วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

3,088 Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์แผนไทย 2554-2557) First Edition

Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์แผนไทย 2554-2557) First Edition 
เป็นหนังสือที่รวบรวมสถานการณ์และแนวทางการพัฒนาการแพทย์ของประเทศ


วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

3,087 Allergic rhinitis

Clinical practice
N Engl J Med January 29, 2015

-ประมาณ 15-30% ของผู้ป่วยในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นสภาวะที่มีผลต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตในเด็กและผู้ใหญ่
-มักจะพบร่วมกับโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้อื่น ๆ โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืดจะมีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้
-การให้กลูโคคอร์ติคอยด์เข้าทางจมูก จะเป็นรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ยาต้านฮิสตามีนแบบรับประทานและให้ทางจมูก รวมถึง leukotriene-receptor antagonists ต่อมา อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้รับการบรรเทาด้วยการให้ยาอย่างเพียง
-การรักษาด้วยการฉีดยาเพื่อปรับภูมิคุ้มกัน (allergen immunotherapy) ควรใช้ในผู้ป่วยที่ยังงมีอาการหรือในผู้ที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของยาได้
-ปัจจุบันมีการรักษาด้วยการฉีดยาเพื่อปรับภูมิคุ้มกันสองรูปคือ การฉีดใต้ผิวหนัและชนิดเม็ดละลายอย่างรวดเร็วเมื่ออมใต้ลิ้น ซึ่งชนิดหลังนั้ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เพื่อการรักษาโรคภูมิแพ้หญ้าและละอองเกสร (grass and ragweed allergy) ทั้งสองรูปแบบของการรักษาโดยทั่วยังคงมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องหลังจากที่หยุดการรักษา
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Diagnosis
   Treatment
   Areas of Uncertainty
   Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Key Clinical Points
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1412282

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

3,086 การใช้ Glasgow Blatchford score เพื่อประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนต้น

Glasgow Blatchford score มีการใช้เพื่อประเมิน-ทำนายความรุนแรงและความเสี่ยงในการมีเลือดออกซ้ำกันอย่างแพร่หลาย ช่วยในการตัดสินใจให้การดูแลรักษาโดยเฉพาะการตัดสินใจว่าจะต้องส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารหรือมีการรักษาใดๆ เพิ่มเข้ามา รวมทั้งสามารถช่วยในการตัดสินใจว่าจะรับผู้ป่วยไว้ในแผนกอายุรกรรมหรือศัลยกรรมได้อีกด้วย ซึ่งในบางแนวทางจะแยกโดยคะแนนที่มากกว่า 0 ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง แต่เมื่อมาดูในการศึกษานี้ซึ่งทำในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์พบว่าถ้าใช้ที่ระดับคะแนแน 0 จะมีความไว 99%, ความจำเพาะ 5.6% แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ระดับคะแนนที่ 6 ขึ้นไป จะได้ความไว 87.7%, ความจำเพาะ 25.9% ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในเชปฏิบัติ

ตารางแสดง Glasgow Blatchford score
Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด

Ref: การศึกษาวิจัย ความสัมพันธ์ของ Glasgow Blatchford Score กับผลลัพธ์ของผู้ป่วยภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบนในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

3,085 Spot diagnosis: หญิง 46 ปี มีประวัติขาข้างซ้ายบวมเมื่อ 1 ปีก่อน แต่สามเดือนที่ผ่านมามีขาขวาบวมอีก

หญิง 46 ปี มีประวัติขาข้างซ้ายบวมเมื่อ 1 ปีก่อน ขายุบบวมเกือบหมดแล้ว แต่สามเดือนที่ผ่านมามีขาขวาบวมอีก จากรูปทำให้คิดถึงอะไร?



ในภาวะที่เกิด deep venous thrombosis จะเกิดมี deep venous insufficiency ได้ โดยอาจจะมีลักษณะของ chronic leg swelling, skin hardening, postthrombotic pigmentation, skin ulcer ได้ ในผู้ป่วยท่านนี้ได้รับการการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในช่วงที่เกิดมีขาบวมทั้งสองครั้ง ผลช่วยยืนยันวามี deep venous thrombosis จริง

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

3,084 หลักการใช้ยาปฏิชีวนะในเวชปฏิบัติทั่วไป

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม หน่วยโรคติดเชื้อและระบาดวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลรามาธิบดี
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ข้อควรคำนึงถึงในการให้ยาปฏิชีวนะ
-ข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ
-ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Beta-lactams และยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน
-ยาที่ยับยั้งการสังเคราะห์สารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก
-ยาที่ขัดขวางกระบวนการแบ่งตัวและการถอดรหัสพันธุกรรม
-Empirical therapy
-เอกสำรอ้างอิง
-ตารางยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาเบื้องต้นสำหรับโรคติดเชื้อที่พบบ่อย

ลิ้งค์ Click

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

3,082 ปัจจัยที่ทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นมากขึ้น

สาเหตุจากหัวใจ (cardiac causes)
- ภาวะหัวใจเต้นเร็ว
- ภาวะหัวใจเต้นช้า
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
- โรคลิ้นหัวใจ
สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่หัวใจ (non-cardiac causes)
- ขาดการควบคุมและดูแลในเรื่องเกลือ น้ำ และยา
- ได้รับยาร่วมที่มีฤทธิ์ cardiotoxicity หรือยากลุ่ม NSAIDs, COX-2 inhibitors
- ภาวะติดเชื้อ
- การบริโภคแอลกอฮอล์เกินควร
- การทำงานของไตผิดปกติ
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
- ความดันโลหิตสูง
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- ภาวะโลหิตจาง

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

3,081 ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ในรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้อบ่งชี้ได้แก่
-มีข้ออักเสบรุนแรง คือ มีภาวะทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันหรือประกอบอาชีพได้
-ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
-ผู้ป่วยมีข้อห้ามของการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไตเสื่อม ตับเสื่อม เป็นต้น
ขนาดที่แนะนำคือ prednisolone เท่ากับหรือน้อยกว่า 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน
เมื่ออาการดีขึ้น ควรพิจารณาหยุดยาหรือลดขนาดสเตียรอยด์ลงจนเหลือขนาดต่ำสุดเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน

Ref: แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

3,080 Origins of cystic fibrosis lung disease

Review article
N Engl J Med  January 22, 2015

ในระดับพื้นฐานเราทราบกันว่า  cystic fibrosis มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เป็นโรค autosomal recessive ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนที่เข้ารหัส (gene encoding) ของ cystic fibrosis transmembrane conductance regulator (CFTR)
ในระดับคลินิก เราทราบว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังจากแบคทีเรีย, การอักเสบที่มีนิวโทรฟิวเด่นและเมือกในทางเดินหายใจ และโรคหลอดลมโป่งพองที่มีการดำเนินโรคมากจนมีลักษณะเป็น cystic fibrosis เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตมากที่สุดในผู้ที่มีเป็น cystic fibrosis
ในระหว่างทั้งสองอย่างคือ การที่การสูญเสีย CFTR-mediated chloride และ bicarbonate transport นำไปสู่การติดเชื้อทางเดินหายใจเรื้อรังยังคงมีความไม่ชัดเจน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-New Animal Models That Mirror Cystic Fibrosis in Humans
-Loss of CFTR Function and Congenital Airway Abnormalities
-Reduced Chloride Secretion, Not Sodium Hyperabsorption
-Loss of CFTR and Reduced pH of Airway-Surface Liquid
-Airway Infection Preceding Lung Inflammation
-Acidic Airway-Surface Liquid That Impairs Bacterial Killing
-Failure of Mucus to Detach from Submucosal Gland Ducts
-Additional Implications and Speculations
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1300109

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

3,079 Secondary cause of obesity

พบผู้ป่วยหญิงซึ่งอายุไม่มากและมีนำหนักมากกว่า 200 กก. ทั้งๆ ที่การปฏิบัติตัวก็เหมือนกับคนทั่วๆ ไป จึงมาทบทวนเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็น secondary cause พบว่ามีดังนี้
-Thyroid hormone (hypothyroidism)
-Polycystic ovarian syndrome (PCOS)
-Cushing's disease (hypercortisolism)
-Hypothalamic injury or disorders
-Genetic mutations
-Drug: corticosteroids, psychotropic drugs, anti-retroviral agents, thiazolidinediones
การวินิจฉัยโดยใช้ประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสาเหตุที่สงสัย

Ref: http://www.hopkinsmedicine.org/digestive_weight_loss_center/conditions/secondary_obesity.html
http://www.gpnotebook.co.uk/simplepage.cfm?ID=x20070413154642478210

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

3,078 Spot diagnosis: EKG ของผู้ป่วยหญิง 68 ปี

 EKG ของผู้ป่วยหญิง 68 ปี จังหวะหัวใจ (rhythm) ของผู้ป่วยนี้คืออะไร?

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

EKG พบมีลักษณะของ irregularity irregular ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะของ atrial flutter โดยมีสัดส่วนของ P waves ต่อ QRS complex = 2:1 และพบว่ามี QRS ที่กว้างประมาณ 130 ms. จึงมีลักษณะของ intraventricular conduction delay ร่วมด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

3,075 แนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเอชไอวี พ.ศ.2557

โดยแพทยสภา
เนื่องจากปัจจุบันมีความก้าวหน้าในทางวิชาการด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ มียาต้านไวรัสประสิทธิภาพสูงซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างพอเพียง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป โดยเฉพาะหากผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาโดยเร็วจะมีชีวิตยืนยาว สามารถป้องกันการส่งผ่านเชื้อเอชไอวีไปถึงผู้อื่นได้ และอาจมีโอกาสหายขาดได้ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างเหมาะสมตั้งแต่ตั้งแต่ระยะติดเชื้อใหม่ๆ ทำให้การวินิจฉัยการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วที่สุด มีความสำคัญต่อการดูแล รักษา ป้องกัน และการควบคุมการติดเชื้อเอชไอวี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้บุคคลทุกคนเข้าถึงการรับบริการ คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 9 /2557 วันที่ 11 กันยายน 2557 มติเห็นชอบ แนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับเอชไอวี 2557 เพื่อให้คนทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึงบริการการตรวจและรักษาการติดเชื้อเอชไอวี โดยไม่จำกัดอายุ 

โดยมีรายละเอียดตามลิงค์ด้านล่างนี้
Click

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

3,074 Spot diagnosis: ชาย 36 ปี เป็นโรคสะเก็ดเงิน รับการรักษาต่อเนื่อง แต่พบว่ามีตุ่มขึ้นที่บริเวณหลังดังภาพ

ชาย 36 ปี เป็นโรคสะเก็ดเงิน รับการรักษาต่อเนื่อง แต่พบว่ามีตุ่มขึ้นที่บริเวณหลังดังภาพ จากรอยโรคคิดถึงอะไรและจะให้การรักษาอย่างไร?


ขอขอบคุณสำหรับคำตอบที่ร่วมเรียนรู้ครับ
ผู้ป่วยรักษาสะเก็ดเงินโดยมียา methotrexate และ prednisolone และ topical steroid cream จากข้อมูลทำให้คิดถึง steroid acne เป็นการอักเสบของรูขุมขนจากการใช้สเตียรอยด์อาจจะจากในรูปรับประทานหรือทาเฉพาะที่ โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้ตั้งแต่ขนาดปานกลาง (moderate dose) ขึ้นไป และใช้ติดต่อกัน
เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ มีลักษณะเป็นผื่นนูนคล้ายสิว มักเกิดที่บริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง แขน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ
1. Acne vulgaris
2. Malassezia folliculitis
การรักษาคือ ถ้าเป็นไปได้ควรหยุดยาสเตียรอยด์ และให้รักษาตามชนิดรูปของ steroid acne ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

3,073 Multiple-system atrophy

Review article
N Engl J Med   January 15, 2015

Multiple-system atrophy ที่เริ่มมีอาการในผู้ใหญ่ ( adult-onset) เป็นโรคของทางระบบประสาทที่ทำให้เสียชีวิตเนื่องจากมีลักษณะการล้มเหลวของระบบประสาทอัตโนมัติที่มีการดำเนินอย่างอย่างรวดเร็วโดยมีลักษณะ Parkinsonian, ความผิดปกติของ cerebellar และ  pyramidal ที่มีลักษณะร่วมกันอย่างหลากหลาย โดยโรคนี้ถูกจัดเป็น parkinsonian subtype ถ้าพาร์กินโซนิซึม (parkinsonism)
เป็นลักษณะที่โดดเด่น และเป็น subtype ถ้า cerebellar เป็นลักษณะที่โดดเด่น ด้วยการมีลักษณะทางคลินิกที่หลากหลาย multiple-system atrophy มีความท้าทายในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในระบบประสาทวิทยา แต่ยังรวมถึงระบบเฉพาะอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ระบบหัวใจ, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินปัสสาวะ, โสตศอนาสิกและวิชาการแพทย์ด้านการนอนหลับ แม้จะมีการดำเนินโรคที่เร็วกว่าในระบบประสาทสั่งการ โรคนี้ยังอาจจะคล้ายกับเป็นโรคพาร์กินสันหรือ late-onset cerebellar ataxia ที่ไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งการดำเนินโรคเป็นมากแล้ว

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiologic Features
-Causes
-Neuropathological Features
-Pathogenesis
-Clinical Presentation
   Motor Features
   Nonmotor Features
   Disease Progression and Prognosis
-Diagnosis
   Clinical Diagnostic Criteria
   Ancillary Investigations
-Principles of Therapy
   Symptom Management
-Toward Disease Modification
-Source Information

ลิ้งค์และอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1311488

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

3,072 หนังสือข้อเข่าเสื่อม

โดยสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำจำกัดความโรคข้อเข่าเสื่อม
-ระบาดวิทยา
-ลักษณะปกติของกระดูกข้อต่อของข้อเข่า
-เข่าทำไมถึงเสื่อม
-ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม
-การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม
-การรักษา
   การรักษาโดยวิธีไม่ใช้ยา
   การรักษาโดยใช้ยา
   การรักษาโดยการผ่าตัด
-การป้องกันข้อเข่าเสื่อม


ลิงค์ คลิก

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

3,071 คู่มือองค์ความรู้เรื่องโรคในผู้สูงอายุสำหรับบุลลากรสาธารณสุข

โดยสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-โรคสมองเสื่อม
-โรคซึมเศร้า
-ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ
-ความผิดปกติของการนอนหลับในผู้สูงอายุ
-ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
-โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ
-โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
-โรคข้อเข่าเสื่อม


ลิ้งค์ คลิก

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

3,070 คู่มือ NCD

เป็นเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวกับ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable disaese, NCD) ซึ่งเป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตสูง อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง เนื้อหาน่าสนใจ สามารถนำมาใช้ในเวชปฏิบัติและการ
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย และญาติที่ดูแล
โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

3,069 การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Literature Review: The current situation and care model of non-communicable diseases
โดยสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

3,068 แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย

แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย Clinical practice guidelines for diagnosis and management of thalassema syndromes)
โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติมหาราชินี


วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

3,067 Spot diagnosis: EKG ของผู้ป่วยหญิงสูงอายุที่ซึมลง ก่อนจะเกิด cardiopulmonary arrest

EKG ของผู้ป่วยหญิงสูงอายุที่ซึมลง ก่อนจะเกิด cardiopulmonary arrest, จาก EKG นึกถึงภาวะใด จะให้การดูแลรักษาอย่างไร?


พบว่า EKG มีลักษณะ QRS กว้าง T wave สูงและแหลม P wave หายไป และพบว่า K = 8.6 mmol/L ดังนั้น EKG นี้จึงเป็นลักษณะของ hyperkalemia


วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

3,066 Complicated grief

Clinical practice
N Engl J Med  January 8, 2015

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-The Clinical Problem
    Bereavement and Grief
    Acute Grief
    Adaptation to Loss
    Complicated Grief
-Strategies and Evidence
    Evaluation and Diagnosis
    Risk Assessment
-Management
    Psychotherapy
    Pharmacotherapy
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information

Key Clinical Points
-ภาวะความโศกเศร้าแบบซับซ้อน (complicated grief) เป็นความผิดปกติอย่างรุนแรงและเป็นระยะเวลานานที่พบได้ไม่บ่อย และบั่นทอนการหน้าที่และการทำงานอย่างรุนแรง
-ลักษณะอาการได้แก่ ความโศกเศร้าโหยหาที่รุนแรง, ความปรารถนา หรือความเจ็บปวดทางอารมณ์ความคิด,  โดยมักจะคิดเห็นและระลึกความทรงจำของคนที่จากไป, เป็นความรู้สึกไม่เชื่อหรือไม่สามารถที่จะยอมรับการสูญเสีย และความยากลำบากในการจินตนาการถึงอนาคตโดยไม่มีคนที่จากไป
-ภาวะความโศกเศร้าแบบซับซ้อนเกิดขึ้นประมาณ 2-3% ของประชากรทั่วโลกและมีแนวโน้มมากขึ้นหลังจากการสูญเสีบุตรหรือคู่ชีวิตและหลังการเสียชีวิตอย่างกะทันหันรุนแรง
-การทดลองสุ่มแบบควบคุมให้การสนับสนุนถึงประสิทธิภาพของ targeted psychotherapy ต่อภาวะนี้ ร่วมกับกลยุทธ์ในการยอมรับการสูญเสียและการฟื้นฟูความรู้สึกของความเป็นไปได้ของความสุขในอนาคต
-การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ จิตบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ของ เช่นเดียวกับยายาต้านซึมเศร้า แม้ว่าการใช้ยาสำหรับภาวะนี้จะยังไม่ได้รับการศึกษาในการทดลองแบบสุ่ม

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1315618

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

3,065 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัดและได้รับพิษจากสัตว์

โดย คลินิกพิษจากสัตว์ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 งูพิษที่สำคัญในประเทศไทย และวิธีแยกระหว่างงูพิษ และงูไม่มีพิษ
บทที่ 2 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัด
บทที่ 3 การดูแลรักษาและป้องกันการได้รับผิดจากสัตว์ที่มีความสำคัญทางการแพทย์
บทที่ 4 ข้อพิจารณาเป็นพิเศษในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่ถูกงูกัด
บทที่ 5 ปัญหาที่พบบ่อยในการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูกัด



วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

3,064 หนังสือเรื่อง ผู้หญิง สารเสพติด และการตั้งครรภ์

เป็นองค์ความรู้เพื่อให้บุคลากรสุขภาพหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการให้ความรู้และแนะนำได้ ขณะเดียวกันหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว จะได้มีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงปัญหาและสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และเด็กได้


วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

3,063 สุขภาพอนามัย ของผู้ทำงานกับคอมพิวเตอร์

โดยกองอาชีวอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงาน VDTs
บทที่ 2 ปัญหาความเมื่อยล้า สาเหตุและมาตรการป้องกัน
บทที่ 3 การบริหารจัดการ
บทที่ 4 เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย


วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

3,062 คู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน

จัดทำโดยคณะกรรมการจัดทำคู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน
ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน
บทที่ 2 การตรวจวเคราะห์ฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ
บทที่ 3 การแปลผลการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ทางห้องปฏิบัติการ
ภาคผนวก ตารางผลการตรวจทางโลหิตวิทยาเบื้องต้น ในพาหะและผู้ป่วยธาลัสซีเมยชนิดต่างๆ

ลิงค์ http://webdb.dmsc.moph.go.th/thalassemia/Hb_Manual_2010.pdf

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

3,061 แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ

โดยศูนย์มะเร็งลพบุรี  
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความสำคัญและวัตถุประสงค์
-แผนภูมิแสดงแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและคอ ศูนย์มะเร็งลพบุรี
-ขั้นตอนการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและคอ
ก. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งศีรษะและคอ
Oral Cavity
Oropharynx
Nasopharynx        
Hypopharynx        
Glottic        
Supraglottic        
ข. แนวทางการให้คำปรึกษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ
ค. แนวทางการดูแลด้านทันตกรรมผู้ป่วยรังสีรักษา บริเวณช่องปาก ศีรษะและคอ
ง. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาโดยสหสาขาวิชาชีพ
 จ. แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับเคมีบำบัดโดยสหสาขาวิชาชีพ
ฉ. แนวทางการดูแลความเสี่ยงที่สำคัญในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษาและ / หรือ ยาเคมีบำบัด
 ช. แนวทางการตรวจติดตามการรักษาผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ
-ภาคผนวก

ลิ้งค์ Click

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

3,060 การคำนวณปริมาตรของก้อนเลือดในสมองจากภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

สูตรคือ  ปริมาตรก้อนเลือด (หน่วยเป็น ml) = 0.5 x กว้าง  x ยาว  x สูง (หน่วยเป็น cm)
ซึ่งกว้างและยาว วัดได้จาก scale ในภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยวัดจาก cut ที่ก้อนเลือด diameter กว้างที่สุด    
ส่วนความสูงคำนวณได้จากการนับจำนวน cut ใน film CT ที่พบมีเลือดออก โดยมีหน่วยเป็น  1 cm เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีเลือดออกดังในภาพด้านล่าง
ซึ่งเราสามารถวัดความกว้างและความยาวได้จากภาพคือ 1.887 cm. x 3.801 cm.
ส่วน CT นี้ตัด cut ละ 0.3 cm. (ความถี่ห่างของแต่ละภาพจะแตกต่างกันไป) เราตรวจดูพบว่ามีเลือดออกทั้งหมด 9 cut ก็เท่ากับ 2.7 cm.
นำมาคำนวน = 0.5 x 1.887 x 3.801 x 2.7 = 9.68 ml.

Ref: https://sites.google.com/site/neurosun/neurosurgeryemergencyforinternshippart7

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

3,059 Disorders of plasma sodium — causes, consequences, and correction

Review article
Disorder of fluid and electrolytes
N Engl J Med January 1, 2015

เซลล์ของมนุษย์อาศัยอยู่ท่ามกลางน้ำและเกลือ ความเป็นอยู่ขึ้นอยู่กับความสามารถของร่างกายในการควบคุมเกลือ (ความเค็ม) ของของเหลว โดยการควบคุมการน้ำที่เข้าสู่ร่างกายและการขับน้ำออก ระบบการควบคุมออสโมติก (osmoregulatory) โดยปกติจะป้องกันไม่ให้ความเข้มข้นของโซเดียมในพลาสม่าอยู่นอกช่วงปกติ (135-142 มิลลิโมลต่อลิตร) ความล้มเหลวของระบบการเพื่อที่จะควบคุมภายในให้อยู่ในช่วงนี้ก่อให้เกิดเซลล์มีภาวะ hypotonic หรือ hypertonic stress ซึ่งในบทความนี้นี้จะพิจารณาสาเหตุและผลกระทบของความผิดปกติของเข้มข้นของโซเดียมในพลาสมาและนำเสนอกรอบในการแก้ไข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Plasma Sodium Concentration and Extracellular Tonicity
-Plasma Sodium Concentration and The electrolyte and Water Content of the Body
-Plasma Sodium Concentration and Tonicity Balance
-Sodium and the Blood–Brain Barrier
-Regulation of the Plasma Sodium Concentration
-Urinary Sodium and the Plasma Sodium Concentration
-Causes of Rapid Changes in the Plasma Sodium Concentration
-Consequences of an Abnormal Plasma Sodium Concentration
-Conclusions
-Source Information
-Correction of an Abnormal Plasma Sodium Concentration

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1404489