Clinician update
แอสไพรินทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงกับเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารและยับยั้งการผลิตโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) โดยเยื่อบุกระเพาะอาหารซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลโดยมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 2 เท่าของการมีเลือดออกทางเดินอาหารจากการมียาแอสไพรินขนาดต่ำเพียงอย่างเดียว
การเพิ่มความเสี่ยงจากการใช้ที่เพิ่มขึ้นของยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการเกิดลิ่มเลือด เช่นเดียวกับสเตียรอยด์ และ NSAID ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ลักษณะทางคลินิกหลายอย่างที่นำมาซึ่งการเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกทางเดินอาหารเช่น อายุที่มากขึ้น, เพศชาย, การไม่ใช่ชนผิวขาว, เป็นเบาหวาน, มีประวัติการใช้แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก, อาการหัวใจล้มเหลว, และการมีความบกพร่องของไต
ประวัติของการมีแผลและการที่เคยมีเลือดออกทางเดินอาหารมาก่อนเป็นความเสี่ยงที่สำคัญมาก ความเสี่ยงของการมีเลือดออกจะพบสูงที่สุดในช่วงแรกหลังจากเหตุการณ์ของหัวใจ แต่ยังคงเป็นอยู่ในระยะยาวของการติดตาม
กลยุทธ์ในการปกป้องกระเพาะอาหาร (gastroprotective) เพื่อลดความเสี่ยงของการมีเลือดออกทางเดินอาหารในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านเกล็ดเลือดได้รับการทดสอบในสภาวะต่างๆ ทั้ง H2 receptor antagonists และ PPIs ลดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารและการกัดกร่อนหาย
การใช้ PPIs ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือดมีความสัมพันธ์กับการลดลงอย่างมีนัยสำคัญในความเสี่ยงของการมีเลือดออกทางเดินอาหาร, แผล, และการกัดกร่อน โดยข้อมูลจากการสังเกตและการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแม้จะไม่มีการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ที่มีการเปรียบเทียบโดยตรงระหว่าง PPIs, H2 receptor antagonists ว่ายาใดสามารถป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากทางเดิน โดยลักษณะทางคลินิกสามารถใช้เป็นแนวทางที่บ่งถึงความจำเป็นในการใช้ PPIs ในผู้ป่วยที่ให้การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด
Ref: http://circ.ahajournals.org/content/125/2/375.full
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
2,904 Antiplatelet therapy and proton pump inhibition
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น