วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,279 Chagas’ Disease

Review article
N Engl J Med       July 30, 2015

โรค Chagas เกิดจากปรสิตที่ชื่อ Trypanosoma cruzi จะติดต่อจากอุจจาระของมวนดูดเลือด (triatomine) ที่มีเชื้อ ซึ่งมวนดูดเลือดถือว่าเป็นพาหะของโรค เชื้อจะได้รับการฟักตัวผ่านบริเวณที่กัดหรือผ่านทางเยื่อบุผิวของโฮสต์ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การติดต่อโดยแมลงถูกจำกัดในพื้นที่ของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้
ซึ่งทั้งในถิ่นที่มีการระบาดและในพื้นที่ที่ไม่มีมีการระบาด พบว่าการติดเชื้อทางอื่นๆ ได้แก่การปลูกถ่ายอวัยวะและการปลูกถ่ายไขกระดูกและการส่งผ่านมาแต่กำเนิด พบมีการระบาดอย่างรวดเร็วจากการปนเปื้อนอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรายงานในภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ที่ซึ่งวงจรการติดต่อเกี่ยวข้องกับประชากรที่เป็นพาหะที่อาศัยอยู่ในป่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นแหล่งรังโรคเป็นหลัก
การติดเชื้อจะมีอยู่โดยตลอดชีวิตในกรณีที่ขาดการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผลที่ตามมาที่สำคัญที่สุดของการติดเชื้อ T. cruzi คือพยาธิสภาพความผิดปกติของหัวใจซึ่งเกิดขึ้น 20 - 30% ของผู้ที่ติดเชื้อ

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiology
-Clinical Features and Pathogenesis
-T. cruzi in the Immunocompromised Host
-Laboratory Diagnosis
-Antitrypanosomal Treatment
-Management of the Chronic Sequelae of T. cruzi Infection
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1410150

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,278 สถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ณ. เวลาล่าสุด

จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 21 ก.ค. 2558
-จำนวนผู้ป่วย   35,591 ราย
-จำนวนผู้ป่วยตาย   26 ราย
-อัตราป่วยต่อแสนประชากร   54.65 ราย
-อัตราตายต่อแสนประชากร   0.04 ราย
-อัตราป่วยตาย (ร้อยละ)   0.07 ราย

ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,277 คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 ภาษา (อังกฤษ, อาราบิก, พม่า, ลาว, เขมร)

คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 5 ภาษา (อังกฤษ, อาราบิก, พม่า, ลาว, เขมร)
โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,276 การเฝำระวังการเกิดมะเร็งตับ hepatocellular carcinoma ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

ทำการเฝ้าระวังกลุ่มต่อไปนี้
  -ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี
  -ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
  -ผู้ป่วยที่มีประวัติมะเร็งตับในครอบครัว
  -ผู้ป่วยตับแข็ง
ควรตรวจอัลตราซาวนด์และซีรั่ม alpha fetoprotein (AFP) ทุก 6-12  เดือน เพื่อเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma และพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสหรือตรวจไม่พบภููมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบเอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว

Ref: แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจากไวรัส บี และ ซี เรื้อรังในประเทศไทย ปี 2558


วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,275 แนวทางการติดตามและจัดการอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านวัณโรค

โดย เภสัชกรหญิง สุทธิพร ภัทรชยากล                                  
นายแพทย์ ยุทธิชัย เกษตรเจริญ
แพทย์หญิง เพชรวรรณ พึ่งรัศมี
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานการเกิดได้จากยาต้านวัณโรคหลายตัว
     อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือปวดท้องโดยไม่มีภาวะตับอักเสบร่วมด้วยพิษต่อตับ
     อาการทางผิวหนังที่ไม่รุนแรง
     อาการทางผิวหนังที่รุนแรง
-อาการไม่พึงประสงค์ที่มีรายงานการเกิดได้จากยาต้านวัณโรคตัวใดตัวหนึ่ง
    ปลายประสาทอักเสบ
    การเกิดพิษต่อตา
    การเกิดพิษต่อหู
    อาการปวดข้อและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยไม่มี การเพิ่มขึ้นของกรดยูริก หรือไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรค gout  

ลิ้งค์ คลิก

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,273 ลักษณะความแตกต่างของคลื่นไฟฟ้าหัวใจใน Acute pericarditis, acute myocardial infarction และ early repolarization

ในหลายครั้งต้องพิจารณาว่าลักษณะ EKG ที่เห็นควรจะให้การวินิจฉัยอย่างไร โดยเฉพาะการแยกระหว่าง acute pericarditis, acute myocardial infarction และ early repolarization ซึ่งใน American Academy of Family Physicians ได้แสดงตารางที่ใช้ในการแยกไว้ดังนนี้ครับ



Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0401/p553.html

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,272 Interventional approaches to gallbladder disease

Review article
N Engl J Med 2015  July 23, 2015

การผ่าตัดถุงน้ำดีเป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและกระทำบ่อย เกณฑ์สำหรับการวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันและการจัดระดับความรุนแรงได้แสดงไว้ในบทความนี้ ความต้องการเพื่อความปลอดภัยและการรุกร้ำที่น้อยที่สุดมีอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมในการดูแลรักษาโรคของถุงน้ำดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการรักษาโรคถุงน้ำดีโดยการการผ่าตัดส่องกล้อง (ในขณะที่การเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยการผ่าตัดส่องกล้องทางรูเปิดตามธรรมชาติ โดยไม่แผลเป็นทางผิวหนัง) หรือทางผิวหนัง สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกวิธีการคือสภาวะทางการแพทย์ของผู้ป่วยโดยรวมและ ผลกระทบเฉพาะส่วนและเชิงระบบที่จะตามมาของโรค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Surgical Approaches to Cholecystectomy
   Laparoscopic Approach
-Notes
-Percutaneous Cholecystostomy
-Peroral Endoscopic Gallbladder Drainage
   Transpapillary Drainage
   Transmural Drainage
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1411372

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,271 ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับวัณโรคดื้อยาหลายขนาน

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) มีผลให้การดำเนินงานควบคุมวัณโรคมีความยุ่งยากมากขึ้น โดยจะใช้เวลาในการรักษานานขึ้น จากปกติ 6 เดือน เป็น 18 – 24 เดือน และค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น จากปกติ 2,500 บาท  เป็น  80,000 – 100,000 บาท แต่ผลการรักษาหายเพียงร้อยละ 60  ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทย ร้อยละ 5 จะเป็นวัณโรคดื้อยาชนิดรุนแรง (Extensively drug resistant TB หรือ XDR-TB) ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าวัณโรคดื้อยาหลายขนานประมาณ 10 เท่า แต่ผลการรักษาหายอยู่ที่ร้อยละ 30
ปัจจุบันคาดว่ามีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานทั่วโลก 310,000 คน โดยร้อยละ 80 อาศัยอยู่ใน 27 ประเทศ องค์การอนามัยโรคคาดการว่ามีวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยจำนวน 2,190 คนเกิดขึ้นใหม่ในแต่ละปี
จากการแนะนำขององค์การอนามัยโลก ถ้าความชุกของการวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ในผู้ป่วยใหม่ในพื้นที่ใด มากกว่า 3% จะถือว่าเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ซึ่งแผนงานวัณโรคจะต้องเร่งทบทวนแนวทางปฏิบัติที่มีอยู่ว่ามีข้อบกพร่องอย่างไร และหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด

Ref: http://164.115.25.123/forecast/files/report_2014/report_2014_no22.pdf
http://www.interfetpthailand.net/forecast/files/report_2012/report_2012_11_no02.pdf

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,269 เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555

 เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2555
(Professional Standards for Medical Practitioners 2012) 

คณะกรรมการแพทยสภาได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 และได้ปรับปรุงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2536 และปี พ.ศ. 2545 เพื่อให้เหมาะกับสถาพการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีเป้าหมายให้บัณฑิตแพทย์มีความรู้ที่ทันสมัย มีความสามารถและเจตคติในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของประเทศในอนาคต และได้มีการปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมาด้วยเป้าประสงค์ที่จะตอบสนองปรัชญาการศึกษาแพทย์ศาสตร์ อันเป็นผลมาจากการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 8 ที่มุ่งเน้นการบริการศุขภาพโดยยึดประชาชนเป็๋นศูนย์กลาง ซึงคณะอนุกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากสถาบันผลิตแพทย์  แพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเกณฑ์มาตรฐาน ฯ พ.ศ. 2545


ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.tmc.or.th/pdf/00054.pdf

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,268 ลิ้นฝอยทรายและโรคลิชมาเนีย

ลิ้นฝอยทรายและโรคลิชมาเนีย
(sandfly and Leishmaniasis)
โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


ลิ้งค์ คลิก

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,267 แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน

โดยมหาวิทยาลัยบูรพา
เนื้อหาโดบยละเอียดประกอบด้วย
- โรคตับแข็ง
    การดำเนินของโรคตับแข็ง
    อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
    แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
    ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน
- ทฤษฏีระบบการพยาบาล
- พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ปวยโรคตับแข็งที่มีภาวะท้องมาน

ลิ้งค์ คลิก

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,266 คู่มือการปฐมพยาบาล ( First aid guide)

คู่มือที่เน้นโรคที่มักเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มของผู้บริหาร โรคประจำตัว ซึ่งเกิดจากภาระหน้าที่ การงานที่เครียด รวมทั้งอุบัติเหตุ เป็นการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นโดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้นในการช่วยชีวิตและลดความรุนแรงของอาการซึ่งจะส่งผลให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และสามารถป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังได้ ซึ่งผู้ที่จะช่วยเหลือต้องมีความรู้ในการปฐมพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ทำให้ตนเองได้รับการบาดเจ็บไปด้วย หรือทำให้ผู้ต้องการช่วยเหลือบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม



วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,265 Heparin-induced thrombocytopenia

Clinical practice
N Engl J Med July 16, 2015

Key Clinical Points
-ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮพาริน หรือ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) มีลักษณะคือการลดลงของเกล็ดเลือดมากกว่า 50% จากค่าสูงสุดหลังจากที่เริ่มต้นการให้ยา ระยะเวลที่เริ่มเกิดจะอยู่ที่ 5-10 วันหลังเริ่มยา, การมีภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย (hypercoagulability), การมี heparin-dependent,และการมี  platelet-activating IgG antibodies
-การใช้ระบบการให้คะแนนที่คำนึงถึงเวลาและระดับของการมีเกล็ดเลือดลดลง, การอุดตันใหม่, และความน่าจะเป็นเหตุผลอื่น ๆ ของการมีเกล็ดเลือดต่ำ จะเป็นประโยชน์ในการประเมินความน่าจะเป็น
ของ HIT
-การเกิด HIT ชนิดล่าช้า (delayed-onset HIT) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการหยุดเฮพาริน และที่เกิดขึ้นเองหรือจากภูมิคุ้มกันของตนเองในกรณีที่ไม่เคยได้รับเฮพาริน
-การตรวจ Platelet factor 4–heparin antibody tests ควรจะสั่งตรวจเฉพาะในกรณีที่ลักษณะทางคลินิกที่สนับสนุน HIT ซึ่งการตรวจานี้มีค่า negative predictive value สูง แต่ค่า positive predictive value ต่ำ
-การรักษา  HIT แบบเฉียบพลันจำเป็นต้องหยุดเฮพารินและการเริ่มให้ยาทางทางเลือกตัวอื่นๆ (ได้แก่ argatroban, danaparoid, fondaparinux หรือ bivalirudin) เพื่อให้ได้ระดับในการป้องภาวะเลือดแข็งตัวได้ง่าย
-ควรหลีกเลี่ยงยา warfarin ในผู้ป่วยที่เป็น HIT แบบเฉียบพลัน
เนื้อหาโดยนละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathogenesis
-Strategies and Evidence
   Risk of HIT
   Diagnosis
   Additional Laboratory Testing
   Treatment
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1411910

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,264 ข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา

จากข้อมูลรายงานเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบของสำนัก-ระบาดวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2553 พบว่าอัตราป่วยสูงในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 4 ปี และอัตราป่วยตายสูงในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรคระหวางปี พ.ศ. 2549-2553 โดยพบว่าผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ และผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวหรือประวัติการเจ็บป่วยในอดีตที่พบมากที่สุด  ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประวัติการเจ็บป่วยในอดีตโดยเฉพาะโรคเรื้อรังอาจทำให้เกิดความรุนแรงต่อกลุ่มเสี่ยงต่างๆของโรคปอดอักเสบได้กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ผู้สูงอายุ  ผู้ที่สูบบุหรี่ โรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ภาวะขาดอาหาร การมีโรคประจำตัว เชน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคไต  และในช่วง พ.ศ. 2549 - 2553 มีอัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 0.60 - 0.79  โดยมีอัตราส่วนของเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
อาการ/อาการแสดงที่พบในผู้ป่วยที่ได้จากการสอบสวนโรคพบว่าส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อย/หอบ ไอ ไข้ และมีเสมหะ โดยอาการเหนื่อย/หอบพบในกลุ่มที่เสียชีวิต  ร้อยละ 70.59 แต่ในกลุ่มผู้รอดชีวิต จะพบร้อยละ 45.95

Ref: สถานการณ์โรคปอดอักเสบ ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548-2553 คลิก

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,263 เวชปฏิบัติที่ดีสำหรบแพทย์

ประกาศแพทยสภา
เวชปฏิบัติที่ดีสำหรบแพทย์
เป็นเอกสารที่อธิบายถึงข้อพึงปฏิบัติของแพทย์ไทย แต่มิใช่ข้อกำหนดทางกฏหมาย ซึ่งแพทย์มีหน้าที่ทำความคุ้นเคยและปฏิบัติตามโดยใช้วิจารณญานในการประยุกต์ใช้หลักการต่างๆ เหล่านี้ ในเวชปฏิบัติอย่างเหมาะสม


วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,252 Pulmonary arteriovenous malformations

Review article
โดยจีราวัฒน์ แก้ววินัด พ.บ.
แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค  ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ระบาดวิทยา (Epidemiology)
-สาเหตุและพยาธิกำเนิด (Etiology and pathogenesis)
-พยาธิวิทยา (Pathology)
-อาการแสดงทางคลินิก (Clinical manifestations)
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลังการออกกำลังกาย (Exercise physiology)
-ภาวะแทรกซ้อน (Complications)
-การวินิจฉัย
-แนวทางการวินิจฉัย PAVM (Diagnostic approach to suspected PAVM)
-การตรวจคัดกรองสมาชิกครอบครัวที่มีประวัติ HHT
-การดำเนินโรค
-การรักษา
-การฉีดสารอุดหลอดเลือด PAVM (embolization therapy)
-การรักษาอื่นๆ

ลิ้งค์ http://www.thaichest.org/atat3/pdf/art_35_1/art_35_1_4.pdf

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,251 มิวคอร์ไมโคซิส (Mucormycosis)

Review article
โดย จารุวรรณ บุญสุข พ.บ.
แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค
ภาควิชาอายรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-บทนำ
-ระบาดวิทยา (Epidemiology)
-กลไกการเกิดโรค (Pathogenesis)
-ปัจจัยโน้มนำให้เกิดโรค (Predisposing conditions)
-อาการทางคลินิก (Clinical manifestations)
-การวินิจฉัย (Diagnosis)
-บทบาทของภาพถายทางรังสีเพื่อการวินิจฉัย (Expanding role of diagnostic imaging)
-การรักษา (Treatment)
-การรักษาอื่นๆ (Salvage therapy)
-ระยะเวลาในการให้ยาต้านเชื้อรา

ลิ้งค์ http://www.thaichest.org/atat3/pdf/art_34_4/art_34_4_3.pdf

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,250 หนังสือความรู้พื้นฐานโรคเท้าช้าง

หนังสือความรู้พื้นฐานโรคเท้าช้าง 
(ESSENTIALS OF LYMPHATIC FILARIASIS) 
ชื่อผู้แต่ง: อดิศักดิ์ ภูมิรัตน์   
อภิรดี อินทรพักตร์




วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,249 คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง

โดยลัดดา เหมาะสุวรรณ, อุไรพร จิตต์แจ้ง
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี




วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,248 Mast cells, mastocytosis, and related disorders

Review article
N Engl J Med   July 9, 2015

การวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติของแมสเซล (mast-cell disorders) มีความท้าทายเพราะความซับซ้อนของรายละเอียดอาการและการมีสภาวะต่างๆ ร่วมด้วยในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเหล่านี้
อาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของแมสเซลมีได้หลากหลายรวมถึงอาการหน้าแดง, ลมพิษ, angioedema, คัน, คัดจมูก, หายใจหอบเหนื่อย, แน่นหน้าอก, ความดันโลหิตต่ำหรือความดันโลหิตสูง, อ่อนเพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ, กระดูกพรุน, คลื่นไส้, อาเจียน ,ท้องเสีย, ปวดศรีษะไมเกรนและปัญหาทางด้านระบบประสาท  เช่นความยากลำบากในการมีสมาธิจดจ่อ, การสูญเสียความจำ, และปัญหาอื่น ๆ ทางด้านระบบประสาทและจิตเวช
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Physiology and Pathophysiology of Mast Cells
-Mast Cells and Human Disorders
-Primary Clonal Mast-Cell Disorders
-Mast-Cell Activation
-Diagnostic Tests
-Treatment Approaches
-Summary and Future Directions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1409760

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,246 แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกที่มีอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกที่มีอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 
โดยโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ



ลิ้งค์ คลิก

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,245 กฎหมายอนามัยระหว่างประเทศ

โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เป็นหนังสอชุดความรู้ในการดำเนินงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548
ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548
สำหรับผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน


วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,243 แนวทางการดูแลผู้ป่วยถ่ายเป็นเลือด (Bleeding per rectum)

โดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย 

แม้ว่าจะเป็นแนวทางของทางศัลยกรรม แต่ในการตรวจคนไข้ทางอายุกรรม หรือเวชปฏิบัติทั่วไปก็อาจจะพบผู้ป่วยซึ่งมาตรวจด้วยถ่ายเป็นเลือดได้ จึงคิดว่ามีประโยชน์อยากแนะนำครับ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-คำนำ
-การวินิจฉัย
   ประวัติ
   ตรวจร่างกายทั่วไป
   การตรวจลำใส้ใหญ่ทวารหนัก
   การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
   การตรวจพิเศษ
 -แนวทางการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด
   กลุ่มที่เลือดออกครั้งละไม่มาก  และไม่มีอาการอื่นที่รุนแรงร่วมด้วย
   กลุ่มที่ถ่ายเป็นเลือดรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,241 An integrated view of potassium homeostasis

Review article
Disorders of fluids and electrolytes
N Engl J Med  July 2, 2015

โพแทสเซียมในเลือดจะยัคงระดับปกติภายในขอบเขตที่แคบ ๆ (โดยทั่วไปคือ 3.5-5.0 มิลลิโมลต่อลิตร) โดยมีหลายๆ กลไกที่ทำให้เกิดสภาวะสมดุลโพแทสเซียม การควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการที่หลากหลายทางสรีรวิทยาที่สำคัญรวมทั้ง resting cellular-membrane potential และ propagation of action potentials ของเซลประสาท, กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อหัวใจ รวมถึงการหลั่ง-การทำหน้าที่ของฮอร์โมน, ความแข็งแรงและยืดหยุ่นของหลอดเลือด, การควบคุมระบบความดันโลหิต, การควบคุมการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร, สมดุลกรดเบส, เมตาโบลิซมของกลูโคสและอินซูลิน, การทำหน้าที่ของ mineralocorticoid, ทำหน้าที่ของไต, และะสมดุลของเหลว-อิเล็กโตไลท์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Potassium Homeostasis
-External Potassium Balance
-Internal Potassium Homeostasis
-Aberrant Potassium Homeostasis
-Renal Potassium Handling
-The Circadian Clock in Cellular Physiology
-Conclusions
-Box 1. Case 1.
-Box 2. Case 2.
-Box 3. Cases 3 and 4.
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่ฮโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1313341

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3,240 Video : basic mechanical ventilation part 1-6

โดย อ. นพ. อติคุณ ลิ้มสุคนธ์ 
หน่วยระบบทางเดินหายใจเวชบำบักวิกฤต และภูมิแพ้ 
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่