดเอว แต่พบว่า BP 180/86 mmHg. และข้อมูลจากสถานีอนามัย BP ก็ใกล้เคียงกัน ตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติอื่นๆ ไม่มีโรคประจำตัว จะให้การดูแลรักษาอย่างไรดีครับ (รวมถึงการเลือกใช้ยา)


Isolated systolic hypertension หมายถึงระดับความดันโลหิตตัวบน 140 mmHg หรือมากกว่า แต่ระดับความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 90 mmHg สำหรับ isolated systolic hypertension ก็แบ่งระดับความรุนแรงเหมือนกันกับในความดันโลหิตสูงทั่วไปแต่ใช้แค่ SBP โดยความดันโลหิตทั้ง systolic และ diastolic ที่สูงมีผลต่อ  cardiovascular risk และบางการศึกษาพบว่า ความดัน systolic ที่สูงขึ้นมีผลมากกว่า diastolic เสียด้วยซ้ำ
-Isolated systolic hypertension มักเกิดได้ในกรณีที่มีการเพิ่มขึ้นของ cardiac output เช่น anemia, hyperthyroidism, aortic insufficiency, arteriovenous fistula และ Paget’s disease of bone แต่ส่วนใหญ่มักพบว่าเกิดจากการลดลงของความยืดหยุ่นและการยอมตามของเส้นเลือดใหญ่เนื่องจากอายุที่มากขึ้นและจากการสะสมของสารแคลเซียมและคอลลาเจนรวมทั้งการทำลายอิลาสตินของหลอดเลือด การแข็งไม่ยืดหยุ่นทำให้เพิ่มแรงสะท้อนกลับของแรงดันในหลอดเลือดแดงจากหลอดเลือดส่วนปลายดังนั้นจึงทำให้ความดันโลหิตในช่วง systolic สูงขึ้น
-การรักษา Isolated systolic hypertension ก็จะคล้ายกับความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปคือมีเป้าหมายคือให้ต่ำกว่า 140/90 mmHg ยกเว้นถ้ามี เบาหวานหรือโรคไตเรื้อรังจะมีเป้าหมายอยู่ที่ 130/80 mmHg การรักษาได้แก่การประเมินความเสี่ยงทางหลอดเลือดและหัวใจ การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและการใช้ยา โดยมีแนวทางดังแผนภาพด้านล่าง

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น