การพิจารณาทำ CT หรือ MRI สมองในภาวะสมองเสื่อม มีข้อแนะนำในการทำถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. อายุน้อยกว่า 60 ปี
2. มีลักษณะที่เกิดขึ้นรวดเร็ว (เช่น ในเวลา 1-2 เดือน) โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุของการเสื่อมถอยของกระบวนการรับรู้ (cognitive) หรือ การปฏิบัติหน้าที่ (function)
3. ระยะเวลาของภาวะสมองเสื่อมสั้น (น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งประวัติต้องมีความเชื่อถือได้)
4. เพิ่งมีภาวะบาดเจ็บศรีษะที่รุนแรงมาไม่นาน
5. ไม่สามารถอธิบายอาการแสดงทางระบบสมอง (เช่นอาการปวดศรีษะรุนแรงหรือชักที่เกิดขึ้นใหม่)
6. มีประวัติของมะเร็ง (โดยเฉพาะในตำแหน่งและชนิดที่สามารถกระจายไปสมองได้)
7. มีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือมีประวัติเลือดออกผิดปกติ
8. ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้หรือมีการเดินที่ผิดปกติโดยมีลักษณะไม่มั่นคงและหกล้มง่าย (gait apraxia)
ในระยะแรกของภาวะสมองเสื่อม (ซึ่งอาจพบได้ใน normal pressure hydrocephalus)
9. มีลักษณะที่ตรวจพบใหม่ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งความผิดปกติของระบบประสาทนั้นๆ ได้ (localizing sign) เช่น ภาวะอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หรือ Babinski' sign ให้ผลบวก
10. มีอาการแสดงหรือสิ่งที่บอกถึงกระบวนการรับรู้ที่ผิดปกติเช่น ความบกพร่องของการสื่อสารที่เป็นมากขึ้นเรื่อย (progressive aphasia)
11. มีการเดินที่ผิดปกติโดยเดินลักษณะไม่มั่นคงและหกล้มง่ายหรือเดินไม่มั่นคง (gait apraxia)
หมายเหตุ
-การทำ CT scan หรือ MRI brain ไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีและสารแกโดลิเนียม (gadolinium) ในทุกราย ยกเว้นในกรณีที่ตรวจแล้วพบรอยโรคที่สงสัยเนื้องอก การติดเชื้อ หรือผู้ป่วยมีประวัติมะเร็ง หากทำ CT scan แล้วพบรอยโรคที่สงสัยอาจพิจารณาทำ MRI brain เพื่อให้การวินิจฉัยชัดเจนยิ่งขึ้น ในบางกรณีแพทย์ผู้เชียวชาญอาจพิจารณาทำ MRI โดยไม่ต้องทำ CT brain ก่อน
-ภาวะสมองเสื่อมเป็นศัพท์ที่ใช้ในกรณีที่สาเหตุของสมองเสื่อมยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่เมื่อทราบสาเหตุชัดเจนแล้วเรียกว่า โรคสมองเสื่อม
Ref: http://pni.go.th/cpg/dementia-2008.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น