วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,374. Protein restriction in chronic kidney disease

Protein restriction in chronic kidney disease

อาจจะสงสัยเรื่องการจำกัดอาหารโปรตีนในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ในหนังสือ Harrison เขียนไว้ดังนี้ครับ...
การจำกัดปริมาณอาหารโปรตีน ได้รับการสนับสนุนเพื่อลดอาการที่เกี่ยวข้องกับการมีของเสียค้างในเลือดในโรคไต(uremia) และอาจจะช่วยชลออัตราการลดลงของไตในช่วงแรกของโรคไตวายเรื้อรัง แนวคิดนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางคลินิกและการทดลองที่ว่าprotein-mediated hyperfiltration ก่อให้เกิดการทำงานลดลงอย่างต่อเนื่องของไตในรูปแบบที่หลากหลาย
มีหลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการจำกัดอาหารโปรตีนมีประสิทธิภาพในการลดการดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังโดยเฉพาะการมีโปรตีนในปัสสาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจากเบาหวาน  อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนอาหารในผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถแสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนในการลดการดำเนินของโรคในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะที่เป็นมากแล้วจากจำกัดอาหารโปรตีน ถึงอย่างไรก็ตามการจำกัดอาหารโปรตีนก็ยังได้รับคำแนะนำในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
จากแนวทางการรักษาของ Kidney Disease Outcomes Quality Initiative (KDOQI) ได้แนะนำให้อาหารโปรตีนต่อวันเท่ากับ 0.60 -0.75 กรัม/กิโลกรัม/วัน ขึ้นกับความตะหนักของผู้ป่วย โรคร่วม การมีของโปรตีนในปัสสาวะและสภาวะทางโภชนาการ และให้คำแนะนำต่อว่าควรเป็นโปรตีนที่มีค่าทางชีวภาพสูง(หรือคุณภาพสูง)อย่างน้อย 50% ของโปรตีนที่รับประทาน
ในโรคไตวายเรื้อรังระดับที่ 5 การรับประทานอาหารโปรตีนมีแนวโน้มจะลดลงมาเองและผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะการขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงาน ซึ่งในสถานะการณ์อย่างนี้ ควรได้รับโปรตีนเพิ่มถึง 0.90 กรัม/กิโลกรัม/วัน ร่วมกับเป็นโปรตีนที่มีค่าทางชีวภาพสูง
การได้พลังงานอย่างเหมาะสมมีความสำคัญในการป้องกันภาวะการขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงาน โดยแนะนำว่าควรได้ 35 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม และควรมีการติดตามค่าต่างๆ ทางด้านโภชนาการร่วมกับการให้การดูแลรักษา

เพิ่มเติม
โปรตีนที่มีค่าทางชีวภาพสูง(หรือคุณภาพสูง) คือโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ขาว เป็นต้น

Ref: Harrison 's principles of internal medicine, 18e

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น