วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,719 ตารางคำนวนการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน สำหรับใช้แนะนำ ให้คำปรึกษา หรือประกอบการดูรักษาสุขภาพของผู้ป่วย

ตารางคำนวนการใช้พลังงาน โดยท่านสามารถใส่อายุ น้ำหนักลงไป ตารางจะแสดงพลังงานที่ใช้ของแต่ละคน ในทุกๆ กิจกรรม ซึ่งตอนนี้มีถึง 107 กิจกรรม  ตั้งแต่การแต่งตัว การรับประทานอาหาร กิจวัตรส่วนตัว งานอดิเรก การออกกำลังกาย และอื่นๆ นอกจากจะใช้กับตัวเราเองแล้วยังสามารถใช้แนะนำ ให้คำปรึกษา ช่วยให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาพตัวอย่างของตาราง

ที่มาจากเว็บไซต์คนไทยไร้พุง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ลิ้งค์ http://nutrition.anamai.moph.go.th/web/web/book/health/energy.xls

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,718 ข้อควรทราบเกี่ยวกับเอ็นไซม์อะไมเลส (amylase)

เอ็นไซต์อะไมเลส (amylase) เป็นเอ็นไซต์สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรต โดยทำหน้าที่ไฮโดรไลซ์โพลีแซคคาไรด์ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี๋ยว สามารถสร้างจากเซลล์ของตับอ่อน และจากต่อมน้ำลาย ในภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (ทั้ง inflammation และ infection) จะพบว่าอะไมเลสจะเริ่มสูงขึ้นภายใน 6 - 12 ชม. เมื่อเริ่มมีตับอ่อนอักเสบ และอยู่ในเลือดได้ประมาณ 3-5 วัน (บางอ้างอิง 2-3 วัน) โดยค่าปกติของเอนไซม์อะไมเลสในเลือด อยู่ระหว่าง 28 - 100 ยูนิต/ลิตร บางอ้างอิง  30-150 ยูนิต/ลิตร หรือแตกต่างจากนี้ได้บ้าง โดยเฉพาะถ้าค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าของค่าปกติสูงสุดบ่งบอกถึงการมีพยาธิสภาพที่ตับอ่อน อะไมเลสยังสามารถขับออกทางไตจึงตรวจพบได้ด้วยจากการตรวจปัสสาวะ แต่ในบางกรณีอาจพบอะไมเลสสูงขึ้นในเลือดได้โดยไม่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบหรือมีตับอ่อนอักเสบแต่พบว่าค่าอะไมเลสในเลือดปกติก็ได้ เช่น
 -ภาวะที่มีอะไมเลสในเลือดสูงโดยไม่มีตับอ่อนอักเสบ สามารถพบได้ใน parotitis,  salpingitis, tumor ของ papillary, intestinal infarction, PU perforation , ectopic  pregnancy, dissecting aortic aneurysm,  renal failure,  macroamylasemia เป็นต้น
 -ภาวะที่มีตับอ่อนอักเสบโดยที่ระดับอะไมเลสอาจปกติ ได้แก่ hypertriglyceridemia, acute attack on top chronic pancreatitis, fatal  pancreatitis เป็นต้น
ยาที่อาจทำให้ระดับอะไมเลสในเลือดสูงขึ้นได้แก่
asparaginase, aspirin, birth control pills, cholinergic medications, ethacrynic acid, methyldopa, opiates (codeine, meperidine, morphine), thiazide diuretics

Ref: http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Approach%20to%20patient%20with%20acute%20pancreatitis.pdf
http://ucsdlabmed.wikidot.com/chapter-6-laboratory-diagnosis-of-pancreatic-disease
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003464.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Amylase

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,717 Medical pleurodesis

การทำ pleurodesis ประกอบด้วย medical (chemical) โดยการใช้ยาหรือสารเคมี และ surgical pleurodesis โดยทำผ่านทาง thoracotomy หรือ thoracoscopy
การทำ medical pleurodesis จะใช้สารที่เป็น sclerosing agent  เพื่อทำให้เกิด fibrous adhesion ระหว่าง visceral และ parietal pleura และปิดช่องว่าง เพื่อป้องกันการกลับมามีการสะสมของน้ำ ภายหลังจากใส่ท่อระบายน้ำออกหมดแล้วร่วมกับการมีการขยายตัวของปอด รวมถึงการไม่มีภาวะ bronchial obstruction หรือ fibrotic-trapped lung โดยยาที่ใช้ในการทำ pleurodesis เช่น doxycycline, talc, tetracycline, minocycline, silvernitrate, iodopovidone, bleomycin, corynebacterium parvum with parenteral methylprednisolone acetate,erythromycin, fluorouracil, interferon beta, mitomycin C, cisplatin, cytarabine, doxorubicin,และ streptococcus pyogenes A3(OK-432)
ซึ่งก่อนเริ่มการทํา pleurodesis ควรมีการให้ narcotic analgesics(เช่น morphine) [BTS guideline แนะนําให้ lidocaine 3 มก/กก; ขนาดสูงสุด 250 มก ให้ intrapleural และ/หรือ ยาสงบระงับ(sedation) เช่น midazolam เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดความเจ็บปวดจาก sclerosing agent ผสมตัวทำละลายใส่ลงไปในท่อระบายทรวงอกประมาณ 50-100 มล. หลังจากนั้น clamp สายไว้ 1-2 ชั่วโมง เมื่อเอา clamp ออก ประเมินน้ำที่ออกจากท่อระบายทุกวัน ถ้าออกน้อยกว่า 150 มล./วัน สามารถเอาท่อออกได้ แต่ถ้ายังออกมากกว่า 150 มล. ที่ 72 ชั่วโมง ถือว่าล้มเหลว ควรทำซ้ำ บางแนวทางอาจให้ต่อ suction ความดัน 20 ซม. ปรอท เพื่อเพิ่มแรงดูด แต่อาจไม่จําเป็นก็ได้
มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการหมุนตัวผู้ป่วยเพื่อให้ sclerosing agent กระจายไปทั่วบริเวณเยื่อหุ้มปอดนั้นไม่จำเป็น เพราะ sclerosing agent จะกระจายไปได้เองโดย capillary action ยกเว้นเมื่อพบว่ายังมีช่องอากาศอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดอยู่
ส่วนใน ผู้ป่วยที่ปอดไม่ขยายหลังจากใส่ท่อเพื่อระบายน้ำออกในบางรายพิจารณาใส่ pleural catheter ชนิดถาวรเพื่อใช้ระบายน้ำ และผู้ป่วยสามารถอยู่ที่บ้านได้
พิ่มเติม
Talc จะมีส่วนประกอบหลักคือ hydrated magnesium silicate (Mg3Si4O10(OH)2) ซึ่งมีการนำมาใช้ในการทำ pleurodesis ครั้งแรกในปี 1935 และมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ calcium, aluminum, และ iron และอาจจะมีสารอื่นๆ ร่วมด้วยอีก เช่น magnesite, dolomite, kaolinite, calcite, chlorite, serpentine, and quartz แต่จะไม่มี  asbestos โดย talc จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่น้อยกว่า 5 จนถึง 10 ไมครอน

Ref: http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Pleural%20effusion%20%E0%B8%AD%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3.pdf
http://www.uptodate.com/contents/talc-pleurodesis
http://www.scribd.com/doc/55546975/pleurodesis-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

2,716 กลไกการเกิดเสียงวี๊ด (wheezing) ที่สามารถมองเห็นได้

แม่ยายของผมเองช่วยเหลือตนเองไม่ได้มีปัญหาเสมหะเยอะต้องใส่ tracheostomy tube เมื่อวานเปลี่ยนจากชนิดพลาสติกมาเป็นชนิดโลหะ หลังเปลี่ยนแล้วประมาณ 6 ชม. ได้ยินเสียงวี๊ดดังจาก tracheostomy tube เมื่อไปดูพบว่าในท่อชิ้นในมีเสมหะค้างอยู่ เมื่อถอดเอาท่อชิ้นในออก ทำให้รูกว้างขึ้นเสียงนั้นก็หายไป เมื่อมาดูใกล้ๆ ก็เห็นเสมหะติดอยู่ดังในภาพ จึงทำให้นึกถึงเสียงวี๊ดในคนที่เป็นหอบหืดหรือถุงลมโป่งพองว่าก็คงเกิดวี๊ดเนื่องจากมีการอุดตันของเสมหะ ร่วมกับการตีบแคบของทางเดินหายใจอันเนื่องมากการบวม การอักเสบ หรืออาจจะมีกลไกที่ซับซ้อนกว่านี้ แต่ที่เห็นนี้เป็นตัวอย่างของกลไกง่ายๆ ของการเกิดเสียงวี๊ดที่เราสามารถรับรู้ได้ สามารถเห็นได้โดยไม่ยาก
ท่อชิ้นในที่มีเสมหะติดอยู่

หลังนำท่อชิ้นในออก รูกว้างขึ้น เสียงวี๊ดหายไป

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,715 บทความความรู้บูรณาการสำหรับแพทย์ โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

มีทั้งหมด 8 บท โดยสามารถดาวน์โหลดไปอ่านศึกษาได้ครับ
โดยมีเนื้อหาดังนี้
บทที่ 1 แพทย์กับเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ
บทที่ 2 สิทธิของผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้สวัสดิการของข้าราชการ
บทที่ 3 สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยที่ได้รับจากการประกันชีวิต
บทที่ 4 การจัดการความขัดแย้งจากการใช้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
บทที่ 5 บทบาทของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ต่อแพทย์
บทที่ 6 บทบาทของแพทยสภาต่อแพทย์
บทที่ 7 ความรู้ด้านกฏหมายสำหรับแพทย์
บทที่ 8 กรอบแนวคิด หลักการการพัฒนาระบบบริการการแพทย์

ลิ้งค์ http://www.rcpt.org/index.php/trainningtesting/2012-09-21-03-19-31/387-2014-03-20-10-20-47.html

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,714 Nutrition in the acute phase of critical illness

Review article
Critical care medicine
N Engl J Med  March 27, 201

ผู้ป่วยหนักที่ต้องใช้การช่วยเหลือดูแลในระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในหอผู้ป่วยหนัก (ไอซียู) โดยทั่วไปจะมีอาการเบื่ออาหารและอาจจะไม่สามารถที่จะรับประทานอาหารที่ต้องการทางปากด้วยตัวเองเป็นระยะเวลาตั้งแต่เป็นวันจนถึงเป็นเดือน ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีการให้ธาตุอาหารหลักต่างๆ (macronutrients) โดยผ่านระบบทางเดินอาหารหรือการให้ทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยจะสะสมการขาดดุลพลังงานอย่างรวดเร็วจนถึงสัดส่วนที่นำไปสู่​​การสูญเสียเนื้อเยื่อไร้ไขมัน (lean tissue) และมีความสัมพันธ์กับการเกิดผลกระทบ
การตอบสนองคาแทบอลิค (catabolic response) ต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรงเฉียบพลันจะมีความเด่นชัดกว่าที่ปรากฏจากภาวะการอดอาหารในผู้ที่มีสุขภาพดี เนื่องจากการขาดดุลพลังงานในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงมักจะถูกซ้อนทับจากการไม่สามารถเคลื่อนไหวได้และการอักเสบและระบบต่อมไร้ท่อที่ตอบสนองภาวะเครียด การสูญเสียกล้ามเนื้อโครงร่างของร่างกายอย่างรุนแรงและความอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างการเจ็บป่วยที่รุนแรงมีความสัมพันธ์กับความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลานาน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Enteral Nutrition
   Timing of Initiation
   Estimation of Energy Requirements
   Gastric Residual Volume
-Parenteral Feeding
-Selection of Macronutrients
   Amino Acids
   Lipids
-Selection of Micronutrients
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1304623

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,713 การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต กลวิธีลดความเสี่ยงของการรับโลหิต

บทความพื้นฟูวิชาการ
รองศาสตราจารย์ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ 
ภาควิชา  ภูมิคุ้มกัน  วิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ความเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ
-ความเสี่ยงจากไวรัสเอดส์
-ความเสี่ยงจากไวรัสัตบอักเสบซี
-ความเสี่ยงจากไวรัสัตบอักเสบบี
-การตรวจหาสารพันธุกรรมของ HIV, HCV และ HBV ด้วย NAT
-การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต
-การรับรู้และความเขัาใจต่อเอกสารคัดกรองผู้บริจาคโลหิต
-การบริจาคโลหตเพราะต้องการตรวจหาร่องรอยการติดเชื้อไวรัสเอดส์
-บทสรุป

-เอกสารอ้างอิง

ลิ้งค์ คลิก

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,712 หนังสือยาต้านพิษ (Antidote book)

โดย สปสช   สมาคมพิษวิทยาคลินิก    องค์การเภสัชกรรม


ลิ้งค์: ศูนย์พิษวิทยา Ramathibodi Poison Center 

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,711 การให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผลของความสำเร็จของระดับความดันโลหิตทีลดลง

- ควรรับประทานอาหารที่มี่ แคลเซียมเพิ่มอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เช่น โยเกิร์ต ยาแคลเซียม เป็นต้น
 - การลดนํ้าหนักโดยจํากัดแคลอรี และลดอาหารที่มีไขมันสูง ในคนอ้วน พบว่า การลดนํ้าหนัก 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตตัวบนจะลดลง 1.6 มม.ปรอท และความดันโลหิตตัวล่างจะลดลง 1.3 มม.ปรอท
 - การออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอและต่อเนื่องโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เคลื่อนไหว เช่น การเต้นแอโรบิค เดินเร็ว ว่ายนํ้า ช่วยลดความดันลงได้ 4-9 มม.ปรอท
 - งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 - ควบคุมอารมณ์โกรธ ลดความเครียด โดยการผ่อนคลาย ทําสมาธิ โยคะ
 - ลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม และลดปริมาณเกลือหรือนํ้าปลาในอาหารจะลดความดันโลหิตตัวบนได้ 10 มม.ปรอท และลดความดันโลหิต ตัวล่างได้ 5 มม.ปรอท (เกลือ 1 ช้อนชามีโซเดียม 2.3 กรัม)
 - หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือปน เช่น ของหมัก ของดอง ของตากแห้ง อาหารกระป่อง อาหารที่มี ผงชูรส
 - ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียม เช่น กล้วย ส้ม ผลไม้/ผักสด เพราะจะช่วยป้องกันการทําลายหลอดเลือด และลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ลิ้งค์ http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/20130715-4.pdf

2,710 สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่-คู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในการตรวจดูแลรักษาไข้หวัดใหญ่-และแผ่นสรุปของการตรวจวินิจฉัย การรักษาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

ช่วงนี้พบมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) จึงนำรายงานสถานการณ์ล่าสุดมาให้อ่านศึกษาและนำคู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และทบทวนถึงแนวทาง flow ของการตรวจวินิจฉัย การรักษาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
1. ลิ้งค์ของสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ล่าสุดซึ่งประกาศ ณ. วันที่ 21 มีนาคม 2557 คลิก
2. คู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ คลิก
3. Flow ของการตรวจวินิจฉัย การรักษาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึงจะลงไว้ดังภาพด้านล่าง


คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,709 Common questions about clostridium difficile infection

American Family Physician
March 15 2014 Vol. 89 Number 6

การติดเชื้อ Clostridium difficile เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะท้องเสียที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea) โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการแต่ยังสามารถทำให้เกิดความหลากหลายของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิต อุบัติการณ์และความรุนแรงได้เพิ่มขึ้นในเวลาไม่กี่ปีมานี้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ที่สำคัญที่สุดของการติดเชื้อ C. difficile คือการได้รับยาปฏิชีวนะ ความเสี่ยงนี้สัมพันธ์กับปริมาณยาที่ใช้และเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ให้การรักษาและการรักษาร่วม
การติดเชื้อ C. difficile ยังมีความเกี่ยวข้องกับอายุเพิ่มมากขึ้น, การที่เพิ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, การมีโรคร่วมหลายอย่าง, การใช้ยายับยั้งกรดในกระเพาะอาหาร, โรคลำไส้อักเสบ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยพบได้มากขึ้นในผู้ที่มีอายุน้อย และผู้ป่วยที่มีสุขภาพดีในชุมชน
วิธีการตรวจสืบค้นอย่างรวดเร็วที่สุดในทางปฏิบัติคือการทำการขยายกรดนิวคลีอิกหรือการตรวจโดยวิธี enzyme immunoassays เพื่อตรวจหาสารพิษหรือการตรวจแบบสองขั้นตอน
การรักษารวมถึงการหยุดยาปฏิชีวนะถ้าเป็นไปได้ ถ้าอาการไม่รุนแรงควรจะรักษาด้วย metronidazole ชนิดรับประทาน ถ้ามีการติดเชื้ออย่างรุนแรงควรได้รับการรักษาด้วยยา vancomycin
โดยยา fidaxomicin อาจจะเป็นการรักษาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ การติดเชื้อกำเริบซ้ำควรให้การรักษาตามระดับความรุนแรง ส่วนการให้ยา vancomycin รับประทาน โดยการค่อยๆ ลดขนาดยาลงหรือการให้ยาแบบเป็นช่วงๆ (pulsed-dose) สำหรับการกำเริบซ้ำครั้งที่สองถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การป้องกันรวมถึงการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องเหมาะสมและการตระหนัดในการล้างมือ โปรไบโอติกส์สามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ไม่แนะนำเพื่อการป้องกันการติดเชื้อจาก Clostridium difficile โดยเฉพาะ

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,708 คู่มือการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (The manual of chest radiology)

โดย กลุ่มงานวิจัยการพัฒนาการรักษาและป้องกันวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://e-lib.ddc.moph.go.th/downloaded.php?id=6911&name=Radiography

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,707 Benign Paroxysmal Positional Vertigo

Clinical practice
N Engl J Med  March 20, 2014

 Key Clinical Points
 -โรคบ้านหมุนเวลาเปลี่ยนท่าทาง (benign paroxysmal positional vertigo, BPPV) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเวียนศรีษะบ้านหมุน เป็นลักษณะความรู้สึกปั่นหมุน (spinning) ช่วงสั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปชักนำโดยการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งศรีษะที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วง
-BPPV ที่เกิดกับ posterior canal (เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด) ให้การวินิจฉัยโดยการพบทิศทางของ  nystagmus ที่ขึ้นด้านบนและบิดหมุน จากส่วนของตาที่อยู่ทางด้านบนของแต่ละตาไปทางด้านหูที่อยู่ต่ำกว่า (ดูจากภาพตามลิ้งค์ด้านล่าง) สังเกตได้เมื่อผู้ป่วยนอนอยู่บนด้านใดด้านหนึ่งในระหว่างการทำ Dix–Hallpike maneuver
-BPPV ที่เกิดกับ horizontal canal ซึ่ง nystagmus จะมีลักษณะของทั้ง geotropic (กระตุกลงไปทางพื้น) หรือ  apogeotropic (กระตุกขึ้นไปทางเพดาน) เมื่อหันศรีษะไปทั้งสองข้างขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงาย
การทำให้หินปูนที่หลุดออกจากท่อวงกลมกลับเข้ากระเปาะยูตริเคิล หรือที่เรียกว่า canalith-repositioning maneuvers (เช่น Epley's และ Semont's maneuvers สำหรับ posterior canal) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษา BPPV.
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Diagnosis
   Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Key Clinical Points
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1309481

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,705 หยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ เพราะอาจทำให้ใช้ยาผิด

โดยสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในโครงการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ทั้งผู้ป่วย แพทย์ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์มักจะเรียก "ยาปฏิชีวนะ" ว่า "ยาแก้อักเสบ" ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้อง และทำให้เกิดความเข้าใจผิด เกิดความสับสนในการใช้ยาทั้งสอง บทความในรูปภาพด้านล่างนี้จะอธิบายและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียกกลุ่มยาทั้งสองให้ถูกต้อง ขอเชิญอ่านได้เลยครับ

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ลิ้งค์ที่มา Click

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,703 กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการได้รับการฉายรังสี (radiation cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลันจากการได้รับการฉายรังสี (acute radiation cystitis) เกิดขึ้นในระหว่างหรือหลังจากการรักษาด้วยรังสี ซึ่งมักจะดีขึ้นได้เอง และให้การดูรักษาแบบอนุรักษ์นิยมทั่วไป กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบภายหลัง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วง 6 เดือนถึง 20 ปีหลังจากการได้รับการฉายรังสี อาการแสดงที่สำคัญคือปัสสาวะเป็นเลือดซึ่งอาจจะมีความรุนแรงแตกต่างกันจนมากถึงขั้นมีเลือดออกและเป็นอันตรายต่อชีวิต
การดูแลรักษาในเบื้องต้นได้แก่การให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ, การให้เลือดถ้าเมื่อมีข้อบ่งชี้ และการใส่สายสวนทางท่อปัสสาวะเพื่อสวนล้าง (washout and irrigation) ในกระเพาะปัสสาวะ ยารับประทานหรือการให้ยาทางหลอดเลือดที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมปัสสาวะเป็นเลือดได้แก่ conjugated estrogens, pentosan polysulfate หรือ  WF10 ซึ่งเป็น immunokine
การส่องกล้อง เข้าไปในท่อปัสสาวะโดยที่ปลายของกล้องจะมีหัวเลเซอร์สำหรับจี้หรือการจี้ด้วยไฟฟ้าที่จุดเลือดออกจะมีประสิทธิภาพในบางครั้ง การฉีดสาร botulinum toxin A เข้าไปในผนังกระเพาะปัสสาวะอาจช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ  การฉีดสารอลูมินั่ม, สารสกัดจากรก (placental extract), โพรสตาแกลนดินส์ หรือฟอร์มาลินอาจจะได้ผล
ทางเลือกในการรักษาที่ลุกล้ำมากขึ้นได้แก่ การอุดหลอดเลือดที่มีเลือดออก (selective embolization) หรือการผูก (ligation) หลอดเลือดแดง internal iliac arteries ทางเลือกในการผ่าตัดได้แก่ การทำทางเบี่ยงของทางเดินปัสสาวะโดยการทำการใส่สายระบายน้ำปัสสาวะผ่านทางผิวหนัง (percutaneous nephrostomy) หรือ intestinal conduit โดยอาจจะตัดหรือไม่ตัดกระเพาะปัสสาวะ การบำบัดด้วยการรักษาด้วยออกซิเจน แรงดันสูง  (hyperbaric oxygen therapy (HBOT) โดยการให้ออกซิเจน 100% ซึ่งสูงกว่าความดันบรรยากาศ มีรายงานความสำเร็จ  60% - 92% ซึ่งการศึกษาแบบ multicenter, double-blind, sham-controlled trial เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ HBOT ในกรณีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการได้รับการฉายรังสีซึ่งยากต่อการรักษาขณะนี้กำลังดำเนินการ
หมายเหตุ
-conjugated estrogens นั้นเป็น mixture ของฮอร์โมนเพศหญิงในธรรมชาติ ซึ่งสร้างจากรังไข่ โดยจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนปนกันหลายตัวเป็นฮอร์โมนธรรมชาติ เช่น ยาที่มีชื่อการค้าว่า Premarin เป็นต้น โดยกลไกที่ชัดเจนยังไม่ทราบ แต่อาจเกี่ยวกับการควบคุมกำกับ cellular immune responses และ cytokines รวมถึงการกระตุ้น endothelial cell activity
-ส่วน pentosan polysulfate หรือ เพนโทแซน โพลีซัลเฟต โซเดียม (Pentosan Polysulfate Sodium) ยาที่มีชื่อการค้าว่า  Elmiron เป็นต้น โยกลไกที่ชัดเจนยังไม่ทราบ แต่ยานี้จะช่วยซ่อมแซม ชั้นของ  urothelial glycosaminoglycan layer และเพิ่มผลในการต้านขบวนการอักเสบ

Ref:
http://pantip.com/topic/30542579

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,702 รวมแอพพลิเคชั่นทางการแพทย์โดยแพทย์คนไทย

จากที่ได้ทำแอพพลิเคชั่นทางการแพทย์ไว้ โดยจะพิจารณาทำในเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน เป็นปัญหาในการจดจำสำหรับแพทย์ เพื่อช่วยให้เกิดความง่าย สะดวก สบาย รวดเร็วมั่นใจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ใช้ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ตอนนี้มี 2 แอพพลิเคชั่นแล้ว

1. แอพพลิเคชั่นการให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวานตามแนวทางล่าสุดของ ADA และของประเทศไทย
2. แอพพลิเคชั่นการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) จากเกณฑ์การวินิจฉัยล่าสุดของ American College of Rheumatology/European League Against Rheumatism (ACR/EULAR) ปี 2010

โดยสามารถเข้าไปศึกษาและดาวน์โหลดและติดตั้งได้ฟรีตามลิ้งคด้านล่างครับ
(ยังเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้นนะครับ)
1. http://www.phimaimedicine.org/2014/01/special-post.html
2. http://www.phimaimedicine.org/2014/03/rheumatoid-arthritis.html

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,700 Management of skin abscesses in the era of Methicillin-Resistant Staphylococcus aureus

Review article 
Engl J Med   March 13, 2014

ฝีเป็นความผิดปกติของผิวหนังที่พบมากที่สุด ได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เวชปฏิบัติงานทั่วไปและแพทย์ฉุกเฉิน อุบัติการณ์ของฝีเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะฉุกเฉินของ methicillin-resistant Staphylococcus aureus ที่มาจากในชุมชน (Community-associated MRSA)
ในหลายส่วนของโลกขณะนี้พบว่าการติดเชื้อ  MRSA เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของฝี และยังพบว่า Community-associated MRSA เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง ได้แก่ necrotizing pneumonia, necrotizing fasciitis, purpura fulminans, และ severe sepsis ในผู้ที่ไม่ใช่คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่เกียวเนื่องกับการบริการสุขภาพ (health care–associated strains)  ของ methicillin- S. aureus ที่ไวต่อ  methicillin ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์
ในระหว่างที่มีการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์ของฝีและการติดเชื้อ MRSA, การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อาจมีผลต่อการดูแลรักษาฝี ซึ่งการตรวจอัลตร้าซาวด์ข้างเตียงผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้นทั้งในแผนกฉุกเฉินและในโรงพยาบาล การผ่าตัดแบบดั้งเดิมได้รับการทดสอบอย่างเป็นระบบ และเทคนิคใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยกลยุทธ์ในการป้องกันยังจะต้องได้รับการตรวจสอบติดตาม ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่การดูแลรักษาฝีก็ยังมีความหลากหลายแตกต่างกัน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Diagnosis
-Treatment
    Drainage
    Irrigation and Packing
    Primary versus Secondary Closure
    Antibiotic Treatment
    Prevention
-Summary
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1212788

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,699 หนังสือความรู้ทางการแพทย์เรื่อง อ้วนและอ้วนลงพุง

บรรณาธิการ: โดย ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์     ผู้จัดทำ: เครือข่ายคนไทยไร้พุง    ผู้สนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุงกำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต รวมทั้งเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง จึงต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกด้าน หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่รวบรวมข้อมูลวิชาการ ผลกระทบด้านต่างๆ วิธีการจัดการที่มีการดำเนินงานบ้างแล้ว พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ รวมถึงการป้องกันและรักษาโรคอ้วนและอ้วนลงพุง รวมทั้งการใช้เป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ที่สนใจต้องการดำเนินงานด้านการจัดการนี้ได้

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,698 แจกฟรี แอพพลิเคชั่น เกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ของ rheumatoid arthritis

เนื่องจากเกณฑ์การวินิจฉัยล่าสุดของ American College of Rheumatology/European League Against Rheumatism (ACR/EULAR) ได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ของ rheumatoid arthritis ปี 2010 ซึ่งมีรายละเอียดซับซ้อน มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก จดจำยาก
ผมจึงร่วมกับโปรแกรมเมอร์ได้ทำแอพพลิชั่นเกณฑ์การวินิจฉัยดังกล่าว โดยเป็นในระบบปปฏิบัติการแอนดรอยด์  (Android operating system) 
ซึ่งขั้นตอนคือใช้อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น เพื่อดาวน์โหลด และลงและยอมรับการติดตั้งโปรแกรมไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วเริ่มทดลองใช้งาน ถ้ามีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน ตลอดจนความถูกต้องของเนื้อหาสามารถเขียนลงในความเห็นใน post นี้ หรือส่งมาที่อีเมล Chansakmed@hotmail.com เพื่อรวบรวมข้อมูลและปรับปรุงให้ดีที่สุดครับ


 ลิ้งค์ดาวน์โหลด https://docs.google.com/file/d/0B-bd7nN27aZOZml2QzZtREpvVEU/edit

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,697 คู่มือยาต้านพิษ 2556 ฉบับพกพา

โดยสมาคมพิษวิทยาคลินิก
โครงการเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ: ประสานความร่วมมือพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการอย่างต่อเนื่อง ประจำปี 2556
สนับสนุนโดย สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


เนื้อหาประกอบด้วย
-Snake antivenoms
-Atropine
-Pralidoxine (2-PAM)
-N-acetylcysteine (NAC)
-Sodium bicarbonate
-Polyethylene glycol electrolyte solution (PEG-ELS)
-ภาคผนวก
การใช้โปรแกรมยาต้านพิษ
คลินิกพิษจากสัตว์
ศูนย์พิษวิทยา ศิริราช
ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี

ลิ้งค์ดาวโหลด https://docs.google.com/file/d/0B0ZXDkIX_xl1SWllaDk2RzNENE0/edit

วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,696 การบริหารยา Nicardipine

-โดย Nicardipine inj. จะมีขนาดบรรจุ 2 mg/2ml และ 10 mg/10ml
ให้ทำการเจือจางเจือจางให้ได้ความเข้มข้น 0.1 mg/ml
เช่นถ้าใช้ Nicardipine ชนิดที่บรรจุ 2 ml ก็ผสมในตัวทำละลาย 18 ml ถ้าใช้ชนิดที่บรรจุ 10 ml ก็ผสมในตัวทำละลาย 90 ml
-ตัวทำละลายที่ใช้ได้ ได้แก่ 0.9%NSS, 0.45% NSS, water for injection, D5W, D5S
ส่วนตัวทำละลายที่ที่เข้ากันไม่ได้ ได้แก่  5% sodium bicarbonate inj., Lactated Ringers inj.
เมื่อผสมยาแล้วจะมีความคงตัว 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง
-การให้ยาคือ
1. การให้ทางหลอดเลือดดำแบบต่อเนื่อง (continuous iv drip)
iv drip 5 mg/hr เพิ่ม 2.5 mg/hr q 5min ถ้าไม่รีบก็ปรับทุก 15 min
ซึ่งก็คือ iv drip 50 ml/hr เพิ่ม 25 ml/hr q 5 min
[ขนาดยาจะอยู่ที่ 3-15 mg/hr]
โดยค่อยปรับเพิ่มจนความดันดีและค่อยๆลดลงจนน้อยกว่า 3 mg/hr
2. การให้แบบเป็นครั้งๆ (intermittent)
ใช้pาขนาด 2 มิลลิกรัม เจือจางด้วยน้ำกลั่นเป็น 4 ml ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ 0.5 mg หรือ 1 ml สามารถฉีดซ้ำได้ในขนาดเท่าเดิมนี้ทุก 15 นาที จนได้ความดันโลหิตตามที่ต้องการ

หรือถ้าจะคำนวนโดยละเอียดโดยคิดเป็นขนาดยาต่อ นน. เป็น กก. ก็คือ 
IV infusion โดยให้อัตราเริ่มแรก 2-10 mcg/kg/min หลังจากความดันโลหิตลดลงจนได้ระดับที่ต้องการแล้วให้ปรับอัตราการหยด เพื่อคุมความดันไว้ในระดับที่ต้องการ
IV bolus 10–30 mcg/kg ภายใน 1-2 นาที หรือตามแพทย์สั่ง
เมื่อต้องการเปลี่ยนเป็นยารับประทาน ควรเริ่มให้ชนิดรับประทานทันทีที่คนไข้สามารถให้ยาทางปากได้และให้ก่อนหยุดยาฉีด 1 ชั่วโมง
-ขนาดยาฉีดเป็นรับประทาน 0.5 mg/hr= 20 mg oral q 8 h
-ขนาดยาฉีดเป็นรับประทาน 1.2 mg/hr= 30 mg oral q 8 h
-ขนาดยาฉีดเป็นรับประทาน 2.2 mg/hr= 40 mg oral q 8 h

Ref: http://drugnote.wikispaces.com/Nicardipine

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,695 Diagnosis and initial management of dysmenorrhea

American Family Physician
March 1 2014 Vol. 89 Number 5

อาการปวดประจำเดือนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดในอุ้งเชิงกรานซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและบางครั้งส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในกิจกรรม ประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการตรวจภายในในผู้ป่วยที่มีเพศสัมพันธ์อาจช่วยบอกสาเหตุได้
อาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea) คืออาการปวดประจำเดือนโดยไม่มีพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน  การมีเลือดออกผิดปกติจากมดลูก, อาการปวดประจำเดือน อาการปวดที่ไม่เป็นรอบ การเปลี่ยนแปลงในความรุนแรงและระยะเวลาของความเจ็บปวด และ ความผิดปกติของผลการตรวจอุ้งเชิงกรานสนับสนุนถึงการมีพยาธิวิทยาสถาพหรือที่รียกว่าอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ (secondary dysmenorrhea) และต้องการการสืบค้นต่อ การตรวจอัลตร้าซาวด์ผ่านทางช่องคลอด (ultrasonography transvaginal) ควรจะทำการตรวจถ้าสงสัยอาการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ
โดยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ อาการและอาการแสดงของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญแทรกเข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก (adenomyosis) ได้แก่อาการปวดประจำเดือน ภาวะมีประจำเดือนมากผิดปกติ  และมดลูกขยายใหญ่
ทางเลือกสำหรับการรักษาอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ ได้แก่ NSAID และฮอร์โมนคุมกำเนิด
ฮอร์โมนคุมกำเนิดเป็นการรักษาหลักของอาการปวดประจำเดือนจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การใช้ความร้อนเฉพาะที่ การออกกำลังกาย และอาหารเสริมทางโภชนาการอาจเป็นประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือน แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการทำโยคะ การฝังเข็มหรือการนวด

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0301/p341.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,693 Frank's sign

Image in clinical medicine

เนื้อหาคือชาย 50 ปี เป็นความดันโลหิตสูงมานาน มาตรวจด้วยเจ็บหน้าอกเวลาออกแรง ผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการตรวจสมรรถนะหัวใจขณะออกกำลังกาย (cardiac stress test) ไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจพบมีการตีบแคบและได้รับการใส่ขดลวดสองตำแหน่ง หลังจากนั้นผู้ป่วยฟื้นตัวดี และกลับมาตรวจรักษาโดยไม่มีอาดารเจ็บหน้าอกอีก โดยจากการตรวจพบมี Frank' sign ที่ใบหูทั้งสองข้าง เป็นร่องทแยงมุม เริ่มจาก tragus เอียงเป็นมุม 45 องศามาสุดที่ขอบของใบหู ซึ่งสามารถใช้ในการทำนายโรคหลอดเลือดหัวใจ และชี้บ่งถึงการแก่ก่อนวัยและการสูญเสียความยืดหยุ่นของผิวหนังและหลอดเลือด ถึงแม้จะกำจัดในเรื่องของความไว แต่สิ่งที่พบทางคลินิกนี้จะช่วยเป็นอย่างมากในการวินิจฉัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี สามารถดูรูปจากอ้างอิงนี้หรือจะดูรูปจากกระทู้เดิมที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ก็ได้ครับ คลิก

อ้างอิง www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMicm1213868

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,690 A stepwise approach to the interpretation of pulmonary function tests

American Family Physician
March 1 2014 Vol. 89 Number 5

เครื่องมือสำหรับตรวจสมรรถภาพปอดในสถานบริการหรืออาจเรียกว่า spirometry เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับแพทย์ปฐมภูมิในการวินิจฉัยและดูแลรักษาปัญหาของระบบทางเดินหายใจ ความผิดปกติแบบอุดกั้นจะแสดงโดยการมีปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกอย่างรวดเร็วในหนึ่งนาที/ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงจนหมด [forced expiratory volume in one second/forced vital capacity (FEV1/FVC) ratio] ที่ต่ำกว่า 70% ของ 5 เปอร์เซ็นไทล์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Third National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES III) ในผู้ใหญ่ และน้อยกว่า 85% ในผู้ที่อายุ 5-18 ปี
ถ้าพบความผิดปกติแบบอุดกั้น แพทย์ควรตรวจสอบว่าโรคจะสามารถย้อนกลับคืนได้หรือไม่ โดยดูที่การเพิ่มขึ้นของ FEV1 หรือ FVC หลังการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม (คือเพิ่มขึ้นกว่า 12% ในผู้ป่วยอายุ 5-18 ปีหรือมากกว่า 12% และมากกว่า 200 มิลลิลิตรในผู้ใหญ่)
ซึ่งโรคหอบหืดมักจะย้อนกคืนลับในขณะที่รคปอดอุดกั้นเรื้อรังไม่ย้อนคืนกลับ ความผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัวของปอด  (restrictive pattern) จะแสดงโดย FVC ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นไทล์โดยอ้างอิงข้อมูลจาก NHANES III ในผู้ใหญ่ หรือน้อยกว่า 80% ในผู้ป่วยอายุ 5-18 ปี
หากพบมีความผิดปกติแบบจำกัดการขยายตัวของปอด การตรวจสมรรถภาพปอดอย่างเต็มรูปแบบด้วยการตรวจความจุการซึมซ่านของคารบอนมอน็อกไซด์ (diffusing capacity of the lung for carbon monoxide testing) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค
ถ้าทั้ง FEV1/FVC ratio และ FVC ต่ำ ผู้ป่วยจะมีภาวะร่วม (mixed defect) ความรุนแรงของความผิดปกติทราบได้โดย FEV1 (percentage of predicted) ถ้าผลการตรวจปกติแต่แพทย์ยังสงสัย exercise หรือ allergen induced asthma การทดสอบความไวของทางเดินหายใจหรือหลอดลม (bronchoprovocation) (เช่น methacholine challenge, mannitol inhalation challenge, exercise testing) ควรได้รับการพิจารณาทำ

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0301/p359.html

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,689 Attention Deficit–Hyperactivity Disorder in children and adolescents

Clinical practice
N Engl J Med February 27, 2014

Key clinical points
-โรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของพฤติกรรม-ระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับผลกระทบในระยะยาวของหน้าที่การทำงานในผู้ป่วย
-การประเมินการวินิจฉัยต้องอาศัยผู้ปกครองและครูเพื่อประเมินระดับคะแนนพฤติกรรมของเด็กในสภาพแวดล้อมต่างๆ ทุกๆ วัน ส่วนในวัยรุ่นให้แจ้งข้อมูลด้วยตัวเองอันเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการวินิจฉัย
-สภาวะร่วมและปัญหา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติการเรียนรู้, ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า (ความผิดปกติของพฤติกรรมภายใน) พฤติกรรมตรงข้ามและความประพฤติกรรมรบกวนฝ่าฝืนกฏระเบียบของสังคม (ความผิดปกติของพฤติกรรมภายนอก) จะต้องได้รับการพิจารณาในการประเมินและการดูแลรักษาโรคสมาธิสั้น
-การรักษาควรจะมุ่งเน้นไปที่เด็กที่มีความพิการมากกว่าที่จะมุ่งเน้นเฉพาะในอาการหลักของโรคสมาธิสั้น แผนการรักษาควรทำทั้งในเด็ก, สมาชิกในครอบครัวรวมทั้งผู้ปกครอง ควรระบุวัตถุประสงค์เป้าหมายที่จำเพาะที่เกี่ยวข้องกับผลลัพท์หน้าทีการทำงานแบบกว้างๆ และมีการตรวจสอบติดตามการประเมินผลของการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
-ยากระตุ้น (stimulant medications) จะลดอาการสมาธิสั้นโดยไม่จำเป็นต้องทำให้หน้าที่การทำงานที่จำกัดดีขึ้น
-การดูแลรักษาพฤติกรรมไม่มีประสิทธิภาพเท่าการใช้ในการลดยาในการลดอาการหลัก แต่จะช่วยเพิ่มการทำงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มย่อยของเด็กที่มีสมาธิสั้นและจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้ปกครอง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Key Clinical Points
   Classification
   Pathogenesis and Risk Factors
Strategies and Evidence
   Diagnosis
   Management
   Treatment of Preschool Children
   Longitudinal Care
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1307215

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,688 ข้อควรทราบเรื่องการักษา supraventricular tachycardia

การรักษาในระยะยาว (long term management) มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความบ่อยของการเกิดซ้ำ ให้พิจารณาเป็นรายบุคคลโดยขึ้นอยู่กับความถี่, ความรุนแรงของโรคและผลกระทบของอาการต่อคุณภาพชีวิต สำหรับผู้ที่เป็นไม่บ่อย สามารถหายได้เองและมีอาการน้อยในแต่ละครั้ง อาจwม่จำเป็นต้องให้การรักษา หรืออาจจะใช้ยารับประทานเมื่อมีอาการโดยเฉพาะในผู้ทีมีอาการนานๆ ครั้ง เช่นไม่กี่ครั้งต่อปี แต่ในแต่ละครั้งเป็นค่อนข้างนาน เช่น 1-2 ชม. และมี hemodynamic คงที่
แต่พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากจะเลือกใช้วิธีการการรักษาให้หายขาดเนื่องจากความวิตกกังวลว่า อาจเกิดอาการขึ้นอีกได้
ข้อบ่งชี้ในการรักษาในระยะยาว
-มีอาการเกิดขึ้นซ้ำในแต่ละครั้งมีผลต่อคุณภาพชีวิต
-มีอาการเกิดขึ้นและพบมี WPW syndrome จาก EKG
-เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่มีผลต่อการประกอบอาชีพหรือการเแข่งขันกีฬาหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยง (เช่นนักบินและนักดำน้ำ)

ยาที่แนะนำได้แก่ยาที่ยับยั้ง AV node ใน Class Ic and Class III โดย beta blockers และ calcium-channel blockers (Class II และ IV ตามลำดับ) เป็นยาทางเลือกลำดับแรกที่เหมาะสมในผู้ที่ EKG ไม่พบ WPW syndrome
ซึ่งพบว่า beta blockers และ calcium-channel blockers เหนือกว่า digoxin ในการยับยั้ง AV node ในช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของ sympathetic tone เช่น ในช่วงออกกำลังกาย
และไม่ควรใช้ digoxin ในผู้ป่วยที่มี WPW syndrome เพราะจะเพิ่มการนำกระแสไฟฟ้าของ accessory pathway ในช่วงการเกิด atrial fibrillation และอาจนำมาสู่กสารเกิด ventricular fibrillation ส่วนการใช้ยายับยั้ง AV node สองตัวร่วมกันจะเพิ่มประสิทธิภาพแต่ก็จะเพิ่มผลข้างเคียงเช่นกัน

Ref: https://www.mja.com.au/journal/2009/190/5/supraventricular-tachycardia
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp051145