วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,311 ฝาปิดกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลัน (Acute epiglottitis)

โดย รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริ้งซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล




วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,310 การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โดยวิธีใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกและวิธีไม่ผ่าตัด

โดยอาจารย์แพทย์หญิง นฤชา จิรกาลวสาน
หนวยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตฯ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ 
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย



วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,309 การรักษาและป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุน

การรักษาและป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุน
(Box jellyfsh กบ Portuguese man-of-war)
โดย รศ. ดร. พญ. ลักขณา ไทยเครือ 
ดร. พญ. พจมาน ศิริอารยาภรณ์ 



วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,308 แนวทางปฏิบัติการบริหารยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย

โดยคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารยาเคมีบำบัด 
โรงพยาบาลสงขลานครินทร คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคนรินทร์



วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,307 Primary care for men who have sex with men

Clinical practice
N Engl J Med August 27, 2015

Key clinical points
-ผู้ให้บริการทางการแพทย์ควรระบุและให้ความสัมคัญผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายเพื่อที่จะสามารถให้การดูแลทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
-การฉีดวัคซีนให้สำหรับคนที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายควรจะรวมถึงวัคซีนโรคตับอักเสบไวรัสเอ, ไวรัสตับอักเสบบี, Human Papillomavirus (ในผู้ชายปีตั้งแต่อายุ 26 ลงมา) และในบางภูมิภาคจะรวมถึงวัคซีน Neisseria meningitidis
-การพูดคุยในรายละเอียดของกิจกรรมทางเพศเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้คำแนะนำวิธีสำหรับการป้องกันการติดเชื้อที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) และสำหรับการบริหารงานเพื่อการตรวจหาการติดเชื้อติดโรคต่อทางเพศสัมพันธ์
-ผู้ชายที่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับคนหลาย ๆ คนโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยที่ควรได้รับการแนะนำในป้องกันโรคแบบก่อนการสัมผัส (preexposure prophylaxis) เพื่อลดความเสี่ยงของการซื้อกิจการเอชไอวี
-การตรวจหาการติดเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรจะทำหนึ่งครั้งหรือสองครั้งต่อปีขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางเพศของผู้ป่วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Sexual History
   Sexually Transmitted Infections
   Diseases Prevented by Vaccines
   HIV Prevention
   Screening for Alcohol, Drug, and Tobacco Use
   Transmission of Hepatitis C Virus
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1401303

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,305 แนวปฏิบัติการจัดบริการเวชกรรมสิ่งแวดล้อม สำหรับบุคลากรสาธารณสุข

โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม  
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 
ปีงบประมาณ 2558 



วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,304 คำประกาศ "สิทธิ" และ "ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย ฉบับใหม่ ออกโดย ๖ สภาวิชาชีพ

คำประกาศ "สิทธิ" และ "ข้อพึงปฏิบัติ" ของผู้ป่วย ฉบับใหม่ ออกโดย ๖ สภาวิชาชีพ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘




วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,302 โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

 1. อหิวาตกโรค
 2. กาฬโรค
 3. ไข้ทรพิษ
 4. ไข้เหลือง
 5. ไข้กาฬหลังแอ่น
 6. คอตีบ
 7. โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด
 8. โปลิโอ
 9. ไข้หวัดใหญ่
 10. ไข้สมองอักเสบ
 11. โรคพิษสุนัขบ้า
 12. ไข้รากสาดใหญ่
 13. วัณโรค
 14. แอนแทร็กซ์
 15. โรคทริคิโนซิส
 16. โรคคุดทะราด เฉพาะในระยะติดต่อ
 17. โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันในเด็ก
 18. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
 19. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ประกาศ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
 20. ไข้เลือดออก (ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552)
 21. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (ประกาศ ณ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ 2557)
 22. โรคเมอร์ส (MERS) (ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ 2558)

Ref: http://health.kapook.com/view122006.html

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,301 ยากำพร้ากับคำถามที่พบบ่อย

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ยากำพร้าคืออะไร
-ยากำพร้าของประเทศไทย กับ “Orphan drug” ในต่างประเทศ เหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
-ยากำพร้าของประเทศไทยมีกลไกการขึ้นทะเบียนตำรับยาเช่นเดียวกับ “Orphan drug” ในต่างประเทศ หรือไม่ อย่างไร
-คณะอนุกรรมการยากำพร้ามีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร
-จะเสนอรายการยากำพร้าต้องทำอย่างไร
-หากต้องการขึ้นทะเบียนตำรับยากำพร้าต้องทำอย่างไร ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่

ลิ้งค์ http://drugshortages.nhso.go.th/drugshortages/FAQ/;jsessionid=4f527d74d144585aacd774c95011

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,300 Palliative care for the seriously ill

Review article
N Engl J Med  August 20, 2015

การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นการดูแลโดยสหวิทยาแบบพิเศษที่มุ่งเน้นเพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงและครอบครัวของผู้ป่วย โดยกว่าทศวรรษที่ผ่านมาพบว่ามีระดับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีหลักฐานข้อมูลต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น, การให้การดูแลในรูปแบบใหม่, นวัตกรรมของกลไกการชำระเงิน และการที่ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพมีการตื่นตัวมากขึ้น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Core Concepts
-Core Components of Palliative Care
   Physical and Psychological Symptoms
   Spirituality
   Communication Skills
-Models of Palliative Care Delivery
   Hospitals
   Community
   Long-Term Care
-Expanding Access to Palliative Care and Barriers to Delivery
-Evidence Gaps and Future Directions
-Source Information

ลิ้งค์ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1404684

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,299 การวินิจฉัยการแพ้อาหารสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป

การวินิจฉัยการแพ้อาหารสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป
(The diagnosis of food allergy in clinical practice)
รศ. พญ. อรทัย พิบูลโภคานันท์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์สิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล



วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,298 การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในเวชปฏิบัติ

โดยแพทย์หญิงณิชา สมหล่อ
หน่วยโภชนาการคลินิก ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,297 ข้อควรทราบเรื่องมะเร็งต่อมไทรอยด์

ก้อนเดี่ยวของต่อมไทรอยด์ มีโอกาสเป็นมะเร็ง ประมาณ 5-10 %  แต่ถ้าเป็นถุงน้ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่าแต่ถ้าถุงน้ำมีขนาดใหญ่กว่า 4 เซนตเมตร จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น ส่วนภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 1 %
บุคคลที่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปได้แก่
-มีประวัติเคยได้รับการฉายรังสี บริเวณศีรษะและคอ ในวัยเด็ก (ถ้ามีก้อนจะพบมะเร็งประมาณ 30-40%)
-มีประวัติมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว
-ก้อนของต่อมไทรอยด์ในเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งบ่อยกว่าเพศหญิง (แต่พบก้อนของต่อมไทรอยด์ใน-เพศหญิงได้บ่อยกว่า)
-อายุน้อยกว่า 20 ปี หรือมากกว่า 60 ปี
-ก้อนโตเร็ว หรือมีอาการเสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนลำบาก
-ก้อนแข็ง ติดกับอวัยวะข้างเคียง
-มีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้างเคียง

Ref: http://www.thaiclinic.com/goiter2.html
http://www.rcot.org/download/rcot-Resident2008_a16.pdf

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,296 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ Alfa-fetoprotein (AFP) ในการวินิจฉัยมะเร็งตับ

เนื่องจาก AFP อาจตรวจพบมีระดับสูงผิดปกติได้จากหลายปัจจัย และระดับก็มีการเปลี่ยนแปลงตามการอักเสบของตับดังที่พบในภาวะตับอักเสบกำเริบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง รวมทั้งการตรวจวัด AFP มีความแม่นยำต่ำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ กล่าวคือ AFP ที่ระดับมากกว่า 20 นาโนกรัม/มล มีค่าความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยมะเร็งตับต่ำ และหากใช้ AFP ที่ระดับมากกว่า 200 นาโนกรัม/มล ในการคัดกรอง พบว่ามีค่าความไวเพียงร้อยละ 22 เท่านั้น แม้ว่ามีความจำเพาะสูงขึ้น จึงไม่แนะนำใหใช้การตรวจวัดระดับ AFP เป็๋นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC

Ref: แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,295 เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะตับแข็ง

จะให้การวินิจฉัยเมื่อเข้าได้เกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1. พยาธิวิทยาของเนื้อตับจากการเจาะตับแสดงพังผืดระดับ 4 ตามระบบ METAVIR
2. ลักษณะทางคลินิก ร่วมกับลักษณะทางรังสีวินิจฉัยที่ได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasound) เอกซเรยNคอมพิวเตอร์ (computed tomography) และการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) สนับสนุนการวินิจฉัย
3. ผลการตรวจอื่นๆ ที่มีขส้อมูลบ่งชี้ผังผืดระดับ 4  เช่น transient elastography เป็นต้น

Ref: แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,293 Ischemic limb gangrene with pulses

Review article
Ischemic limb gangrene with pulses
N Engl J Med August 13, 2015
มีความเข้าใจผิดกันว่าการขาดเลือดของแขนขามาจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซึ่งเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดง ร่วมกับการที่ไม่สามารถคลำชีพจรได้ แต่การขาดเลือดของแขนขายังสามารถเป็นผลมาจากการเกิดลิ่มเลือดที่เกี่ยวข้องกับระบบไหวเวียนเลือดขนาดเล็ก รวมถึงหลอดเลือดดำขนาดเล็ก ในสถานการณ์เช่นนี้จะสามารถคลำชีพจรของหลอดเลือดแดงได้หรือตรวจได้จากการใช้ doppler อัลตร้าซาวด์
ในบทความนี้มุ่งเน้นไปที่แขนขาซึ่งขาดเลือดที่เกิดจากการลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดจากภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจายและการสูญเสียกลไกตามธรรมชาติในการแข็งตัวของเลือด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Syndromes of Microthrombosis-Associated Limb Ischemia
   Disseminated Intravascular Coagulation and Natural Anticoagulant Failure
   Venous Limb Gangrene
   Cancer-Associated Venous Limb Gangrene
   Venous Limb Gangrene and Heparin-Induced Thrombocytopenia
   Supratherapeutic INR
   Venous Limb Gangrene vs. Warfarin-Induced Skin Necrosis
   Prevention and Treatment of Venous Limb Gangrene
-Symmetric Peripheral Gangrene and Purpura Fulminans
   Clinical Picture
   Pathological Features
   Implicated Microorganisms
   Meningococcemia
   Acute Ischemic Hepatitis
   Differential Diagnosis
   Treatment
   Surgical Considerations
   Neonatal Purpura Fulminans
-Conclusions
-Source Information

ลิ้งค์ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1316259

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,292 การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเวชปฏิบัติในปัจจุบัน (update in lymphoma diagnosis in clinical practice)

โดยศาสตราจารย นายแพทยสัญญา สุขพณิชนันท์
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ภาพรวม (overview)
-ภูมิหลัง (background)
-คำนิยามของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (definition of lymphoma)
-การจำแนกประเภทมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในปัจจุบัน (current classification of malignant lymphoma)
-เอกสารอ้างอิง

ลิ้งค์ http://rcot.org/data_detail.php?op=doctor&id=352

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,291 ปัญหาเทคนิคการใส่และการดูแล chest tube insertion (closed thoracotomy)

โดยนพ. สุเทพ พิทักษิณาเจนกิจ
แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
จากวารสาร Khon Kaen Medical Journal
Vol.11 No.3 July - September 1987
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ข้อบ่งชี้ของการใส่
-เทคนิคการใส่
-ปัญหาที่พบ


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,289 การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยภาวะหัวใจ้ลมเหลวโดยใช้ระดับของความสามารถของหัวใจในการบีบเลือดออกจากหัวใจ

การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยภาวะหัวใจ้ลมเหลว heart failure (HF) โดยใช้ระดับของ (left ventricular ejection fraction) LVEF
1. HF with reduced EF จะมี EF ตั้งแต่ 40% ลงมา
จากการศึกษาพบว่าถ้าได้รับการรักษาตามแนวทางมาตรฐานสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
2. HF with preserved EF จะมี EF ตั้งแต่ 50% ขึ้นไป
การรักษาในปัจจุบันถึงแม้ช่วยบรรเทาอาการ แต่ยังไม่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
3. HF preserved EF, borderline จะมี EF 41-49%
พบว่าลักษณะผู้ป่วย-การดำเนินโรค-การตอบสนองต่อการรักษา จะใกล้เคียงกลุ่ม HF preserved EF มากกว่า
4. HF preserved EF, improved : ซึ่งเดิมอยู่ในกลุ่ม HF reduced EF ต่อมา EF เพิ่มขึ้น เชื่อว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะ
แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ EF อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีจำกัดในปัจจุบัน

 Ref: แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557


วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,288 Spot diagnosis: ชาย 66 ปี มีอาการใจสั่นเป็นบางครั้ง

Spot diagnosis: ชาย 66 ปี มีอาการใจสั่นเป็นบางครั้ง การตรวจที่นี้คืออะไร จะให้การวินิจฉัยว่าอย่างไรครับ?

คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,286 Pregnancy complicated by venous thrombosis

Clinical practice
N Engl J Med    August 6, 2015

-การเกิดลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของมารดาและการเจ็บป่วยในประเทศที่พัฒนาแล้ว
-ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกเพิ่มขึ้นในช่วงการตั้งครรภ์และมากยิ่งขึ้นในช่วงระยะหลังคลอด
-ขณะตั้งครรภ์การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกเมื่อเทียบกับในผู้ที่ไม่ตั้งครรภ์ มักจะเกิดขึ้นที่ขาซ้าย และมักเกิดขึ้นที่ส่วนต้นมากกว่าส่วนปลาย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องการเกิดลิ่มเลือด
-Compression duplex ultrasonography มีข้อบ่งชี้ในกรณีที่สงสัยว่ามีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึก และถ้ามีความจำเป็นต้องทำภาพถ่ายรังสีของปอด ventilation–perfusion lung scanning มักจะเป็นการตรวจแรกๆ ที่แนะนำสำหรับการประเมินการอุดตันที่เส้นเลือดที่ปอด
-Low-molecular-weight heparins เป็นทีนิยมใช้มากกว่า unfractionated heparin สำหรับการรักษาในผู้ที่ตั้งครรภ์ซึ่งมีรายละเอียดของพวกเขาปลอดภัยดีกว่า โดยทั่วไปจะให้การรักษาต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนและจนถึง 6 สัปดาห์หลังคลอด
-ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด coumarin มีข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์ แต่สามารถนำมาใช้ในสตรี รวมถึงคุณมารดาที่ให้นมบุตรภายหลังคลอด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Srategies and Evidence
  Diagnosis
  Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1407434

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,285 แนวทางการตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2558

จัดทำโดยสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และ รพ.นพรัตนราชธานี


ลิ้งค์ดาวน์โหลด https://drive.google.com/open?id=0BwBa0n4jc_eeUTBVbVpTMzRFVGs

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,284 สถานการณ์ความไวของเชื้อต่อยา ประเทศไทย ปี 2000- 2015

โดย National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, Thailand
เชื้อที่สำคัญได้แก่ 
-Enterococcus spp
-S. pneumoniae
-Staphylococcus spp.
-E. coli
-K. pneumoniae
-Non-typhoidal Salmonella isolated from Blood
-Non-typhoidal Salmonella isolated from Stool & Rectal swab
-Acinetobacter spp.
-P. aeruginosa

ลิ้งค์ http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR2000_2015.pdf

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,283 ความรู้การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่อง โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เฟซบุ๊กสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

จากกรณีที่มผู้เสียชีวิตจากการถูกพิษของแมงกะพรุนกล่อง ที่เกาะพงันเมื่อเร็วๆนี้ วันนี้เราจึงนำวิธีการปฐมพยาบาลผู้ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องมาฝากกันครับ
แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish) เป็นหนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เพราะมีเข็มพิษอยู่ในเซลล์จำนวนล้านๆ เซลล์ มีหนวดที่ยาวมาก และใสจนแทบมองไม่เห็น บางตัวอาจมีความยาวถึง 3 เมตร พิษของแมงกะพรุนกล่อง มีพิษต่อหลายระบบในร่างกายทั้งเลือด เนื้อหนัง หัวใจ ประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก ส่วนใหญ่ผู้ได้รับพิษมักมีอาการปวดบริเวณแผล หรืออาจปวดไปทั่วร่างกายในบางราย อาจตายหรือจมน้ำก่อนใครจะช่วยทัน พิษของแมงกะพรุนจะทำให้บริเวณที่สัมผัสเป็นเส้นสีแดง คล้ายถูกแส้หรือถูกฟาดอย่างแรง
วิธีการช่วยเหลือและปฐมพยาบาล
1. ผู้ช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน
2. นำผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือ ไปยังบริเวณที่ปลอดภัย
3. ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
4. ห้ามขัดถูบริเวณที่ถูกแมงกะพรุน
5. เรียกให้คนช่วย และโทร 1669 เรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน ควรสังเกตประเมินอาการตลอดเวลา
6. หากหมดสติ ไม่หายใจ หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการ CPR ทันที (** แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล โดยทั่วไปให้ทำ CPR ตาม guideline C-A-B แต่หากการจมน้ำ สำลักน้ำร่วมด้วยใช้หลัก A-B-C )
7. ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล
8. ใช้ถุงหมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ
9. ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกที่เหลืออยู่ออก
10. ในกรณีของแมงกระพรุนกล่อง ให้ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล
11. นำส่งโรงพยาบาล
*** ข้อควรระวัง ***
-ห้ามใช้น้ำจืดล้าง เนื่องจากจะกระตุ้นเข็มพิษให้ทำงานมากยิ่งขึ้น ส่วนการใช้แอมโมเนียล้างจะยิ่งทำให้อาการปวดแย่ลง
-ห้ามถูหรือขยี้
-หลีกเลี่ยงการใช้เทคนิคพันรัดแน่นด้วยผ้ายืด

**ขอบคุณข้อมูลจาก
-ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี
-กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน กรมแพทย์ทหารเรือ
-กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข้อมูลจากเฟซบุ๊กสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,282 คู่มือการปฏิบัติงานแบคทีเรียและรา สำหรับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป

จัดทำโดย 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  กรมวิทยาศาสตร์ก่รแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข



วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,281 Spot diagnosis: ชาย 57 ปี มาด้วยปวดศรีษะเฉียบพลันและซึมลง

ชาย 57 ปี มาด้วยปวดศรีษะเฉียบพลันและซึมลง ผลเิกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเป็นดังภาพ จะให้การวินิจฉัยว่าอย่างไรครับ?




วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,279 Chagas’ Disease

Review article
N Engl J Med       July 30, 2015

โรค Chagas เกิดจากปรสิตที่ชื่อ Trypanosoma cruzi จะติดต่อจากอุจจาระของมวนดูดเลือด (triatomine) ที่มีเชื้อ ซึ่งมวนดูดเลือดถือว่าเป็นพาหะของโรค เชื้อจะได้รับการฟักตัวผ่านบริเวณที่กัดหรือผ่านทางเยื่อบุผิวของโฮสต์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การติดต่อโดยแมลงถูกจำกัดในพื้นที่ของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ซึ่งทั้งในถิ่นที่มีการระบาดและในพื้นที่ที่ไม่มีมีการระบาด พบว่าการติดเชื้อทางอื่นๆ ได้แก่การปลูกถ่ายอวัยวะและการปลูกถ่ายไขกระดูกและการส่งผ่านมาแต่กำเนิด พบมีการระบาดอย่างรวดเร็วจากการปนเปื้อนอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรายงานในภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ที่ซึ่งวงจรการติดต่อเกี่ยวข้องกับประชากรที่เป็นพาหะที่อาศัยอยู่ในป่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นแหล่งรังโรคเป็นหลัก
การติดเชื้อจะมีอยู่โดยตลอดชีวิตในกรณีที่ขาดการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาที่สำคัญที่สุดของการติดเชื้อ T. cruzi คือพยาธิสภาพความผิดปกติของหัวใจซึ่งเกิดขึ้น 20 - 30% ของผู้ที่ติดเชื้อ

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiology
-Clinical Features and Pathogenesis
-T. cruzi in the Immunocompromised Host
-Laboratory Diagnosis
-Antitrypanosomal Treatment
-Management of the Chronic Sequelae of T. cruzi Infection
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1410150

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,278 สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ณ. เวลาล่าสุด

จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 21 ก.ค. 2558
-จำนวนผู้ป่วย   35,591 ราย
-จำนวนผู้ป่วยตาย   26 ราย
-อัตราป่วยต่อแสนประชากร   54.65 ราย
-อัตราตายต่อแสนประชากร   0.04 ราย
-อัตราป่วยตาย (ร้อยละ)   0.07 ราย

ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,277 คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 ภาษา (อังกฤษ, อาราบิก, พม่า, ลาว, เขมร)

คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 ภาษา (อังกฤษ, อาราบิก, พม่า, ลาว, เขมร)
โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,276 การเฝำระวังการเกิดมะเร็งตับ hepatocellular carcinoma ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

ทำการเฝ้าระวังกลุ่มต่อไปนี้
  -ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี
  -ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
  -ผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว
  -ผู้ป่วยตับแข็ง
ควรตรวจอัลตราซาวนด์และซีรั่ม alpha fetoprotein (AFP) ทุก 6-12  เดือน เพื่อเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma และพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสหรือตรวจไม่พบภููมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบเอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว

Ref: แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจากไวรัส บี และ ซี เรื้อรังในประเทศไทย ปี 2558


วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,275 แนวทางการติดตามและจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค

โดย เภสัชกรหญิง สุทธิพร ภัทรชยากล                                  
นายแพทย์ ยุทธิชัย เกษตรเจริญ
แพทย์หญิง เพชรวรรณ พึ่งรัศมี
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานการเกิดได้จากยาต้านวัณโรคหลายตัว
     อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้องโดยไม่มีภาวะตับอักเสบร่วมด้วยพิษต่อตับ
     อาการทางผิวหนังที่ไม่รุนแรง
     อาการทางผิวหนังที่รุนแรง
-อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานการเกิดได้จากยาต้านวัณโรคตัวใดตัวหนึ่ง
    ปลายประสาทอักเสบ
    การเกิดพิษต่อตา
    การเกิดพิษต่อหู
    อาการปวดข้อและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่มี การเพิ่มขึ้นของกรดยูริก หรือไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรค gout  

ลิ้งค์ คลิก

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,273 ลักษณะความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าหัวใจใน Acute pericarditis, acute myocardial infarction และ early repolarization

ในหลายครั้งต้องพิจารณาว่าลักษณะ EKG ที่เห็นควรจะให้การวินิจฉัยอย่างไร โดยเฉพาะการแยกระหว่าง acute pericarditis, acute myocardial infarction และ early repolarization ซึ่งใน American Academy of Family Physicians ได้แสดงตารางที่ใช้ในการแยกไว้ดังนนี้ครับ



Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0401/p553.html

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,272 Interventional approaches to gallbladder disease

Review article
N Engl J Med 2015  July 23, 2015

การผ่าตัดถุงน้ำดีเป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและกระทำบ่อย เกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันและการจัดระดับความรุนแรงได้แสดงไว้ในบทความนี้ ความต้องการเพื่อความปลอดภัยและการรุกร้ำที่น้อยที่สุดมีอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการดูแลรักษาโรคของถุงน้ำดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการรักษาโรคถุงน้ำดีโดยการการผ่าตัดส่องกล้อง (ในขณะที่การเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยการผ่าตัดส่องกล้องทางรูเปิดตามธรรมชาติ โดยไม่แผลเป็นทางผิวหนัง) หรือทางผิวหนัง สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกวิธีการคือสภาวะทางการแพทย์ของผู้ป่วยโดยรวมและ ผลกระทบเฉพาะส่วนและเชิงระบบที่จะตามมาของโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Surgical Approaches to Cholecystectomy
   Laparoscopic Approach
-Notes
-Percutaneous Cholecystostomy
-Peroral Endoscopic Gallbladder Drainage
   Transpapillary Drainage
   Transmural Drainage
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1411372

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,271 ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับวัณโรคดื้อยาหลายขนาน

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) มีผลให้การดำเนินงานควบคุมวัณโรคมีความยุ่งยากมากขึ้น โดยจะใช้เวลาในการรักษานานขึ้น จากปกติ 6 เดือน เป็น 18 – 24 เดือน และค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น จากปกติ 2,500 บาท  เป็น  80,000 – 100,000 บาท แต่ผลการรักษาหายเพียงร้อยละ 60  ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย ร้อยละ 5 จะเป็นวัณโรคดื้อยาชนิดรุนแรง (Extensively drug resistant TB หรือ XDR-TB) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 10 เท่า แต่ผลการรักษาหายอยู่ที่ร้อยละ 30
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานทั่วโลก 310,000 คน โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ใน 27 ประเทศ องค์การอนามัยโรคคาดการว่ามีวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยจำนวน 2,190 คนเกิดขึ้นใหม่ในแต่ละปี
จากการแนะนำขององค์การอนามัยโลก ถ้าความชุกของการวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ใด มากกว่า 3% จะถือว่าเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งแผนงานวัณโรคจะต้องเร่งทบทวนแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร และหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด

Ref: http://164.115.25.123/forecast/files/report_2014/report_2014_no22.pdf
http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no02.pdf

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,269 เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555

 เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555
(Professional Standards for Medical Practitioners 2012) 

คณะกรรมการแพทยสภาได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 และได้ปรับปรุงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2536 และปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้เหมาะกับสถาพการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีเป้าหมายให้บัณฑิตแพทย์มีความรู้ที่ทันสมัย มีความสามารถและเจตคติในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศในอนาคต และได้มีการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาด้วยเป้าประสงค์ที่จะตอบสนองปรัชญาการศึกษาแพทย์ศาสตร์ อันเป็นผลมาจากการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 8 ที่มุ่งเน้นการบริการศุขภาพโดยยึดประชาชนเป็๋นศูนย์กลาง ซึงคณะอนุกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากสถาบันผลิตแพทย์  แพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเกณฑ์มาตรฐาน ฯ พ.ศ. 2545


ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.tmc.or.th/pdf/00054.pdf

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,268 ลิ้นฝอยทรายและโรคลิชมาเนีย

ลิ้นฝอยทรายและโรคลิชมาเนีย
(sandfly and Leishmaniasis)
โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


ลิ้งค์ คลิก

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,267 แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน

โดยมหาวิทยาลัยบูรพา
เนื้อหาโดบยละเอียดประกอบด้วย
- โรคตับแข็ง
    การดำเนินของโรคตับแข็ง
    อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
    แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
    ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
- ทฤษฏีระบบการพยาบาล
- พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ปวยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน

ลิ้งค์ คลิก

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,266 คู่มือการปฐมพยาบาล ( First aid guide)

คู่มือที่เน้นโรคที่มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มของผู้บริหาร โรคประจำตัว ซึ่งเกิดจากภาระหน้าที่ การงานที่เครียด รวมทั้งอุบัติเหตุ เป็นการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นโดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้นในการช่วยชีวิตและลดความรุนแรงของอาการซึ่งจะส่งผลให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และสามารถป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้ ซึ่งผู้ที่จะช่วยเหลือต้องมีความรู้ในการปฐมพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ทำให้ตนเองได้รับการบาดเจ็บไปด้วย หรือทำให้ผู้ต้องการช่วยเหลือบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม



วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,265 Heparin-induced thrombocytopenia

Clinical practice
N Engl J Med July 16, 2015

Key Clinical Points
-ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮพาริน หรือ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) มีลักษณะคือการลดลงของเกล็ดเลือดมากกว่า 50% จากค่าสูงสุดหลังจากที่เริ่มต้นการให้ยา ระยะเวลที่เริ่มเกิดจะอยู่ที่ 5-10 วันหลังเริ่มยา, การมีภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย (hypercoagulability), การมี heparin-dependent,และการมี  platelet-activating IgG antibodies
-การใช้ระบบการให้คะแนนที่คำนึงถึงเวลาและระดับของการมีเกล็ดเลือดลดลง, การอุดตันใหม่, และความน่าจะเป็นเหตุผลอื่น ๆ ของการมีเกล็ดเลือดต่ำ จะเป็นประโยชน์ในการประเมินความน่าจะเป็น
ของ HIT
-การเกิด HIT ชนิดล่าช้า (delayed-onset HIT) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการหยุดเฮพาริน และที่เกิดขึ้นเองหรือจากภูมิคุ้มกันของตนเองในกรณีที่ไม่เคยได้รับเฮพาริน
-การตรวจ Platelet factor 4–heparin antibody tests ควรจะสั่งตรวจเฉพาะในกรณีที่ลักษณะทางคลินิกที่สนับสนุน HIT ซึ่งการตรวจานี้มีค่า negative predictive value สูง แต่ค่า positive predictive value ต่ำ
-การรักษา  HIT แบบเฉียบพลันจำเป็นต้องหยุดเฮพารินและการเริ่มให้ยาทางทางเลือกตัวอื่นๆ (ได้แก่ argatroban, danaparoid, fondaparinux หรือ bivalirudin) เพื่อให้ได้ระดับในการป้องภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย
-ควรหลีกเลี่ยงยา warfarin ในผู้ป่วยที่เป็น HIT แบบเฉียบพลัน
เนื้อหาโดยนละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathogenesis
-Strategies and Evidence
   Risk of HIT
   Diagnosis
   Additional Laboratory Testing
   Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1411910

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,264 ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา

จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบของสำนัก-ระบาดวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2553 พบว่าอัตราป่วยสูงในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 4 ปี และอัตราป่วยตายสูงในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรคระหวางปี พ.ศ. 2549-2553 โดยพบว่าผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ และผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่พบมากที่สุด  ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประวัติการเจ็บป่วยในอดีตโดยเฉพาะโรคเรื้อรังอาจทำให้เกิดความรุนแรงต่อกลุ่มเสี่ยงต่างๆของโรคปอดอักเสบได้กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ผู้สูงอายุ  ผู้ที่สูบบุหรี่ โรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ภาวะขาดอาหาร การมีโรคประจำตัว เชน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคไต  และในช่วง พ.ศ. 2549 - 2553 มีอัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 0.60 - 0.79  โดยมีอัตราส่วนของเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
อาการ/อาการแสดงที่พบในผู้ป่วยที่ได้จากการสอบสวนโรคพบว่าส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/หอบ ไอ ไข้ และมีเสมหะ โดยอาการเหนื่อย/หอบพบในกลุ่มที่เสียชีวิต  ร้อยละ 70.59 แต่ในกลุ่มผู้รอดชีวิต จะพบร้อยละ 45.95

Ref: สถานการณ์โรคปอดอักเสบ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548-2553 คลิก

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,263 เวชปฏิบัติที่ดีสำหรบแพทย์

ประกาศแพทยสภา
เวชปฏิบัติที่ดีสำหรบแพทย์
เป็นเอกสารที่อธิบายถึงข้อพึงปฏิบัติของแพทย์ไทย แต่มิใช่ข้อกำหนดทางกฏหมาย ซึ่งแพทย์มีหน้าที่ทำความคุ้นเคยและปฏิบัติตามโดยใช้วิจารณญานในการประยุกต์ใช้หลักการต่างๆ เหล่านี้ ในเวชปฏิบัติอย่างเหมาะสม


วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,252 Pulmonary arteriovenous malformations

Review article
โดยจีราวัฒน์ แก้ววินัด พ.บ.
แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค  ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ระบาดวิทยา (Epidemiology)
-สาเหตุและพยาธิกำเนิด (Etiology and pathogenesis)
-พยาธิวิทยา (Pathology)
-อาการแสดงทางคลินิก (Clinical manifestations)
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลังการออกกำลังกาย (Exercise physiology)
-ภาวะแทรกซ้อน (Complications)
-การวินิจฉัย
-แนวทางการวินิจฉัย PAVM (Diagnostic approach to suspected PAVM)
-การตรวจคัดกรองสมาชิกครอบครัวที่มีประวัติ HHT
-การดำเนินโรค
-การรักษา
-การฉีดสารอุดหลอดเลือด PAVM (embolization therapy)
-การรักษาอื่นๆ

ลิ้งค์ http://www.thaichest.org/atat3/pdf/art_35_1/art_35_1_4.pdf

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,251 มิวคอร์ไมโคซิส (Mucormycosis)

Review article
โดย จารุวรรณ บุญสุข พ.บ.
แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ระบาดวิทยา (Epidemiology)
-กลไกการเกิดโรค (Pathogenesis)
-ปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรค (Predisposing conditions)
-อาการทางคลินิก (Clinical manifestations)
-การวินิจฉัย (Diagnosis)
-บทบาทของภาพถายทางรังสีเพื่อการวินิจฉัย (Expanding role of diagnostic imaging)
-การรักษา (Treatment)
-การรักษาอื่นๆ (Salvage therapy)
-ระยะเวลาในการให้ยาต้านเชื้อรา

ลิ้งค์ http://www.thaichest.org/atat3/pdf/art_34_4/art_34_4_3.pdf

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,250 หนังสือความรู้พื้นฐานโรคเท้าช้าง

หนังสือความรู้พื้นฐานโรคเท้าช้าง 
(ESSENTIALS OF LYMPHATIC FILARIASIS) 
ชื่อผู้แต่ง: อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์   
อภิรดี อินทรพักตร์




วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,249 คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง

โดยลัดดา เหมาะสุวรรณ, อุไรพร จิตต์แจ้ง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี




วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,248 Mast cells, mastocytosis, and related disorders

Review article
N Engl J Med   July 9, 2015

การวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติของแมสเซล (mast-cell disorders) มีความท้าทายเพราะความซับซ้อนของรายละเอียดอาการและการมีสภาวะต่างๆ ร่วมด้วยในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเหล่านี้
อาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของแมสเซลมีได้หลากหลายรวมถึงอาการหน้าแดง, ลมพิษ, angioedema, คัน, คัดจมูก, หายใจหอบเหนื่อย, แน่นหน้าอก, ความดันโลหิตต่ำหรือความดันโลหิตสูง, อ่อนเพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ, กระดูกพรุน, คลื่นไส้, อาเจียน ,ท้องเสีย, ปวดศรีษะไมเกรนและปัญหาทางด้านระบบประสาท  เช่นความยากลำบากในการมีสมาธิจดจ่อ, การสูญเสียความจำ, และปัญหาอื่น ๆ ทางด้านระบบประสาทและจิตเวช
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Physiology and Pathophysiology of Mast Cells
-Mast Cells and Human Disorders
-Primary Clonal Mast-Cell Disorders
-Mast-Cell Activation
-Diagnostic Tests
-Treatment Approaches
-Summary and Future Directions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1409760

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,246 แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกที่มีอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกที่มีอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 
โดยโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ



ลิ้งค์ คลิก

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,245 กฎหมายอนามัยระหว่างประเทศ

โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เป็นหนังสอชุดความรู้ในการดำเนินงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548
สำหรับผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน


วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,243 แนวทางการดูแลผู้ป่วยถ่ายเป็นเลือด (Bleeding per rectum)

โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย 

แม้ว่าจะเป็นแนวทางของทางศัลยกรรม แต่ในการตรวจคนไข้ทางอายุกรรม หรือเวชปฏิบัติทั่วไปก็อาจจะพบผู้ป่วยซึ่งมาตรวจด้วยถ่ายเป็นเลือดได้ จึงคิดว่ามีประโยชน์อยากแนะนำครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-คำนำ
-การวินิจฉัย
   ประวัติ
   ตรวจร่างกายทั่วไป
   การตรวจลำใส้ใหญ่ทวารหนัก
   การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
   การตรวจพิเศษ
 -แนวทางการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด
   กลุ่มที่เลือดออกครั้งละไม่มาก  และไม่มีอาการอื่นที่รุนแรงร่วมด้วย
   กลุ่มที่ถ่ายเป็นเลือดรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,241 An integrated view of potassium homeostasis

Review article
Disorders of fluids and electrolytes
N Engl J Med  July 2, 2015

โพแทสเซียมในเลือดจะยัคงระดับปกติภายในขอบเขตที่แคบ ๆ (โดยทั่วไปคือ 3.5-5.0 มิลลิโมลต่อลิตร) โดยมีหลายๆ กลไกที่ทำให้เกิดสภาวะสมดุลโพแทสเซียม การควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการที่หลากหลายทางสรีรวิทยาที่สำคัญรวมทั้ง resting cellular-membrane potential และ propagation of action potentials ของเซลประสาท, กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อหัวใจ รวมถึงการหลั่ง-การทำหน้าที่ของฮอร์โมน, ความแข็งแรงและยืดหยุ่นของหลอดเลือด, การควบคุมระบบความดันโลหิต, การควบคุมการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร, สมดุลกรดเบส, เมตาโบลิซมของกลูโคสและอินซูลิน, การทำหน้าที่ของ mineralocorticoid, ทำหน้าที่ของไต, และะสมดุลของเหลว-อิเล็กโตไลท์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Potassium Homeostasis
-External Potassium Balance
-Internal Potassium Homeostasis
-Aberrant Potassium Homeostasis
-Renal Potassium Handling
-The Circadian Clock in Cellular Physiology
-Conclusions
-Box 1. Case 1.
-Box 2. Case 2.
-Box 3. Cases 3 and 4.
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่ฮโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1313341

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,240 Video : basic mechanical ventilation part 1-6

โดย อ. นพ. อติคุณ ลิ้มสุคนธ์ 
หน่วยระบบทางเดินหายใจเวชบำบักวิกฤต และภูมิแพ้ 
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,239 ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด (Hypercalcemia)

โดย ผ.ศ.พญ. สินี ดิษฐบรรจง 
พ.บ., อ.ว.(อายรศาสตร), อ.ว.(อายรศาสตรโรคไต) 
ภาควิชาอายุรศาสตร์ 
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-สมดุลแคลเซียม
-กลไกการควบคุมระดับของแคลเซียมในกระแสเลือด
-สาเหตุของภาวะแคลเซียมสูง
-อาการและอาการแสดงของภาวะแคลเซียมสูง
-การวินิจฉัยภาวะแคลเซียมสูง
-การรักษาภาวะแคลเซียมสูง

ลิ้งค์ คลิก

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,238 การเคลื่อนไหวของลูกตาแบบปิงปอง (ping-pong gaze)

การเคลื่อนไหวของลูกตาเป็นจังหวะย้ายจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งอย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดในตำแหน่งด้านข้าง ในอัตรา 3-7 วินาทีต่อรอบ ลักษณะเรียบ มักไม่ค่อยมีการกระตุก ซึ่งลักษณะแบบนี้ได้รับการนี้ได้รับการอธิบายว่าเป็น ping pong gaze” (PPG) เป็นครั้งแรกโดย Fisher ในปี 1967 ในผู้ป่วย bilateral hemispheric infarction  ซึ่งการเคลื่อนไหวลูกตาแบบนี้มักสังเกตพบได้ในผู้ป่วยโคม่าซึ่งมีการทำลายสมองแบบไม่คืนกลับเป็นบริเวณกว้าง เช่น bilateral hemispheric infarcts และ midline cerebellar hemorrhage และมีรายงานว่าเกิดจากการมีสารที่เป็นพิษในร่างกายเช่นใน advanced hepatic encephalopathy ซึ่งเมื่อให้การรักษาภาวะ hepatic encephalopathy แล้วก็พบว่าการเคลื่อนไหวลูกตากลับมาปกติ

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMicm1408161
http://www.neurology.org/content/63/8/1537.short
http://archneur.jamanetwork.com/multimediaPlayer.aspx?mediaid=7451806

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,237 การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ

จัดทำโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 
และสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์


ลิ้งค์ คลิก

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,236 แนวทางเวชปฏิบัติการตรวจหามะเร็งช่องปากระยะเริ่มแรก

จากเวปไซต์ทันตแพทยสภา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-วัตถุประสงค์
-การตรวจคัดกรองผู้ป่วย
-แนวทางการวินิจฉัยและการรักษา
-แผนภาพแสดงขั้นนตอนแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีรอยโรคในช่องปาก

ลิ้งค์ http://www.dentalcouncil.or.th/public_content/cpg/14.pdf

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,235 Ultrasound guided lumbar puncture

ในคนที่หาตำแหน่งในการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังได้ยาก เช่น คนที่อ้วน คนที่มีกระดูกหลังคด หลังโก่ง หรือคนที่ทำยาก เป็นต้น โดยการอัลตร้าซาวด์ให้เห็น spinous process แล้วหาช่องที่อยู่ระหว่าง spinous process ซึ่งก็คือ intra-spinous space ใช้เข็ม เจาะผ่านเข้าไปทาง intra-spinous space โอกาศที่จะสำเร็จสูงกว่าการไม่ใช้
ผมใช้การทำแบบนี้ในผู้ป่วยที่หาตำแหน่งทำยากและทำไม่สำเร็จ พอใช้อัลตร้าซาวด์ช่วยก็สามารถทำได้สำเร็จครับ



SP คือ spinous process, ISP คือ intra-spinous space


วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,234 Advanced dementia

Clinical practice
N Engl J Med   June 25, 2015

Key Clinical Points
-ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรงเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกา
-โดยมีลักษณะได้แก่ความจำเสื่อมอย่างรุนแรง (เช่น ไม่สามารถจดจำคนในครอบครัวได้), มีการสื่อสารทางวาจาน้อยมาก, การสูญเสียความสามารถในการเดิน, ไม่สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันและมักจะกลั้นปัสสาวะ-อุจจาระไม่ได้
-ภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกที่พบมากที่สุดคือปัญหาการรับประทานอาหาร ปัญหาและการติดเชื้อ และสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีการตัดสินใจการดูแลรักษา
-การวางแผนการดูแลล่วงหน้าเป็นรากฐานที่สำคัญของการดูแล การตัดสินใจการรักษาควรจะใช้เป้าหมายของการดูแลเป็นตัวชี้นำ ซึ่งกว่า 90% ของกฏหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยของแต่ละรัฐคือการที่ผู้ป่วยรู้สึกสบายถือเป็นเป้าหมายหลัก
-การศึกษาแบบสังเกตไม่แสดงถึงประโยชน์ใด ๆ ของการให้อาหารทางสายยางในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมขั้นสูงและการให้อาหารสายยางไม่แนะนำ
-การศึกษาแบบสังเกตแสดงประโยชน์หลายประการของการดูแลในสถานพยาบาลสําหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมรุนแรงควรจะเสนอการดูแลรักษาแบบแบบประคับประคองและการดูแลในสถานพยาบาลสําหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายถ้าสามารถจัดหาได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
    Approach to Decision Making
    Clinical Complications
    Hospitalization
    Palliative and Hospice Care
    Medication Use
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1412652

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,233 แผ่นความรู้เรื่อง การรักษาโรคพาร์กินสัน

โดยศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย



ลิ้งค์ http://www.chulapd.org/thai/phocadownload/Poster/parkinson_treat_v2_outline.pdf


วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,232 การประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด

การประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด (High Risk of Surgery Assessment) 
โดย นายศิวพล ศรีแก้ว  (M.N.S. Adult Nursing, RN) 




วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,231 คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558

คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558
โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย


ลิ้งค์ คลิก

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

3,230 แนวทางการสอบสวนโรคสำหรับผู้สงสัย MERS แบบพร้อมใช้จริง ฉบับล่าสุด

แนวทางการสอบสวนโรคสำหรับผู้เข้านิยามผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการสอบสวนโรค
กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2012 ((Middle East Respiratory Syndrome:MERS)