วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,058 แนวทางการเริ่มและการปรับยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

เป็นแผนภูมิแสดงแนวทางการเริ่มและการปรับยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวชนิด (HF with reduced EF) HFrEF ความรุนแรงตั้งแต่ NYHA FC 2-4
โดยจะเริ่มจาก diuretic และ ACEI แล้วตามด้วย beta blocker แสดงถึงขั้นตอน วิธีและข้อควรคำนึงถึงในการใช้และการปรับขนาดยา รวมถึงการใช้ยา mineralocorticoid receptor antagonist (MRA) คือยา spironolactone

คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

จากหนังสือแนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557
โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับชมรมโรคหัวใจแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,057 แนวทางการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมระบบประสาท

โดยเครือข่ายโรคพันธุกรรมระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หน่วยประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทนำ
แนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไป
แนวทางการตรวจร่างกายและตรวจร่างกายผู้ป่วยเด็ก
แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางชีวเคมีในผปวยโรคพันธุกรรมระบบประสาท
การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (electromyography)
การตรวจภาพรังสี imaging: computerized tomography (CT) and magnetic resonance imaging (MRI)
การตรวจกล้ามเนื้อทางพยาธิวิทยา
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์
เวชศาสตร์ฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคพันธุกรรมระบบประสาท

ลิ้งค์ http://www.sineurogenetics.org/download/text/nervous-system.pdf

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,056 การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุ

โดย นพ. วันทิน ศรีเบญจลักษณ์ 
รศ.พญ. ปณิตา ลิมปะวัฒนะ
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำจำกัดความ
-ความชุกและอุบัติการณ์
-ความสำคัญของการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
-ชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
-แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
-แนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกาย
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-แนวทางการรักษา
-บทสรุป

ลิงค์: http://neurosci.kku.ac.th/wp-content/uploads/2013/09/8-2-6.pdf

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,055 แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2557

แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2557
(Guideline for standardization and interpretation of pulmonary function test by spirometry in occupational health setting)

โดยสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย 
ร่วมกับกลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตรสิ่งแวดล้อม 
โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 


วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,053 Spot diagnosis: ผู้ป่วยชายวัยกลางคนถูกงูกัดในป่า

ผู้ป่วยชายวัยกลางคนถูกงูกัดในป่า รอยงูงัดเป็นแบบเขี้ยวและแผลบวม ลักษณะงูที่เห็นน่าจะเป็นงูอะไร และจะให้การดูแลรักษาอย่างไรครับ?



วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,052 Esophageal carcinoma

Review article
N Engl J Med December 25, 2014

Esophageal adenocarcinoma ได้กลายเป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่เด่นในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป โดยมีโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease,GERD) และโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก  Barrett’s esophagus ได้รับการยอมรับว่าเป็นรอยโรคก่อนที่จะเกิดมะเร็ง สามารถตรวจพบโดยวิธีการส่องกล้องตรวจคัดกรอง ซึ่งจะตามมาด้วยการรักษารอยโรคมะเร็งและการตรวจติดตามของการที่จะเกิดเป็นมะเร็ง
Esophageal squamous-cell carcinoma ยังคงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารที่เด่นในเอเชีย, แอฟริกาและอเมริกาใต้และในหมู่ชาวอเมริกันแอฟริกันในทวีปอเมริกาเหนือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักและ esophageal squamous dysplasia เป็นรอยโรคก่อนที่จะเกิดมะเร็ง อัตราการมีชีวิตรอดตายที่ 5 ปีสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหารแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่ดี แต่ก็ดีขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และความอยู่รอดในระยะยาวเป็นไปได้มากขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่เป็นในระยะเริ่มแรก
หรือเป็นเฉพาะที่ บทความนี้จะกล่าวถึงในด้านระบาดวิทยาและพยาธิกำเนิดของโรคมะเร็งหลอดอาหารทั้งสองชนิด เช่นเดียวกับการป้องกันและการรักษาโดยการมุ่งเน้นไปที่ความก้าวหน้าล่าสุดที่มีอยู่
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiologic Aspects of Adenocarcinoma and Squamous-Cell Carcinoma
-Environmental Risk Factors
-Genetic Risk Factors
-Animal Models of Esophageal Cancers
-Endoscopic Screening and Surveillance
-Prevention
   Proton-Pump Inhibitors
   Aspirin and NSAIDs
  Statins
-Clinical Presentation of Esophageal Cancer
-Management
   Staging
   Mucosal Tumors
   Locally Advanced Tumors
   Advanced Tumors
-Prognosis
-Summary
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1314530

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,051 แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557

โดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับชมรมโรคหัวใจแห่งประเทศไทย

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. บทนำ
2. คำจำกัดความภาวะหัวใจล้มเหลว
3. การแบ่งชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว
4. คำแนะนำในการประเมินผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว
5. ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
6. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure)
7. ภาวะหัวใจล้มเหลวและสภาวะ หรือ โรคจำเพาะที่สำคัญ
8. การบริหารจัดการผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวแบบสหสาขา
9. การฝึกออกกำลงกายและฟื้นฟูหัวใจในภาวะหัวใจล้มเหลว
10. เอกสารอ้างอิง


วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,050 แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยดิสเปปเซีย (Dyspepsia)

โดยสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย
แม้ว่าจะผ่านมา 4 ปี แล้ว แต่คิดว่าเนื้อยายังเป็นประโยชน์ต่อแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ครับ


วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,049 โรคปอดฝุ่นหินทราย

โดยสำนักโรคประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,047 แนวทางการตรวจคัดกรองโรคเรื้อน โดยสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

โดยสถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อน
บทที่ 2 อาการโรคเรื้อน
บทที่ 3 อาการน่าสงสัยเป็นโรคเรื้อน แต่ไม่ใช่โรคเรื้อน
บทที่ 4 การคัดกรองโรคเรื้อน
บทที่ 5 การส่งต่อผู้มีอาการสงสัยโรคเรื้อน
ภาคผนวก


วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,046 เครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในชุมชน (screening test for dementia in community)

โดยสุคนธา ศิริ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ความหมายของการคัดกรองและการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม
-ตัวอย่างเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
-คุณสมบัติเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมที่ดี
-ข้อควรพิจารณาในการนำเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมไปใช้
-บทสรุป
-เอกสารอ้างอิง

ลิ้งค์ http://phpn.ph.mahidol.ac.th/Journal/Full%20text%2054_55/no1_56/9%20Sukhontha%20.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,045 Acute pericarditis เสียงที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจที่อักเสบถูกันไปมา

Clinical practice
N Engl J Med    December 18, 2014

 Key clinical points
-การวินิจฉัยภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันต้องมีอย่างน้อยสองอาการหรืออาการแสดงดังต่อไปนี้: อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะเฉพาะ, มีสียงที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจที่อักเสบถูกันไปมา (pericardial friction rub), มีเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีลักษณะเฉพาะ, และการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion)
-ในประเทศที่พัฒนาแล้ว 80-90% ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนแต่สันนิษฐานว่าเกิดจากไวรัส
-การประเมินได้แก่ข้อมูลจากประวัติทางและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จะช่วยตรวจสอบถึงสาเหตุที่เฉพาะเจาะจง ภาพถ่ายรังสีทรวงอกและการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อตรวจหาน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
-ในการตอบสนองต่อการรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกันของ NSAID และโคลคิซิน, พบว่า 70-90% ของผู้ป่วยหายได้อย่างสมบูรณ์; การรักษาด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์ควรหลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดซ้ำ
-ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบกำเริบควรได้รับการรักษาซ้ำด้วยหลักสูตรที่มี NSAID และโคลคิซิน; ถ้าการรักษาด้วยยกลูโคคอร์ติคอยด์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงคได้ควรขนาดเริ่มต้นในระดับปานกลางและค่อยๆ ลดขนาดลงจะให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
    Evaluation
    Treatment
    Recurrent Pericarditis
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงค์และอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1404070

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,043 คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง

เป็น eBooks สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยงาน  สำานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้จัดทำ ลัดดา เหมาะสุวรรณ, อุไรพร จิตต์แจ้ง


วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,042 คำแนะนำข้อบ่งชี้การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีราคาแพงกลุ่ม ACEI และ ARB

คำแนะนำข้อบ่งชี้การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีราคาแพง กลุ่มยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor and Angiotensin Receptor Blocker
จัดทำโดย
คณะทำงานย่อยกำหนดคำแนะนำและข้อบ่งชี้การใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีราคาแพงกลุ่มยา Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor and Angiotensin Receptor Blocker



วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,041 Spot diagnosis: ผู้ป้วยหญิงวัยกลางคนมาด้วยปวดเท้าเรื้อรังมากกว่า 1 ปี โดยเฉพาะช่วงเดิน เดินลำบาก ฟิล์มเป็นดังรูป จะมี heel spur

ผู้ป้วยหญิงวัยกลางคนมาด้วยปวดเท้าเรื้อรังมากกว่า 1 ปี โดยเฉพาะช่วงเดิน เดินลำบาก จากฟิล์มที่เห็นจะให้การวินิจฉัยอะไร และให้การรักษาอย่างไรครับ?


ขอขอบคุณสำหรับทุกๆ ความเห็นที่ร่วมเรียนรู้ครับ 
จากภาพเอ็กซเรย์พบมี 
1. Back of heel spur คือ spur ที่จุดเกาะของ achilles tendon
2. Plantar heel spur (calcaneal spur) ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็น plantar fasciitis พบว่าประมาณ 70  จะมี  heel spur
การรักษาจะใช้วิธี conservative treatments ก่อน เช่น การพัก, splints, ประคบเย็น, exercise ans stretches,  shoe inserts, steroid injection, รับประทานยา และถ้าไม่ดีขึ้น ซึ่งมีส่วนน้อยที่ต้องพิจารณาผ่าตัด

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,040 Spot diagnosis: ผู้ป่วยหญิงวัยกลางคนเป็นมะเร็งปอด หลังได้รับการรักษาเล็บมีลักษณะผิดปกติ

ผู้ป่วยหญิงวัยกลางคนเป็นมะเร็งปอด หลังได้รับการรักษาเล็บมีลักษณะดังที่เป็น จะให้การวินิจฉัยอะไร สาเหตุน่าจะเป็นจากอะไร และจะให้การรักษาอย่างไร?


ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลยาเคมีบำบัดที่ทำให้สีเล็บเปลี่ยน เช่น Bleomycin, Capecitabine, Daunorubicin, Doxorubicin, Epirubicin

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,039 คู่มือแนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยอากาศยาน พ.ศ.2557

โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 :  บทบาทของหน่วยบินสกายดอกเตอร์กับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศในประเทศไทย
บทที่ 2 :  เกณฑ์วิธีการและแนวทางปฏิบัติการร้องขออากาศยานและชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ
บทที่ 3 :  เอกสารสำหรับการปฏิบัติการฉุกเฉิน
บทท 4 :  แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินที่เดินทางด้วยอากาศยาน
บทท 5 :  แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยขณะปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ
บทท 6 :  แนวทางการจัดตั้งชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉนทางอากาศในระบบแพทย์ฉุกเฉิน


วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,038 Lactic acidosis

Review article
Disorders of fluids and electrolytes
N Engl J Med  December 11, 2014

ภาวะเลือดเป็นกรดจากแล็กติก (lactic acidosis) เป็นผลมาจากการสะสมของแลคเตทและโปรตอนในของเหลวของร่างกายและมักจะเกี่ยวข้องกับผลลัพท์ทางคลินิกที่ไม่ดี ผลของเลือดเป็นกรดจากแล็กติกจะเป็นไปตามความรุนแรงและบริบททางคลินิก การเสียชีวิตเพิ่มขึ้นโดยมีปัจจัยมาจากสามสิ่งหลักๆ คือเมื่อกรดแล็กติกเกิดขึ้นพร้อมๆ กับระบบการใหลเวียนที่ต่ำลงหรือการติดเชื้อ และระดับแลคเตทที่สูงขึ้นยิ่งส่งผลให้แย่ลง แม้ว่าการมีแลคเตทในเลือดสูงมักมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อ แต่ก็สามารถเป็นผลมาจากกลไกอื่นๆ ได้ด้วย
การควบคุมของภาวะที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเป็นเพียงวิธีการเดียวที่มีประสิทธิภาพในการรักษา อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจลักษณะทางพยาธิสรีรวิทยา และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ของสภาวะนี้อาจนำไปสู่การรักษาใหม่ๆ
ภาพรวมของบทความนี้นี้เน้นในด้านพยาธิสรีรวิทยา เช่นเดียวกับการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษา โดยจำกัด การกล่าวถึงที่เกี่ยวข้องกับการสะสมของ I optical isomer ของแลคเตทซึ่งเป็นตัวแทนส่วนใหญ่ของกรณีของเลือดเป็นกรดจากแล็กติกที่พบทางคลินิก
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Pathophysiological Features
   Normal Lactate Metabolism
   Hyperlactatemia
   Effects on Cellular Function
-Causes
-Diagnosis
-Treatment
   Supporting the Circulation and Ventilation
   Improving the Microcirculation
   Initiating Cause-Specific Measures
   Base Administration
   Potential Future Therapies
   Monitoring of Patients, Goals of Therapy, and Prognosis
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1309483

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,037 หนังสือแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน

แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน 
โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย


วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,036 Spot diagnosis: skin lesion Rt. forearm ในหญิงวัยกลางคน

ผู้ป่วยหญิงวัยกลางคนมีประวัติปวดข้อเรื้อรังมาเป็นปี จากรอยโรคที่แขนขวาจะให้การวินิจฉัยอะไรครับ?




วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,035 หนังสือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

หนังสือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
(Interfacility Patient Transfer)
โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-บทนำ
-ระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility patient transfer System)
-การจำแนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ปวยในปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล (Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer)
-การบริหารทรัพยากรในปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง สถานพยาบาล
-การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในปฏิบัติการฉุกเฉินในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล
-การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล รูปแบบพิเศษ


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,033 การวินิจฉัยการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังด้วยการตรวจทางรังสีวิทยา

การวินิจฉัยการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังด้วยการตรวจทางรังสีวิทยา
Diagnostic imagings of infective spondylitis
โดย อ. บุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก
ภาควิชารังสีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-การวินิจฉัยโรคทางรังสีวิทยา
-พยาธิสรีรวิทยา
-การถ่ายภาพทางรังสีวิทยา (Plain Film)
-การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTscan)
-การตรวจทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
-การติดเชื้อที่กระดูกสันหลังจากเชื้อแบคทีเรีย (Pyogenic spondylitis)
-การติดเชื้อที่กระดูกสันหลังจากเชื้อวัณโรค (TB spondylitis)
-การติดตามผลการรักษา
-การวินิจฉัยแยกโรค
-สรุป
ลิงค์ http://thailand.digitaljournals.org/index.php/JMHS/article/download/8175/7711


วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,032 คู่มือการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพแรงงานนอกระบบ

โดยกลุ่มงานชีวอนามัยในแรงงานนอกระบบ

เหมะสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อาสาสมัครอาชีวอนามัย อสม. แบบประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างง่าย จัดทำขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ และชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครทางด้านสาธารณสุข ใช้ประเมินความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบในชุมชนของตนเอง เขียนเข้าใจง่าย




วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,031 Conduct disorder and callous–unemotional traits in youth

Review article
N Engl J Med   December 4, 2014

คำว่าความประพฤติผิดปกติ “conduct problems” หมายถึงรูปแบบของพฤติกรรมการทำลายที่เกิดขึ้นซ้ำๆ, มีความก้าวร้าว, และไม่สนใจคนอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวนี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเมื่อเร็ว ๆ เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากเยาวชนและจากการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การวินิจฉัยของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM) ซึ่งความประพฤติผิดปกติเป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการดำเนินการที่เกิดขึ้นอีกในเด็กและวัยรุ่น
ปัญหาความประพฤติของเยาวชนที่มีการคาดการณ์ของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของสารเสพติด, พฤติกรรมทางอาญา, และการหยุดการศึกษา พวกเขายังต้องเสียค่าภาระทางสังคมมากจากความทุกข์ทรมานระหว่างบุคคลและค่าใช้จ่ายทางการเงิน
ในบทความนี้จะสรุปข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับปัญหาความประพฤติของเยาวชนและเน้นแนวโน้มสำหรับทางสำหรับการวิจัย ซึ่งบทความก่อนหน้านี้ได้สรุปทั้งวรรณกรรมทางคลินิกเกี่ยวกับผลลัพท์, การรักษา และปจจัยทางครอบครัว และการทบทวนวรรณกรรมของ neurocognitive เกี่ยวกับกลไกและพยาธิสรีรวิทยา ซึ่งบทความล่าสุดนี้มีความแตกต่างโดยเป็นการผสานในมุมมองทางคลินิกและ neurocognitive
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Psychopathic Traits
-Development and Outcome
-Neurocognitive Dysfunctions
   Deficient Empathy
   Heightened Threat Sensitivity
   Deficient Decision Making
-Genetic and Environmental Risks
   Genetic Risk
   Environmental Risk
-Treatment
-Future Directions and Conclusions

ลิงค์ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1315612

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,030 โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism)

โดย อ. ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ 
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำนำ
-พยาธสรีรวิทยา
-ปัจจัยเสี่ยง
-อาการแสดงทางคลินิก
-การวินิจฉัยแยกโรค
-แนวทางการวินิจฉัยและการส่งตรวจห้องปฏิบัติการ
-แผนภูมิ แนวทางการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัย
-การรักษา
-การให้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolysis)
-แผนภูมิที่ 2 แนวทางการรักษาผู้ป่วย acute pulmonary embolism
-ตาราง  ขนาดยาและวิธีการให้ยาละลายลิ่มเลือด และยาต้านลิ่มเลือด ใน pulmonary embolism
-การให้ยาต้านลิ่มเลือด
-การใส่ vena caval filter
-ผลการรักษาและการพยากรณ์โรค
-สรุป
-เอกสารอ้างอิง

Ref: http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Pulmonary%20embolism%20%E0%B8%AD%20%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A5.pdf

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

3,028 แนวทางการปฏิบัติในการตรวจการติดเชื้อซิฟิลิสในโลหิตบริจาค

บทความพิเศษ
แนวทางการปฏิบัติในการตรวจการติดเชื้อซิฟิลิสในโลหิตบริจาค 
Donor​ Blood ​Screening ​Test ​for ​Syphilis
จัดทำโดยคณะอนุกรรมการวิชาการ ในคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งชาดไทย ศูนย์บริการโลหตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เนื้อหาประกอบด้วย
1.​ แนวปฏิบัติในการตรวจกรอง​ Syphilis ​ในโลหิตผู้บริจาค
2.​ การแจ้งผลให้ไปรับคำปรึกษา​และการรักษา
3.​ Re-entry
4.​ แนวทางการรกษาโรคซิฟิลิส

ลิ้งค์ http://www.tsh.or.th/file_upload/files/vol19-4%2008_Donor_blood_screening_test.pdf

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,027 แนวทางคำแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงโดย National Lipid Association (NAL)

National Lipid Association (NAL) recommendations for patient-centered management of dyslipidemia ได้ทำการรวบรวมและสรุปจุดสำคัญที่เป็นปัจจุบัน โดยมี 2 part ซึ่งมีเนื้อหาได้แก่
-Background and conceptual framework for formulation of the NLA Expert Panel recommendations
-Screening and classification of lipoprotein lipid levels in adults
-Targets for intervention in dyslipidemia management
-Atherosclerotic cardiovascular disease risk assessment and treatment goals based on risk category
-Atherogenic cholesterol—non–high-density lipoprotein cholesterol and low-density lipoprotein cholesterol—as the primary targets of therapy
-Lifestyle and drug therapies intended to reduce morbidity and mortality associated with dyslipidemia
-Lifestyle therapies
-Groups with special considerations
-Strategies to assist with patient adherence
-Team-based collaborative care

ลิงค์ http://www.lipidjournal.com/article/S1933-2874(14)00274-8/fulltext

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,026 Diffuse alveolar hemorrhage

พบผู้ป่วยชายอายุ 74 ปี ด้วยเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตรวจบมีภาวะซีด Hct 20%, CXR เป็นดังนี้ เหนื่อยมากต้องใส่ท่อช่วยหายใจพบว่ามีเลือดออกมาจากท่อช่วยหายใจ ซึ่งจากลักษณะทางคลินิกน่าจะเข้าได้กับ diffuse alveolar hemorrhage จึงทบทวนเกี่ยวกับเรื่องนี้
คือการมีเลือดออกในถุงลมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหรือการกำเริบของเลือดออกในปอด มีสาเหตุมีได้หลากหลาย แต่โรคของภูมิคุ้มกันต่อตนเองพบได้มากที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหายใจลำบาก, ไอ, ไอเป็นเลือดและมี alveolar infiltrates ที่เกิดขึ้นใหม่จากถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจวินิจฉัยโดยการมุ่งไปที่สาเหตุซึ่งสงสัยและให้รักษาตามสาเหตุ ถ้าเกิดจากโรคของภูมิต้านทานผิดปกติให้การรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน อาจต้องให้การช่วยเหลือดูแลระบบทางเดินหายใจใน (respiratory support) กรณีที่จำเป็น ซึ่ง diffuse alveolar hemorrhage ไม่ใช่ความผิดปกติที่จำเพาะ แต่เป็นกลุ่มอาการที่ต้องมีการวินิจฉัยแยกโรคและการตรวจสืบค้นเพื่อให้ได้สาเหตุจำเพาะ
สาเหตุได้แก่
-Autoimmune disorders (eg, systemic vasculitides, Goodpasture syndrome, antiphospholipid antibody syndrome, connective tissue disorders)
-Pulmonary infections (eg, invasive aspergillosis, hantavirus infection)
-Toxic exposures (eg, trimellitic anhydride, isocyanates, crack cocaine, certain pesticides)
-Drug reactions (eg, propylthiouracil, diphenylhydantoin, amiodarone, methotrexate, nitrofurantoi, bleomycin, montelukast, infliximab)
-Cardiac disorders (eg, mitral stenosis)
-Coagulation disorders caused by diseases or anticoagulant drugs
-Isolated pauci-immune pulmonary capillaritis
-Idiopathic pulmonary hemosiderosis
-Bone marrow or solid organ transplantation


วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,025 ว่าด้วยเรื่อง Fuller's earth

ดินเหนียว Fuller's earth ซึ่งมีส่วนประกอบของ hydrated aluminum silicates
Fuller's earth มีขนาดบรรจุ 60 กรัม/ขวด โดยให้ 150 กรัมผสมน้ำ 1ลิตร ให้ทางปาก และให้ร่วมกับยาระบาย MOM 30 มิลิลิตร ทุก 4-6 ชั่วโมง จนผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ จะทำให้เกิดการจับ-ดูดซับและขับออกทางอุจจาระ ควรให้โดยเร็ว โดยเฉพาะใน 2 ชั่วโมงหลังได้รับพิษ เพราะจะเป็นการลดพิษที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงนี้ยากำลังถูกดูดซึมอยู่และระดับของยาในพลาสม่ากำลังจะขึ้นสูงสุด แต่ถ้าหลังจากระยะเวลานี้ไปแล้วยาจะกระจายไปทั่วร่างกายและไปทำลายอวัยวะต่างๆที่สำคัญ เนื่องจากไม่มียาต้านพิษสำหรับ paraquat โดยตรง
ซึ่งศัพท์นี้มีที่มาจากกระบวนการโบราณของการทำความสะอาดขนแกะเพื่อที่จะเอาน้ำมันและสิ่งสกปรกออกด้วยการใช้น้ำที่เป็นส่วนผสมของดินหรือดินเหนียว



Ref: http://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/dx-cov/Kinetic/kinetic
http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/fuller%27s+earth

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,024 Abdominal aortic aneurysms

Clinical practice
N Engl J Med  November 27, 2014

Key Clinical Points
-หลอดเลือดแดงเออร์ต้าโป่งพองในช่องท้อง (abdominal aortic aneurysms) มักจะไม่แสดงอาการจนกว่าจะแตก โดยมีอัตราการเสียชีวิต 85-90%
-ผู้ป่วยที่มีอาการต้องได้รับการรักษาซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน
-U.S. Preventive Services Task Force แนะนำสนับสนุนให้ทำการคัดกรองในผู้ชาย 65-75 ปี ที่มีประวัติของการสูบบุหรี่ และการเลือกตรวจคัดกรองในผู้ชาย 65-75 ปีไม่มีประวัติสูบบุหรี่ถึงแม้ว่าการศึกษาแบบ cohort ที่ดีที่สุดในการคัดกรองยังคงเป็นที่โต้แย้ง
-เกณฑ์ปกติสำหรับการรักษาซ่อมแซมหลอดเลือดคือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือด 5.5 ซม. ในผู้ชาย และ 5.0 ซม. ในผู้หญิง
-ผลการซ่อมแซมเยื่อบุภายในหลอดเลือด (endovascular repair) จะมีอัตราความพิการและอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าการผ่าตัดเปิดเพื่อซ่อมแซม แต่ทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่คล้ายกันในระยะยาว (8-10 ปี)
-ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการซ่อมแซมเยื่อบุภายในหลอดเลือด จำเป็นต้องเฝ้าระวังในระยะยาวเนื่องจากความเสี่ยงเล็ก ๆ ของ aneurysm sac reperfusion และการแตกในเวลาต่อมา
-การตัดสินใจในการซ่อมแซมเพื่อการป้องกัน  ควรคำนึงถึงชนิดของการซ่อมแซมที่จะดำเนินการ ต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายวิภาค (ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่จะมีลักษณะทางกายวิภาคเหมาะกับการซ่อมแซมเยื่อบุภายในหลอดเลือด), ความเสี่ยงการผ่าตัดและลักษณะของผู้ป่วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Screening
   Aneurysm Growth and Surveillance
   Treatment
-Areas of Uncertainty
-Conclusions and Recommendations
-Guidelines
-Key Clinical Points
-Source Information

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1401430

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,023 Spot diagnosis: skin lesion

หญิงอายุ 67 ปีมาตรวจเบาหวาน แต่พบ skin lesion ดังนี้จะให้การวินิจฉัย และการดูแลรักษาอย่างไรครับ?

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,022 การวินิจฉัย และรักษาโรคเชื้อราที่พบบ่อยในประเทศไทย ระดับพื้นฐาน

การวินิจฉัย และรักษาโรคเชื้อราที่พบบ่อยในประเทศไทย ระดับพื้นฐาน
โดย พญ. วลัยพร ปรัชญพฤทธิ์ สถาบันผิวหนัง กรมการแพทย์





วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,021 คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน

โดยศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


ลิ้งค์ Click

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,020 คู่มือสื่อสารในภาวะฉุกเฉินและวิกฤติทางสาธารณสุข

โดยสำนักเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
-ภาวะเสี่ยง ภาวะฉุกเฉิน และภาวะวิกฤต
-การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication)
-การสอสารในภาวะฉุกเฉิน/วิกฤติ 2 (emergency/crisis communication)
-จิตวิทยาในภาวะวิกฤติ
-การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหุ้นส่วน
-ความเป็นผู้นำในภาวะวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา
-ศูนยการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (The Centers for Disease Control and Prevention: CDC)

ลิ้งค์ Click

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,019 คู่มือโรคทีีมากับฤดูร้อน

โดย สคร. 1 กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-โรคอุจจาระร่วง
-โรคอาหารเป็นพิษ
-โรคบิด
-อหิวาตกโรค
-ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย
-โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ


ลิ้งค์ Click

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,018 คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันประเทศไทย

คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมกลุ่มอาการกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลัน ประเทศไทย
โดยกองระบาดวิทยา สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข



วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,017 Testicular cancer — discoveries and updates

Review article
N Engl J Med November 20, 2014

ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมามีความก้าวหน้าอย่างมากในการรักษาโรคมะเร็งอัณฑะ การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งอัณฑะชนิดแพร่กระจายพบว่ามีโอกาสของการเสียชีวิต 90% ภายใน 1 ปี  ณ. วันนี้ประมาณการว่าใน 95% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะและใน 80% ของผู้ป่วยที่มีโรคแพร่กระจายสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในบทความนี้จะเน้นไปที่การค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ การพัฒนาปรับปรุงที่เป็นปัจจุบันในการดูแลและที่ยังเป็นที่โต้แย้งในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอัณฑะ
ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมก็มีบทบาทในการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดนี้ ความเสี่ยงของโรคมะเร็งอัณฑะสูงขึ้น 8 -10 เท่าในน้องชายของคนที่มีโรคมะเร็งอัณฑะและสูงขึ้น 4-6 เท่าในบุตรชายของคนที่มีโรคมะเร็งอัณฑะที่ซึ่งพี่ชายหรือบุตรของสมาชิกในครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบ ความผิดปกติทางพันธุกรรมรวมทั้งดาวน์ซินโดรมและ testicular dysgenesis syndrome ยังมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง
ที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งอัณฑะด้วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Stage I seminoma
-Stage II seminoma
-Stage I nonseminomatous Germ-Cell Tumor
-Stage II nonseminomatous Germ-Cell Tumor
-Stage III testicular Cancer
-Relapsed disease
-Survivorship
-Conclusions

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1407550

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,016 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมลิออยด์ (melioidosis) และติดเชื้อเมลิออยด์ในกระแสเลือด (bacteremic melioidosis)

มีการศึกษาพบว่า 163 (84.9%) ของผู้ป่วยเป็นโรคเมลิออยด์มีอาชีพเป็นชาวนา สองในสาม (119/192) มีโรคประจำตัวเดิมที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรคเมลิออยด์ ได้แก่โรคเบาหวาน (115 ผู้ป่วย 60.9%) ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคประจำตัวเดิมที่พบมากที่สุดที่เกี่ยวข้องกับโรคเมลิออยด์ในการศึกษาครั้งนี้
โดยยังพบว่าในผู้ที่เป็นเบาหวานและมีอาชีพทำนาซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการสัมผัสกับดินสูงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานและไม่ได้ทำนา 6-9 เท่า
โรคประจำตัวเดิมอื่น ๆ ที่พบได้การมีโรคไต (40 คน หรือ 20.8%), โรคธาลัสซีเมีย (14 คน หรือ 7.3%)
การมีประวัติความของการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดก่อน (13 คน หรือ  6.9%) เป็นวัณโรคปอด (12 คน หรือ  6.3%) และเป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือเนื้องอกของอวัยวะที่เป็นก้อน (8 มะเร็ง 4.2%)

Ref: Click

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,015 คู่มือการดูแลรักษาโรคตาเบื้องต้น

โดยความร่วมมือระหว่างสำนักบริหารการสาธารณสุข และโรงพยาบาลเมตตาประชารักษณ์ (วัดไร่ขิง)



วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,014 Clinical practice guideline for sunscreen

จากเวปไซต์สมาคมแพทย์โรคผิวหนังแห่งประเทศไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความนำ
-นิยาม
-เกณฑ์การพิจารณาใช้ยากันแดด
-หลักการใช้ยากันแดด
-ความคงทนต่อแสงของยากันแดด
-การใช้ยากันแดดที่ถูกต้อง
-ผลข้างเคียงจากยากันแดด
-อัลกอริทึมแนวทางการใช้ยากันแดด
-ภาคผนวก
   การประเมินประสิทธิภาพของยากันแดด
   ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA
   การทดสอบความสามารถในการกันน้ำ
   ความคงทนต่อยากันแดด

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,013 สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2556 (annual epidemiology surveillance report 2013)

สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2556 (annual epidemiology surveillance report 2013)
โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,012 แนวทางการรักษาเบาหวานในเชิงปฏิบัติ

แนวทางการรักษาเบาหวานในเชิงปฏิบัติ
โดย พญ. ฉัตรประอร งามอุโฆษ
เป็นความรู้การรักษาเบาหวานที่ใช้ในเวชปฏิบัติจริงๆ ทั้งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ตลอดจนเทคนิคการเลือกการักษา การเลือกใช้ยาทั้งยากลุ่มเดิมและยากลุ่มใหม่ๆ การใช้ยาชนิดรับประทานและชนิดฉีดอินซูลิน เป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาล การตรวจคัดกรองภาวะแนรกซ้อน

ลิ้งค์ Click

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,011 แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน 2557

แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน (Guideline for Medical Document Audit )
โดยสำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มกราคม 2557


ลิ้งค์ Click

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,010 The α-Thalassemias

Review article
N Engl J Med  November 13, 2014

ทาลัสซีเมีย thalassemias เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยยีนเดี่ยว (monogenic diseases) ที่พบมากที่สุดของมนุษย์ ซึ่งความผิดปกติของการสังเคราะห์ฮีโมโกลเหล่านี้ได้รับการถ้ายทอดมาโดยมีการผลิต globin chains ของโกลบินของเม็ดเลือดแดงลดลง โดยทั่วโลกพบว่ารูปแบบที่สำคัญที่สุดคื อัลฟาและเบต้าทาลัสซีเมีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตของ α-globin และ β-globin chain ตามลำดับ
แม้ว่าเบต้าทาลัสซีเมียเป็นรูปแบบที่มีความสำคัญทางคลินิกเป็นอย่างมาก แต่อัลฟาทาลัสซีเมียก็เกิดขึ้นบ่อย มีหลักฐานมากขึ้นว่าภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาพและทางเศรษฐกิจในโรคทาลัสซีเมียจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตของประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของการเคลื่อนย้ายประชากรใน
เขตร้อนและการอพยพของมนุษย์ในส่วนอื่น ๆ ของโลก
จุดมุ่งหมายของบทความนี้คือการให้ข้อสรุปร่วมสมัยของความรู้ทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวกับอัลฟาทาลัสซีเมีย และเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับความท้าทายต่างๆ ที่ต้องเผชิญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในแง่ของผลการศึกษาวิจัยล่าสุดที่เกี่ยวกับความรุนแรงและพันธุศาสตร์ของการถ่ายทอดความผิดปกตินี้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Clinical Relevance
-Diagnosis
-Geographic Distribution
-Screening
-Health and Economic Burden
-Management
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1404415

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,009 Spot diagnosis EKG ผู้ป่วยชายสูงอายุมาด้วยใจสั่น

Spot diagnosis EKG ผู้ป่วยชายสูงอายุมาด้วยใจสั่น ไม่มีเจ็บหน้าอก EKG เป็นดังนี้ จะให้การวินิจฉัย rhythm ของ EKG นี้ว่าอย่างไรครับ?

Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,008 แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557

โดยกรมการแพทย์ 
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-การดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะสุดท้าย
-การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย
-ภาพกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
-ภาคผนวก

ลิงค์ Click

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,007 คู่มือแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคพาร์กินสันสำหรับแพทย์ในเวชปฏิบัติ

คู่มือแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคพาร์กินสันสำหรับแพทย์ในเวชปฏิบัติ
Clinical practice guideline for diagnosis and management of parkinson 's disease
จัดทำเนื่องในปีรณรงค์โรคพาร์กินสัน ปี 2553-2554 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุ 55 พรรษา
ด้วยความร่วมมือจากสภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานครและสำนักหลักประสุขภาพแห่งชาติ


เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-การวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
-ยารักษาโรคพาร์กินสันที่มีในประเทศไทย
-แนวทางรักษาโรคพาร์กินสันในระยะแรก
-การรักษาโรคพาร์กินสันในช่วงที่มีการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ
-แนวทางรักษาอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในโรคพาร์กินสัน
-แนวทางรักษาโรคพาร์กินด้วยวิธีอื่นๆ
-ยารักษาโรคพาร์กินสันที่มีในประเทศไทยปี 2555

ลิงค์ http://chulapd.org/index.php/2012-07-24-03-03-27/2012-12-19-11-23-05/finish/3-e-book/31-/0

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,006 คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉิน

คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) กำหนด


วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,005 สาธารณภัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะฉุกเฉินทางด้่านสาธารณสุข

โดยกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข



เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความหมายของสาธารณภัย
-ประเภทของสาธารณภัย
-ความรุนแรงและผลกระทบของการเกิดสาธารณภัย
-บทบาทของนักสาธารณสุขต่อการป้องกันและบรรทัยสาธารณภัย
-การป้องกันและควบคุมภัยธรรมชาติ
-การป้องกันและควบคุมภัยจากอุทกภัยและดินโคลนถล่ม
-การปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ
-การปฏิบัติของหน่วยงานภาคเอกชน
-การปฏิบัติของหน่วยงานภาคประชาชน
-การป้องกันและควบคุมภัยจากแผ่นดินไหว
-วิทยาการระบาดกับการควบคุมป้องกันสาธารณภัย
-การบวนการดำเนินงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดในสถานการณ์สาธารณภัย
-วิธีการวิเคราะห์ลักษณะการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพตามสถานที่
-การสอบสวนทางระบาดวิทยา ในสถานการณ์การสาธารณภัย
-กลุ่มโรคที่ต้องสอบสวนเมื่อเกิดสาธารณภัย
-การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัตการเพื่อหาสาเหตุ
-ขั้นตอนการสอบสวนโรค (steps of investigation)
-แนวทางการป้องกันและควบคมโรคติดต่อนำโดยแมลงในศูนย์พักพิงชั่วคราว
-ความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยแมลง
-การป้องกันและควบคุมโรคระบาดทสำคัญๆ
-การเตรียมความพร้อมและศักยภาพของประเทศในภาพรวม

ลิ้งค์ Click

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,004 หนังสือชุดความรู้แมลงพาหะนำโรคและแมลงมีพิษ

โดยสำนักโรคติดต่อโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-แมลงพาหะนำโรค
ยุงก้นปล่อง
ยุงลาย
ยุงรำคาญ
ยุงเสือ
แมลงสาบ
แมลงวัน
ริ้นฝอยทราย
เรือด
เหา
หมัด
เห็บ
แมลงวันเซ็ทซี
แมลงวันซิมูเลี่ยม แมลงริ้นดำหรือตัวคุ่น
เหลือบ
คิสซิ่งบักหรือมวนเพชรฆาต
ไรอ่อน
-แมลงมีพิษ
ด้วงก้นกระดก
ด้วงน้ำมัน
หนอนบุ้งหนอนร่าน
มดคันไฟ
ผึ่ง ต่อ แตน

ลิ้งค์ https://drive.google.com/file/d/0B8Zl4XfjQfmFdVB4VzViZkpXMDQ/view

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,003 Lung-cancer screening with low-dose computed tomography

Clinical practice
N Engl J Med  November 6, 2014

Key Clinical Points
-การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแห่งชาติ (The National Lung Screening Trial, NLST) แสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วย  low-dose CT ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด 20% ในคนอายุ 55-74 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่อย่างน้อย 30  pack-years และปัจจุบันยังสูบอยู่ หรือผู้ที่เคยสูบบุหรี่ในอดีตและเลิกสูบภายในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
-ความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองรวมถึงการมีผลบวกปลอมที่พบได้บ่อยซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการใช้  CT เพื่อเฝ้าระวังและนำไปสู่การตรวจชิ้นเนื้อหรือการผ่าตัดลดลงเนื่องจากการที่แสดงให้เห็นว่าเป็นชนิดไม่ร้ายแรง (benign findings)
-แนวทางส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ที่มีความเสี่ยงสูงและเคยสูบบุหรี่ในอดีตได้รับการตรวจคัดกรองโดย  low-dose CT และมีส่วนร่วมในกระบวนการของการร่วมกันตัดสินใจในการชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียและให้ทางเลือกเป็นรายบุคคล
-มีความกังวลเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างประโยชน์และอันตรายของการตรวจคัดกรองโดย NLST อาจจะยากที่จะทำปรับใหม่เมื่อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกที่มีการตั้งค่าซึ่งแตกต่างกัน
-ผู้ที่ยังสูบบุหรี่ในปัจจุบันควรให้ได้รับคำแนะนำว่าการตรวจคัดกรองไม่ได้ใช้แทนการไม่เลิกสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจคัดกรองในเชิงบวกที่มีแนวโน้มในการเลิกสูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองในเชิงลบแต่ผลของการมีส่วนร่วมในโครงการตรวจคัดกรองกับอัตราการเลิกสูบบุหรี่ยังไม่แน่นอน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1404071

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,002 ข้อควรปฏิบัติในการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง

โดย สุรสิทธิ์ วัชระสุขโพธิ์ ภบ.
กลุ่มงานเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บุคลากร
-คุณสมบัติของยาเคมีบำบัดที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
-ขั้นตอนที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยขณะบริหารยารักษาโรคมะเร็ง
-การรักษาทางศัลยกรรม

ลิ้งค์ http://thailand.digitaljournals.org/index.php/KKMJ/article/download/6689/6204

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,000 แนวทางการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สำหรับแพทย์

แนวทางการรักษาภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ สำหรับแพทย์ 
(Clinical Practice Guidelines for Hydrocephalus)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 แนวทางบำบัดการรักษาผู้ป่วยที่สงสัยมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
บทที่ 2 แนวทางบำบัดการรักษาผู้ป่วยที่สงสัยมีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำร่วมกับความดันในกระโหลกศรีษะสูง
บทที่ 3แนวทางการบำบัดรักษาเด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีเลือดออกในโพรงสมองและสงสัยว่ามีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
บทที่ 4 แนวทางการบำบัดรักษาเด็กแรกคลอดที่มี myelomeningocele/encephalomeningocele
บทที่ 5 แนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่สงสัย normal pressure hydrocephalus

ลิ้งค์ http://neuro.or.th/images/hydrocephalus2006.pdf

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

2,999 คู่มือการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู

โดยศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


ลิ้งค์ดาวน์โหลด  Click

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

2,998 คู่มือการให้คําแนะนําการใช้ยาเทคนิคพิเศษ

โดยภญ.วันทนีย์ เพ้งหล้ง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-การเตรียมยาฉีดและการฉีดยาอินซูลิน
-การรับประทาน ยา Fosamax ในการรักษาโรคกระดูกพรุน
-การใช้ฮอร์โมนทดแทนในภาวะหมดประจําเดือน (Hormone Replacement Therapy)
-วิธีการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิด
-การใช้ยาเหน็บช่องคลอด
-การใช้ยาครีมใส่ช่องคลอด
-การใช้ยาสวนทวารหนัก
-การใช้ยาเหน็บทวารหนัก
-การใช้ยาหยอดตา
-การใช้ยาป้ายตา
-การใช้ยาหยอดหู
-การใช้ยาผงผสมนํ้าของเด็ก
-การใช้ยาล้างจมูก
-การใช้ยาพ่นจมูก
-การใช้ Nebulizers
-การใช้ยาพ่นคอแบบ metered-dose inhaler (MDI)
-การใช้ยาพ่นคอแบบ Turbuhaler
-การใช้ยาพ่นคอ แบบ Accuhaler
-การใช้ยารักษาโรคหัวใจ(อมใต้ลิ้น)

ขอขอบคุณที่มา ninerx.com
ลิงค์ดาวน์โหลด http://drug.pharmacy.psu.ac.th/articleprofile.asp?ID=166

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,997 คู่มือนักโภชนาการ

โดยธัญญชล พงษ์อิ่ม นักโภชนาการ โรงพยาบาลนพรัตราชธานี
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-การประเมินความเหมาะสมของภาวะน้ำหนักตัว
-วิธีคำนวนน้ำหนักมาตรฐาน
-วิธีคำนวน % ideal body weight (%IBW)
-Adjust ideal body weight (AIBW)
-ค่า IBW หากส่วนสูงไม่ถึง 150 cm.
-คำนวนพลังงานจากน้ำหนักนตัวและระดับกิจกรรม
-การคำนวนความต้องการพลังงาน
-การคำนวนหาปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการ
-วิธีประเมินความต้องการพลังงานในเด็ก
-อาหารทางการแพทย์
-ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ควรได้รับประจำสำหรับคนไทย
-สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป
-หมวดอาหารแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
-แบบบันทึกรายการอาหาร
-แบบฟอร์มการคำนวนสารอาหารแบบละเอียด
-ปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร
-ศัพท์แพทย์ที่ใช้ประกอบการดูแลอาหารผู้ป่วย

ลิ้งค์ http://www.slideshare.net/ssuser3454ac/ss-13209293?related=1

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,996 Applying synthetic lethality for the selective targeting of cancer

Review article
N Engl J Med  October 30, 2014

การพัฒนาการรักษามะเร็งโดยส่วนใหญ่จะเจาะจงสำหรับสำเนาทางพันกรรมหรือโคลน (clone) ของเนื้องอก จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ยังคงเป็นเป้าหมายที่ยากจะอธิบาย อย่างไรก็ตามการขยายตัวของการรักษาแบบมุ่งเป้า (targeted therapeutics) ในทางคลินิกแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างมากของวิธีการนี้ โดยการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งในมนุษย์อาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นยีน, การขยายตัวหรือการยับยั้งการกระตุ้นยีนหรือ allelic haplodeficiency คุณสมบัติทางพันธุกรรมที่เสมือนลายเซ็นเฉพาะตัวเหล่านี้ที่เป็นเอกลักษณ์ของสำเนาทางพันกรรมของมะเร็งซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับมะเร็งแต่ละชนิดได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-DNA-Repair Mechanisms and Synthetic Lethality
-Synthetic Lethality in Clinical Practice — PARP Inhibitors
-“BRCAness” — Exploitation of Tumor-Specific Properties
-Targeting Coregulators of Cell-Cycle Checkpoints
-Targeting p53 through Synthetic-Lethality Approaches
-Targeting KRAS and MYC through Synthetic-Lethality Approaches
-Contextual Synthetic Lethality
-Challenges, Future Directions, and Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1407390

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,995 ข้อปฏิบัติสำหรับแพทย์ กรณีเกิดข้อพิพาทในการให้บริการด้านสาธารณสุข

โดยกลุ่มกฏหมาย กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-แนวทางปฏิบัติกรณีมีข้อพิพาทหรือเชื่อว่าจะมีข้อพิพาทในสถานพยาบาล
-กฎหมายเกี่ยวกับเวชระเบียน
-ความรู้กฎหมายทั่วไป
-ภาคผนวก


Ref: Click

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,994 ชาย 26 ปี เจ็บแน่น เสียว หน้าอกสองข้าง 10 นาทีก่อนมา รพ. Spot diagnosis EKG

ชาย 26 ปี เจ็บแน่น เสียว หน้าอกสองข้าง 10 นาทีก่อนมา รพ. ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นใส้อาเจียน ปฏิเสธการบาดเจ็บ ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน จาก EKG คิดถึงอะไรมากที่สุด สาเหตุที่สำคัญมีอะไรได้บ้าง จะตรวจสืบค้นอะไรเพิ่มเติม จะให้การรักษาอย่างไร และอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง?

คลิกที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบที่ร่วมเรียนรู้ครับ
จากลักษณะของคลื่นหัวใจที่เห็นว่ามีความผิดปกติอย่างชัดเจนคือการมี EKG เป็นแบบ ST elevation ชนิด concave upward ประกอบกับลักษณะทางคลินิกและผู้ป่วยอายุน้อยทำให้คิดถึงการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (pericardiatis) 
สาเหตุ เช่น เชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, วัณโรค มีของเสียคั่งในร่างกายจากภาวะไตวาย (uremia), เกิดภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (post heart attack), Dressler 's syndrome หรือเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) 
การตรวจวินิจฉัย นอกเหนือจากการตรวจ EKG อาจพบมีการเพิ่มขึ้นของ cardiac enzyme เช่น troponin I, T, CKMB, LDH isotype1, CXR อาจมีภาะหัวใจโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงอาจพบน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อน เช่น  pericardial effusion, cardiac tamponade
การรักษา ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุอาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาแอสไพริน, NSAID เช่น ibuprofen ส่วน colchicine จะให้ในเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดขึ้นซ้ำ
ในกรณีที่มีความรุนแรงพิจารณาให้การรักษาโดย 
-Pericardiocentesis เพื่อรักษา pericardial effusion/tamponade
-ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือยาสำหรับรักษาวัณโรคในการณีที่มีสาเหตุมาจากวัณโรค
-สเตียรอยด์ (steroids) ใช้ในกรณีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันที่มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ
-มีน้อยมากที่ต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ในกรณีที่เกิด constrictive pericarditis อาจต้องให้การรักษาด้วย pericardiectomy