วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,355 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับแข็ง

ยาส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาที่ดีพอในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ตำแนะนำการใช้ยาอย่างปลอดภัยมาจากประสบการณ์และ/หรือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งขนาดยาที่แนะนำมักจะขึ้นอยู่กับเภสัชจลนศาสตร์
-เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับแข็งและอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดยา ขนาดยาที่ต่ำกว่าเป็นแนะนำโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับอย่างมีนัยสำคัญ
-ยาแก้ปวดโอปิออยด์, ยารักษาอาการวิตกกังวล และยาระงับประสาท – ยานอนหลับ (sedatives) ควรจะใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดการทำหน้าที่ของสมองผิดปกติจากโรคตับ (hepatic encephalopathy)
-ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAID) ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา (เกิดภาวะไตและการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร) ได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับแข็งนี้
-พาราเซตามอล (acetaminophen) สามารถใช้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่ต่ำ (2-3 กรัมทุกวัน) ระยะเวลาสั้น ๆ และควรพิจารณาเป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับความเจ็บปวด
-ยากลุ่ม statin ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ซึงได้รับการพิจารณาโดย FDA ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมากสำหรับของการก่อให้เกิดผลต่อตับอย่างรุนแรง และการศึกษาล่าสุดถึงสนับสนุนความปลอดภัยในโรคตับและแนะนำถึงประโยชน์ที่อาจนำไปใช้ในการรักษาโรคไขมันสะสมในตับ (fatty liver disease)
-Proton-pump inhibitors และยาในระดับที่ต่ำกว่า, histamine-2 blockers โดยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด spontaneous bacterial peritonitis (SBP) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ดังนั้นแพทย์ควรจะจำกัดการใช้ยา โดยใช้ยาตามข้อบ่งชี้ด้วยความระมัดระวังและถูกต้องเหมาะสม

Ref: http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2013/621/3
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23638982?dopt=Abstract

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น