วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,232 Suprapubic cystostomy

พบผู้ป่วยซึ่งไม่สามารถปัสสาวะได้เองและไม่สามารถใส่สายสวนปัสสาวะได้บางครั้ง จึงทบทวนหัตถการที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยได้...
Cystostomy เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมเพื่อเปิดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจจะเรียกให้ละเอียดว่า suprapubic cystostomy หรือ suprapubic catheterization จะทำในกรณีที่ไม่สามารถใส่สายสวนเข้าทางท่อปัสสาวะตามปกติได้ด้วยสาเหตุต่างๆ, มีการบาดเจ็บ, การมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรือต้องการการผ่าตัดเปลี่ยนช่องทางขับถ่ายปัสสาวะ (urinary diversion) ในระยะยาว
โดยมี 2 วิธี
1. โดยผ่านการเปิดแผลเล็กๆ (open approach) ใต้สะดือ (เหนือ pubic symphysis)
2. โดยการผ่านทางผิวหนังของผนังช่องท้อง (percutaneous approach) อาจจะทำโดยเทคนิคต่างๆ ซึ่ง แบ่งได้เป็น
1. ใช้ seldinger technique
2. การใส่ catheter โดยใช้ sharp trocar
3. การผ่าตัดเข้าไปเพื่อหาตำแหน่งและทำโดยตรง
4. การใช้อัลตร้าซาวด์
5. การใช้ lowsley retractor
ข้อห้ามโดยสมบูรณ์ของการทำผ่านทางผิวหนัง
-กระเพาะปัสสาวะไม่ขยายตัวทำให้ไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ หรือไม่สามารถตรวจหาได้จากการใช้อัลตร้าซาวด์
-มีประวัติของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ข้อห้ามสัมพัทธ์ของการทำผ่านทางผิวหนัง
-มีความผิดปกติการแข็งตัวของเลือด
-เคยผ่าตัดช่องท้องส่วนล่างหรือช่องเชิงกราน
-มะเร็ช่องเชิงกราน โดยอาจจะเคยหรือไม่เคยได้รับการฉายรังสี
-มีการใส่อุปกรณ์ที่กระดูกหรือการรักษากระดูกเชิงการหัก
ถ้ามีข้อห้ามให้ทำแบบผ่านทางผิวหนัง สามารถทำโดยการเปิดแผลแทนเพื่อการเลาะผังผืดที่ยึดติด หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บต่อลำไส้ ซึ่งอาจจะทำโดยศัลยแพทย์ทั่วไปหรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ

Ref: http://emedicine.medscape.com/article/1893882-overview#aw2aab6b2b2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น