วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,625 ข้อควรทราบในการใช้ยาป้องกันมาลาเรียสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศไทย

นักท่องเที่ยวที่จะไปในพี้นทีซึ่งมีมาลาเรียชุกชุม (โดยดูจาก Annual Parasite Index หรือ  อัตราการ
เกิดโรคในรอบปีต่อประชากร 1,000 คน)  ถ้า  API มากกว่า 10 ต่อปี  แสดงว่า  จะว่าพื้นที่นั้น ๆ มีมาลาเรียชุกชุม) นักท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์จากยาป้องกันป้องกันมาลาเรียมากกว่าความเสี่ยงจากฤทธ์ข้างเคียงของยา   แต่ ในประเทศไทยพบว่า API น้อยกว่า 1 ต่อปีในหลายๆ พื้นที่ที่มีป่า ดังนั้นโดยทั่วไปจึงไม่แนะนำให้รับประทานยาป้องกันมาลาเรียในประเทศไทย แต่จะแนะนำว่าถ้ามีไข้ภายใน 1 สัปดาห์ -2   เดือนหลังออกจากป่า  ต้องคิดถึงมาลาเรียด้วยว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดไข้  ให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลและแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติการเดินทางในพี้นที่ซึ่งเสี่ยงจะเป็นมาลาเรียด้วยเพื่อจะได้ตรวจเลือดวินิจฉัยต่อไป

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยมาลาเรียในประเทศไทย พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,624 สรุปคำแนะนำ 9 ข้อในการรักษาความดันโลหิตสูงโดย JNC 8

คำแนะนำที่ 1 ในประชากรทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เริ่มให้ยาเมื่อความดันโลหิตตัวบน (SBP) ตั้งแต่ 150 มม. ขึ้นไป หรือความดันโลหิตตัวล่าง (DBP) ตั้งแต่  90 มม. ปรอทขึ้นไป
โดยมีเป้าหมายให้ SBP ต่ำกว่า 150 มม. ปรอท และ DBP ต่ำกว่า 90 มม. ปรอท โดยถ้าความดันความดันโลหิตต่ำกว่าเป้าหมาย (เช่น SBP น้อยกว่า 140 มม. ปรอท) แต่ผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาและไม่มีผลต่อสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต ก็ไม่จำเป็นต้องปรับการรักษา
คำแนะนำที่ 2 ในประชากรทั่วไปที่อายุน้อยกว่า 60 ปี เริ่มต้นให้ยาเมื่อ DBP ตั้งแต่ 90 มม. ปรอท ขึ้นไป โดยเป้าหมายให้ DBP น้อยกว่า 90 มม. ปรอท (สำหรับผู้ที่อายุ 30-59 ปี เป็นคำแนะนำระดับสูง – เกรด A; สำหรับผู้ที่อายุ 18-29 ปี เป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ - เกรด E)
คำแนะนำที่ 3 ในประชากรทั่วไปที่อายุน้อยกว่า 60 ปี เริ่มให้ยาเมื่อ SBP ตั้งแต่ 140 มม. ปรอท ขึ้นไป โดยเป้าหมายให้ SBP ต่ำกว่า 140 มม. ปรอท (ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ - เกรด E)
คำแนะนำที่ 4 ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) เริ่มต้นให้ยาเมื่อ SBP ตั้งแต่ 140 มม. ปรอท ขึ้นไป หรือ DBP ตั้งแต่ 90 มม. ปรอท ขึ้นไป โดยเป้าหมายให้ SBP ต่ำกว่า 140 มม. ปรอท และ DBP ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท (ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ - เกรด E)
คำแนะนำที่ 5 ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เป็นเบาหวาน เริ่มต้นให้ยาเมื่อ SBP ตั้งแต่ 140 มม. ปรอท ขึ้นไป หรือ DBP ตั้งแต่ 90 มม. ปรอท ขึ้นไป โดยเป้าหมายให้ SBP ต่ำกว่า 140 มม. ปรอท และ DBP ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท (ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ - เกรด E)
คำแนะนำที่ 6 ในประชากรทั่วไปที่ไม่ใช่คนผิวดำ รวมทั้งผู้ที่มีเป็นเบาหวาน, การรักษาความดันโลหิตสูงเริ่มต้นควรจะเป็นยาขับปัสสาวะชนิด thiazide, CCB, ACEI หรือ ARB (คำแนะนำระดับปานกลาง - เกรด B)
คำแนะนำที่ 7 ในประชากรผิวดำทั่วไป รวมทั้งผู้ที่เป็นเบาหวาน การรักษาความดันโลหิตสูงเริ่มต้นควรจะเป็นยาขับปัสสาวะชนิด thiazide หรือ CCB (สำหรับประชากรผิวดำทั่วไป: เป็นคำแนะนำระดับปานกลาง - เกรด B; สำหรับผู้ป่วยผิวดำที่เป็นโรคเบาหวาน: เป็นคำแนะนำระดับอ่อน - เกรด C)
คำแนะนำที่ 8 ในประชากรอายุ 18  ปีขึ้นไปที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง, การรักษาเริ่มต้น (หรือ add-on) การรักษาควรมี ACEI หรือ ARB เพื่อช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานของไตดีขึ้น ซึ่งสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีความดันโลหิตสูงโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติหรือสถานะของการเป็นเบาหวาน (คำแนะนำระดับปานกลาง - เกรด B)
คำแนะนำที่ 9 วัตถุประสงค์หลักของการรักษาความดันโลหิตสูงคือการบรรลุและรักษาความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ถ้าไม่ถึงเป้าหมายภายใน 1 เดือนของการรักษา การเพิ่มขนาดยาหรือเพิ่มยาชนิดที่สองจากกลุ่มยาในคำแนะนำข้อที่ 6 (ยาขับปัสสาวะชนิด thiazide, CCB, ACEI หรือ ARB)
โดยแพทย์ควรจะประเมินความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องและปรับการรักษาจนได้ตามเป้าหมาย ถ้าเป้าหมายไม่สามารถทำได้ด้วย 2 ยาชนิดแล้ว สามารถเพิ่มและปรับยาชนิดที่ 3 จากรายการที่ให้ไว้ แต่ไม่ควรใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และถ้าไม่สามารถถึงเป้าหมายของความดันโลหิดจากคำแนะนำข้อที่ 6 เนื่องจากมีข้อห้ามหรือจำเป็นที่จะต้องใช้ยามากกว่า 3 ชนิดเพื่อให้ถึงเป้าหมาย สามารถใช้ยาความดันโลหิตในกลุ่มอื่นๆ ได้
การส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านความดันโลหิตสูงอาจจะมีข้อบ่งชี้สำหรับผู้ที่เป้าหมายไม่สามารถบรรลุได้จากการใช้กลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นหรือเพื่อการรักษาภาวะซ้อน หรือผู้ป่วยผู้ที่มีความจำเป็นต้องให้คำปรึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม (ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ - เกรด E)

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497#jsc130010t1

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,623 ความแตกต่างระหว่าง JNC 7 และ JNC 8 ในด้านคำนิยาม เป้าหมายการรักษา และการใช้ยาความดันโลหิตสูง

-การกำหนดนิยามของความดันโลหิตสูง
JNC 7 กำหนดเป็น prehypertension และ hypertension
JNC 8 ไม่ได้กำหนดแต่บอกถึงระดับที่จะต้องให้การรักษาด้วยยา
-เป้าหมายในการรักษา 
JNC 7 แยกเป้าหมายของการรักษาโดยเป็นความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและกลุ่มย่อยที่มีโรคร่วมหลากหลาย เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
JNC 8 จะมีเป้าหมายการรักษาคล้ายๆ กันในทุกๆ คนยกเว้นกรณีที่มีหลักฐานสนับสนุนถึงเป้าหมายที่ต่างกันสำหรับกลุ่มย่อยเฉพาะ
-การใช้ยา
JNC 7 แนะนำยา 5 กลุ่ม เป็นยาเริ่มแรก แต่แนะนำยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide เป็นยาแรกสำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ไม่มีข้อบ่งชี้สำหรับยากลุ่มอื่น โดยการให้ยาในเฉพาะกลุ่มได้แก่ผู้ป่วย เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และการมีความเสี่ยงสูงต่อหัวใจหลอดเลือดรวมถึงการมีตารางของชื่อยาและขนาดยาชนิดรับประทาน
JNC 8 แนะนำให้เลือกยา 4 กลุ่มเฉพาะ ได้แก่ ACEI หรือ ARB, CCB หรือ diuretic และขนาดตามหลักฐานจากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) แนะนำยาเฉพาะกลุ่มโดยใช้ข้อมูลหลักฐานตามเชื้อชาติ การเป็นโรคไตเรื้อรัง เป็นเบาหวาน

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497#jsc130010t1

วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,622 แอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์: การให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวาน

ตอนนี้ได้ทำการปรับปรุงหลังจากได้ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์: การให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขอเชิญดาวน์โหลดและใช้ได้ฟรีครับ และเมื่อได้ลองใช้แล้วรบกวนช่วยตอบคำถามสั้นๆ ในเวลาไม่เกิน 5 นาที เพื่อการพัฒนาปรับปรุงและเพื่อการศึกษาวิจัย ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
โดยขั้นตอนคือ ใช้อุปกรณ์ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้ เพื่อดาวน์โหลด ทำการลงและยอมรับการติดตั้งโปรแกรมไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วเริ่มทดลองใช้งาน ถ้ามีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน ตลอดจนความถูกต้องของเนื้อหาสามารถเขียนลงในความเห็นใน post นี้ หรือส่งมาที่อีเมล Chansakmed@hotmail.com ก็ได้ครับ
(โดยผู้ที่เคยดาวน์โหลดไปใช้แล้วสามารถติดตั้งโปรแกรมทับไปได้เลยครับ โปรแกรมจะ update ให้ในทันที)

สัญลักษณ์ของแอพพลิเคชั่น

หน้าตาของแอพพลิเคชั่นเมื่อเปิดเข้าไปใช้งาน

ลิ้งค์ดาวน์โหลด Click

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,621 แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยมาลาเรียในประเทศไทย พ.ศ.2557

โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย  
และสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ระบาดวิทยา
-พยาธิกำเนิด
-ลักษณะทางคลินิก
-การติดเชื้ออื่นๆที่พบในมาลาเรียรุนแรง
-มาลาเรียรุนแรงจาก non-falciparum malaria
-มาลาเรียในหญิงตั้งครรภ์
-การวินิจฉัย
-การรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย
-ยาป้องกันมาลาเรีย
-เอกสารอ้างอิง

ลิ้งค์ http://www.rcpt.org/index.php/2012-10-03-16-53-39/category/6-2013-02-02-09-02-52.html?download=132%3A-2557

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,620 Acute liver failure

Review article
Critical care medicine
N Engl J Med  December 26, 2013

ภาวะตับวายเฉียบพลันพบได้น้อย แต่คุกคามชีวิตที่สำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มิได้มีโรคตับมาก่อนด้วยอุบัติการณ์ที่น้อยกว่า 10 รายต่อล้านคนต่อปีในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาวะตับวายเฉียบพลันมีให้เห็นกันมากที่สุดในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีมาก่อนในช่วงอายุ 30 ปี และมาด้วยลักษณะที่ไม่ซ้ำกันในการจัดการทางคลินิก ลักษณะทางคลินิกมักได้แก่ความผิดปกติของตับ ค่าชีวเคมีของตับที่ผิดปกติและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด อาจเกิดความผิดปกติของสมอง ความล้มเหลวของหลายๆ อวัยวะ และการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
   Definition and Presentation
   Causes
-Focus of Critical Care
   Initial Care
   Subsequent Care
-Complications
   Cardiorespiratory Dysfunction
   Neurologic Conditions
   Renal Dysfunction
-Treatment
   Metabolic and Nutritional Support
   Prognostic Evaluation
   Transplantation
   Other Therapies
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208937

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,619 การตรวจวินิจฉัยก้อนของต่อมไทรอยด์ (Diagnostic Approach to Thyroidal Nodule)

โดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพรพิมพ์ กอแพร่พงศ์
แพทย์หญิงวรปารี สุวรรณฤกษ์
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ลักษณะภาพคลื่นเสียงความถี่สูงที่ใช้ในการแยกก้อนเนื้อธรรมดาและก้อนเนื้อมะเร็งในต่อมไทรอยด์ทางคลินิก
-ข้อควรระวังในการแปลผลลักษระภาพคลื่นเสียงความถี่สูงของก้อนในต่อมไทรอยดฺ์
-ข้อบ่งชี้ในการเจาะดูดเซลจากก้อนไทรอยด์ส่งตรวจทางเซลวิทยา

Ref: http://www.rcot.org/datafile/_file/_doctor/83b60f72297087578feb9128cdab3e1e.pdf

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,618 ผู้ป่วยหญิง 55 ปี เหนื่อยง่ายเล็กน้อย และผลตรวจ echocardiograph

ผู้ป่วยหญิง 55 ปี เหนื่อยง่ายเล็กน้อย ผลตรวจ echocardiography ใน parastenal long axis view เป็นดังนี้ จะให้การวินิจฉัยอะไรครับ?


ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ
จากวิดีโอพบมีลักษณะเป็น round hyperechoic mass ติดและเคลื่อนไหวไปกับลิ้นไมทรัล ลักษณะน่าจะเป็นเนื้องอก โดยเนื้องอกที่พบได้บ่อยที่สุดคือ myxoma (atrial myxoma) การให้วินิจฉัยที่แน่นอนมีความจำเป็นเพราะมีโอกาสเป็นเนื้องอกชนิดร้ายได้ หรือแม้กระทั่งเป็นการกระจายมาจากที่อื่น ซึ่งในกรณีนี้ได้ส่งต่อผู้ป่วยไป รพศ. แล้ว

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,617 แนวทางการรักษาโรคหนังแข็ง

โดยภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-นิยาม
-อุบัติการณ์
-การดำเนินโรค
-การซักประวัติผู้ป่วย
-การตรวจร่างกาย
-การตรวจเพิ่มเติม
-แนวทางการดูแลโรคหนังแข็ง

ลิ้งค์ Click

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,616 แจกฟรี เพิ่งทำเสร็จ แอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์ ในการให้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยเบาหวาน

แนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเดิมจะให้ยาแอสไพรินในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจได้แก่ ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ หรือมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ แต่ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน ADA ได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำในการให้ยาแอสไพรินดังนี้
-ปัจจุบันจะให้ยา aspirin ในผู้ป่วยเบาหวานชายที่อายุมากกว่า 50 ปี หรือผู้ป่วยเบาหวานหญิงอายุมากกว่า 60 ปี (10-year risk มากกว่า 10%) คือมีอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ หรือมีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะ 
-ไม่แนะนำให้ในผู้มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ (10-year risk น้อยกว่า 5%)
-ในผู้ป่วยที่มีอายุเข้าได้ มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆหลายอย่างหรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดระดับปานกลาง(10-year risk 5–10%), ในผู้ที่อายุน้อยแต่มีปัจจัยเสี่ยงสูง หรือในผู้สูงอายุที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ใช้การตัดสินใจตามลักษณะทางคลินิกเข้าช่วย จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยที่ให้ข้อมูลมากขึ้น 
-ใช้ aspirin เป็นการป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีโรคหัวใจและหลอดเลือด

ซึงในคำแนะนำใหม่นี้ทำให้มีความซับซ้อน และต้องใช้ความจำข้อมูลเพื่อการตัดสินใจให้ยา ผมจึงมีแนวคิดว่าจะทำแอพพลิเคชั่นร่วมกับโปรแกรมเมอร์เพื่อให้เกิดความสะดวก ง่าย รวดเร็วและถูกต้อง โดยใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  (Android operating system) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จึงอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องดูและผู้ป่วยและใช้ยาได้ทดลองใช้ดู ถ้ามีจุดใดที่ไม่ตรง หรือมีปัญหาในการใช้แอพพลิเคชั่นสามารถแจ้งมาได้ เพื่อการปรับปรุง
โดยขั้นตอนคือใช้อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เท่านั้น เพื่อดาวน์โหลด และลงและยอมรับการติดตั้งโปรแกรมไปตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น แล้วเริ่มทดลองใช้งาน ถ้ามีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน ตลอดจนความถูกต้องของเนื้อหาสามารถเขียนลงในความเห็นใน post นี้ หรือส่งมาที่อีเมล Chansakmed@hotmail.com เพื่อรวบรวมข้อมูลและปรับปรุงให้ดีที่สุดครับ

สัญลักษณ์ของแอพพลิเคชั่น

หน้าตาของแอพพลิเคชั่นเมื่อเปิดเข้าไปใช้งาน


ลิ้งค์ดาวโหลดโปรแกรม Click

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,615 พยาธิสรีรวิทยาของ Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)

พยาธิสรีรวิทยาของ ARDS ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ในช่วงแรกอาจจะเป็นผลเนื่องจากการเกิดขึ้นโดยตรงที่ปอดหรือทางอ้อมจากภายนอกปอด ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุมาจากการเกิดการเพิ่มของสารสื่อกลางในขบวนการอักเสบซึ่งส่งเสริมการสะสมของนิวโทรฟิลในหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ของปอด นิวโทรฟิลเหล่านี้และเคลื่อนย้ายเป็นจำนวนมากข้ามผนังหลอดเลือดชั้นในและเซลเยื่อบุพื้นผิวถุงลม, หลั่งโปรติเอส, ไซโตไคน์, สารออกซิไดส์แรงสูง (reactive oxygen species) การเคลื่อนย้ายและการปล่อยสารสื่อกลางนี้นำมาสู่พยาธิสภาพของการซึมผ่านออกนอกหลอดเลือด, ช่องว่างในเยื่อบุผิวถุงลมที่เป็นตัวกั้น, และเนื้อตายของเซลล์ถุงชนิดที่ I และ II
ในที่สุดก็จะนำไปสู่อาการบวมน้ำที่ปอด, การสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ไฮยะลิน, และการสูญเสียของการลดแรงตึงผิวซึ่งจะลดการยอมตาม (compliance) ของปอดและทำให้เกิดความยากในการแลกเปลี่ยนก๊าช ส่งผลให้การแทรกซึมของเซลล์ไฟโบบลาสซึ่งสามารถนำไปสู่​​การสะสมคอลลาเจน, พังผืด, และโรคที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งขบวนการเหล่านี้ทำให้ภาพรังสีของผู้ป่วยที่มี ARDS เกิดการทึบของช่องว่างอากาศในปอดสองข้าง

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,614 Pulmonary-Artery Catheterization

Video in clinical medicine 
N Engl J Med   December 19, 2013

การใส่สายสวนไปที่หลอดเลือดแดงของปอดในยุคใหม่ หรืออาจเรียกว่า Swan–Ganz catheter ซึ่งได้มีการกล่าวถึงในวารสารเมื่อ 43 ปีที่ผ่านมา โดยการปล่อยลมเข้าบอลลูนที่อยู่ส่วนปลาย โดยการใส่สายนี้สามารถทำได้ข้างเตียง (bedside) และจะมีตัวต้านทานความร้อน (thermistor) และพอร์ตสำหรับวัดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ (cardiac output) โดยเทคนิคการวัดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของเลือด (thermodilution)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Overview
-Indications
-Contraindications
-Equipment
-Preparation
-Procedure
-Aftercare
-Problems and Complications
-Interpretation
-Summary

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMvcm1212416?query=featured_home

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,613 Chronic infectious disease and the future of health care delivery

Special article
Shattuck lecture
N Engl J Med    December 19, 2013

กว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมาหลังจากที่ศัลยแพทย์ทั่วไปชาวสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่า "ถึงเวลาที่จะปิดหนังสือเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ" เชื้อโรคที่ดื้อยาได้ลดประสิทธิภาพของการรักษาจากยาที่เคยมีศักยภาพ
ในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา เชื้อโรคใหม่ที่ได้รับการกล่าวถึง รวมทั้งไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) โรคติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS), ไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ได้ก่อให้เกิดการระบาดในวงกว้าง ขณะที่ความเสียหายแบบเดิมๆ จากวัณโรคจนตลอดจนอหิวาตกโรคยังคงอยู่หรือกลับคืนมา
พร้อมๆ กันกับการเพิ่มขึ้นของอายุขัยและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วได้นำไปสู่ภาระที่เพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรังที่เรามีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่เพียงพอของนวัตกรรมที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพกับคนที่ยากจน ที่เรียกสิ่งนี้ว่าสิ่งที่ต้องทำหรือการส่งมอบ หรือช่องว่าง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Failures of Delivery: A Look Back to the Year 2000
-Antiretroviral Therapy between Development and Delivery
-The Delivery Decade: Bringing Art to Scale
-Conclusions: From Pessimism to Optimism
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMsa1310472

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,612 การตรวจคัดกรองเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

การตรวจคัดกรองเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
RTCOG Clinical Practice Guideline Diabetes Mellitus Screening in Pregnancy
โดย ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

ลิ้งค์ http://www.rtcog.or.th/html/photo/newsfile_606544.pdf

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,611 ผู้ป่วยที่มีโอกาสดื้อยาวัณโรคหลายขนาน (multi drug resistance, MDR-TB) ระหว่างการรักษา

-กำลังรักษาด้วยสูตรยา CAT1 แล้วอาการไม่ดีขึ้นร่วมกับเสมหะไม่เป็นลบ เมื่อสิ้นสุดการรักษาเดือนที่ 2 และหลังจากให้การรักษาด้วยยา 4 ชนิดต่ออีก 1 เดือน อาการก็๋ยังไม่ดีขึ้น และเสมหะยังเป็นบวกอยู่
-กำลังรักษาด้วยสูตรยา CAT1 แล้วผลการรักษษเป็นล้มเหลว และรับประทานยาสม่ำเสมอด้วย DOTs จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด MRD-TB ชนิด primary แต่ถ้ารับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ก็จะมีโอกาสเกิด MRD-TB ชนิด acquired ได้เช่นกัน
-กำลังรักษาด้วยสูตรยา CAT2 และผลเสมหะไม่มีการเปลี่ยนเป็นลบ เมื่อสิ้นสุดการรักษาเดือนที่ 3 มีโอกาสดื้อยาแบบ MRD-TB โดยเฉพาะถ้าหลังจากการให้การรักษาด้วยยา 4 ชนิดต่ออีก 1 เดือน อาการก็ยังไม่ดีขึ้น และเสมหะยังเป็นบวกอยู่ มีโอกาสที่ผลการรักษาจะล้มเหลว
-กำลังรักษาด้วยสูตรยา CAT2 และเสมหะเมื่อสิ้นสุดเดือนที 5 ยังพบเชื้อ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น MRD-TB
-Treatment after default (TAD) ที่กลับมาแล้วเสมหะเป็นบวก พวกนี้มีโอกาสเกิดการดื้อยาได้มาก

Ref: แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน MDR-TB

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,610 สาเหตุทำให้ผู้ป่วยอาจมีการดื้อยาวัณโรคตั้งแต่ก่อนให้การรักษา

-ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย
-มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย MDR-TB รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นวัณโรค และมีประวัติการสัมผัสผู้ป่วย MDR-TB
-กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยตามแนวชายแดน ผู้ป่วยในเรือนจำ เป็นเบาหวาน แผลโพรงวัณโณคในปอดขนาดใหญ่

Ref:  แนวทางแห่งชาติสำหรับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน MDR-TB

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,609 การแบ่งชนิดของความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจและประโยชน์

-Predisposing  factors ได้แก่ age, sex,  family history, genes
-Risk-modifying behaviors ได้แก่ smoking, atherogenic diet, alcohol intake, physical activity
-Metabolic  risk  factors ได้แก่ dyslipidemias, hypertension, obesity, diabetes, metabolic syndrome
-Disease markers ได้แก่ calcium score, catheterization results, stress  test  results, LVH, history of vascular disease, inflammatory state, urinary albumin

โดยผมเองเห็นว่าการแบ่งชนิดของความเสี่ยงนี้ช่วยให้เรารู้ว่าปัจจัยเสี่ยงใดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ติดตัวมาทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก และปัจจัยเสี่ยงใดที่เกิดจากพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของเรา หรือเกิดจากขบวนการเมตาโบลิซมของร่างกายเองซึ่งปัจจัยนี้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และบอกถึงสิ่งที่บ่งชี้หรือเครื่องหมายของการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ เป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกัน รักษา และส่งเสริมในโรคหลอดเลือดและหัวใจ 

Ref: http://www.thaiheart.org/images/column_1382415474/Cardiovascular%20Prevention.pdf

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,608 หลักเกณฑ์ในการที่จะดูว่าโรคมะเร็งชนิดใด สมควรจะนำมาทำการคัดกรอง (screening)

1. โรคมะเร็งชนิดนั้น ต้องเป็นปัญหาที่ใหญ่มากพอในกลุ่มประชากร ที่ทำให้ผลการคัดกรองมีความคุ้มค่า
2. ต้องรู้ถึงธรรมชาติ หรือขบวนการดำเนินโรค และระยะเวลาที่ยังไม่มีอาการมีความยาวนานพอต่อการคัดกรอง
3. วิธีการคัดกรองที่ใช้ต้องเป็นที่ยอมรับ และมีหลักฐานว่าสามารถตรวจพบโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ โดยมีผลบวกลวง และผลลบลวงต่ำ
4. ต้องมีวิธีการรักษาโรคมะเร็งและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งนั้นอย่างมีประสิทธิผล
5. ค่าใช้จ่าย ความสะดวกของวิธีการคัดกรองดังกล่าวต้องเป็นที่ยอมรับของผู้ตรวจและผู้รับการคัดกรอง

Ref: แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ: National Cancer Control Programmes (พ.ศ. 2556 – 2560) 

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,607 Effect of CPAP on blood pressure in patients with obstructive sleep apnea and resistant hypertension

The HIPARCO Randomized Clinical Trial
Journal of american medical association
December 11, 2013, Vol 310, No. 22 

มากกว่า 70% ของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงซึ่งดื้อต่อการรักษาจะมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ (obstructive sleep apnea, OSA) แต่มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับผลกระทบของการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (continuous positive airway pressure, CPAP) การรักษาความดันโลหิตสูงซึ่งดื้อต่อการรักษา
สรุปผลการศึกษา ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงและ OSA ที่มีความดันโลหิตสูงซึ่งดื้อต่อการรักษา หลังให้การรักษาด้วย CPAP 12 สัปดาห์เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่ามีการลดลงของค่าความดันโลหิตเฉลี่ย 24 ชั่วโมงและความดันโลหิตตัวล่าง และทำให้รูปแบบความดันโลหิตในเวลากลางคืนดีขึ้น ซึ่งการวิจัยเพิ่มเติมจะช่วยในการประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพในระยะยาว

Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1788459

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,606 Cervical-cancer screening with human papillomavirus and cytologic cotesting

Clinical practice
N Engl J Med December 12, 2013

Key clinical points
-การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ควรเริ่มต้นจนกระทั่งอายุ 21 ปี เนื่องจากวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงต่ำมากสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก แต่มีอัตราการติดเชื้อ papillomavirus (HPV) แบบชั่วคราวในอัตราที่สูง และมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของเซลแบบเล็กน้อย
-ความเสี่ยงของภาวะก่อนที่จะเป็นมะเร็ง (precancer) และมะเร็งปากมดลูกต่ำมากหลังจากปีที่มีการตรวจเชื้อ HPV ว่าเป็นผลลบ
-สำหรับผู้หญิงในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีอายุ 30 ปีหรือมากกว่า (ซึ่งผ่านอายุที่มีการติดเชื้อเอชพีวีสูงสุดมาใหม่ๆ) การตรวจเซลวิทยา (cytologic) และการตรวจร่วม (cotesting) สำหรับ HPV อื่นๆ ทุกๆ 5 ปี เป็นทางเลือกที่ได้รับการยอมรับของการตรวจเซลวิทยาอย่างเดียว ทุกๆ 3 ปี
-การทดสอบทางด้านโมเลกุลของ HPV ร่วมกับการตรวจเซลวิทยา ให้ผลที่เป็นไปได้หลายอย่าง โดยมีความแตกต่างที่สัมพันธ์ความเสี่ยงของภาวะก่อนที่จะเป็นมะเร็งและภาวะที่เป็นมะเร็ง (precancer and cancer) โดยกลยุทธ์ในการดูแลชี้นำโดยขนาดของความเสี่ยง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
-Areas of Uncertainty
   Cost-Effectiveness of Various Screening Strategies
   Management of Positive Screening Cotests
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1210379

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,605 Start antihypertensive therapy early for acute stroke

Start antihypertensive therapy early for acute stroke
Hooman Kamel, MD reviewing He J et al. JAMA 2013 Nov 17

การทดลองทางคลินิกยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการให้การรักษาความดันโลหิตสูงในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เพื่อการเติมเต็มช่องว่างความรู้นี้นักวิจัยได้ดำเนินการศึกษาใน China Antihypertensive Trial in Acute Ischemic Stroke (CATIS)
เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ให้การรักษามีค่าของความดันโลหิตตัวบน (SBP) เฉลี่ยต่ำลง 9.1 มิลลิเมตรปรอทที่ 24 ชั่วโมงและลดลง 9.2 มิลลิเมตรปรอทที่ 7 วัน อัตราของผลลัพท์หลัก (การเสียชีวิตหรือ modified Rankin Scale score ตั้งแต่ 3 ขึ้นไป) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่ออกจากโรงพยาบาลหรือที่ 3 เดือน
ณ เมื่อเวลา 3 เดือน, กลุ่มที่ให้การรักษา (85% ได้รับยาลดความดันโลหิต) มีความดันโลหิตตัวบนต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ (2.9 มิลลิเมตรปรอท) มากกว่ากลุ่มควบคุม (75% ได้รับยาลดความดันโลหิต) และไม่มีนัยสำคัญของอัตราการลดลงของโรคหลอดเลือดสมองกำเริบ (1.4% เมื่อเทียบกับ 2.2%)

Ref: http://www.jwatch.org/na32907/2013/12/09/start-antihypertensive-therapy-early-acute-stroke

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,604 ว่าด้วยเรื่อง Plasmacytoma

Plasmacytoma หมายถึงมะเร็งชนิดพลาสม่าเซลล์ที่เจริญเติบโตภายในเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) หรือภายในโครงกระดูกแกนกลางของร่างกาย (axial skeleton) โดยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มที่แตกต่างของ กำหนดโดย International Myeloma Working Group ได้แก่
1. Solitary plasmacytoma of bone (SPB)
2. Extramedullary plasmacytoma (EP)
3. Multiple plasmacytomas
โดยที่ SPB พบได้บ่อยที่สุดคือ 3-5% มะเร็งพลาสม่าเซลล์ ซึ่ง SPB จะเกิดรอยกระดูกถูกทำลาย (lytic lesions) ภายในโครงกระดูกแกนกลางของร่างกาย และ EP ส่วนใหญ่มักเกิดในทางเดินหายใจส่วนบน (85%) แต่ก็สามารถเกิดได้ในเนื้อเยื่ออ่อนอื่นๆ ของร่างกายประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีโปรตีนที่ผิดปกติในเลือด (paraproteinemia)
SBP และ EP มักจะให้การรักษาด้วยการฉายแสง แต่ใช้การผ่าตัดในบางกรณีของ EP รูปแบบที่เกิดขึ้นในโครงร่างนี้บ่อยครั้งที่ดำเนินไปสู่การเป็น  multiple myeloma ในช่วงเวลา 2-4 ปี เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของเซลล์  ซึ่ง plasmacytomas สามารถจะเปลี่ยนแปลงมาจาก multiple myeloma สำหรับ SPB กับ EP จะแยกกันที่ตำแหน่ง โดย SPB เกิดในกระดูกส่วน EP เกิดในเนื้อเยื่ออ่อน (โดยในไขกระดูกที่ปกติจะมีพลาสม่าเซลล์น้อยกว่า 5%  ส่วนในการเอกซเรย์ดูกระดูกชนิด skeletal survey โดยปกติจะไม่มีหรือมี paraprotein และการทำลายอวัยวะได้น้อย)
โดย plasmacytoma อาจจะมีชื่อเรียกอื่นได้ เช่น plasma cell dyscrasia หรือ solitary myeloma

Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Plasmacytoma

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,603 แนวทางปฏิบัติการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด

โดย คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-หลักการและเหตุผล
-วัตถุประสงค์
-วิธีปฏิบัติ
-แนวทางการติดยึดท่อช่วยหายใจโดยการใช้พลาสเตอร์
-แบบประเมินแนวทางในการเฝ้าระวังและการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด

ลิ้งค์ดาวน์โหลด ลิ้งค์

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,602 ยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อราที่เล็บ

การรักษาด้วยยา systemic antifungals มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก โดยการใช้ terbinafine ทำให้หายขาดได้ 76%, itraconazole แบบให้เป็นช่วงๆ 63%, itraconazole แบบให้ต่อเนื่อง 59% และ 48% สำหรับ fluconazole ซึ่งการให้การรักษาร่วมกับการตัดแต่งเล็บจะเพิ่มอัตราการหายมากขึ้น การให้การรักษาเฉพาะที่ด้วย ciclopirox มีประสิทธิภาพน้อย โดยมีอัตราความไม่สำเร็จเกินกว่า 60%
การรักษาแบบอื่นๆ ได้รับการประเมิน โดยที่การรักษาด้วยเลเซอร์และ photodynamic แสดงให้เห็นผลในการศึกษาทดลองแต่ยังต้องการการศึกษาทางคลินิกที่มากขึ้น แม้จะให้การรักษาแต่อัตราการกำเริบอยู่ที่ 10- 50% เป็นผลมาจากการติดเชื้อซ้ำหรือการที่เชื้อรารักษาไม่หายขาด

Ref: Onychomycosis: Current trends in diagnosis and treatment
http://www.aafp.org/afp/2013/1201/p762.html

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,601 ความแตกต่างของคำว่า macrocytic anemia และ megaloblastic anemia

คำว่า macrocytic anemia จะเป็นกล่าวถึงการมีภาะซีดที่มีเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่กว่าปกติ โดย MCV มากกว่า 100 ซึ่งมีสาเหตุได้มากมาย เช่น การขาดสารอาหารบางชนิด ยา ความผิดปกติของไขกระดูก และอื่นๆ โดยสามารถแบ่งได้เป็น megaloblastic และ nonmegaloblastic ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากการตรวจไขกระดูกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ส่วน megaloblastic anemia เป็นความผิดปกติจากการเจริญเติบโต (inhibition of DNA synthesis) โดยมีลักษณะของเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติมักจะเน้นที่เกิดจาก folic acid หรือ vitamin B12 deficiencies เป็นหลัก ซึ่งจะพบมี hypersegmented neutrophils และ oval macrocytes ในเลือดหรือพบ megaloblasts ในไขกระดูก ส่วน nonmegaloblastic จะมีเม็ดเลือดแดงโตโดยไม่มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ DNA ซึ่งสามารถสามารถอ่านรายละเอียดตามอ้างอิงทางด้านล่างครับ

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1570488/
http://enotes.tripod.com/anemia-macrocytic.htm

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,600 การเปลี่ยนแปลงของ eschar ที่ผิวหนังในไข้แมงแดง หรือโรคสครับไทฟัส (scrub typhus)

การเปลี่ยนแปลงของ eschar ในไข้แมงแดง หรือโรคสครับไทฟัส (scrub typhus) นานๆ จะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของ eschar ซึ่งภาพที่เห็นนี้เป็นการถ่ายโดยนักศึกษาพยาบาลที่ศึกษากรณีผู้ป่วยที่เป็นไข้สูงมา 1 สัปดาห์และตรวจพบรอยโรคที่คอด้านขวา โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาดังภาพด้านล่าง


ขอขอบคุณนักศึกษาพยาบาลจากมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลสำหรับรูปภาพครับ

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,599 Targeted temperature management at 33°C versus 36°C after cardiac arrest

Original article
N Engl J Med December 5, 2013

ที่มา: ผู้หมดสติที่รอดชีวิตจากการมีภาวะหัวใจหยุดทำงานที่เกิดภายนอกโรงพยาบาล มีความเสี่ยงสูงของการเสียชีวิตหรือการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ การรักษาโดยการลดอุณหภูมิร่างกายได้รับคำแนะนำตามแนวทางระหว่างประเทศ (international guidelines) แต่หลักฐานที่สนับสนุนยังมีจำกัด และอุณหภูมิเป้าหมายที่ก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดยังไม่เป็นที่ทราบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทั้งสองอุณหภูมิเป้าหมาย
วิธีการศึกษา: ในการศึกษาระหว่างประเทศเราทำการสุ่มผู้ใหญ่จำนวน 950 คน ที่มีภาวะหัวใจหยุดที่เกิดภายนอกโรงพยาบาล โดยมีอุณหภูมิเป้าหมายทั้ง 33 °C หรือ 36 °C ผลลัพท์หลักคือทุกสาเหตุของการเสียชีวิตในช่วงตลอดเวลาที่ทำการศึกษา ผลลัพธ์รองได้แก่การทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติหรือการเสียชีวิตที่ 180 วัน ซึ่งประเมินการทำของสมองโดยใช้ Cerebral Performance Category (CPC) scale และ  modified Rankin scale
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยจำนวน 939 คน พบว่าในช่วงท้ายของการศึกษา 50% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่อุณหภูมิ 33 °C (235 คนจาก 473 คน) เสียชีวิตในขณะที่เมื่อเทียบกับ 48% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 36 °C
 (225 คนจาก 466 คน) เสียชีวิต (hazard ratio with a temperature of 33 °C, 1.06; 95% confidence interval [CI], 0.89-1.28, P = 0.51)
ณ การติดตาม 180 วัน 54% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 33 °C พบว่ามีการเสียชีวิตหรือมีการทำงานของระบบประสาทผิดปกติโดยการใช้ CPC เทียบกับ 52% ของผู้ป่วยในกลุ่มที่ 36 ° C (risk ratio 1.02 95% CI, 0.88-1.16, P = 0.78) ในการวิเคราะห์การใช้ modified Rankin scale เปรียบเทียบกับ 52% ในทั้งสองกลุ่ม (risk ratio 1.01, 95% CI, 0.89-1.14, P = 0.87) ผลของการวิเคราะห์การปรับปัจจัยการพยากรณ์มีความคล้ายคลึงกัน
สรุป: ผู้หมดสติที่รอดชีวิตจากการมีภาวะหัวใจหยุดทำงานจากภายนอกโรงพยาบาล (ที่สันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากหัวใจ), การลดอุณหภูมิร่างกายตามเป้าหมายที่ 33 °C ไม่ได้ให้ประโยชน์เมื่อเทียบกับที่อุณหภูมิ 36 °C

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1310519?query=featured_home

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,598 สภาวะการว่ายน้ำเป็น-ทักษะการช่วยเหลือตนเอง/ผู้อื่นของเด็กไทย และหนังสือหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอน

ในปี พ.ศ.2556 นี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคไม่ติดต่อได้ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินผลการว่ายน้ำเป็นของเด็กไทย(อายุ 5-14 ปี) พบว่าเด็กไทยช่วงอายุดังกล่าว ซึ่งมีกว่า 8 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 หรือประมาณ 2 ล้านคน แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 หรือ 367,704 คน และพบว่าเด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด จะมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 20.7 เท่า มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า และจะมีทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ และการแก้ไขปัญหาและการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 2.7 เท่า และ 2.8 เท่า ตามลำดับ  ซึ่งการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการจมน้ำได้โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียน แม้การว่ายน้ำเป็นจะเพิ่มขึ้นจากที่สำรวจเมื่อปี 2549 ซึ่งพบว่าเด็กไทยว่ายน้ำเป็นร้อยละ 16.3 แต่ยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งสัดส่วนการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญอันหนึ่งในการป้องกันการจมน้ำของเด็กวัยเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทั้งนี้หน่วยงานไหนที่สนใจหนังสือหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอนที่ต้องการนำไปขยายผลให้กับเด็กในพื้นที่สามารถขอได้ที่สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตาม ลิ้งค์ นี้ครับ

Ref: http://www.ddc.moph.go.th/pnews/showimgdetil.php?id=773

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,597 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำหมันชาย

Common questions about vasectomy
December 1 2013 Vol. 88 No. 11
American Family Physician

การทำหมันชายมีความปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ และเป็นวิธีการคุมกำเนิดเพศชายที่ถาวร โดยมีอัตราความล้มเหลวโดยรวมน้อยกว่า 1% ในการศึกษาโดยรวบรวมผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ที่แข็งแรงมีความเหมาะสมสำหรับการทำหมัน
เทคนิคที่ไม่ใช้การผ่าตัดช่วยลดภาวะแทรกซ้อนการผ่าตัด ลดระยะเวลาการผ่าตัดและกลับมามีกิจกรรมทางเพศได้เร็วขึ้น การใช้หัวฉีดเจ็ทแทนเข็มที่ใช้ให้ยาชาเฉพาะที่ (no-needle vasectomy) อาจจะลดอาการปวด
การมีเลือดออกและการติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นของการหมัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวรวมถึง sperm granuloma และ postvasectomy pain syndrome การวิเคราะห์น้ำอสุจิภายหลังการทำหมันชายจะพบการไม่มีเชื้ออสุจิหลังจากสามเดือนและ 20 ครั้งของการหลั่งจึงจะเพียงพอที่จะเกิดการเป็นหมัน การแก้หมันชายยามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จหากทำมาน้อยกว่า 15 ปีในผู้ชายที่มีภรรยาอายุน้อยกว่า 40 ปี

ลิ้งค์ http://www.aafp.org/afp/2013/1201/p757.html

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,596 Malignant spinal cord compression syndrome

บทความฟื้นวิชา
โดย อ. กานดิษฎ์ ประยงค์รัตน์
สาขาวิชาโลหิตวิทยา  ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 ลิ้งค์

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

2,595 ความสัมพันธ์ระหว่างวัณโรคและโรคเอดส์ ผลกระทบของการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ต่อแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ

การติดเชื้อเอชไอวี ทำให้ปัญหาวัณโรครุนแรงขึ้นหลายประการ คือ
• การติดเชื้อเอชไอวีทำให้การป่วยเป็นวัณโรค (TB disease) ลุกลามขึ้นทั้งในผู้ที่เพิ่งได้รับเชื้อวัณโรค
(recently acquired tuberculosis infection) และผู้ที่ได้รับเชื้อมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง (latent tuberculosis infection) สาเหตุที่การติดเชื้อวัณโรคลุกลามจนทำให้ป่วยเป็นวัณโรค เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทั้งนี้โอกาสที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ติดเชื้อวัณโรคจะป่วยเป็นวัณโรคสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี
• การติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มการป่วยเป็นวัณโรคซ้ำ (recurrent tuberculosis) จากสาเหตการลุกลามของเชื้อ วัณโรคเดิม (endogenous reactivation) หรือการรับเชื้อวัณโรคใหม่เข้าไปในร่างกาย (exogenous re-infection)

เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งเชื้อวัณโรคได้ง่าย (susceptibility) เมื่อมีผู้ติดเชื้อวัณโรคมากทำให้การป่วยเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้น ได้แก่
•  เพิ่มโอกาสในการเกิดปฏิกริยาระหว่างยารักษาโรคเอดส์และวัณโรค ทำให้อาการข้างเคียงของการรักษาวัณโรคสูงขึ้น
•  อัตราการขาดยาสูงขึ้น
•  จำนวนผู้ปวยวัณโรคเสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้น
•  เพิ่มปริมาณงานในการให้บริการการรักษาวัณโรค
•  การเขาถึงระบบบริการสุขภาพล่าช้าในผู้ที่มีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรค เนื่องจากความรู้สึกถูกรังเกียจที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์

Ref: คู่มือ อบรมแนวทางมาตรฐานการดำเนินงานวัณโรคสำหรับคลีนิกวัณโรค

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,593 คู่มือ แนวทางการดูแลผู้ที่น้ำหนักเกินและอ้วน (สำหรับอายุรแพทย์)

จากเว็บไซต์ เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์
วัตถุประสงค์
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงข้อบ่งชี้ในการใช้ยาในการรรักษาโรคอ้วน
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงประสิทธิภาพและข้อจำกัดในการใช้ยาเพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงลักษณะการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักประสิทธิภาพและความเสี่ยง
เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินและส่งต่อผู้ป่วยในรายที่มีข้อบ่งชี้ผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก
เพื่อให้แพทย์ทราบถึงการดูแลระยะยาวในผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก

ลิ้งค์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,592 Ventilator-Induced lung Injury

Review Article
Critical Care Medicine
N Engl J Med   November 28, 2013

แนวคิดของการบาดเจ็บที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยในปี คศ 1744, John Fothergill กล่าวถึงกรณีของผู้ป่วยที่เเสียชีวิตหลังจากที่สัมผัสกับควันถ่านหินและผู้ที่ได้รับประสบความสำเร็จในการรักษาโดยใช้การเป่าปาก (mouth-to-mouth) เพื่อการช่วยฟื้นคืนชีพ
Fothergill ให้ข้อสังเกตว่าการเป่าปากเพื่อการช่วยฟื้นคืนชีพก็ยังดีกว่าที่จะใช้การสูบลมเพราะปอดของมนุษย์อาจแบกรับได้โดยไม่ได้รับบาดเจ็บจากแรงที่มากที่สุดเท่าที่มนุษย์สามารถออกแรง แต่การสูบลมไม่สามารถกำหนดได้เสมอ Fothergill เข้าใจแนวคิดได้อย่างชัดเจนว่าแรงจากเครื่องจักรกลที่เกิดจากการสูบลม (เช่น เครื่องช่วยหายใจ) อาจนำไปสู่​​การบาดเจ็บของปอดได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Pathophysiological Features
   -Pressures in the Lung
   -Physical Forces
   -Biologic Forces
Clinical Management
   -Ventilation Strategies
   -Adjunctive Strategies
   -Pharmacologic Interventions
Areas of Uncertainty and Recommendations
Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208707

2,591 คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช (2556)

คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช (2556) 
Recommendations for the Pharmacotherapy of Mental Disorders (2013) 
โดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 


วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,590 สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ในประเทศไทย

สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย จากรายงานสถิติสาธารณสุขในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2546 - 2555 ) ของสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากร 100,000 คนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อพิจารณาแยกในรายปี พบว่าอัตราตายลดลง จาก ปี 2547 ถึงปี 2550 และเริ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2551 และเมื่อพิจารณา อัตราผู้ป่วยในของโรคหลอดเลือดสมอง ก็พบว่าอัตราผู้ป่วยในมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นปี 2554 จะต่ําลงเล็กน้อยและเพิ่มขึ้นในปีถัดไป ดังนั้นโรคหลอดเลือดสมองยังคงมีความรุนแรง แม้ว่าอัตราตายการเสียชีวิตตายจึงลดลง แต่การเกิดโรคและการป่วยไม่ได้ลดลง ซึ่งผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิตนั้น จะยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อยเนื่องจากเนื้อสมองถูกทําลายไป และต้องใช้ชีวิตอย่างพิการตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ ซึ่งความพิการดังกล่าวส่งผลกระทบมิใช่ต่อตัวผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติอีกด้วย และเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียปสีขภาวะในปี 2552 (Disability adjusted life years: DALYs)  ที่สําคัญของประเทศ โดยพบว่าในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุสําคัญของการสูญเสียอันดับ 3 ในผู้ชาย รองจากอุบัติเหตุจราจรและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอันดับ 2 ในผู้หญิง รองจากโรคเบาหวาน

Ref: ลิ้งค์

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,589 แนวทางปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในประเทศไทย พ.ศ.2556

แนวทางปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงในประเทศไทย พ.ศ.2556 
Thai Guideline for Diagnosis and Treatment of Pulmonary Hypertension 2013 
โดย สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,588 Treatment of stable chronic obstructive pulmonary disease: the GOLD guidelines

Lee H, Kim J, Tagmazyan K 
American Family Physician
November 15 2013 Vol. 88 No. 10

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสถานบริการปฐมภูมิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการวินิจฉัยโดยใช้ spirometry เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกคงที่ด้วย post bronchodilator เพื่อดูอัตราส่วนของ forced expiratory volume in one second (FEV1) / forced vital capacity ratio of (FVC) น้อยกว่า 0.70
ผู้ป่วยทุกรายที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งสูบบุหรี่ควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบได้รับการแนะนำในผู้ป่วยทั้งหมดที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรัง
The Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease ได้แบ่งผู้ป่วยที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็น 4 กลุ่มตามระดับของการจำกัดการไหลของอากาศ คะแนนของอาการ (symptom score) และจำนวนครั้งของการกำเริบในหนึ่งปี
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม B, C, และ D ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม A จะได้รับ anticholinergic ที่ออกฤทธิ์สั้น หรือ beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์สั้นสำหรับอาการที่ไม่รุนแรงไม่ต่อเนื่อง
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยหนึ่งในสูตรเหล่านี้ การรักษาด้วยยาสามชนิดโดยสเตียรอยด์ชนิดสูดดม, beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์ยาว และ anticholinergic ควรได้รับการพิจารณายาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน corticosteroids ชนิดรับประทาน ไม่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การบำบัดด้วยออกซิเจนอย่างต่อเนื่องจะช่วยปรับปรุงอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรัง การผ่าตัดลดปริมาตรปอดสามารถปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, ปอดอุดกั้นเรื้อรังเด่นที่กลีบปอดบนกับการกระจายตัวของถุงลมโป่งพองและขาดการยืดหยุ่น (emphysema) ที่กระจายตัวแตกต่างกัน

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1115/p655.html

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,587 Myocardial infarction is more common among patients with atrial fibrillation

Thomas L. Schwenk, MD reviewing Soliman EZ et al. JAMA Intern Med 2013 Nov 4

ความสัมพันธ์ของ atrial fibrillation (AF) ต่อความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองเป็นที่ทราบกันดี แต่การที่ AF เป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระของกล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นที่ชัดเจนน้อยกว่า ในการศึกษา prospective cohort study นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อประเมินความแตกต่างของอัตราการเสียชีวิตของโรคหลอดเลือดสมอง
โดยนักวิจัยได้จำแนกเกือบ 24,000 คน (อายุเฉลี่ย 64) ที่ไม่มีการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ โดยมี 1,600 คนเป็น AF ชนิดเรื้อรังเดิม
ในช่วงเวลาเฉลี่ย  4.5 ปีของการติดตาม อุบัติการณ์การของ MI ที่ปรับด้วยอายุ ในผู้ป่วยที่เป็น AF เป็นสองเท่าของผู้ที่ไม่มี AF (12 เทียบกับ 6 ต่อ 1000 คน-ปี)
ในการวิเคราะห์การปรับตัวแปรด้านประชากรและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ พบว่าอุบัติการณ์ของ MI ยังคงสูงเป็น 70% ในผู้ป่วย AF โดยในผู้ป่วย AF พบว่าความเสี่ยงของ MI ในผู้หญิงเป็นเกือบสองเท่าในผู้ชายและความเสี่ยงในคนผิวดำเป็นสองเท่าของคนผิวขาว

Ref: http://www.jwatch.org/na32869/2013/11/21/myocardial-infarction-more-common-among-patients-with

2,586 แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2552
สำหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ

ผู้จัดทำ: เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ผู้สนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,585 การจำแนกประเภทของเนื้องอกของไขสันหลัง (spinal cord tumor)

พอดีคุณพ่อของผมเองมีอาการอ่อนแรงขา 2 ข้างในช่วงเวา 1 สัปดาห์ จนไม่สามารถเดินได้ ไม่มีไข้ ไม่ได้รับการบาดเจ็บ ไม่ปวดหลัง ผล MRI เป็น intradural extramedulary tumor จึงสืบค้นเรื่องนี้พบดังนี้ครับ

1.เนื้องอกนอกเยื่อบุไขสันหลัง (Extradural tumor) ที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่แพร่กระจายจากที่อื่น metastasis tumor (จากปอดพบได้มากที่สุด จากที่อื่นๆ : เต้านม, ไต, ต่อมไทรอยด์, ต่อมลูกหมาก)
                เนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง Neurinoma หรือ Schwannoma
                เนื้องอกของ Leptomininges (Meningioma)
2.เนื้องอกในเยื่อบุไขสันหลัง (Intradural tumor)  แบ่งย่อยอีกเป็น 2 แบบ
          2.1 เนื้องอกเกิดนอกไขสันหลัง (Extramedullary tumor) ที่พบบ่อย คือ เนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง, meningioma
          2.2 เนื้องอกเกิดในไขสันหลัง(Intramedullary tumor)ที่พบบ่อยคือ Astrocytoma,Ependymoma


A: Intradural tumor
B: Intradural extramedullary tumor
C. Extradural tumor


วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,584 แนวทางการตรวจรักษาปอดอักเสบชุมชน (community acquired pneumonia) สรุปใน 1 แผ่น

แนวทางการตรวจรักษาปอดอักเสบชุมชน (สรุปใน 1 แผ่น)  โดยน้องๆ เอ็กซ์เทิร์นจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มาฝึกงานที่โรงพยาบาลพิมาย 


อ้างอิง : แนวทางการรักษาโรคปอดอักเสบชุมชน 
ในประเทศไทย (สําหรับผู้ใหญ่) 2544 

ลิ้งค์ https://drive.google.com/file/d/0B-bd7nN27aZOMlVfSjhiMWFya2M/edit?usp=sharing
ถ้ามีปัญหาลิ้งค์ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,583 Bilirubin-induced neurologic damage - mechanisms and management approaches

Review article
Medical progress
N Engl J Med  November 21, 2013

ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจาก unconjugated hyperbilirubinemia สามารถเกิดได้ถึงประมาณ 85% ของทารกแรกเกิด แม้ว่าสภาพนี้โดยทั่วไปไม่รุนแรงและเกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งระดับ unconjugated bilirubin สามารถก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงคือเกิดการบาดเจ็บของสมองที่รุนแรงในทารกแรกเกิดในสัดส่วนที่ไม่มาก
Bilirubin encephalopathy ชนิดเฉียบพลันอาจเกิดตามมาและพัฒนาไปสู่​​ kernicterus (chronic bilirubin encephalopathy), เป็นสภาพการทำงานทางระบบประสาทที่ผิดปกติอย่างถาวร ลักษณะที่พบได้บ่อยคือ of dystonia จาก extrapyramidal movement disorders, choreoathetosis หรือทั้งสองอย่าง
การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับ auditory neuropathy และ oculomotor pareses
ผลของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ที่เกิดตามมาสะท้อนให้เห็นถึงการเกิด bilirubin-induced neuropathology ในแต่ละตำแหน่งของสมอง ซึ่งจะเกิดกับ globus pallidus, subthalamic nucleus, brain-stem nuclei, hippocampal CA2 neurons, และ cerebellar Purkinje's cells
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Kernicterus as a Worldwide Problem
-Which Bilirubin Is Neurotoxic?
-The Bilirubin:Albumin Ratio
-Pathobiologic Features of Bilirubin-Induced CNS Injury
-Animal Models of Bilirubin Encephalopathy
-Prevention and Treatment of Severe Hyperbilirubinemia
-Conclusions
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1308124

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,581 มาตรฐานการดําเนินงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

มาตรฐานการดําเนินงาน สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ฉบับปรับปรุง ฉบับวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 
โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป  กรมควบคุมโรค 

เนื้อหาประกอบด้วย
ตอนที่ 1 มาตรฐานการบริหารจัดการลูกโซ่ความเย็น
ตอนท 2 มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน
ตอนท 3 มาตรฐานการบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เครื่องมือที่ใช้ ในการประเมิน

ลิ้งค์

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,580 แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธีล้างไตทางช่องท้อง

วันนี้พบผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง จึงสืบค้นแนวทาง แต่ก็ต้องขออภัยที่ไม่พบที่มาของแนวทางนี้ เพราะในแนวทางน้้ไม่ได้เขียนที่มาไว้ ถ้าใครเป็นเจ้าของหรือทราบว่าเป็นของผู้ใด หน่วยงานใด รบกวนช่วยบอกด้วย เพื่อเป็นการให้ให้เครดิตและให้เกียรติกับเจ้าของครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. คำจำกัดความ
2. แนวทางการวินิจฉัย 
3. แนวทางการรักษา
4. ข้อบงชี้ในการถอดสายล้างช่องท้องออก 
5. การป้องกัน

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,579 ข้อบ่งชี้ของการเริ่มต้นทำไดอะไลซิสในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังโดยสมาคมโรคไตแหงประเทศไทย

1. อัตราการกรองของไตโดยประมาณ (Estimated Glomerular Filtration Rate, eGFR) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาท/1.73 ตารางเมตรและไม่พบเหตุที่ทำให้ ไตเสื่อมชั่วคราว โดยอาจมีหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังก็ได้ หรือ
2. เมื่อผู้ป่วยมีระดับ eGFR มากกว่าหรือเท่ากับ 6 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรังซึ่ง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบประคับประคอง อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
   -ภาวะน้ำและเกลือเกินในร่างกาย จนเกิดภาวะหัวใจวายหรือความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้
   -ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เลือดเป็นกรด หรือฟอสเฟสในเลือดสูง
   -ความรู้สึกตัวลดลง หรืออาการชักกระตุกจากภาวะยูรีเมีย
   -เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากภาวะยูรีเมีย
   -คลื่นไส้อาเจียนเบื่ออาหาร น้ำหนักลดหรือมภาวะทุพโภชนาการ

ซึ่งสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กาหนด คำแนะนาในการรายงานผลค่า eGFR 
ดังนี้
   1)  ใช้การคำนวณ eGFR โดยใช้สมการ The Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration (CKD-EPI) equation ในผู้ใหญ่และ Schwartz Equation สำหรับเด็ก (น้อยกว่า 18 ปี)
   2)  ใช้วิธีการวัดค่าครเอตินินในเลือดโดยวิธ๊ Enzymatic และให้ใช้ค่าระดับครีเอตินิน โดยใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เพื่อความแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น

Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณ 2557 เล่ม 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง


วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,578 คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล่ม 1-4 ปีงบประมาณ 2557

นอกจากข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการบริหารงบบริการแล้วยังมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคและการติดตามผู้ป่วยร่วมด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 4 เล่ม ดังนี้
เล่ม 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว
เล่ม 2 การบริหารงบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และการบริหารงบผู้ป่วยวัณโรค
เล่ม 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
เล่ม 4 การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)


โดยสามารถได้ที่ website ห้องสมุดสปสช. http://library.nhso.go.th/

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,577 นิยามของคำว่า cardiovascular diseases (CVD)

เป็นกลุ่มของโรคหัวใจและหลอดเลือดอันประกอบไปด้วย
1. โรคของหลอดเลือดหัวใจ (หลอดเลือดแดงโคโรนารี่)
2. โรคของหลอดเลือดสมอง
3. โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย
4. โรคหัวใจรูห์มาติค
5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
6. ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกและหลอดเลือดแดงปอด
แต่ในความคิดเห็นของผมเองถ้าคำนี้นำมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังในผู้ใหญ่ อาจจะเน้นไปในข้อ 1-3 ข้อแรกเป็นหลัก

Ref: http://www.euro.who.int/en/health-topics/noncommunicable-diseases/cardiovascular-diseases/cardiovascular-diseases2/definition-of-cardiovascular-diseases

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,576 Adult Attention Deficit–Hyperactivity Disorder

Clinical practice 
N Engl J Med November 14, 2013

ลักษณะของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ (adult attention deficit–hyperactivity disorder, ADHD) จะแตกต่างจากในเด็ก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลดลงอย่างมากของอาการอยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) มากกว่าอาการสมาธิสั้น (inattention) รวมทั้งความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมาธิสั้นในผู้ใหญ่จะมีการแสดงที่แตกต่างจากในเด็ก
โดยในการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ อาการไม่อยู่นิ่งที่ลดลงจะแสดงออกโดยเป็นการไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยได้ (restlessness) ในขณะที่การคงอยู่ของอาการสมาธิสั้นจะแสดงให้เห็นโดยความยากลำบากในการปฏิบัติงาน (เช่น การรักษาเวลานัดหมาย กำหนดเวลาการประชุม หรือการมุ่งเน้นไปที่งานใดงานหนึ่ง) และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานที่มีความสำคัญในแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิต
ผลของสมาธิสั้นในผู้ใหญ่รวมถึงความยากลำบากในการทำงานและการเงิน (เช่นการเปลี่ยนแปลงงานบ่อย การว่างงาน และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (เช่นความไม่ปรองดองทางสังคมและปัญหาการสมรส) และการมีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย (เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล) นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการใช้สารเสพติดรวมทั้งการสูบบุหรี่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Key Clinical Points
Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1212625

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,575 ความสำคัญของ spirometry กับการวินิจฉัย COPD

Spirometry มีความจำเป็นเพื่อการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรง โดยต้องทำการตรวจเมื่ออาการคงที่ โดยไม่มีอาการกำเริบแล้ว 1 เดือน การตรวจนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้ตั้งแต่ในระยะที่ยังไม่มีอาการ โดยจะพบลักษณะของ airflow limited โดยค่า FEV1/FVC หลังให้ยาขยายหลอดลมน้อยกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกได้เป็น 4 ระดับ โดยการใช้ FEV1 ร่วมกับอาการของโรค
ส่วนค่าอื่น อาจมีประโยชน์ แต่ไม่มีความจำเป็นในการวินิจฉัย โดยพบว่าค่า RV, TLC, RV/TLC จะเพิ่มขึ้น ส่วน diffusing capacity ของ DLCO อาจลดลง
สามารถแบ่งระดับความรุนแรงดังนี้
-Mild: FEV1 ตั้งแต่ 80% ของค่ามาตรฐาน
-Moderate: FEV1 50-79% ของค่ามาตรฐาน
-Severe: FEV1 30-49% ของค่ามาตรฐาน
-Very severe: FEV1 น้อยกว่า 30% ของค่ามาตรฐาน หรือ น้อยกว่า 50%  ร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง
(โดยการแบ่งนี้จะทำร่วมกับลักษณะทางคลินิกร่วมด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากอ้างอิงที่ 1)

ในอีกหนึ่งอ้างอิงบอกถึงประโยชน์ของ spirometry ใน COPD ไว้ดังนี้
-ยืนยันการมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
-ยืนยันว่า FEV1/FVC น้อยกว่าร้อยละ 70 หลังให้ยาขยายหลอดลม
-บอกระดับความรุนแรง
-ช่วยแยกระหว่าง asthma กับ COPD
-ช่วยในการตรวจค้นหาในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง, ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่ไม่มีอาการ
-ช่วยการติดตามการดำเนินโรค
-ช่วยประเมินการตอบสนองต่อการรักษา
-ช่วยในการพยากรณ์การมีชีวิตอยู่ในระยะยาว
-ช่วยตัดแยกภาวะ COPD ออก และป้องกันการได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมถ้า spirometry ปกติ

Ref: -แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553 และ
http://www.goldcopd.org/uploads/users/files/GOLD_Spirometry_2010.pdf

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,574 ระบาดวิทยาของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทย

ยังไม่มีการสำรวจระดับชาติ แต่จากการคำนวณโดยใช้แบบจำลองอาศัยขอมูลความชุกของการสูบบุหรี่ และมลภาวะในสภาพแวดลอมในบ้านและในที่สาธารณะ ประมาณว่าร้อยละ 5 ของประชากรไทย อายุเกิน 30 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แต่ในการสำรวจจรงิในพื้นที่โดยศึกษาในเขตธนบุรี ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบความชุกและอุบัติการณ์ร้อยละ 7.1 และ 3.6 ตามลำดบ2 ส่วนการสำรวจผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปในชุมชนเมืองและชุมชนรอบนอกนครเชียงใหม่พบความชุกร้อยละ 3.7 และ 7.1 ตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่สำรวจพบในชุมชนส่วนใหญ่เป็น ผู้ป่วยระยะแรก ส่วนผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยระยะรุนแรง

Ref: แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553



2,573 คู่มือมาตรฐานรหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนังานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข


วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,572 ความรู้เรื่องโรคลีเจียนแนร์, โรคปอดอักเสบลีเจียนแนร์ (Legionnaire disease, Legionnaire pneumonia)

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ลักษณะโรค
-เชื้อก่อโรค
-การก่อโรค
-แหล่งรังโรค
-วิธีการแพร่โรค
-ระยะฟักตัวของโรค
-ระยะติดต่อของโรค
-ความไวและความต้านทานต่อการรักบเชื้อ
-วิธีการควบคุมโรค
-สถานการณ์โรคในประเทศไทย
-ระบาดวิทยาของโรคในประเทศไทย
-การเก็บตัวอย่างส่งตรวจวินิจฉัย

ลิ้งค์ http://beid.ddc.moph.go.th/media/factsheet_detail.php?download=BEID_Media_4636.pdf

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,571 การวัดความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (mitral stenosis) โดยใช้ continuous wave doppler

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถในการวัดระดับความรุนแรงของลิ้นหัวใจไมทรัลตีบคือการใช้ continuous wave doppler ซึ่งเป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงความดันระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย (pressure gradient between LV and LA) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ pre-load (volume status) และ filling time (heart rate)
เป็นการวัด transmitral gradient โดยการใช้ apical view approach และใช้ continuous wave doppler โดยวัดในแนวขนานไปกับ mitral flow แล้ววัด mean mitral gradient ซึ่งมีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว
แต่ถ้าผู้ป่วยเป็น atrial fibrillation ให้ทำการวัดอย่างน้อย 5 cardiac cycle แล้วนำมาเฉลี่ย เนื่องจากจะมีความแตกต่างของระยะเวลาในช่วง diastolic เช่น LV filling time
โดยแบ่งระดับความรุนแรงได้ดังนี้ 
ระดับเล็กน้อย  น้อยกว่า  5 มม. ปรอท
ระดับปานกลาง  5-10 มม. ปรอท
ระดับรุนแรง มากกว่า 10 มม. ปรอท



Ref: http://www.stanford.edu/group/ccm_echocardio/cgi-bin/mediawiki/index.php/Mitral_stenosis_assessment

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,570 Myocardial infarction: Management of the subacute period

American Family Physician 
November 1 2013 Vol. 88 No. 9

การดูแลที่เหมาะสมของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในช่วงกึ่งเฉียบพลัน (subacute period) มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, การให้การรักษาในช่วงต้นเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตายกำเริบและหลีกเลี่ยงการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล
จากแนวทางหลักฐานที่ใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันพบว่าไม่ได้มีการทำตามถึง 25%  การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet), ยายับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone, beta blockers และยากลุ่ม statin ถือว่าเป็นการรักษาพื้นฐาน
การทดสอบแบบไม่รุกล้ำเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการสวนหลอดเลือด การให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรรวมถึงการตรวจสอบยาที่ให้ ส่งทีมงานเพื่อการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ แนะนำกิจกรรม ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตแลการรับรู้อาการของหัวใจ และการวางแผนการติดตามที่ชัดเจน เพราะการไม่สามารถที่จะใช้ยาหรือกายอมรับยา (nonadherence) ได้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังจากที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิต ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และไม่ให้หยุดยาเองควรได้รับการแนะนำก่อนกลับ
กระบวนการและโครงสร้างในการจำหน่ายผู้ป่วยควรจะใช้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและการอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปอยู่ในการดูแลของแพทย์ประจำครอบครัว

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p581.html

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,569 Screening by Ankle–Brachial Index for Peripheral Artery or Cardiovascular Disease

Jamaluddin Moloo, MD, MPH reviewing Moyer VA et al. Ann Intern Med 2013 Sep 3. Lin JS et al. Ann Intern Med 2013 Sep 3

Ankle–Brachial Index (ABI) คำนวณโดยการหารความดันโลหิตตัวบนที่ข้อเท้าด้วยความดันโลหิตตัวบนของแขน โดยค่าที่น้อยกว่า 0.9 จะถือว่าผิดปกติ
Key Points
-บนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐานในผู้ใหญ่ที่มีอาการ, ABI เป็นการคัดกรองที่เชื่อถือได้สำหรับโรคหลอเลือดส่วนปลาย (peripheral artery disease) แต่ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพท์-ประโยชน์ที่ได้ในทางคลินิกจากการตรวจคัดกรองและการรักษาของโรคของหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ
-ถึงแม้การใช้ ABI ร่วมกับการใช้  Framingham risk score จะสามารถจัดประเภทของผู้ป่วยบางราย แต่ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบว่าการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่ตรวจคัดกรองตรวจพบ PAD จะนำไปสู่​​ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
-ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะประเมินระหว่างประโยชน์และผลเสียของการตรวจคัดกรองโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย กับ ABI ในผู้ใหญ่ที่มีอาการโดยไม่มีโรคหัวใจ-หลอดเลือดหรือโรคเบาหวาน

Ref: http://www.jwatch.org/na32228/2013/10/24/screening-ankle-brachial-index-peripheral-artery-or

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,568 A curious case of chest pain: giant-cell myocarditis

Clinical problem-solving
N Engl J Med 2013  November 7, 2013

เป็นกรณีชาย 67 ปี มาที่แผนกฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บหน้าอก โดย 10 วันก่อนเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนไม่มีเลือดปน ท้องอืด และปวดใต้ลิ้นปี่ ต่อมามีอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้นขณะออกแรงและขณะพักร่วมกับการมีเหงื่อออกและหอบเหนื่อย ตำแหน่งที่ปวดอยู่ใต้กระดูกสันอกไม่ร้าวไปที่ใด อาการปวดไม่เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนท่าหรือการรับประทานอาหาร ระดับความปวด 8/10
ผลการตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ ชีพจร 125 /นาที สม่ำเสมอ การหายใจ 22 /นาที ความเข้มข้นของ (oxygen saturation) ออกซิเจน 94% ขณะที่หายใจด้วยออกซิเจน nasal cannula 6 ลิตร, BMI 30 ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ซีด มีเหงื่อออก ใช้กล้ามเนื้อช่วยหายใจ, JVP 18 ซม. หัวใจเต้นเร็ว สม่ำเสมอ มี holosystolic apical murmur ระดับ 2, ปอดมีเสียง rale ที่ปอดด้านซ้ายล่าง ท้องกดไม่เจ็บ ไม่มี abdominojugular reflux คลำขอบตับได้ 4 ซม. ต่ำกว่าชายโครงกดไม่เจ็บ แขนและขาเย็น ไม่บวม ชีพจรส่วนปลายเบาลง ไม่มีผื่น ผลการตัดชิ้นเนื้อของ endomyocardial พบว่าเป็น giant-cell myocarditis ซึ่งเป็นโรค nonischemic cardiomyopathy ที่พบได้น้อยมาก ถ้าใครสนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ครับ

อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcps1301819

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,567 Heart failure and cancer risk are related

Heart failure and cancer risk are related
November 5, 2013

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure, HF) ที่มีความเสี่ยงมากสำหรับการเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกิดหัวใจและที่ไม่ใช่จากหัวใจที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองในการศึกษานี้เป็น case-control จากฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ในมินนิโซตา โดยนักวิจัยพยายามที่จะประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหัวใจล้มเหลวกับมะเร็ง
ผู้ป่วยจำนวน 961คนที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวรายใหม่ และกลุ่มควบคุมที่มีอายุและเพศเหมือนกันจำนวนเท่ากัน ในช่วงการติดเป็นเวลา 7.7 ปี พบว่ามีความเสี่ยงสำหรับเหตุการณ์การเกิดโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว  (hazard ratio เท่ากับ 1.68) หลังจากการปรับ
สำหรับการสูบบุหรี่ ดัชนีมวลกาย และโรคประจำตัวอื่น ๆ พบว่าโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต (โดยมี HR = 1.56) โดยไม่ได้พบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง
ส่วนในความเห็นส่วนของผมคิดว่านี่เป็นการศึกษาเพียงบางส่วนของภูมิภาค ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างของอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและมะเร็งที่แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ คงต้องมีการศึกษาที่กว้่งและครอบคลุมมากขึ้นจึงจะสามารถให้ข้อมูลเพื่อการสรุปได้มากกว่านี้ครับ

Ref: http://www.jwatch.org/na32727/2013/11/05/heart-failure-and-cancer-risk-are-related
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0735109713025229

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2.566 แนวทางการวินิจฉัย ดูแล รักษาผู้ป่วยสงสัยโรค MERS-CoV (Middle East Respiratory Syndrome) และการควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

โดย คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ข้อมูลทั่วไปของไวรัสโคโรน่า
-ปัจจัยเสี่ยงที่พบ
-ระยะฟักตัว
-อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วยโรค MERS-CoV
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การรักษา
   1) การรักษาเฉพาะ
   2) การรักษาตามอาการ
-Infection Control ในสถานพยาบาล
-การตั้งจุดคัดกรอง
-คำนิยามผู้ป่วย
-ผู้ป่วยเข้าข่าย (Probable case)
-ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed case)
-ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค (Case under investigation)
-ผู้ป่วยคัดออก (Excluded)
-แนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
-การติดต่อสื่อสารในการส่งต่อผู้ป่วย (Communication arrangement)

ลิ้งค์ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/CPG_MERS-CoV.pdf

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,565 การสูบบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี

นักวิทยาศาสตร์วออสเตรเลีย พบพบว่าบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่แม้แต่ไม่ต้องสูบหนัก ก็สามารถก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงและสัมพันธ์กับการมีอายุสั้นมากยิ่งกว่าที่เคยเชื่อกันมาก่อน การศึกษาซึ่งทำด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เป็นเวลานานถึง 4 ปี ได้พบว่า คอบุหรี่ที่เสียชีวิตลงในปัจจุบันมากถึง 2 ใน 3 ล้วนเนื่องมาแต่บุหรี่โดยตรง สูงกว่าการคาดหมายเดิม ที่ประมาณว่ามีเพียงแค่ร้อยละ 50 เท่านั้น นักวิจัยได้ศึกษาจากสถิติด้านสุขภาพ ของผู้คนที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 200,000 คน พบว่าอาจจะทำให้อายุขัยสั้นลงไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งศาสตราจารย์เอมิลี แบงค์ หัวหน้าคณะศึกษากล่าวว่า “เราต่างก็รู้ว่าบุหรี่ทำลายสุขภาพ เราเพิ่งมาได้หลักฐานยืนยันโดยตรงจากออสเตรเลียว่า มันน่าหวาดหวั่นแค่ไหน ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่นั้นเหมือนกับคบหาอยู่กับความตายใกล้ชิด ซึ่งถ้าไปเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบมาก่อน จะมากกว่ากันอยู่ ถึง 3 เท่า”

Ref: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/37295

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,564 แนวโน้มความชุกของภาวะอ้วนที่มี BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 ของประเทศไทย

แนวโน้มความชุกของภาวะอ้วน  ตามผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 1- 4 ใช้เกณฑ์ BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 และ BMI ตั้งแต่ 30 กก./ม.2 ตามลำดับ ความชุกของภาวะอ้วนที่ BMI ตั้งแต่ 25 กก./ม.2 ในประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เพิ่มจากร้อยละ 18.2 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 24.1 ในปี 2540 และเพิ่มเป็นร้อยละ 28.1 และร้อยละ 36.5 ในปี พ.ศ. 2547 และ 2552 ตามลำดับ สำหรับความชุกของภาวะอ้วนที่ BMI ตั้งแต่ 30 กก./ม.2 เพิ่มจากร้อยละ 3.5 ในปี พ.ศ. 2534 เป็นร้อยละ 5.8, ร้อยละ 6.9 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ ในช่วงปีดังกล่าว โดยความชุกของโรคอ้วนในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นจนมีความชุกสูงสุดในกลุ่ม อายุ 45-54 ปี
   
Ref: ลิ้งค์

2,563 ข้อบ่งชี้ในการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก่อนการเจาะหลัง

-มีลักษณะทางคลินิกของภาวะความดันในกระโหลกศรีษะสูง (เช่น papilloedema, bradycardia ที่เกิดขึ้นร่วมกับการมีความดันโลหิตสูง)
-ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (GCS น้อยกว่า 14)
-มีภาวะระบบภูมิคุ้มกีนบกพร่อง (immunosuppression)
-พบมี focal neurological deficit
-ชักที่เกิดขึ้นใหม่
-สงสัยการมีเลือดออกใน subarachnoid

ถ้านอกเหนือจากนี้ให้พิจารณาจากลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้จากอ้างอิงด้านล่างและถ้าจำเป็นต้อง LP ในกรณีที่ไม่สามารถทำ CT ได้ หรือแม้แต่ทำ CT แล้วไม่มั่นใจว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ ควรใช้เข็มขนาดเล็กชนิด non traumatic (ปลายดินสอ) และนำน้ำไขสันหลังออกน้อยที่สุด ที่สุดเท่าที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจ และภายหลัง LP ต้องติดตามภาวะสมองปลิ้น (brain herniation) อย่างใกล้ช่ิด

Ref:
-http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2563700/
-จำเป็นต้อง CT scan สมองก่อนการตรวจ lumbar puncture หรือไม่ รศ. นพ. สมศักดิ์ เที่ยมเก่า วารศารประสาทวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,562 การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกับหัตถการในช่องปาก

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยซึ่งใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกับหัตถการในช่องปากจะต้องทำหัตถการในช่องปาก บทความนี้จะช่วยในการตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยครับ

ในบทสรุปของเนื้อหากล่าวไว้ดังนี้ 
จากข้อมูลหลักฐาน สนับสนุนให้ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง โดยควบคุมให้ INR ตั้งแต่ 3.5 ลงไป โดยไม่ต้องหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยมีการวางแผนและเตรียมการห้ามเลือดเฉพาะที่ ความเสี่ยงของการมีเลือดออกจนอันตรายถึงชีวิตพบได้น้อยมากในขณะที่การหยุดยาอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ผู้ที่มี INR มากกว่า 3.5 ควรควบคุมให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมก่อน ส่วนถ้ามี INR มากกว่า 4 ไม่ควรทำหัตถการ

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
-ความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเมื่อมีการหยุดหรือปรับเปลี่ยนปริมาณยา
-ความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดไหลหยุดยากเมื่อใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง
-การจัดการทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
-บทสรุป
-เอกสารอ้างอิง

Ref : การรักษาทางศัลยกรรมช่องปากสำหรับผู้ป่วยป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
http://home.kku.ac.th/kdj/images/KDJ_pdf02/vol11/vol11no2_5.pdf

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,561 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราแบบผู้ป่วยนอก

Outpatient management of alcohol withdrawal syndrome

อาการขาดสุรามักจะเริ่มในช่วง 6-24 ชม. หลังการดื่มครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราซึ่งมีอาการไม่มากหรือปานกลางสามารถให้การรักษาแบบรักษาผู้ป่วยนอก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้ไม่ต้องหยุดงานและการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะแทรกซ้อนควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกเหนือไปจากการรักษาแบบประคับประคอง (supportive therapy), การใช้ยา benzodiazepines ทั้งแบบ fixed-dose หรือ symptom-triggered schedule เป็นสิ่งที่แนะนำ ควรให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนอาการดีขึ้น การให้ยานอกจากจะช่วยลดอาการขาดสุราแล้วแล้วยังสามารถช่วยป้องกันการชักได้อีกด้วย
แม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษาเป็นก้าวแรกของของการหายของภาวะการขาดสุรา แต่ความสำเร็จในระยะยาวยังต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Ref: American Family Physician   November 1 2013 Vol. 88 No. 9
http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p589.html

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,560 Circulatory shock

Review article 
Critical care medicine
N Engl J Med  October 31, 2013

Shock เป็นลักษณะการแสดงออกทางคลินิกของความล้มเหลวเนื่องจากความไม่เพียงพอในการใช้ออกซิเจนของเซล เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในภาวะวิกฤต โดยพบ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) การวินิจฉัยจะขึ้นกับลักษณะทางคลินิก สภาวะของระบบใหลเวียน (hemodynamic) ลักษณะของชีวเคมี ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ส่วนคือ
1. มักมีความดันโลหิตในหลอดเลืดแดงลดลง โดยมักมีความรุนแรงในระดับปานกลางโดยเฉพาะในผู้ที่มีความดันโลหิตลสูงเรื้อรัง ลักษณะทีพบได้บ่อยๆ คือ การมีความดันโลหิตตัวบนน้อยกว่า 90 มม.ปรอทหรือ mean arterial BP น้อยกว่า 70 มม.ปรอท โดยจะสัมพันธ์กับการมี หัวใจเต้นเร็ว
2. ลักษณะทางคลินิกของการมีการใหลเวียนไปยังเนื้อเยื่อลดลง (hypoperfusion) โดยการแสดงออกผ่านทาง 3 ช่องทางซึ่งเปรียบเสมือนหน้าต่างของร่างกายได้แก่ ทางผิวหนัง (ผิวหนังชื้นเย็นร่วมกับการมีหลอดเลือดหดตัวและภาวะเขียว สิ่งที่พบเป็นหลักฐานที่พบได้มากที่สุดของการมีการใหลเวียนลดลง)  การทำงานของไต (ปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 มล. /กิโลกรัม/วต่อชั่วโมง) และอาการทางระบบประสาท (สภาพจิตที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมักจะมีสิ่งต่างได้แก่การไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น, ความสับสน)
3. การมีแลคเตทสูงในเลือด (hyperlactatemia) ซึ่งมักจะมี เป็นการแสดงให้เห็นถึงเมตาโบลิซึมของออกซิเจนที่ผิดปกติ ค่าปกติแลคเตทจะอยู่ที่ประมาณ 1 มิลลิโมลต่อลิตร แต่ระดับจะเพิ่มขึ้น (มากกว่า 1.5 มิลลิโมลต่อลิตร) ในภาวะระบบไหลเวียนล้มเหลวเฉียบพลัน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Pathophysiological Mechanisms
-Differential Diagnosis
-Initial Approach to the Patient in Shock
-Mechanical Support
-Goals of Hemodynamic Support
-Therapeutic Priorities and Goals
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208943


วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,559 ตำราโรคไบโพลาร์

จัดพิมพ์โดย : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
บรรณาธิการ : ธวัชชัย ลีฬหานาท, สรยุทธ วาสิกนานนท์



วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,558 Hyperuricemia during pyrazinamide therapy

ผู้ป่วยชาย 53 ปี มีปัญหากรดยูริคในเลือดสูงเดิม โดยมีกรดยูริคในเลือด เดิม 9.2 มก./ดล. ภายหลังเป็นวัณโรคปอดได้รับการรักษาด้วยา category 1, และ 2 เดือนต่อมาผลตรวจกรดยูริคในเลือดเป็น 20.4  มก./ดล. คิดว่ายาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคจะเป็นสาเหตุได้หรือไม่อย่างไร และจะต้องให้การรักษาอย่างไรบ้างครับ?

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
Pyrazinamide (PZA) จะยับยั้งการหลั่งยูเรตจากไต (inhibiting renal tubular secretion) ทำให้เกิดยูริคสูงในเลือด (hyperuricemia) ได้บ่อย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ (usually asymptomatic) แต่ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อและเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันจากเกาท์ได้ และระดับจะกลับมาปกติเมื่อหยุดยา และพบว่าการให้ยาแอสไพลินสามารถป้องกันการเกิดยูริคสูงในเลือดและอาการปวดข้อที่เกิดจากยา PZA ได้
โดยในผู้ป่วยท่านนี้พบว่าภายหลังหยุดยา PZA ได้ 1 เดือน ผลกรดยูริคในเลือดลดลงมาอยู่ที่ 6.5 มก./ดล. ครับ

Ref: http://www.pharmyaring.com/download/AntiTB_pdf.pdf
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15228843
http://www.medscape.com/viewarticle/562264

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,557 สรุปสถานการณ์โรคเรื้อน ปี พ.ศ. 2555

มีผู้ป่วยโรคเรื้อนในทะเบียนรักษาทั่วประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 จำนวน 555 คน คิดเป็นอัตรา
ความชุกโรคเรื้อน (Prevalence rate: PR) 0.09 คน ต่อประชากร 10,000 คน (ประชากรจากสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เมื่อ 31 ธันวาคม 2555 จำนวน 64,456,695 คน) โดยจำแนกได้ดังนี้
จำแนกตามกลุ่มการรักษา 
 -ประเภทเชื้อมาก (Multibacillary: MB) 508 คน (91.53 %)
 -ประเภทเชื้อน้อย (Paucibacillary: PB)   47  คน (8.47 %)
การกระจายของผู้ป่วยโรคเริ้อน จำแนกรายภาค 
-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 291   คน  (52.43 %) PR = 0.13/10,000 ประชากร
-ภาคใต้  95   คน  (17.12 %) PR = 0.10/10,000 ประชากร
-ภาคเหนือ  86 คน  (15.50 %) PR = 0.07/10,000 ประชากร
-ภาคกลาง  83   คน  (14.95 %) PR = 0.04/10,000 ประชากร
จังหวัดที่มีผู้ป่วยในทะเบียนรักษามากที่สุด 5 ลำดับ คือ 
-นครราชสีมา 39   คน
-นราธวาส  35   คน
-ขอนแก่น ศีรสะเกษ 30  คน
-สุรินทร์ 29  คน
-อุบลราชธานี 26  คน

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.thaileprosy.org/site/documents/Leprosy-2555.pdf

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,556 ผู้ป่วยหญิง 67 ปี มีโรคประจำตัวคือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจเดิม มาด้วยเจ็บหน้าอก

จะสังเกตนะครับว่า post นี้มาถึงจำนวนที่เท่ากับปี พ.ศ. พอดี ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอย่างต่อเนื่องเสมอมา และจำนวนการเปิดหน้าอ่านเกือบ 2.5 ล้านครั้งแล้ว วันนี้เป็นกรณีศึกษาในการแปลผล EKG นะครับ
ผู้ป่วยหญิง 67 ปี มีโรคประจำตัวคือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจเดิม เจ็บหน้าอก 2 ข้าง ไม่มีร้าวไปที่ใด มีเหงื่อออก เจ็บอยู่นานประมาณ 5 นาที และยังเจ็บเล็กน้อยจนมาถึง รพ. (รวมเวลาประมาณ 20 นาทีตั้งแต่เจ็บจนมาถึง รพ.) ที่ ER vital sign stable, EKG เป็นดังภาพด้านล่าง และผลอ่านจากเครื่องอ่านว่ามี ST elevation ใน inferior wall, ผล Troponin T ครั้งแรก netative, F/U อีก 4 ชม. ต่อมา = 0.05 ng/ml จาก EKG ที่เห็นคิดว่ามี ST elevation ใน inferior จริงตามที่เครื่องอ่านหรือไม่อย่างไรครับ? ขอบคุณครับ


ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ 
ลักษณะของ EKG ที่เกิดจาก left bundle branch block เกิดจากการที่กระแสไฟฟ้าใน left bundle branch เดินทางลงมาได้ช้ากว่าปกติ ส่วนทาง right bundle branch เดินทางได้ตามปกติ โดยมีลักษณะดังนี้
-RSR' ใน V5,V6,1,aVL
-ไม่มี Q wave ใน lead V5, V6, 1
-Slurred S ใน V1,V2
-QRS  มากกว่า 0.10 นาที และน้อยกว่า 0.12 นาที  = incomplete LBBB
-QRS มากกว่า  0.12 นาที = complete LBBB
-ST depression และ inverted T เรียกว่า secondary ST-T changes
แต่มักสังเกตเห็นมี notch เกิดขึ้นได้ใน lead อื่นๆ ด้วยเช่น ใน inferior wall แต่เท่าที่อ่านไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ซึ่งถ้า nocth นี้กว้างมากอาจจะทำให้ดูคล้ายการมี ST elevation ได้ ตัวอย่างเช่น EKG ข้างล่างนี้
ถ้าท่านผู้รู้ท่านใดมีข้อมูลหรือมีความเห็นเพิ่มสามารถเสนอได้นะครับ