วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1,840 Use of paralytic agents facilitates intubation outside the operating room

Journal watch
ยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท (neuromuscular blockade, NMB) ถูกใช้ใช้เป็นประจำในแผนกฉุกเฉิน แต่ไม่ได้ใช้ในสภาวะอื่น ๆ นอกห้องผ่าตัด ในการศึกษาแบบไปข้างหน้าเชิงสังเกต, ผู้วิจัยศึกษาผู้ป่วย 454 คนที่ถูกใส่ท่อช่วยหายใจแบบฉุกเฉินนอกห้องผ่าตัด (โดยไม่ได้เกิดจากภาวะหัวใจหยุดเต้น) ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง โดยรวมแล้วมีผู้ป่วยที่ได้รับยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท 287 คน (โดยได้ rocuronium 70% และ succinylcholine 30%)
ทีมงานที่ดูแลทางเดินหายใจประกอบด้วยผู้การควบคุมดูซึ่งเป็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศสาตร์ฉุกเฉิน, แพทย์ประจำบ้านวิสัญญี และนักบำบัดด้านระบบทางเดินหายใจ เป็นผู้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจโดยการใช้ propofol (70% ของผู้รับยาและ 58% ของผู้ที่ไม่ได้รับ) หรือ etomidate (23% และ 29%) โดยมีการให้ opioids หรือ midazolam 18% และ 7% ของผู้ที่ได้รับ NMB และ 8% และ 11% ของผู้ที่ไม่ได้รับตามลำดับ
การแบ่งระดับโดย Cormack-Lehane และจำนวนของความพยายามในการใส่ท่อช่วยหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญในผู้รับยา ผู้ป่วยที่ได้รับยายังมีความอัตราการขาดออกซิเจนน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (ซึ่งกำหนดโดยการมีออกซิเจน < 80% ในช่วงใส่ท่อช่วยหายใจหรือภายใน 5 นาทีแรกหลังจากนั้น (10.1% เทียบกับ 17.4%) และภาวะแทรกซ้อนน้อยลงจากการการใส่ดังกล่าว (3.1% เทียบกับ 8.3% ) ความแตกต่างเหล่านี้ยังคงอยู่หลังจากควบคุมจำนวนครั้งของความพยายามในการใส่ท่อช่วยหายใจ มุมของการใส่ laryngoscope และการใช้ยา sedatives
ในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวไว้ว่า มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าการส่ท่อช่วยหายใจด้วยยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะประสบความสำเร็จและปลอดภัยมากกว่าการใส่ท่อช่วยหายใจร่วมกับยาชักนำเพียงอย่างเดียว การตอบสนองต่อการดูแลในภาวะวิกฤตภายในโรงพยาบาลต้องรวมถึงการให้การฝึกอบรมอย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดความชำนาญในการดูแลทางเดินหายใจขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทและเทคนิคการกู้ชีพที่เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น