วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,588 Treatment of stable chronic obstructive pulmonary disease: the GOLD guidelines

Lee H, Kim J, Tagmazyan K 
American Family Physician
November 15 2013 Vol. 88 No. 10

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสถานบริการปฐมภูมิ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับการวินิจฉัยโดยใช้ spirometry เฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกคงที่ด้วย post bronchodilator เพื่อดูอัตราส่วนของ forced expiratory volume in one second (FEV1) / forced vital capacity ratio of (FVC) น้อยกว่า 0.70
ผู้ป่วยทุกรายที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังซึ่งสูบบุหรี่ควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบได้รับการแนะนำในผู้ป่วยทั้งหมดที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรัง
The Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease ได้แบ่งผู้ป่วยที่มีปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็น 4 กลุ่มตามระดับของการจำกัดการไหลของอากาศ คะแนนของอาการ (symptom score) และจำนวนครั้งของการกำเริบในหนึ่งปี
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่ม B, C, และ D ผู้ที่อยู่ในกลุ่ม A จะได้รับ anticholinergic ที่ออกฤทธิ์สั้น หรือ beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์สั้นสำหรับอาการที่ไม่รุนแรงไม่ต่อเนื่อง
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยหนึ่งในสูตรเหล่านี้ การรักษาด้วยยาสามชนิดโดยสเตียรอยด์ชนิดสูดดม, beta2 agonist ที่ออกฤทธฺ์ยาว และ anticholinergic ควรได้รับการพิจารณายาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกัน corticosteroids ชนิดรับประทาน ไม่แนะนำให้ใช้ในการป้องกันการกำเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การบำบัดด้วยออกซิเจนอย่างต่อเนื่องจะช่วยปรับปรุงอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจนรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรัง การผ่าตัดลดปริมาตรปอดสามารถปรับปรุงอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, ปอดอุดกั้นเรื้อรังเด่นที่กลีบปอดบนกับการกระจายตัวของถุงลมโป่งพองและขาดการยืดหยุ่น (emphysema) ที่กระจายตัวแตกต่างกัน

Ref: http://www.aafp.org/afp/2013/1115/p655.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น