American Family Physician
November 1 2013 Vol. 88 No. 9
การดูแลที่เหมาะสมของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในช่วงกึ่งเฉียบพลัน (subacute period) มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย, การให้การรักษาในช่วงต้นเพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตายกำเริบและหลีกเลี่ยงการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล
จากแนวทางหลักฐานที่ใช้สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันพบว่าไม่ได้มีการทำตามถึง 25% การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet), ยายับยั้ง renin-angiotensin-aldosterone, beta blockers และยากลุ่ม statin ถือว่าเป็นการรักษาพื้นฐาน
การทดสอบแบบไม่รุกล้ำเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการสวนหลอดเลือด การให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรรวมถึงการตรวจสอบยาที่ให้ ส่งทีมงานเพื่อการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ แนะนำกิจกรรม ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตแลการรับรู้อาการของหัวใจ และการวางแผนการติดตามที่ชัดเจน เพราะการไม่สามารถที่จะใช้ยาหรือกายอมรับยา (nonadherence) ได้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังจากที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายและมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเสียชีวิต ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และไม่ให้หยุดยาเองควรได้รับการแนะนำก่อนกลับ
กระบวนการและโครงสร้างในการจำหน่ายผู้ป่วยควรจะใช้เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและการอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลไปอยู่ในการดูแลของแพทย์ประจำครอบครัว
Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p581.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
2,570 Myocardial infarction: Management of the subacute period
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น