เวลาตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจอาจจะพบศัพท์บางคำบ่อย บางครั้งต้องนึกถึงนิยามของคำเหล่านั้น บางครั้งก็ไม่แน่ใจหรือลืม จึงมาทบทวนความหมายกันหน่อยนะครับ
Angina pectoris (anginal pain) เป็นอาการเจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่มีลักษณะคือ
1. มีความรู้สึกไม่สบายเจ็บแน่นใต้กระดูกหน้าอก (substernal) โดยอาจจะมีหรือไม่มีอาการปวดร้าวก็ได้ ถ้ามีจะเจ็บร้าวไปที่แขน คาง ฟัน คอ ไหล่ หลัง ร้าวตามแขนด้านในลามถึงข้อมือ (แต่ในบางอ้างอิงถ้าไม่มีอาการร้าวจะถือว่าเป็น atypical angina pectoris) ร่วมกับมีลักษณะดังในข้อ 2 และ 3
2. กระตุ้นให้เพิ่มขึ้นโดยการออกกำลังหรืออารมณ์เครียด
3. ดีขึ้นได้ด้วยการพักหรือได้ยา nitroglycerine
โดย typical จะหมายถึงการมีลักษณะดังกล่าวทั้ง 3 ข้อ ถ้ามีแค่ข้อ 1 แต่ไม่มีข้ออื่นครบ จะเป็นลักษณะ atypical
Stable angina (เจ็บอกแบบคงที่) มีอาการเจ็บอกที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงสองเดือน
Unstable angina (เจ็บอกแบบไม่คงที่) มีอาการเจ็บอกขณะพัก (rest pain) มีการเจ็บอกครั้งใหม่รุนแรง (new onset severe angina) ในช่วงเวลาน้อยกว่า 2 เดือน และมีอาการเจ็บเพิ่มมากขึ้น (increasing angina) เจ็บอกนานขึ้นรุนแรงขึ้น เจ็บอกถี่ขึ้น ทำให้ทำงานออกแรงได้น้อยลง
Acute coronary syndrome (ACS) กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีลักษณะคือ เจ็บอกแบบ angina pectoris หรือ เจ็บอกขณะพักนานตั้งแต่ 20 นาทีขึ้นไป (พบร้อยละ 80) เจ็บอกครั้งใหม่ที่มีความรุนแรง หรือเจ็บอกรุนแรงมากกว่าที่เคยเจ็บ (พบร้อยละ 20) ตรวจร่างกายส่วนมากไม่พบความผิดปกติ แต่อาจตรวจพบอาการแสดงอื่นๆ ที่ผิดปกติได้ เช่น ได้เสียง gallop หรือ murmur เป็นต้นโดย ACS แบ่งได้เป็น unstable angina, NSTEMI และ STEMI
Ref: แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเ ฉียบพลัน โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์
http://annals.org/article.aspx?articleid=1392193
http://humility.hubpages.com/hub/Typical-and-Atypical-Angina-Pectoris
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
2,241 ความแตกต่างของคำว่า angina pectoris, stable angina, unstable angina และ acute coronary syndrome
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น