วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,248 การตรวจประเมินการมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร

Evaluation of occult gastrointestinal bleeding
American Family Physician 
March 15 2013 Vol. 87 No. 6

การมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร มีความหมายคือการมีเลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่สามารถมองเห็นได้โดยผู้ป่วยหรือแพทย์ ซึ่งอาจจะพบได้ทั้งจากการตรวจพบเลือดที่ซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระ (fecal occult blood test) หรือการมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยอาจจะมีหรือไม่มีเลือดที่ออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระก็ได้ การประเมินแบบเป็นขั้นตอนจะช่วยบอกสาเหตุของการเลือดออกได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
กล้องส่องตรวจหลอดอาหาร-กระเพาะอาหาร-ลำใส้เล็กส่วนต้น (esophagogastroduodenoscopy, EGD) และการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) จะพบตำแหล่งของการมีเลือดออกได้ร้อยละ 48-71
ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกซ้ำ การตรวจซ้ำด้วย EGD และส่องกล้องลำไส้ใหญ่ อาจพบรอยโรคที่ไม่พบจากการตรวจครั้งแรกได้ร้อยละ 35, ถ้ายังไม่พบสาเหตุหลังจากทำการตรวจด้วย EGD และกล้องลำไส้ใหญ่, การตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูลจิ๋ว (capsule endoscopy) จะสามารถให้การวินิจฉัยได้ร้อยละ 61-74
กล้องส่องตรวจลำใส้ชนิดลึก (deep enteroscopy) สามารถจะข้าไปได้ลึกถึงในลำไส้เล็กส่วนกลางและส่วนปลายเพื่อการตรวจสอบเพิ่มเติมและให้การรักษารอยโรคที่พบในระหว่างการตรวจโดยใช้แคปซูลจิ๋วหรือการสร้างภาพของลำใส้จากคอมพิวเตอร์ (computed tomographic enterography)
การประเมินผู้ป่วยที่มีการตรวจพบเลือดที่ออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระโดยไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กควรเริ่มต้นด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่, ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการซึ่งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ให้ผลลบไม่จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมต่อจนกว่าจะเกิดมีภาวะโลหิตจางผู้ชายทุกคนและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กที่ไม่สามารถอธิบายได้จากการประจำเดือนออกมาก ควรได้รับการประเมินการมีเลือดออกซ่อนเร้นในระบบทางเดินอาหาร
แพทย์ไม่ควรจะอ้างเหตุผลการที่ตรวจพบเลือดออกซ่อนเร้นอยู่ในอุจจาระว่าเกิดจากการได้รับยาแอสไพรินขนาดต่ำหรือยากันเลือดแข็งตัวโดยไม่มีการประเมินเพิ่มเติม

อ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2013/0315/p430.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น