Clinical practice
N Engl J Med November 14, 2013
ลักษณะของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ (adult attention deficit–hyperactivity disorder, ADHD) จะแตกต่างจากในเด็ก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดลงอย่างมากของอาการอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) มากกว่าอาการสมาธิสั้น (inattention) รวมทั้งความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมาธิสั้นในผู้ใหญ่จะมีการแสดงที่แตกต่างจากในเด็ก
โดยในการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ อาการไม่อยู่นิ่งที่ลดลงจะแสดงออกโดยเป็นการไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ (restlessness) ในขณะที่การคงอยู่ของอาการสมาธิสั้นจะแสดงให้เห็นโดยความยากลำบากในการปฏิบัติงาน (เช่น การรักษาเวลานัดหมาย กำหนดเวลาการประชุม หรือการมุ่งเน้นไปที่งานใดงานหนึ่ง) และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานที่มีความสำคัญในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต
ผลของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่รวมถึงความยากลำบากในการทำงานและการเงิน (เช่นการเปลี่ยนแปลงงานบ่อย การว่างงาน และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (เช่นความไม่ปรองดองทางสังคมและปัญหาการสมรส) และการมีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย (เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล) นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการใช้สารเสพติดรวมทั้งการสูบบุหรี่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Key Clinical Points
Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1212625
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น