วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

2,390 ว่าด้วยเรื่องโฟลิคกับโรคไตเรื้อรัง

การขาดโฟเลตเป็นปัจจัยที่มีส่วนเสริมให้เกิดภาวะซีดในโรคไตเรื้อรังและลดการตอบสนองต่อการใช้อิริโทโปอิติน ซึ่งการให้โฟเลตเสริมยังไม่เป็นที่ตกลงอย่างชัดเจนในช่วงที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าในการฟอกไตจะมีการสูญเสียโฟเลตเพิ่มขึ้น ซึ่งการสูญเสียนี้สามารถทำให้สมดุลย์ได้ด้วยการรับประทานอาหารทั่วไปๆ ที่มีหลากหลายซึ่งมีโปรตีน 60 กรัม/วัน
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยไม่ได้มีการแสดงของการสูญเสียโฟเลตอย่างชัดเจน การเสริมกรดโฟลิคจะไม่ได้เพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงหรือในการตอบสนองต่อการรักษาด้วยอิริโทโปอิติน แต่ควรพิจารณาการวินิจฉัยของการขาดโฟเลตในผู้ป่วยที่มีไตเรื้อรังและมี MCV สูงอย่างมีนัยสำคัญ หรือ PMN ที่มีหลาย segmented ในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสารอาหารหรือมีประวัติของการดื่มแอลกอฮอล์ประจำ หรือในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองน้อยต่อการให้อิริโทโปอิติน โดยเฉพาะถ้ามีขนาดของเม็ดเลือดแดงใหญ่ร่วมด้วย
ระดับของโฟเลตในเลือดที่วัดได้ไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ถึงการสะสมของโฟเลตในเนื้อเยื่อและเซลเม็ดเลือดแดงเสมอ แต่การตรวจวัดจะทำให้มีถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ความเข้มข้นของกรดโฟเลตของเม็ดเลือดแดงบ่งชี้ถึงความต้องการในการให้เสริม และการให้เสริมยังสามารถลดระดับ homocysteine ​​ในผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต ซึ่ง homocysteine อาจนำไปสู่การเกิด​​โรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้น
การรักษาด้วยโฟเลตในขนาดสูง (5-15 มก./วัน) ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถลดระดับ homocysteine ในเลือดได้ 25-30% และดูเหมือนจะสามารถทนได้ดีในผู้ป่วยที่มีวิตามินบี 12 สะสมเพียงพอ
แม้ว่าประโยชน์ในระยะยาวต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและความอยู่รอดของผู้ป่วยยังไม่ได้รับการสรุปอย่างชัดเจน แต่กรดโฟลิคเป็นที่ยอมรับกันว่าค่อนข้างปลอดภัยและเป็นวิตามินที่สามารถทนได้ดี และในบางอ้างอิงกล่าวว่าโฟเลตไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องให้เสมอตั้งแต่แรกแต่ควรมีการตรวจดูสาเหตุของการซีดก่อนว่าเกิดจากการขาดโฟเลตร่วมด้วยหรือไม่

เพิ่มเติม
กรดโฟลิค (folic acid) หรืออาจเรียกว่าวิตามินบี 9  สำหรับ folic acid และ folate นั้นคือวิตามินตัวเดียวกัน (วิตามินบี 9) แตกต่างกันที่ folic acid ได้มาจากการสังเคราะห์ แต่ folateได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12091603
http://www.guideline.gov/content.aspx?id=38245

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น