วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1,171. Poststreptococcal glomerulonephritis(acute)

หญิง 23 ปี บวมทั่วทั้งตัว ปัสสาวะออกน้อย 4 วัน ไม่มีไข้ เมื่อประมาณ 10 วันก่อนเคยมีไข้ ไอ เจ็บคอ ซื้อยาปฎิชีวนะมารับประทาน อาการดีแล้ว
ตรวจร่างกาย ไม่มีไข้, BP 180/110, ไม่หอบเหนื่อย, บวมปานกลางทั่วทั้งตัว, ไม่ซีด ไม่เหลือง บวมเล็กน้อย, หัวใจ+ปอด+ท้อง ไม่พบความผิดปกติ, เคาะ CVA ไม่เจ็บ, ขาบวมกดบุ๋ม 2+
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ UA: albumin 4+, Dysmorphic RBC 10-20, WBC 5-10, Fine granular cast 3-4
Cr 0.8, Serum albumin 2.97, Chol. 210
คิดถึงอะไรมากที่สุด?
จะส่งตรวจอะไรเพื่อยืนยันการวินิจฉัย?
จะให้การรักษาอย่างไร?

คิดถึง Poststreptococcal glomerulonephritis(acute) มักพบในช่วงอายุ 2-14 ปี อายุที่มากกว่า 40 ปีพบได้ประมาณ 10% มักเกิด 1-3 สัปดาห์หลังจากมีการติดเชื้อที่ในคอ และ 2-6 สัปดาห์หลังจากมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง อาจพบลักษณะของปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นหนอง บวม มีความดันโลหิตสูง ปัสสาวะออกน้อย ไตวาย มีred blood cell casts พบว่า 5% ในเด็กและ 20% ในผู้ใหญ่จะมีโปรตีนในปัสสาวะอยู๋ในระดับ nephrotic range

โดยในสัปดาห์แรกจะพบว่า 90% ของผู้ป่วยมีการลดลงของ CH50, ระดับ C3 ลดลงร่วมกับมีระดับ C4 ปกติ, Rheumatoid factor ให้ผลบวก 30–40%, Cryoglobulins และ circulating immune complexes พบได้ 60–70%, ANCA ต่อ myeloperoxidase พบได้ 10%, การเพาะเชื้อ Streptococcal จะสามารถพบเชื้อได้ 10–70%, มีการเพิ่มขึ้นของ ASO 30%, anti-DNAase พบได้ 70%, antihyaluronidase antibodies พบได้ 40% โดยการวินิจฉัยมักไม่มีความจำเป็นต้องทำการตัดชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจ

ยาปฎิชีวนะควรให้ในผู้ป่วยทุกรายและผู้ทีอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย ยากดภูมิคุ้มกันไม่มีบทบาทในการใช้ แม้ว่าโรคจะเป็นมากขึ้น รวมทั้งต้องให้การรักษาแบบประคับประคองโดยการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะบวม บางครั้งอาจต้องใช้การฟอกไต ส่วนการเกิดซ้ำพบน้อยมากแม้ว่าจะมีการติดเชื้อ streptococcal ซ้ำ การพยากรณ์โรคดี การมีไตวายอย่างถาวรพบได้น้อย1–3% และพบได้น้อยในเด็ก การเสียชีวิตเกิดน้อยมากในเด็กแต่สามารถเกิดได้ในผู้ใหญ่ การหายของปัสสาวะเป็นเลือดและการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะใช้เวลาในช่วง 3–6 สัปดาห์

ผลการติดตามผู้ป่วย เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือน: ยุบบวม น้ำตัวลดลงจาก 80 กก. เหลือ 7 กก. UA: Albumin: trace, WBC: 0, Ghost RBC 5-10, Serum albumin 3.73


Ref: Harrison's Principles of Internal Medicine 17 th Edition

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ12/6/54 23:20

    Imp: APSGN
    Ix: CBC, ESR ,CRP, ASo titer ,anti-DNAse B
    protein urine 24 hr สำหรับแยก nephotic syndrome
    tx : 1.eradicate : Pen V
    2. anti hypertensive drug

    ตอบลบ
  2. ...แปลกนะครับ APSGN เป็น nephritis เด่น เหมือน clinical. ผป ก็เด่น nephritis eg.edema,oliguria,HT,hematuria. ซึ่งอาการพวกนี้มาจากมี decline. ของ GFR แต่ว่าคนนี้ SCr 0.8 (ปล. ขอบคุณครับติดตามอ่านประจำ)

    ตอบลบ
  3. ขอขอบคุณที่ติดตามเป็นประจำนะครับ

    ผมลองค้นหาให้พบว่าภาวะ Acute renal failure อาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ครับ แต่ยังหาที่บอกเป็น%ไม่ได้

    อ้างอิงจากเว็บไซต์นี้ครับ
    http://pedbase.org/p/poststreptococcal-glomerulonephritis/

    ตอบลบ