ยาต้านฮีสตามินชนิดที่ 1 (H1-receptor antagonists) จะยับยั้งปฏิกริยาของฮีสตามินโดยการแย่งจับ receptor ที่มีอยู่ทั่วร่างกายแบบย้อนกลับได้ จึงก่อให้เกิดการยับยั้งการหลั่งของ histidine decarboxylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยน histidine ไปเป็น histamine (ส่วน H2-receptor จะอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และนอกจากนี้ในร่างกายเราก็ยังมี H3-receptor และ H4-receptor อีกด้วย) ผมเองจะมีอาการแพ้อากาศต้องรับประทานยาแก้แพ้ก็คือยาต้านฮีสตามินชนิดที่ 1 ก่อนนอนประจำ มีอยู่ประมาณ 3 ครั้งที่ผมหยุดรับประทานปรากฏว่าเมื่อเข้าสู่วันที่ 2 จะมีอาการคันทั่วร่างกายคันยิบๆ เจ็บๆ คัน จนไม่สามารถนอนพักได้ ครั้งแรกก็ไม่แน่ใจสาเหตุพอดีเป็นช่วงอากาศหนาว นึกว่าเกิดจากอากาศ จึงงดอาบน้ำอุ่น ทาครีมให้ความชุ่มชื้นผิว ก็ไม่ดีขึ้น ทาสเตียรอยด์ครีมก็ไม่หาย ต้องรออยู่หลายวันจึงค่อยๆ ดีขึ้นเอง จนครั้งที่ 2 และ 3 ที่หยุดรับประทานก็มีอาการอีกทั้งที่เป็นช่วงอากาศร้อน น้ำที่อาบก็ไม่ใช่น้ำอุ่น จึงคิดว่าน่าจะเกิดจากการหยุดรับประทานยาต้านฮีสตามิน และอาการนี้เกิดกับยาต้านฮีสตามินชนิดที่ 1 ทุกๆ ตัวที่เคยใช้ จึงลองกลับมารับประทานยาคืน ปรากฎว่าอาการคันก็หายไปใน 2 วัน โดยถ้าไม่หยุดยาก็จะไม่มีอาการแบบนี้อีก ได้สืบค้นใน Google ก็ยังไม่เห็นการกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน อาจจะมีบ้างที่กล่าวถึงอาการคันที่เกิดจากการหยุดยาในกลุ่มนี้บางตัว จึงขอเรียกลักษณะทางคลินิกนี้ว่าเป็น antihistamine withdrawal skin symptom นะครับ (ใน Google เองก็ยังไม่พบศัพท์คำนี้) เผื่อในอนาคตอาจจะมีการใช้คำนี้ต่อไป และจะพยายามค้นข้อมูลและศึกษาเรื่องนี้เพื่อนำข้อมูลมาเสริม ดังนั้นการจะหยุดยากลุ่มนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยามานาน ควรต้องค่อยลดลงและใช้เวลาพอสมควรครับ
Ref: http://pharmacologycorner.com/animation-on-histamine-release-and-antihistamines-mechanism-of-action/
http://en.wikipedia.org/wiki/Histamine_antagonist
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2,412 Antihistamine withdrawal skin symptom
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น