วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,364 การใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูก (nasotracheal intubation) ในภาวะฉุกเฉิน

แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน อาจจะประสบปัญหาการใส่ท่อช่วยหายใจทางปากยาก หรือบริเวณช่องปาก-ฟัน-คอ ไม่เหมะสมในการใส่ทำให้ใส่ไม่ได้ การใส่ท่อท่อหายใจทางจมูกจึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับการช่วยเหลือผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ เช่น ในกรณีผู้ปวยมีหรือสงสยว่าจะมีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือคาดว่าจะไม่สามารถใส่ได้ทางปาก เช่น เกร็งปากมาก กัดฟันแน่น บาดเจ็บรุนแรงบริเวณช่ิงปาก ลักษณะของช่องปากและฟันไม่สามารถใส่ทางช่องปากได้ เป็นต้น
ในการทำควรใช้เป็นชนิด nasal tube แต่ถ้าไม่มีและมีความจำเป็นต้องทำ สามารถใช้ oral tube แทนได้
โดยใช้เบอร์เล็กลงกว่าขนาดที่ใส่ทางปาก 1/2-1 เบอร์ ใช้ K-Y หรือ xylocaine jelly  ทาปลายท่อ โดยหล่อลื่นให้ดีเพียงพอ แล้วค่อย ๆ สอดลงในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งอย่างนุ่มนวล (ซึ่งบางอ้างอิงแนะนำให้มุมของท่อเกือบจะตั้งฉากกับใบหน้า) หากมีการติดขัดให้ย้ายมาอีกขัางหนึ่ง  โดยในขณะที่ค่อยๆ เลื่อนท่อลง จะสังเกตได้ว่ามีลมออกมาจากปลายท่อ ให้ค่อยๆ สอดต่อไปจนเสียงลมที่ออกมามีการเปลี่ยนแปลง และเมื่อมีลมออกมาแรงมากขึ้นแสดงว่าขณะนี้ปลายของท่อจ่ออยู่บริเวณ epiglottis หรือ vocal cord แล้ว รอจังหวะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าซึ่งเป็นจังหวะที่ vocal cord เปิด ให้รีบสอด tube เขาไปทันที ถ้าเขาถูกตำแหน่งจะมีลมออกมามากขึ้น แต่ถ้าเข้าผิดตำแหนง คือเข้าหลอดอาหารก็จะไม่มีลมออกมาจากปลายท่อ ถ้าลองทำ 2-3 ครั้งแล้วไม่เข้า อาจเปลี่ยนข้างหรืออาจลองเปลี่ยนท่อใหม่ที่มีลักษณะความโค้งส่วนปลายที่ต่างกัน ถ้าลองใหม่แล้วยังไม่ได้ผล และผู้ป่วยพอจะอ้าปากได้ให้ลองใส่ direct laryngoscope และใช้ Magi l l forceps ช่วย ซึ่งการทำ blind intubation โดยผู้ชำนาญมีโอกาสที่สำเร็จค่อนข้างสูงมาก
วิดีโอสาธิต
ดูวิดีโอ click ที่ลิ้งค์นี้ http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&v=Dufi_LlOSl8&NR=1

Ref: -แนวทางประเมินผล และรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บ
หลายแห่ง ที่แผนกศัลยกรรมอุบัติเหตุ อ. นพ. สมบูรณ์ ตั้งกุลบริบูรณ์
-การใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal intubation) 
อ. พญ. ธิดา เอื้อกฤดาธิการ 

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,363 สิ่งที่ควรทราบเรื่องการใช้แอสไพรินในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ (primary prevention of cardiovascular disease)

ประสิทธิภาพและประโยชน์ของการป้องกันแบบทุติยภูมิของแอสไพรินเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว แต่ประโยชน์ในการป้องกันแบปฐมภูมิยังไม่ชัดเจน
โดยมีข้อมูลว่าน่าจะมีประโยชน์แต่ก็เพิ่มความเสี่่ยงของการมีเลือดออก ซึ่งการให้ยาจะเกิดประโยชน์แตกต่างมากน้อยในแต่ละบุคคลซึ่งสามารถดูจากความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคตแล้วเปรียบเทียบกับความเสี่ยงของการมีเลือดออก โดยการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวจะใช้หลายปัจจัยร่วมกัน เช่น อายุ เพศ การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือด ระดับความดันโลหิต เป็นต้น สามารถคำนวนแบบออนไลน์ได้ ตัวอย่างเช่นในลิ้งค์นี้  http://hp2010.nhlbihin.net/atpiii/calculator.asp?usertype=prof
หรือลิ้งค์นี้ http://www.globalrph.com/10_year_risk.htm
โดยมีคำแนะนำแตกต่างกันตามแต่ละการศึกษาและสถาบัน เช่นของ The University of Auckland, Auckland, New Zealand แนะนำเมื่อมีมีความเสี่ยงความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจที่ 5 ปี (five-year CVD risk) ตั้งแต่ 15% ในผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ส่วนช่วงอายุ 70-79 ปี ให้พิจารณาใช้ยาลดไขมัน ยาลดความดันโลหิตในการรักษาความเสี่ยงต่างๆ ก่อนแล้วจึงมาประเมินว่ายาแอสไพรินจะสามารถเพิ่มประโยชน์ได้อีกหรือไม่อย่างไร
ส่วนของ American Academy of Family Physicians แนะนำให้ในผู้ชายที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจใน 10 ปี (10-year risk score) ไว้ดังนี้
1. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 4 ในช่วง 45-59 ปี
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 9 ในช่วง 60-69 ปี
3. และผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 12 ในช่วง 70-79 ปี
ส่วนในผู้หญิงเป็นดังนี้
1. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 3 ในช่วง 50-59 ปี
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 8 ในช่วง 60-69 ปี
3. และผู้ที่มีความเสี่ยงร้อยละ 11 ในช่วง 70-79 ปี
(จำง่ายๆ คือในแต่ละช่วงความเสี่ยงในผู้หญิงจะน้อยกว่าในผู้ชายร้อยละ 1)

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23019080
http://www.aafp.org/afp/2011/0615/p1380.html
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20690297

2,362 10 อันดับอาหารที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูง

ในเวชปฏิบัติเรามักบอกผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังให้ระวังรับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม และผักผลไม้ต่างๆ เพราะผู้ป่วยจะมีโปแทสเซียมสูงจากโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว ตอนนี้ลองมาดู 10 อันดับอาหารที่มีปริมาณโปแทสเซียมสูง เพื่อจะได้สามารถให้คำแนะนำได้ดีขึ้น และต้องไม่ลืมว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอก็มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองได้ด้วย ดังนั้นการพิจารณาแนะนำการรับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูงจึงมีความสำคัญและมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลครับ

ปริมาณโปแทสเซียมในอาหาร 100 กรัม
อันดับ     ชนิดอาหาร             ปริมาณโปแทสเซียม
1             ผงโกโก้                1.5 กรัม    
2             ลูกพรุน (อบแห้ง)   1.1 กรัม    
3             ลูกเกด                  892 มิลลิกรัม    
4             เมล็ดทานตะวัน    850 มิลลิกรัม    
5             อินทผาลัม 696 มิลลิกรัม    
6             ปลาแซลมอน        628 มิลลิกรัม    
7             ผักโขม (สด)         558 มิลลิกรัม    
8             เห็ด                     484 มิลลิกรัม    
9             กล้วย                 358 มิลลิกรัม    
10           ส้ม                       181 มิลลิกรัม

Ref: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=84

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,361 Clopidogrel with Aspirin in Acute Minor Stroke or Transient Ischemic Attack

Original article
June 26, 2013
N Engl J Med 2013  June 27, 2013

ความเป็นมา
การเกิดโรคหลอดเลือดสมองพบได้บ่อยในช่วงสอง-สามสัปดาห์แรกหลังจากการเกิด transient ischemic attack (TIA) หรือโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่รุนแรง การรักษาด้วยยา clopidogrel ร่วมกับแอสไพรินอาจให้การป้องกันได้มากกว่าการให้แอสไพรินเพียงอย่างเดียว
วิธีการศึกษา 
ในการศึกษาแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled trial ที่ทำใน 114 ศูนย์ในประเทศจีน โดยทำการการสุ่มผู้ป่วย 5,170 คน ภายในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่ไม่รุนแรง หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด TIA โดยการให้ยา clopidogrel ร่วมกับแอสไพริน (ขนาดเริ่มต้นของ clopidogrel คือ 300 มก. ตามด้วย 75 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 90 วัน ร่วมกับ aspirin ในขนาด 75 มิลลิกรัมต่อวันในช่วง 21 วันแรก) หรือ placebo กับ aspirin (75 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลา 90 วัน) โดยผู้เข้าร่วมทุกคนที่ได้รับยาแอสไพรินตามข้อบ่งชี้โดยแพทย์กำหนดขนาดยา 75-300 มิลลิกรัม ในวันแรก
ผลลัพธ์หลักคือการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (ขาดเลือดหรือเลือดออกในสมอง) โดยในช่วง 90 วันของการติดตาม การวิเคราะห์ความแตกต่างของการรักษาประเมินด้วยการใช้ Cox proportional-hazards model กับ random effect จากศูนย์ที่เข้าร่วมการศึกษา
ผลการศึกษา
จากการศึกษาพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นใน 8.2% ของผู้ป่วยที่ได้ยา clopidogrel ร่วมกับแอสไพริน เทียบกับ 11.7% ของผู้ที่ได้แอสไพรินเพียงอย่างเดียว (hazard ratio, 0.68; ช่วงความเชื่อมั่น 95%, 0.57-0.81, p น้อยกว่า 0.001) พบว่ามีเลือดออกในระดับปานกลางหรือรุนแรงเกิดขึ้นในผู้ป่วย 7 คน
 (0.3%) ในกลุ่มที่ clopidogrel ร่วมกับแอสไพริน และ 8 คน (0.3%) ในกลุ่มที่ได้แอสไพริน (P = 0.73); อัตราของเลือดออกในสมองเป็น 0.3% ในแต่ละกลุ่ม
สรุป
ในผู้ป่วยที่เกิด TIA หรือโรคหลอดเลือดสมองที่ไม่รุนแรง ซึ่งสามารถรักษาได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ การให้ยาร่วมกันของ clopidogrel และแอสไพรินจะดีกว่าแอสไพรินเพียงอย่างเดียวในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองใน 90 วันแรกและไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1215340?query=featured_home

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,360 คู่มือการสรุปและให้รหัสหัตถการ

โดย สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ 
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 



เนื้อหาประกอบด้วย
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางศํลยกรรม
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางศํลยกรรมประสาท
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางสูติกรรม
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางกุมารเวชกรรม
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางอายุรกรรม
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางอายุรกรรมหัวใจ
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางออร์โธปิดิกส์
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางจักษุ
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางโสต ศอ นาสิก
-แนวทางการตรวจสอบการสรุปและให้หัตถการทางรังสี

Download Click

2,359 Fungal infections associated with contaminated methylprednisolone injections

Review article
Current concepts
N Engl J Med  June 27, 2013
การระบาดของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อราที่เกิดจากการปนเปื้อนจากการฉีด methylprednisolone เป็นการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ซึ่งในขณะนี้ทราบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 700 คนที่ได้รับผลกระทบ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักคือ E. rostratum
สิ่งที่ทำให้ชื่นใจขึ้นคือว่าการแสดงออกทางคลินิกของโรคนี้มีการเกิดขึ้นในเปอรฺ์เซนต์ที่น้อยของผู้ป่วยซึ่งสัมผัสโรค แต่อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการติดเชื้อมีบางคนเสียชีวิต บางคนมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และมีบางส่วนยังคงอยู่ในการดูแลอย่างต่อเนื่องหรือศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ แม้ว่าผู้ป่วยที่ติดติดเชื้อบางรายยังคงมีอาการดี แต่ก็ยังคงมีประเด็นสำคัญของผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเชื้อรา
คำแนะนำในการดูแลรักษาอาจจะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นโดยจะเกี่ยวกับข้อมูลของลักษณะทางธรรมชาติและการก่อให้เกิดโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Identification of the Mold
-Susceptibility to Antifungal Agents
-Clinical Diagnostic Issues
    How the Outbreak Evolved
    Spinal Tap, Joint Aspiration, or Imaging Studies
    Treatment as the Epidemic Evolved
-Current Recommendations
    Drugs and Doses
    Adverse Effects
-Other Issues Related to Treatment
    Duration of Therapy
    Therapeutic Drug Monitoring
    Prophylaxis
-Summary
-Source Information
   Treatment of Patients with Normal Cerebrospinal Fluid and Spine MRI

 อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1212617

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,357 คู่มือกฎหมายและคดีทางการแพทย์ สำหรับแพทย์

โดยกระทรวงสาธารณสุข   


เนื้อหาประกอบด้วย
บทที่ 1 คดีทางการแพทย์
บทท 2  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล    
บทท 3   แนวทางปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์
บทท ๔  แนวทางปฏิบัติเมื่อมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์
ภาคผนวก  

ลิ้งค์

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,356 ความผิดปกติทางผิวหนังในโรคต่อมไร้ท่อ

โดย อ. นพ. เอกราช อมรรังสรรค์
โดย อ. พญ. วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ 
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

เนื้อหาประกอบด้วย
-บทนำ
-ความผิดปกติทางผิวหนังในผู้ป่วยเบาหวาน
-โรคต่อมไทรอยด์
    ผลของไทรอยด์ฮฮร์โมนต่อผิวหนัง
    ภาวะไทรอยด์ฮฮร์โมนเกิน
    ภาวะไทรอยด์ฮฮร์โมนต่ำ
-โรคต่อมพาราไทรอยด์
    ผลของพาราไทรอยด์ฮฮร์โมนต่อผิวหนัง
    ภาวะพาราไทรอยด์ฮฮร์โมนเกิน
    ภาวะพาราไทรอยด์ฮฮร์โมนต่ำ
-โรคของต่อมหมวกไต
    ผลของกลูโคคอร์ติคอยด์ต่อผิวหนัง
    ผลของ ACTH ต่อผิวหนัง
    ภาวะคอร์ติซอลเกิน
    อาการคอร์ติซอลต่ำจากต่อมหมวกไตผิดปกติ
-โรคของต่อมใต้สมอง
    ผลของฮฮร์โมนจากต่อมใต้สมองต่อผิวหนัง
    Acromegaly
    Panhypopituitarism
-โรคของฮอร์โมนเพศผิดปกติ
    ภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจนเกิน
    ภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิน
    ภาวะฮอร์เพศบกพร่อง
-Glucagonoma
-Pheochromocytoma

Link: http://inderm.go.th/Research/web/Project_Pig4/Research_pdf/14.pdf

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Spacial post: เปลี่ยนบรรยากาศ วันนี้ฝึกบินจากหาดใหญ่มาสุวรรณภูมิช่วงหัวค่ำ ดูแล้วบรรยากาศ พระจันทร์และแสงไฟสวยดี จึงนำรูปมาฝากครับ

ช่วงจากอ่าวไทยเข้ามาแผ่นดินเห็นพระจันทร์ดวงโต สวยงาม 


เห็นรันเวย์อยู่ข้างหน้า กำลัง landing

ล้อใกล้แตะพื้นแล้ว


บนรันเวย์มองจากปีกด้านขวา ยังเห็นพระจันทร์ชัดเจน

เตรียมเข้าจอด

สนามบินและแสงไฟ สวยงามจริงๆ 

อีกมุมมองที่สวยงาม 

2,355 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับแข็ง

ยาส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาที่ดีพอในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ตำแนะนำการใช้ยาอย่างปลอดภัยมาจากประสบการณ์และ/หรือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งขนาดยาที่แนะนำมักจะขึ้นอยู่กับเภสัชจลนศาสตร์
-เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับแข็งและอาจจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดยา ขนาดยาที่ต่ำกว่าเป็นแนะนำโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับอย่างมีนัยสำคัญ
-ยาแก้ปวดโอปิออยด์, ยารักษาอาการวิตกกังวล และยาระงับประสาท – ยานอนหลับ (sedatives) ควรจะใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดการทำหน้าที่ของสมองผิดปกติจากโรคตับ (hepatic encephalopathy)
-ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAID) ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยา (เกิดภาวะไตและการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร) ได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับแข็งนี้
-พาราเซตามอล (acetaminophen) สามารถใช้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่ต่ำ (2-3 กรัมทุกวัน) ระยะเวลาสั้น ๆ และควรพิจารณาเป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับความเจ็บปวด
-ยากลุ่ม statin ที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ซึงได้รับการพิจารณาโดย FDA ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมากสำหรับของการก่อให้เกิดผลต่อตับอย่างรุนแรง และการศึกษาล่าสุดถึงสนับสนุนความปลอดภัยในโรคตับและแนะนำถึงประโยชน์ที่อาจนำไปใช้ในการรักษาโรคไขมันสะสมในตับ (fatty liver disease)
-Proton-pump inhibitors และยาในระดับที่ต่ำกว่า, histamine-2 blockers โดยเมื่อไม่นานมานี้พบว่ามีสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด spontaneous bacterial peritonitis (SBP) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ดังนั้นแพทย์ควรจะจำกัดการใช้ยา โดยใช้ยาตามข้อบ่งชี้ด้วยความระมัดระวังและถูกต้องเหมาะสม

Ref: http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2013/621/3
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23638982?dopt=Abstract

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,354 Echocardiography: Mild diastolic dysfunction หรือ impaired relaxation

ผู้ป่วยหญิง เหนื่อยหอบง่าย ตัวบวม เอกซเรย์ทรวงอกพบว่ามีหัวใจโต ตรวจ basic echocardiography พบมี  EF 32% และพบลักษณะดังภาพด้านล่าง การตรวจที่เห็นนี้เป็นการตรวจเพื่อดูอะไร? และจะแปลผลว่าอย่างไร?


เป็นการตรวจประเมิน diastolic function โดยในภาวะที่เป็น normal sinus rhythm จะพบว่า diastolic flow จากหัวใจห้องซ้ายบนที่ไปสู่หัวใจห้องซ้ายล่างซึ่งข้ามลิ้นไมทรัลจะประกอบด้วยสองช่วงคือ E wave ที่แสดงถึงช่วง early diastolic filling  และ A wave ที่เกิดในช่วง late diastole ซึ่งแสดงถึงช่วง atrial contraction
เนื่องจากความเร็วของเลือดที่วิ่งข้ามลิ้นไมทรัลขึ้นอยู่กับ transmitral pressure gradient,  ความเร็วของ E-wave ได้รับอิทธิพลมาจากทั้ง rate of early diastolic relaxation และ left atrial pressure การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความเร็วสามารถแสดงการทำงาน diastolic function ของหัวใจห้องล่างซ้าย และการพยากรณ์โรค(ดังตารางข้างล่าง) 
ซึ่งจะพบว่าการตรวจเข้าได้กับ mild diastolic dysfunction หรือ impaired relaxation

ลักษณะความผิดปกติของ diastolic function


เพิ่มเติม: การตรวจทำได้โดยใช้ Pulse wave doppler(PW) วาง cursor ไปที่ลิ้นไมทรัลเปิด(point of mitral flow) ดังภาพด้านล่าง แล้วกดปุ่ม PW



วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,353 เกณฑ์การวินิจฉัยโรคลำไส้แปลปรวนโดย Rome III criteria

มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องมากกว่า 3 วันต่อเดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร่วมกับลักษณะทางคลินิกอย่างน้อย 2 ใน 3 ดังนี้
1. อาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระ
2. อาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
3. อาการปวดท้องหรือไม่สบายในท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะความแข็งของอุจจาระ

Ref: คำแนะนำเกี่ยวกับโรคลำไส้แปรปรวน IBS สำหรับแพทย์ทั่วไป (แนวทางเวชปฏิบัติ 2012) โดยสมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย)
http://www.badgut.org/information-centre/rome-iii-new-diagnosis-criteria-for-ibs-1.html

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,352 IgA nephropathy

Review article
Medical progress
N Engl J Med     June 20, 2013

IgA nephropathy มีความชุกมากที่สุดของโรคเรื้อรังที่เกิดกับโกลเมอรูลาร์ซึ่งพบได้โดยทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามความจำเป็นในการติดชิ้นเนื้อไตเพื่อการวินิจฉัยเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการวิเคราะห์ผลต่างๆ ที่เกิดจากโรคนี้
ซึ่ง IgA nephropathy ได้มีการตีพิมพ์ในวารสารครั้งสุดท้ายมากกว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ความก้าวหน้าในวิธีการวิเคราะห์ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นในกลไกระดับโมเลกุลของโรคนี้
ความก้าวหน้าเหล่านี้มีศักยภาพในการพัฒนาวิธีการตรวจที่ไม่รุกล้ำเพื่อการวินิจฉัยและการติดตามลักษณะของโรคและเป็นโอกาสที่จะก่อให้เกิดการรักษาที่จำเฉพาะกับโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Pathological Features
-Clinical Presentation
-Pathogenesis
-Genetic Factors
-Biomarkers
-Demographic and Epidemiologic Characteristics
-Clinical Outcomes
    Clinical Prognostic Features
    Pathological Prognostic Markers
-Treatment
-Conclusions
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1206793

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,351 Spot diagnosis: Ingrown toenails

ผู้ป่วยมีรอยโรคที่นิ้วหัวแม่เท้าสองข้างเรื้อรัง จะให้การวินิจฉัยอะไร? มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง? จะให้การดูแลรักษาอย่างไร?


เล็บขบ หรือ ingrown toenails หรืออาจจะเรียกว่า onychocryptosis ซึ่งเกิดจากการที่เล็บทิ่มเข้าไปในเนื้อด้านข้างของนิ้ว จะเกิดที่มุมโดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่เท้า (สามารถเกิดได้ทุกๆ เล็บ ทั้งที่มือและเท้า) โดยจะเกิดทางด้านนอกมากกว่าด้านใน เกิดกับหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
สาเหตุ
การใส่รองเท้าที่คับ 
การตัดเล็บที่ไม่เหมาะสม โดยตัดเข้าไปในเนื้อขอบเล็บ
การบาดเจ็บที่เล็บ
การติดเชื้อรา แบคทีเรีย
การใช้ยาบางอย่าง

โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ
การรักษา
ขึ้นกับสาเหตุและระยะของเล็บขบ สามารถอ่านรายละเอียดได้จากลิ้งค์อ้างอิงนะครับ

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,350 แนวทางเวชปฏิบัติ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

คำแนะนำเกี่ยวกับโรคลำไส้แปรปรวน IBS สำหรับแพทย์ทั่วไป (แนวทางเวชปฏิบัติ 2012)
โดยสมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย)


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,349 Spot diagnosis: Preauricular crease and earlobe crease

ผู้ป่วยชาย 62 ปี มานอนโรงพยายบาลด้วยไอ เหนื่อยง่าย 2 วัน สงสัยมีภาวะปอดอักเสบ แต่ตรวจพบหู 2 ข้างเป็นแบบนี้ จะให้การวินิจฉัยอะไร? มีความสำคัญอย่างไร?
หมายเหตุ อาการที่มาไม่ได้เกี่ยวข้องกับใบหูนะครับ พอดีตรวจเจอโดยบังเอิญ


ขอขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นที่ร่วมเรียนรู้ครับ
จากภาพพบว่าผู้ป่วยมี preauricular crease และ earlobe crease (Frank's sign) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ลักษณะทั้งสองมีความสัมพันธ์กับ coronary artery disease ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดได้ตามลอ้างอิงด้านล่างครับ


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,348 วิธีการคำนวนการให้ cryoprecipitate ในผู้ป่วยฮีโมฟิเลียเอ (hemophilia A)

จากความรู้ที่ว่า
-Cryoprecipitate 1 ยูนิทต่อกก.จะเพิ่มระดับ Fc VIII ได้ 2%
-โดย cryoprecipitate 1 ถุงมี Fc VIII 100 ยูนิท (บางอ้างอิง 80-100 U)
-หลักการให้  Fc VIII คือถ้ามีเลือดออกในข้อต้องต้องเพิ่ม Fc VIII ให้อยู่ที่  40% (บางอ้างอิง 30-40%)
(โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะเลือดออก ซึ่งการแบ่งระดับความรุนแรง-การรักษา สามารถศึกษาได้จากในอ้างอิงครับ)

ลองมาคำนวน 
ถ้าผู้ป่วยน้ำหนัก 60 กก. มาด้วยเลือดออกในข้อ
(1 ยูนิทต่อกก. จะเพิ่มระดับ Fc VIII ได้ 2%)
โดยถ้าต้องการเพิ่มเป็นที่ 40% จึงต้องการ 20 ยูนิทต่อกก. และผู้ป่วยน้ำหนัก 60 กก.
20 x 60 กก = 1,200 ยูนิต
ดังนั้นต้องการ cryoprecipitate 12 ถุง
โดยในให้ loading ก่อนและ maintain เพื่อให้ Fc VIII อยู่ที่ระดับนั้น 3-5 วัน ซึ่ง Fc VIII มีค่าครึ่งชีวิตสั้นประมาณ 12 ชั่วโมง ดังนั้นโดยทั่วไปจะ maintain ต่อด้วย Fc VIII 20% ทุก 12 ชั่วโมง
หมายเหตุ
-ควรให้ตรงตามหมู่เลือดของผู้ป่วย ในกรณีไม่มีตามหมู่เลือดของผู้ป่วยสามารถพิจารณาใช้หมู่เลือดอื่นได้
-อาจจำเพื่อไปใช้ก็ได้ว่า ในกรณีเลือดออกในข้อ ทุก ๆ น้ำหนักร่างกาย 5 กก. จะต้องใช้ cryoprecipitate 1 ถุง
-ระวังดีๆ นะครับ cryoprecipitate เรียกเป็นถุงนะครับ (แต่มี Fc VIII 100 ยูนิท) ไม่ได้เรียก cryoprecipitate ว่า 1 ถุงเป็น 1 ยูนิต เหมือนกับ PRC นะครับ (ซึ่งในกรณีของ PRC 1 ยูนิทอาจจะเรียกว่า 1 ถุง ซึ่งมีประมาณ 250 มล. ครับ)

อ้างอิง แนวทางการใช้ส่วนประกอบของเลือด รพ.มหาราชนครเชียงใหม่
แนวทางการรักษาโรคโลหิตวิทยา ในประเทศไทย 

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,347 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริจาคเลือด

โดยภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
มหาวิทยาลัยมหิดล 

เนื้อหาประกอบด้วย
-คุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด
   1. อายุ
   2. น้ำหนักตัว
   3. สุขภาพ
   4. ประวัติความเจ็บป่วยด้วยโรคที่อาจถ่ายทอดไปยังผู้ป่วย
   5. ไม่มีประวัติความเจ็บป่วยที่การบริจาคเลือดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง
   7. ความถี่ของการบริจาคเลือด
-ขั้นตอนการบริจาคเลือด
-ระยะเวลาในการเจาะเลืด
-ผลการตรวจเลือด
   1.  เลือดของท่านจะได้รับการตรวจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
   2.  การส่งผลการตรวจเลือด

ลิ้งค์ Click

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,346 Cardinal sign and symptoms of primary adrenal insufficiency (addison’s disease)

Primary adrenal insufficiency (addison’s disease) adrenal cortex จะถูกทำลายทำให้การสร้าง cortisol และ aldosterone ลดลง จะมีการหลั่งของ ACTH อย่างมากมาย เพื่อที่จะกระตุ้นให้ cortisol หลั่งออกมา stress  ทำให้มีการหลั่งของ ACTH เพิ่มขึ้น แต่ตัว adrenal gland เองไม่สามารถตอบสนองได้ทำให้ระดับของ plasmacortisol จะยังคงต่ำอยู่ โดยจะมีลักษณะทางคลินิกดังนี้
จำง่ายๆ คือ 3A และ 2H
-Asthenia (ไม่มีแรง) จากการขาดฮฮร์โมน  cortisol ร่วมกับ aldosterone
-Anorexia (คลื่นไส้) จากการขาดฮฮร์โมน  cortisol ร่วมกับ aldosterone
-Abdominal pain (ปวดท้อง) ซึ่งกลไกตรงนี้ยังไม่ชัดเจน
-Hyperpigmentation (ผิวคล้ำผิดปกติ) เมื่อฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมหมวกไตลดลง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน ACTH เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นต่อมหมวกไต ACTH ที่เพิ่มขึ้นมีผลกระตุ้นการทำงานของ melanocyte ที่ผิวหนังด้วย จึงทำให้ผิวมีสีคล้ำขึ้น
-Hypotension(ความดันโลหิตต่ำ) จากการขาดฮฮร์โมน cortisol ร่วมกับ aldosterone

 แต่วินิจฉัยโรคแอดดิสันในคนชาวแอฟริกาและชาวเอเชียที่มีผิวสีคล้ำอยู่แล้วจะดูยากครับ

Ref: http://www.athasit.com/article/detail/232
การป้องกัน adrenal insufficiency ในคนไข้ศัลยกรรม สมบูรณ์ ตั้งกุลบริบูรณ์ แผนกศํลยกรรมโรงพยาบาลขอนแก่น

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,345 Acute hight-altitude illness

Clinical practice
N Engl J Med  June 13, 2013

Key clinical points
-การเจ็บป่วยที่เกิดจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูงอย่างฉับพลัน เกิดขึ้นในคนที่ยังไม่ได้ปรับสภาพในช่วงวันแรก ๆ ที่ระดับความสูง 2,500 เมตรหรือสูงกว่า ซึ่งมีอุบัติการแตกต่างกันตามลักษณะของผู้ป่วยและประวัติ
-อาการปวดศีรษะเป็นอาการหลักของความเจ็บป่วยจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูงอย่างฉับพลัน (acute mountain sickness) ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอ อาจสามารถนำไปสู่ภาวะความรุนแรงต่อชีวิตคือมีสมองหรือปอดบวมน้ำ
-การเจ็บป่วยที่เกิดจากการอยู่ในที่สูงสามารถป้องกันได้โดยขึ้นไปที่ระดับ 300-500 เมตรต่อวันในการจะไปที่ระดับความสูงที่มากกว่า 3,000 เมตร และรวมถึงการมีวันที่หยุดพักทุกๆ 3 ถึง 4 วัน
-ความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูงอย่างฉับพลันและการมีสมองบวมจะลดลงได้ด้วยการใช้ acetazolamide หรือ dexamethasone; ความเสี่ยงของอาการบวมน้ำที่ปอดจะลดลงด้วยการใช้ nifedipine, phosphodiesterase-5 inhibitors หรือ dexamethasone
-ความเจ็บป่วยจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูงอย่างฉับพลันอาจจะรับการรักษาโดยการมีวันที่พักและการใช้ NSAIDS สำหรับอาการปวดศรีษะ แต่เมื่อรุนแรงขึ้น การลงจากที่สูงหรือการให้ออกซิเจนถือเป็นสิ่งบ่งชี้ โดย dexamethasone มีข้อบ่งชี้สำหรับความเจ็บป่วยจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูงอย่างฉับพลันหรือการมีสมองบวม และ nifedipine หรือ phosphodiesterase-5 inhibitors มีข้อบ่งชี้สำหรับอาการปอดบวมน้ำ ซึ่งการรักษาด้วยยาเหล่านี้ควรจะตามด้วยการลงจากที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
   Acute Mountain Sickness
   High-Altitude Cerebral Edema
   High-Altitude Pulmonary Edema
-Strategies and Evidence
   Risk Assessment
   Other Assessments
   Prevention
   Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Key Clinical Points

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1214870

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,344 คู่มือเวชปฏิบัติหัตถการสำหรับนิสิตนักศึกษาแพทย์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 พ.ศ. 2556

จัดทำโดย
โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท  กระทรวงสาธารณสุข
ด้วยความรวมมือจาก
ศาสตราจารยคลินิกเกียรติคุณวราวุธ  สุมาวงศ์ และ
ศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก




ลิ้งค์ Click

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,343 ลักษณะที่แตกต่างระหว่างเก๊าท์ (gout) และเก๊าท์เทียม (pseudogout)


                                            เก๊าท์                                                               เก๊าท์เทียม      
สัดส่วนชายต่อหญิง               7:1                                                                        1:1.5

อายุ                             ในชายมากกว่า 40 ปี, หญิงวัยหมดประจำเดือน                  ผู้สูงอายุ

กรดยูริค                       สูง                                                                                ปกติ

ข้อที่เกิดอาการ          1st MTP, หลังเท้า, เข่า, ข้อมือ,  ข้อนิ้วมือ,                         ข้อเข่า, ข้อมือ, ข้อเท้า  
                                    olecranon bursae


เกิดกับ MTP (podagra)  พบบ่อย                                                                      พบได้น้อยมาก

Tophi                            มี                                                                               พบน้อยมาก

ภาพรังสี                     มีการผุกร่อนและมี overhanging edges                   พบเงาของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟทที่ตำแหน่งของกระดูกอ่อน

ผลึก                           ลักษณะเป็นรูปเข็ม, strong negative birefringence      สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, weakly
                                                                                                                    positive birefringence

Ref: http://www.medicalcriteria.com/criteria/reu_gout.htm

2,342 เกณฑ์การวินิจฉัย cluster headache โดย The International Headache Society (IHS)

A. มีลักษณะของการปวดศรีษะที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 5 ครั้ง  โดยมีเกณฑ์ ในข้อ B-D
B. มีลักษณะรุนแรงหรือรุนแรงมากของอาการปวดรอบกระบอกตาข้างใดข้างหนึ่ง, เหนือกระบอกตา และ/หรือปวดบริเวณขมับ เป็นเวลา 15-180 นาที ถ้าไม่ได้รับการรักษา
C. อาการปวดศรีษะประกอบด้วยอย่างน้อย 1 อย่างได้แก่
   1. มีเยื่อบุตาแดงและ/หรือมีน้ำตาไหลข้างเดียวกับที่ปวดศรีษะ
   2.  มีอาการคัดจมูกและ/หรือน้ำมูกไหลข้างเดียวกับที่ปวดศรีษะ
   3. มีหนังตาบวมข้างเดียวกับที่ปวดศรีษะ
   4. มีเหงื่ออกที่หน้าผากและใบหน้าข้างเดียวกับที่ปวดศรีษะ
   5. มีม่านตาหดเล็กลงและ/หรือหนังตาตกข้างเดียวกับที่ปวดศรีษะ
   6. มีความรู้สึกว่าไม่สามารถพักได้หรือรู้สึกกระสับกระส่าย
D. การกำเริบบ่อยขึ้นจากวันเว้นวันจนถึง 8 ครั้ง/วัน
E. ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่นที่เหมาะสมกว่า

Ref: http://www.ihs-classification.org/en/02_klassifikation/02_teil1/03.01.00_cluster.html

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,341 แนวทางโรคหลอดอาหารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล (eosinophilic esophagitis,EoE)

ACG Clinical Guideline: Evidenced Based Approach to the Diagnosis and Management of Esophageal Eosinophilia and Eosinophilic Esophagitis (EoE).
Am J Gastroenterol. 2013 May;108(5):679-92

โรคหลอดอาหารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิล (eosinophilic esophagitis,EoE) เป็นการอักเสบเรื้อรังโดยมีลักษณะของความผิดปกติในการทำงานของหลอดอาหาร (หลักๆ คือการกลืนลำบากและกลืนอาหารแล้วติด) เนื่องจากมีการอักเสบซึ่งมีเม็ดเลือดขาวอีโอสิโนฟิลเป็นเซลหลัก มักจะมากกว่า 15 cells/high-power field โดยพบว่าเป็นสาเหตุอันดับสองของการกลืนอาหารแล้วติดในผู้ป่วยอายุน้อย
การดำเนินงานทางคลินิกตามคำแนะนำจากมติในปี 2007 และ 2011 หยุดชงักเนื่องจากมีความต่างกันของอาการที่แสดงออกและความเห็นที่ยังไม่ตรงกันเกี่ยวกับการวินิจฉัยและความจุดมุ่งหมายทางคลินิกสำหรับการรักษา
ในแนวทางรักษาใหม่จาก American College of Gastroenterology, ผู้วิจัยได้ใช้ GRADE system เพื่อชั่งน้ำหนักของหลักฐานในการสร้างคำแนะนำ ซึ่งคำแนะนำส่วนใหญ่ถูกจัดอันดับให้เป็นลักษณะเงื่อนไขเมื่อเปรียบเทียบกับระดับ strong เพราะยังขาดหลักฐานที่มีคุณภาพสูง ซึ่งคำแนะนำในระดับ strong จะได้กล่าวในรายละเอียดของแนวทางนี้

Ref: Jwatch.org http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2013/607/1

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,340 การแยก ST depression ระหว่าง strain pattern (LVH) กับ ischemia (ACS)

การแยก ST depression ระหว่าง LVH (strain pattern) กับ ischemia (ACS) บางครั้งเป็นการยากที่จะแยกจากกันได้ แต่พอจะมีแนวทางการแยกได้ดังนี้คับ
ใน LVH
-มักมี LVH by voltage criteria ร่วมด้วย
-มี depression ที่ J point
-T wave จะมีลักษณะไม่สมมาตร
-T wave ในช่วงขาขึ้นจะสูงชัน
-ส่วนปลายของ T wave เป็นบวกและเลยขึ้นไป (overshoot)
-T inversion ใน V6 มากกว่า 3 มม.
-T inversion ใน V6 มากกว่าใน V3
ใน ischemia
-มักไม่มีลักษณะของ LVH by voltage criteria ร่วมด้วย
-ไม่มี depression ที่ J point
-T wave จะมีลักษณะสมมาตร
-T wave ในช่วงขาขึ้นจะสูงชันน้อยกว่า
-ส่วนปลายของ T wave จะอยู่ที่ baseline ไม่เลยขึ้นไป 
-T inversion ใน V6 น้อยกว่า 3 มม.
-T inversion ใน V6 เท่ากับหรือน้อยกว่าใน  V3

-โดย strain pattern จะพบได้ใน lead ที่มี prominent R wave ได้แก่ I, aVL, และ V4 - V6 (โดยพบมากที่สุดใน V5 หรือ V6)
-และ ST depression ใน strain pattern มักเป็นลักษณะคงที่ไม่มีการเปลียนแปลงในช่วงเวลาสั้นๆ (dynamic changes) เหมือนในโรคหลอดเลือดหัวใจ
-โดย strain pattern พบได้ประมาณ 80% ของ ผู้ป่วยที่มี LVH, strain pattern มีความไว  52% และ ความจำเพาะประมาณ 95% ในการตรวจหา LVH

Ref: http://drsvenkatesan.wordpress.com/2009/12/12/how-to-differentiate-lv-strain-pattern-from-primary-lv-ischemia/
http://www.medscape.com/viewarticle/504439_3
http://emj.bmj.com/content/19/2/129.full

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,339 ลักษณะความสัมพันธ์ที่ควรทราบของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีโรคเบาหวานและเมตาบอลิกซินโดรมเป็นปัจจัยร่วม

ลักษณะของความสัมพันธ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีโรคเบาหวานและเมตาบอลิกซินโดรมสามารถแสดงได้โดยภาพด้านล่าง


จะสังเกตว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน อย่างเดียวความชุกของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจไม่ต่างจากในคนทั่วไป แต่ถ้าเป็นเมตาบอลิกซินโดรมจะมีความชุกสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเมื่อเป็นทั้งเบาหวานและเมตาบอลิกซินโดรมจะพบว่าความชุกยิ่งมากขึ้นไปอีก ซึ่งข้อมูลตรงนี้คงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ครับ

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,338 การศึกษาเปรียบเทียบการให้กลูโคคอร์ติคอยด์ 5 วัน VS 14 วัน ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) กำเริบเฉียบพลัน

Short-term vs conventional glucocorticoid therapy in acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease
The REDUCE Randomized Clinical Trial
JAMA. 2013;309(21):2223-2231. 

แนวทางในระดับนานาชาติสนับสนุนการใช้กลูโคคอร์ติคอยเป็นเวลา 7 -14 วัน ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) กำเริบเฉียบพลัน แต่ปริมาณและระยะเวลาที่ที่เหมาะสมยังไม่เป็นที่ทราบ ในการศึกษานี้ใช้การให้กลูโคคอร์ติคอยด์คือเพรดนิโซโลน 40 มก./วัน เป็นเวลา 5 วัน เปรียบเทียบกับการให้ 14 วัน ซึ่งผลลัพธ์หลักที่ดูคือระยะเวลาที่เกิดการกำเริบเฉียบพลันในช่วงเวลา 180 วัน โดยผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างในเรื่องของการกำเริบเฉียบพลัน การเสียชีวิต และการฟื้นตัวกลับมาทำงานของปอด โดยการให้แบบ 14 วันจะมีระดับเฉลี่ยของยาสะสมมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, การมีภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้เกิดบ่อยกว่า
ซึ่งในการศึกษานี้ได้สรุบไว้ว่า การให้ยา 5 วัน ไม่ได้เหนือกว่าการให้ 14 วัน ในกรณีที่มีการกำเริบเฉียบพลันภายใน 6 เดือน แต่ลดการที่ต้องได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษานี้สนับสนุนการใช้การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์เป็นเวลา 5 วันในการกำเริบเฉียบพลันของปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1688035

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,337 Response to the AIDS pandemic — A global health model

Review article
Global health
N Engl J Med   June 6, 2013

มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการตอบสนองของทั่วโลกต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ แต่ความสำเร็จเหล่านี้มีความเปราะบางเพราะความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของความยั่งยืนในนโยบาย ความมุ่งมั่นในการจัดโปรแกรมและเทคนิค การระดมทุนในระดับชาติและนานาชาติ
การลดน้อยลงในส่วนของเงินทุน การสาธารณสุขและการนำด้านโยบายร่วมที่เกิดร่วมกัน ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ถึงโอกาสสำหรับการนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการควบคุมโรคเอดส์
ขณะนี้การป้องกันและการดูแลนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ พฤติกรรม ชีวการแพทย์ และทางด้านโครงสร้าง และจะต้องมีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง โดยโปรแกรมเหล่านี้จะต้องมีการเข้าถึงได้อย่างเป็นสากล การดำเนินงานขนาดใหญ่ การติดตามและประเมินอย่างระมัดระวัง ทรัพยากรทางการเงินและทางเทคนิคและความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจจะจุดเริ่มต้นทีทำให้เห็นผลต่อการแพร่กระจายของการติดเชื้อเอชไอวีโดยทั่วโลก
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-International Response to AIDS — A Global Health Model
-The Fourth Decade of AIDS
-Progress in Treatment of HIV Infection
-Evolution of Prevention Strategies
-Biomedical Advances in Prevention
    Male Circumcision
    Preexposure Prophylaxis
    Treatment as Prevention
    Combination Prevention
-The Challenges Ahead
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1201533

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,336 การเปรียบเทียบความแตกต่างภาพเอกซเรย์ระหว่างการติดเชื้อวัณโรคและการติดแบคทีเรียของกระดูกสันหลัง

จะสังเกตเห็นว่าในวัณโรคจะมีการทำลายหมอนรองกระดูกน้อยกว่าแต่มีการทำลายที่ตัวกระดูกและมีการสูญเสียของเนื้อกระดูกในส่วนนอก (cortical bone loss) รุนแรงกว่า โดยทั้งสามลักษณะดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ



วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,335 โรคอ้วนลงพุง

โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความหมายของโรค/ภาวะอ้วนลงพุง
-เกณฑ์การวินิจฉัยอ้วนลงพุง
-วิธีการวัดเส้นรอบพุง
-ไขมันช่องท้องอันตรายอย่างไร
-ความอ้วน
-หลักของ Eat = Burn: ภาวะความสมดุลของพลังงาน
-ภารกิจการปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร 6:6:1
-หวานมากเบาหวานถามหา
-ความหวานมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
-ไขมันที่ควรรู้
-กินเค็มอร่อยปาก ลำบากกาย
-ทำไม? ต้องกังวลว่ากินเค็มมากเกินไป
-กินถูกสัดส่วน 2:1:1/กินถูกสัดส่วน 2 : 1 : 1 คืออะไร
-สุขภาพดีได้ด้วยผักผลไม้
-วิธีปรุงต่าง แคลอรี่ต่าง
-กิจกรรมทางกาย
-ผลของการขาดกิจกรรมทางกาย
-การทดสอบสมรรถภาพทางกายด้วย Talk Test
-การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
-ก้าวเดินอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์
-แกว่งแขน บำบัดโรค
-เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน

ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.thaihealth.or.th/ipaper_download/33810

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,334 ตัวชี้วัดความสำเร็จของการหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (percutaneous coronary intervention, PCI)

1. Angiographic success   หมายถีง ซึ่งในอดีตก่อนที่จะมีการใช้ stent ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การตีบเหลือน้อยกว่า 50%  และมี TIMI 3 flow โดยการตรวจจากการฉีดสี แต่ในปัจจุบันได้ลดอัตราคงเหลือรอยตีบของหลอดเลือดหัวใจที่ 20%
2. Procedural success  หมายถึงการมี angiographic success ดังข้างต้นโดยที่ไม่มี major complication ในระยะที่อยู่โรงพยาบาล เช่น การเสียชีวิต, การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย และการที่ต้องได้รับการผ่าตัด CABG ฉุกเฉิน
3. Clinical success  
• Short term clinical success หมายถึงการมี  procedural success ร่วมกับการตรวจพบอาการ  และอาการแสดงของหัวใจขาดเลือดดีขึ้น หรืออาการหายไปภายหลังการทำหัตถการ
• Long term clinical success หมายถึงการที่มี short term clinical success และไม่มีอาการ และอาการแสดงของหัวใจขาดเลือดภายหลังการทำหัตถการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งตัวแปรที่สำคัญ คือ การเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดที่ทำหัตถการ (restenosis)

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ ผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention, PCI)

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,333 การวินิจฉัยภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการติเชื้อในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง

ใช้ลักษณะทางคลินิก 2 ใน 3 ข้อดังนี้
1.  มีอาการแสดงของการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง เช่น ปวดท้อง กดเจ็บ
2.  น้ำยาล้างไตขุ่นโดยมีจำนวนเซลล์มากกว่า 100 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และในจำนวนนี้เป็น polymorphonuclear neutrophils (PMN) มากกว่าร้อยละ 50
3.  ตรวจพบเชื้อโรคด้วยการย้อมสีแกรมหรือเพาะเชื้อขึ้น

Ref: web.sut.ac.th/in/images/documents/news/01pptIC.pdf‎
113.53.236.26/itkm/kmdoc/f43e32ee.doc‎

2,332 ชนิดของการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้อง

ชนิดของการติดเชื้อจากการล้างไตทางช่องท้องแบ่งได้เป็น 3 ชนิดดังนี้
1. การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง (peritonitis) อาการสำคัญคือการมืน้ำยาล้างไตขุ่นและปวดท้อง อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้  เริ่มมีอาการหลังจากมีการปนเปื้อนเชื้อ 24-48 ชั่วโมง
2. การติดเชื้อที่ผิวหนัง (exit-site infection) หมายถีง ภาวะที่มีหนองออกจากทางช่องทางออกของสาย
3. การติดเชื้อของชั้นใต้ผิวหนังรอบท่อล้างช่องท้อง (tunnel infection) หมายถึง อาการบวม แดง กดเจ็บตลอดแนวสายภายในเนื้อเยื่อ มักพบร่วมกับการติดเชื้อที่ exit site

Ref: web.sut.ac.th/in/images/documents/news/01pptIC.pdf‎

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

2,331 การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะไม่มีประจำเดือน

Amenorrhea: An approach to diagnosis and management
American Family Physician
June 1 2013 Vol. 87 No. 11

ถึงแม้ว่าการไม่มีประจำเดือนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่การประเมินอย่างเป็นระบบ ได้แก่รายละเอียดของประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน์มักจะสามารถระบุสาเหตุพื้นฐานได้
การไม่มีประจำเดือนตั้งแต่แรก (primary amenorrhea) มีความหมายคือความล้มเหลวในการเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก มักจะเป็นผลมาจากความผิดปกติของโครโมโซมที่นำไปสู่การทำงานที่ไม่เพียงพอของรังไข่ตั้งแต่แรก (เช่น Turner syndrome) หรือความผิดปกติของโครงสร้าง (เช่น Müllerian agenesis)
การไม่มีประจำเดือนในภายหลัง (secondary amenorrhea) มีความหมายคือการหยุดชะงักของประจำเดือนที่ปกติจะมาอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาสามเดือน หรือการหยุดของประจำเดือนที่ปกติจะมาไม่สม่ำเสมอเป็นเวลาหกเดือน
กรณีส่วนใหญ่ของการไม่มีประจำเดือนในภายหลังสามารถเกิดได้จาก polycystic ovary syndrome, hypothalamic amenorrhea, hyperprolactinemia หรือ primary ovarian insufficiency
ภาวะการตั้งครรภ์ควรได้รับการคิดถึงและตรวจค้นในทุกกรณี  การตรวจสืบค้นเริ่มต้นของการไม่มีประจำเดือนในสองกรณี รวมถึงการทดสอบการตั้งครรภ์ม ระดับของ luteinizing hormone, follicle-stimulating hormone, prolactin และ thyroid-stimulating hormone
ผู้ป่วยที่มีภาวะรังไข่สามารถทำงานได้เต็มที่ตั้งแต่แรก (primary ovarian insufficiency) จะไม่คาดเดาการทำงานของรังไข่ และไม่ควรสันนิษฐานว่าจะเป็นหมัน ผู้ป่วยที่มีไม่มีประจำเดือนจากปัญหาของไฮโปทาลามัส (hypothalamic amenorrhea) ควรได้รับการประเมินเกี่ยวกับความผิดปกติของการรับประทานอาหาร และมีความเสี่ยงสำหรับการลดลงของความหนาแน่นกระดูกร่วมด้วย
ผู้ป่วยซึ่งเป็น polycystic ovary syndrome มีความเสี่ยงสำหรับการทนต่อน้ำตาลกลูโคส ความผิดปกติของไขมัน และด้านอื่น ๆ ของ metabolic syndrome
ผู้ป่วยที่เป็น Turner syndrome (or variant) ควรจะได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่มีความชำนาญคุ้นเคยกับการตรวจคัดกรองและการรักษาที่เหมาะสม เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยที่มีประจำเดือนอาจมีความแตกต่างกันมากและยังขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและการวินิจฉัยโรคที่เฉพาะเจาะจง

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/0601/p781.html