วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,462 ว่าด้วยเรื่องการให้ยา phenytoin ร่วมกับการให้ folic acid เสริม

ในเวชปฏิบัติจะพบการให้ยากันชัก phenytoin ร่วมกับการให้กรดโฟลิค จึงมาทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ 

Phenytoin จะมีผลทำให้ระดับกรดโฟลิคลดลง บางครั้งอาจทำให้เกิดภาวะซีดที่มีเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ (macrocytic anemia) ซึ่งกลไกของปฏิกิริยาระหว่างยามีความซับซ้อน แต่มีข้อมูลสนับสนุนว่า phenytoin ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง pH ในลำใส้ ส่งผลต่อ enterohepatic circulation ของโฟเลท
ในหญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยานี้จะมีความเสี่ยงของการเกิดความพิการแต่กำเนิด (birth defects) โดยการศึกษาในผู้หญิงที่ได้รับ phenytoin ซึ่งให้กรดโฟลิค 2.5-5 มิลลิกรัม ก่อนตั้งครรภ์ หรือ 6 สัปดาห์แรกของอายุครรภ์ พบว่าไม่มีทารกคนใดที่เกิดความผิดปกติ และมารดาเองไม่มีการเพิ่มความถี่ของการชัก และจากการศึกษาในผู้หญิงตั้งครรภ์ 133 คน ที่ได้รับยากันชัก โดยให้กรดโฟลิก 0.5-1 มิลลิกรัมต่อวัน ที่อายุครรภ์ 6-16 สัปดาห์ พบว่าทารกเกิดความผิดปกติ 15% ดังนั้นจะเห็นว่าการให้กรดโฟลิค จะเสริมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความพิการแต่กำเนิด
และบางอ้างอิงกล่าวว่ากรดโฟลิคจะไปเพิ่มเมตาโบลิซมของ phenytoin สามารถลดระดับยาในเลือดและลดประสิทธิภาพของยา phenytoin ได้
มีการศึกษาพบว่าการให้กรดโฟลิค ทั้งขนาด 2.5 และ 5 มิลลิกรัม ทำให้ ระดับโฟเลทในซีรัมและเม็ดเลือดแดงกลับสู่ปกติ และไม่มีผลต่อระดับยากันชัก ดังนั้นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากันชักควรได้รับกรดโฟลิกเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา phenytoin, phenobarbital และ carbamazepine รวมถึงอาจจะต้องมีการปรับขนาดยาและติดตามระดับยาในเลือดร่วมด้วย แต่ก็มีบางอ้างอิงที่ให้กรดโฟลิค เสริม 0.5-1  มิลลิกรัมต่อวัน
และยังมีการศึกษาพบว่าการให้โฟลิคเสริมสามารถลดการเกิดภาวะที่เหงือกขยายขนาดผิดปกติ (phenytoin-induced gingival overgrowth) โดยให้ในขนาดเพียง 0.5-1  มิลลิกรัมต่อวัน

Ref: http://professionals.epilepsy.com/page/hematologic_folate.html
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=11629&gid=2
http://www.drugs.com/drug-interactions/dilantin-with-folic-acid-1863-1205-1129-0.html
http://www.thaithesis.org/detail.php?id=44807
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21482950

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น