วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

2,253 การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ

กำลังจะจัดกิจกรรมเพื่อดูแลและแก้ไขความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล จึงมีแนวคิดว่าจะให้แต่ละคนมาประเมินความเสี่ยง เพื่อจะได้ทราบคะแนนความเสี่ยง แต่อาจจะจัดกิจกรรมโดยให้แต่ละคนใส่ความเสี่ยงที่มีลงในแอพพคิเคชั่นหรือใส่ค่าคำนวนออนไลน์เองเลย เมื่อได้คะแนนความเสี่ยงแล้วจะมีแนวทางการปฏิบัติหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขตามความเสี่ยงของแตละคนให้ต่อ  จึงมาทบทวนเรื่องนี้ครับ

ซึ่งอาจใช้ Framingham risk scoring โดยจะใช้ข้อมูลมาจาก
1. อายุ
2. เพศ
3. ระดับ total cholesterol
4. ระดับ HLD
5. การสูบบุหรี่
6. ความดันโลหิตตัวบน (systolic blood pressure)
7. และการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง
ซึ่งนอกเหนือจากข้อมูลจากคะแนนที่ได้แล้วยังต้องประเมินโรคหรือปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้ป่วยมีอยู่ด้วย โดยสามารถประเมินได้ดังด้านล่างนี้

ระดับความเสี่ยง
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ 10% ขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มี CVD อยู่แล้ว หรือมีหลักฐานของ CVD, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2,ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มี target organ damage, ผู้ป่วย CKD ที่มี GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73 m2
-ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ 5 - 10%  รวมถึงผู้ที่มี familial dyslipidaemias และความดันโลหิตสูงรุนแรง
-ผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง  ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่1% จนถึงน้อยกว่า 5% ในผู้ใหญ่วัยกลางคนมักจะคำนวนได้อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งความเสี่ยงนี้ถูกควบคุมโดยประวัติครอบครัวของการเกิดโรคของ coronary artery disease ที่อายุไม่มาก, อ้วนลงพุง, การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิด CVD, HDL-C, TG, hs-CRP, Lp(a), fibrinogen, homocysteine, apo B, และรวมถึงชั้นสถานะทางสังคม
-ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า 1%

ซึ่งค่า total cholesterol และ HDL-C ควรได้จากการเฉลี่ย 2 ครั้งโดยวิธี lipoprotein analysis โดยวิธีการคำนวนจะมีรายละเอียดมาก เนื่องจากมีการให้คะแนนแตกตามแต่ละความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าว เมื่อได้ออกมาแล้วจะมาแปลเป็นความเสี่ยงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้าสนใจก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์นี้ ลิ้งค์
หรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วสามารถคำนวนออนไลน์ได้จาก ลิ้งค์นี้ ลิ้งค์

Ref:  http://hp2010.nhlbihin.net/atpiii/calculator.asp?usertype=prof#moreinfo
http://www.pha.nu.ac.th/practice/dis1/articles/NCEP%20III.pdf
http://www.framinghamheartstudy.org/risk/hrdcoronary.html
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=45:framingham-risk-score&catid=16:answers-the-questions&Itemid=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น