วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

1,775 แนวทางเวชปฏิบัติ โรคพิษสุนัขบ้า ฉบับปรับปรุง ปี 2555


โดยกลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน สำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


1,774 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย Unstable Angina/ Non–ST-Elevation Myocardial Infarction

ปรับปรุงมาจาก ACCF/AHA guideline ปี 2007และ ACC/AHA focused update ปี 2011
โดย American College of Cardiology Foundation and American Heart Association



1,773 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย atrial fibrillation


ปรับปรุงมาจาก ACCF/AHA/HRS focused updates ปี 2011 และ ACC/AHA/ESC guidelines ปี 2006
โดย American College of Cardiology Foundation และ American Heart Association


วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

1,772 HAS-BLED bleeding risk score

แนวทางของ ESC แนะนำให้ประเมินความเสี่ยงในการมีเลือดออกจากการได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในผู้ป่วย atrial fibrillation ถ้าพบว่ามีคะแนนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเลือดออก โดยเฉพาะการมีเลือดออกในสมองซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งต้องให้ความระมัดระวังและติดตามใกล้ชิดในการใช้ยา
โดยประเมินจาก 
-H: Hypertension (SBP มากกว่า 160 mmHg)   = 1 คะแนน
-A: Abnormal renal function (ได้รับการฟอกไตแบบถาวรหรือการปลูกถ่ายไตหรือ Cr 200 μmol/L ( มากกว่า ~2.3 mg/dL) = 1 คะแนน
     Abnormal liver function  (มีโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง หรือผลตรวจทางชีวเคมีพบหลักฐานของการมีความผิดปกติอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น bilirubin มากกว่า 2 เท่าของค่าปกติที่สูงสุด, การมี  AST/ALT/ALP มากกว่า 3 เท่าของค่าปกติที่สูงสุด)  = 1 คะแนน
-S: Stroke (มีประวัติเคยมีโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน)  = 1 คะแนน
-B: Bleeding (มีประวัติเลือดออกรุนแรง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หรือมีภาวะซีด)  = 1 คะแนน
-L: Labile INRs (หมายถึง INRs ไม่คงที่/สูง หรือไม่ได้ระดับในระยะเวลานาน (เช่น น้อยกว่า 60% ของระยะเวลาที่ควรจะได้ระดับ)  = 1 คะแนน
-E: Elderly (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี)  = 1 คะแนน
-D: Drug Therapy (มีการใช้ยา เช่น antiplatelet agents, NSAID's)  = 1 คะแนน
      Alcohol intake (ดื่มสุราตั้งแต่ 8 ดริ้งขึ้นไป/สัปดาห์)  = 1 คะแนน
โดยการใช้ HAS-BLED bleeding risk score ร่วมกับ CHA2DS2-VASc Score ในการประเมินการใช้และความเสี่ยงในการมีเลือดออก
และจากการประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์มาก็มีการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

1,771 Bariatric surgery versus intensive medical therapy in obese patients with diabetes

Original article 
N Engl J Med   April 26, 2012

เป็นการศึกษาแบบ randomized, nonblinded ที่ทำในสถาบันเดียว เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาแบบเข้มข้นเพียงอย่างเดียวเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาร่วมกับการผ่าตัด Roux-en-Y gastric bypass หรือการผ่าตัด sleeve gastrectomy ในผู้ป่วยโรคอ้วน 150 คน ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ โดยมีจุดหมายคือให้ระดับ HbA1c เท่ากับหรือน้อยกว่า 6 % ภายหลังรักษา 12 เดือน แต่มี 93 % ที่สามารถทำการศึกษาได้จนครบตามเวลา 12 เดือน
ผลการศึกษาพบว่า 
การควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้นในทั้งสามกลุ่ม การให้ยาร่วมกับการผ่าตัดสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีกว่าการใช้ยาอย่างเดียว โดยในผู้ที่ใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียวประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ 12%, ในผู้ที่ทำ gastric bypass ร่วมด้วยสำเร็จ 42 % ในผู้ที่ทำ sleeve-gastrectomy ร่วมด้วยสำเร็จ 37 % โดยการลดลงของ HbA1c พบว่าลดลงมากกว่าในกลุ่ม gastric-bypass และ sleeve-gastrectomy ตามลำดับ และการลดลงของน้ำหนักก็ให้ผลคล้ายกันคือ ลดลงมากกว่าในกลุ่ม gastric-bypass และ sleeve-gastrectomy ตามลำดับ และพบว่า The index for homeostasis model assessment of insulin resistance (HOMA-IR) ดีขึ้นในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดร่วมด้วยทั้งสองกลุ่ม  และผู้วิจัยได้ให้ความเห็นว่าการศึกษาเพิ่มมีความจำเป็นเพื่อยืนยันผลการศึกษาในครั้งนี้


Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1200225

1,770 Update on subclinical hyperthyroidism

American Academy of Family Physicians
Braunstein G D, Donangelo I 
April 15 2011 Vol. 83 No. 8


Subclinical hyperthyroidism คือการตรวจไม่พบหรือการมี TSH ต่ำ โดยมี FT3 และ total หรือ FT4 ปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการผลิตของฮอร์โมนธัยรอยด์มากขึ้นจากภายในร่างกายเอง (เช่นใน  Graves disease หรือ toxic nodular goiter) หรือจากการให้ไทรอยด์ฮอร์โมนในการรักษามะเร็งของต่อมไทรอยด์หรือการให้ธัยรอยด์ฮอร์โมนที่มากเกินไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
อัตราการดำเนินไปสู่ hyperthyroidism เต็มขั้นจะสูงกว่าในผู้ที่มีการกดระดับ TSH จนตรวจไม่พบเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีแต่อยู่ในระดับต่ำ 
Subclinical hyperthyroidism มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเกิด atrial fibrillation ในผู้สูงอายุ และการมีความหนาแน่นของกระดูกในสตรีวัยหมดประจำเดือนลดลง แต่ประสิทธิภาพของการรักษาเพื่อให้การป้องกันโรคนี้ไม่เป็นที่รู้ทราบชัดเจนนัก 
มีหลักฐานที่มีคุณภาพจำนวนน้อยที่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่าง subclinical hyperthyroidism และผล
กระทบต่อหลอดเลือดหัวใจอื่น ๆ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการเต้นหัวใจและมวลของหัวใจห้องล่างซ้าย และการเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของการหมุนเวียนของกระดูก (bone turnover)
แต่มีความสัมพันธ์ที่อาจเป็นไปได้ระหว่าง subclinical hyperthyroidism และคุณภาพชีวิต การรับรู้ และการเพิ่มขึ้นของอัตราตาย แต่ทั้งก็ยังไม่มีข้อยุติ การศึกษาแบบ prospective randomized controlled trials มีความจำเป็นเพื่อที่จะดูผลของการรักษาต่อแนวโน้มของความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นเพื่อช่วยกำหนดว่าการตรวจคัดกรองควรจะแนะนำในประชากรทั่วไปที่ไม่มีอาการหรือไม่


อ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0415/p933

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

1,769 การศึกษาเรื่องการใช้ compression ultrasonography ในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดที่สงสัย DVT

A single compression ultrasound might safely rule out DVT in pregnant patients
จาก  British Medical Journal
และ Journal watch


เนื่องจากการตั้งครรภ์เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดดํามีการอุดตันจากลิ่มเลือด (venous thromboembolism) และหญิงตั้งครรภ์มักจะมีอาการที่คล้ายการเกิดหลอดเลือดดําส่วนลึกมีการอุดตัน (deep vein thrombosis, DVT) คือ ปวด บวม และกดเจ็บที่ขา ทำให้ระดับความสามารถในการสงสัยและความถูกต้องจากการตรวจร่างกายลดลง การวินิจฉัยผิดพลาดอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่นการได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดโดยไม่จำเป็น เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หรือผลลบลวงอาจทำให้ได้รับผลแทรกซ้อนต่อชีวิตจากการมีการอุดตันของหลอดเลือด แต่การตรวจวินิจฉัยบางอย่างไม่เหมาะสม เช่น ทารกอาจได้รับรังสี ส่วน D-dimer มักจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงตั้งครรภ์และลงลงในระหว่างสัปดาห์แรกหลังคลอด
จากการศึกษาแบบไปข้างหน้าในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดจำนวน 226 คน ที่ได้รับการส่งต่อมาเนื่องจากสงสัยว่าจะมีภาวะ DVT โดย 16 ถูกตัดออกเพราะสงสัยว่าจะมีการเกิด pulmonary embolism และอีก 22 คน จาก 210 คนที่เหลือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น DVT (10.5%) และมีอีกบางส่วนถูกตัดออก จนมีผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ของการศึกษา 177 คน ซึ่งได้รับการทำอัลตร้าซาวด์โดยวิธีการกดที่หลอดเลือด (compression ultrasonography) เป็นจำนวน 1 ครั้ง โดยตรวจพบว่ามี 2 คน (1.1%) ที่เกิด DVT ระหว่างการติดตามในช่วงเวลา 3 เดือน
ซึ่งจากการศึกษาพบว่าอัตราของการเกิด DVT หลังการทำ compression ultrasonography ดังกล่าวไม่แตกต่างจากอุบัติการในหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์คือ 1.3% ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการตรวจโดยวิธี compression ultrasonograph เพียงครั้งเดียวอาจจะมีความเพียงพอในการตัดภาวะ DVT ออกได้
แต่ในบทสรุปได้กล่าวว่า เนื่องจากมีข้อจำกัดของการศึกษา (อ่านรายะเอียดต่อตามลิ้งค์) จึงไม่อาจยืนยันผลการศึกษาได้อย่างมั่นใจ จึงควรจะมีการศึกษาเพื่อยืนยันผลนี้และประเมินวิธีการนี้ร่วมกับการประเมินความเป็นไปได้ทางคลินิกและการตรวจวัด D-dimer


Ref: http://www.bmj.com/content/344/bmj.e2635
http://firstwatch.jwatch.org/cgi/content/full/2012/425/2

1,768 แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ใหญ่และเด็ก พ.ศ.2555

บรรณาธิการ: 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ คณิตทรัพย์
ศาสตราจารย์คลินิกแพทย์หญิงมุกดา หวังวีรวงศ์
จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย: 
สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย

Link download:

1,767 The incremental relation between fasting glucose and glycosylated hemoglobin

จาก National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine
และ Journal watch, medicine that matters


บางครั้งผลของ HbA1c ดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วย ในการศึกษานี้ผู้วิจัยจึงพยายามที่จะตรวจสอบว่า เชื้อชาติ ลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือการรับประทานยาจะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง HbA1c และระดับน้ำตาลในพลาสมาหลังงดอาหาร (FPG) หรือไม่
โดยกลุ่มที่ศึกษามีจำนวน 12,500 คนจากทั่วโลก โดยเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ผู้มีภาวะ impaired glucose tolerance หรือ impaired fasting glucose ซึ่งยังไม่ได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน
ผลการศึกษา
-ที่ระดับ FPG ในช่วงระหว่าง 100 -162 mg/dL พบว่า FPG ที่เพิ่มขึ้น 18 ในมิลลิกรัม/เดซิลิตร มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับ HbA1c เฉลี่ย 0.43 % ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ประทานยา และ 0.26 % ในผู้ป่วยที่ได้รับประทานยา
-ที่ระดับ FPG มากกว่า 162 FPG พบว่า FPG ที่เพิ่มขึ้นจาก 18 ในมิลลิกรัม/เดซิลิตร มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับ HbA1c เฉลี่ย 0.21% ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ประทานยา และ 0.10 % ในผู้ป่วยที่ได้รับประทานยา
ในบทสรุปกล่าวว่า
มีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากระหว่าง HbA1c และ FPG ในภาวะที่ไม่สามาถควบคุมระดับน้ำตามได้ในระดับปานกลาง (FPG 100 -162 mg/dL) โดยไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์ แต่เป็นผลจากความสัมพันธ์ที่เกิดจากการรับประทานยา (และให้ข้อมูลเพิ่มว่า ไม่มีผลกระทบจากชนิดยาที่รับประทาน (metformin หรือ sulfonylurea)
ในหัวข้อความเห็นได้กล่าวไว้ว่า เราทราบว่า HbA1c ได้รับผลจากโครงสร้างเฮโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง อายุเม็ดเลือดแดง และการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด การศึกษานี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม ว่าเมื่อ FPG เพิ่มขึ้นมากกว่า 162 mg / dL HbA1c มิได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากมาย เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของ FPG ในช่วงที่ต่ำกว่านี้ และที่ระดับใดก็ตามของ FPG พบว่า HbA1c มีแนวโน้มที่จะลดลงในผู้ป่วยที่รับประทานยาเมื่่อเปรียบเทียบกับการไม่ได้รักษา และสุดท้าย ได้ทราบว่าผลการวิจัยเหล่านี้นำไปใช้กับระดับน้ำตาลขณะอดอาหารและไม่สามารถใช้กับค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาล 24 ชั่วโมง

Ref: http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/426/2
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22323416?dopt=Abstract

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

1,766 Insulin-pump therapy for type 1 diabetes mellitus

Clinical Therapeutics
N Engl J Med April 26, 2012

National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE) แนะนำการใช้อินซูลินปั้ม (insulin pump) ในการรักษาผู้ป่วยผู้ใหญ่ ในกรณีที่ได้พยายามอย่างที่สุดในการควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมายด้วยการฉีดอินซูลินวันละหลายครั้งแล้ว, มีการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถแก้ไขได้, HbA1C ยังคงมากกว่าหรือเท่ากับ 8.5 % และสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปีเมื่อการฉีดอินซูลินวันละหลายครั้งต่อวันได้รับการพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ
โดยในแนวทางการใช้อินซูลินปั้มจากสมาคมความรู้โรคเบาหวานของอเมริกัน (American Association of Diabetes Educators) จะสังเกตว่าจะมีการรวมเอาภาวะที่มีการขึ้นลงของระดับน้ำตาลบ่อยและไม่สามารถทำนายผลได้ และการรับรู้ของผู้ป่วยว่าการรักษาเบาหวานจะไม่สามารถเข้าสู่เป้าหมายของผู้ป่วยเองและของผู้ที่ให้การรักษา เป็นเกณฑ์การในการเริ่มการใช้อินซูลินปั้มด้วย และแนวทางอื่นๆ ได้กล่าวถึงข้อบ่งชี้ที่คล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตามหลายคนเห็นว่าตัวชี้วัดเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวกำหนดและเชื่อว่าควรจะใช้เกณฑ์นี้เฉพาะในกรณีที่มีหลักฐานยืนยันหนักแน่นว่ามีการเชื่อมโยงกับการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือน้ำตาลในเลือดต่ำ
เนื้อหาโดบละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Pathophysiology and Effect of Therapy
Clinical Evidence
Clinical Use
Adverse Effects
Areas of Uncertainty
Guidelines
Recommendations
Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1113948

นำเสนอผลการศึกษาวิจัย การเข้าสืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ครับ

วันนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยเสร็จเรียบร้อยด้วยความราบรื่น และขอขอบคุณราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ อาจารย์ผู้ดำเนินรายการ ผู้ที่เข้ารับฟัง ตากล้องที่ช่วยเก็บภาพให้ จึงขอนำบทคัดย่อมาลงไว้ เพราะเป็นข้อมูลจากการสอบถามผ่านผู้ที่เข้ามาสืบค้นในเว็บไซต์นี้ (ซึ่งต้องขอขอบคุณอีกครั้งที่ช่วยตอบ แบบสอบถามจนการศึกษาวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี) และเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการศึกษาให้ทราบด้วยครับ

Results of Medical Information Development by Online Technology
Background:  The development of a medical website - Phimaimedicine.blogspot.com (now: Phimaimedicine.org) - has been created to provide medical knowledge and information for physicians and public health personnel. With the continuous increase of website visitors and page viewers, a research 
study was conducted for the rate of using website, characteristics of website visit, advantages, 
and applications, including suggestions and opinions for the website.  
Methods:  The collection of statistics was done from the website - Histats.com - during  the 
first year of  study (September 2009 - August 2010) compared with the second year 
(September 2010 - August 2011) among website visitors and page viewers. Also, a 
descriptive study was performed by using questionnaires during September 2011.  
Results:  There were a total of 50,231 website visitors and 99,059 page viewers in the first 
year, with an increasing number to 225,545 website visitors (449%) and 355,776 page 
viewers (359%) in the second year. The results showed a good level of satisfaction (84.86 %),
with great advantages of medical website for all investigation (mean=3.98) including  
manuals and guidelines for patient diagnosis/management, better knowledge for teaching and 
research, believable, full references, and continually updated. Importantly, the website was 
praised as a good source of continuous medical information, interesting, and thankful for 
website creating, However, it was advised to set the category by subject, enhance some 
contents, add tools for easy search, and continually update website.  
Conclusion:  The medical website - Phimaimedicine.blogspot.com – continually has an 
increasing number of website visitors and page viewers following the high level of 
satisfaction as an advantage medical website, good level for all investigation including 
manuals and guidelines for patient diagnosis/management, better knowledge for teaching and 
research, believable, full references, and continually updated. If the development is 
continued, it will be an advantage website for physicians, public health personnel and general 
public as a whole.  

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

# ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัย และมาเป็นกำลังใจ #


เนื่องด้วยผมได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับวิจัยเรื่อง
ผลของการพัฒนาการให้ข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเทคโนโลยีออนไลน์
(Result of development medical information by technology online)
เป็นการศึกษาอัตราการใช้ข้อมูลทางการแพทย์ออนไลน์ ประโยชน์ รวมถึงข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นอันหลากหลายต่อเว็บไซต์นี้ (http://www.phimaimedicine.org/)
เผื่อผู้อ่านท่านใดที่ไประชุมวิชาการประจำปีราชวิทยาลัยอายุรแพทย์และสนใจ หรือจะไปเป็นกำลังใจให้ สามารถเข้าร่วมได้ ในวันที่ 26 เมษายน นี้ เวลา 13.00 น. (ผมนำเสนอเวลา 13.10 น. ซึ่งเป็นการเลื่อนเวลาขึ้นจากกำหนดเดิมเล็กน้อย) ที่ห้องประชุมบางละมุง โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียนครับ

1,765 Severe muscle wasting increases mortality risk in patients with cirrhosis

จาก Journal watch, medicine that matters
การศึกษาวิจัยแบบ prospective cohort study ในผู้ป่วยโรคตับแข็ง 112 คน (ชาย 70%, อายุเฉลี่ย 54 ปี) ได้รับการประเมินเพื่อการปลูกถ่ายตับ คะแนนเฉลี่ยของ Model for End-stage Liver Disease (MELD) คือ 13 และ 89 % ของผู้ป่วยถูกแบ่งออกได้เป็น Child-Pugh Class B หรือ C
สาเหตุของโรคตับแข็งได้แก่ ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสซี (29%), แอลกอฮอล์ (22%) และโรคของภูมิต้านทานต่อตนเอง (19%) ผู้วิจัยใช้การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่กระดูกเอวระดับที่สาม (L3)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการในการปลูกถ่ายตับ เพื่อตรวจสอบดัชนีกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle index, SMI) ที่ระดับ L3, ภาวะที่มีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (sarcopenia) นิยามคือการมีระดับมวลกล้ามเนื้อต่ำ โดย SMI เท่ากับ 52.4 cm2/m2 สำหรับผู้ชาย และ 38.5 cm2/m2 สำหรับผู้หญิง

ค่าเฉลี่ย (mean) SMI คือ 51 cm2/m2. ความชุกของการเกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อคือ 40% โดยมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ชายมากกว่า (p <0.001) และมีดัชนีมวลกายต่ำ (P = 0.003) สูงกว่าผู้ที่ไม่มีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับทั้ง Meld และ Child-Pugh scores ในการวิเคราะห์หลายตัวแปร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นอิสระกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตคือการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (hazard ratio, 2.21, P = 0.008), Child-Pugh score (HR, 1.85; P=0.04), และ MELD score (HR, 1.08; P=0.001) โดยผู้ป่วยที่มีที่มีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะดังกล่าว (p = 0.02)

อ้างอิง http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2012/323/2

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555

1,764. Early recognition of the 2009 pandemic influenza A (H1N1) pneumonia by chest ultrasound

Critical Care
Published: 17 February 2012
ลักษณะทางคลินิกของการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1N1) มีตั้งแต่การติดเชื้อโดยไม่มีไข้จนถึงการเกิดปอดอักเสบที่มีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว การให้การวินิจฉัยให้ได้โดยทันทีได้รับการแนะนำว่าเหมาะสม การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (CXR) มักจะไม่สามารถตรวจหาในช่วง early interstitial stage
การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วย 89 คน ที่มาห้องฉุกเฉินด้วยกลุ่มอาการของไข้หวัดใหญ่ (influenza-like symptoms) โดยตัดบางคนที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขออก มีการใช้ข้อมูลประวัติทางคลินิก การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ทำ CT scan ถ้ามีข้อบ่งชี้เพื่อการวินิจฉัย
ตรวจอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เพื่อค้นหา interstitial syndrome, alveolar consolidation, pleural line abnormalities และ pleural effusion พบว่า 34 คนได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าเป็นปอดอักเสบ โดยในจำนวนนี้ 16 คนมี CXR ในช่วงแรกปกติ และอีก 33 คนไม่มีปอดอักเสบ ซึ่งถือเป็นกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษา จากการทำอัลตร้าซาวด์พบความผิดปกติว่าเป็นปอดอักเสบ 32/34 คน (94.1%) พบลักษณะ interstitial syndrome 15/16 คนในกลุ่มของผู้ที่มี CRX ปกติในช่วงแรก โดยพบว่า 10 คน (62.5%) พบการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายว่าเป็นปอดอักเสบ(H1N1) พบว่าในกลุ่มผู้เป็นปอดอักเสบและพบว่ามี CRX มีความผิดปกติตั้งแต่แรกมีเพียง 4 คน ที่การวินิจฉัยขั้นสุดท้ายเป็นปอดอักเสบ (H1N1) (22,2%, p <0.05) โดยส่วนใหญ่รูปแบบของอัลตร้าซาวด์เป็นแบบ alveolar consolidation
และท้ายสุด การตรวจอัลตร้าซาวด์พบลักษณะ interstitial syndrome พบได้ 5/33 คน (15.1%) ของกลุ่มควบคุม ผมลบลวงพบ 2/34 คน (5.9%) และผลบวกลวง 5/33 (15.1%) โดยมีความไว 94.1% ความจำเพาะ 84.8%, positive predictive value 86.5% และ negative predictive value 93.3%.
ในหัวข้อความเห็นกล่าวไว้ว่า การทำอัลตร้าซาวด์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยปอดอักเสบในแผนกฉุกเฉิน และมีความถูกต้องในการตรวจหาปอดอักเสบจาก H1N1 ที่ผล CXR ในช่วงแรกปกติ จึงอาจพิจารณาเพื่อทำเป็นประจำในการตรวจรักษาผู้ป่วย

อ้างอิงและอ่านต่อ http://ccforum.com/content/16/1/R30/abstract

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

1,763 Medical management of stable coronary artery disease

American Academy of Family Physicians
April 1 2011 Vol. 83 No. 7

ผู้ป่วยทุกรายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจชนิดคงที่ (stable coronary artery disease) ต้องการการดูแลรักษาเพื่อป้องกันการดำเนินของโรคและการกำเริบของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด  ยา 3 กลุ่มที่มีความจำเป็นเพื่อการรักษา ได้แก่ ยาลดไขมัน ยาลดความดันโลหิตสูงและยาต้านเกล็ดเลือด
การรักษาเพื่อลดไขมันเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อลด LDL ให้ได้ระดับตามเป้าหมายคือน้อยกว่า 100 มก./เดซิลิตร และแพทย์ควรพิจารณาเป้าหมายให้น้อยกว่า 70 มก./เดซิลิตร สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
ยากลุ่ม Statins ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ชัดเจนในการป้องกันแบบทุติยภูมิของทั้งอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตในโรคหลอดเลือดหัวใจ; ยาอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการนอกเหนือไปจากยากลุ่ม statin ในการลดคอเลสเตอรอล รวมถึง ezetimibe, fibrates และ nicotinic acid
การรักษาความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจควรเริ่มต้นด้วยยา beta blockers และ angiotensin-converting enzyme inhibitors และถ้าไม่สามารถทนต่อยาเหล่านี้ ยากลุ่ม alcium channel blockers หรือ angiotensin receptor blockers  ถือเป็นทางเลือกที่ยอมรับกัน
แอสไพรินเป็นยาต้านเกล็ดเลือดตัวแรกที่ใช้ยกเว้นในผู้ป่วยที่ได้เพิ่งมีกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือมีการใส่ขดลวด ซึ่งในกรณีนี้แนะนำให้เป็นยา clopidogrel
อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจสามารถรักษาได้ด้วยยา beta blockers, calcium channel blockers, nitrates หรือการให้ยาต่างๆ เหล่านี้ร่วมกัน การมีความคุ้นเคยกับยาเหล่านี้และการมีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยา ถือว่าเป็นสิ่งทีมีความจำเป็นเพื่อที่จะลดอัตราการป่วยและอัตราการ เสียชีวิต ในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด https://secure.aafp.org/login/

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

1,762 Differentiation and diagnosis of tremor

American Academy of Family Physicians
March 15, 2011 

การสั่น เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นจังหวะโดยไม่ได้ตั้งใจ การเคลื่อนไหวแบบแกว่งไปมา (oscillatory movement) ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่พบมากที่สุดในการทางคลินิก อาการสั่นขณะอยู่เฉย (rest tremors) เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่มีการตึงตัวและช่วยพยุงมิให้ได้รับผลจากแรงโน้มถ่วง การสั่นในขณะทำงาน (action tremors) เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อชนิดที่สามารถควบคุมได้ และสามารถแบ่งต่อได้เป็น postural tremors, isometric tremor และ kinetic tremors โดยในคนที่มีการสั่นที่มีลักษณะสรีรวิทยาแบบแอมพลิจูดต่ำ, ความถี่สูงขณะพักและในขณะทำงาน ไม่ถูกรายงานว่าเป็นลักษณะของการมีอาการ
ลักษณะพยาธิกำเนิดของการสั่นที่พบมากที่สุดคือการสั่นแบบไม่มีสาเหตุ (essential tremor) ในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีการถ่ายทอด autosomal dominant และเกิดขึ้นร้อยละ 0.4 - 6 ของประชากร ซึ่งมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการสั่นเป็นลักษณะอาการนำ การสั่นนี้มักจะมีลักษณะไม่สมมาตร เกิดขึ้นขณะอยู่เฉย และลักษณะเด่นทางด้านการเคลื่อนไหวที่สั่งการได้จะน้อย เป็นลักษะที่ประกอบด้วยการสั่นจากสภาวะจิตใจ (psychogenic tremor) มีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด และสามารถดีขึ้นได้เอง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการสั่น แบบตอบสนองลดลงได้ถ้าไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นและสามารถเบี่ยงเบนได้ ลักษณะการสั่นประเภทอื่น ๆ ได้แก่ cerebellar, dystonic, drug- or metabolic-induced และ orthostatic tremor
ขั้นตอนแรกในการประเมินผู้ป่วยที่มีอาการสั่นคือการจัดแบ่งการสั่นตามสภาวะที่มากระตุ้น ลักษณะทางกายภาพ-ธรรมชาติและความถี่ของการเกิด การวินิจฉัยการสั่นขึ้นอยู่กับข้อมูลทางคลินิกที่ได้รับทั้งจากประวัติและการตรวจร่างกาย สำหรับกรณีที่มีความยากในการวินิจฉัย การใช้ CT scan ชนิด single-photon emission เพื่อดูลักษณะของ dopaminergic pathways ในสมอง ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันได้

เนื้อหาโดยละเอียดและอ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0315/p697.html

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

1,761 การเปรียบเทียบการใช้ยากลุ่ม Beta-blocker ที่ให้ทางหลอดเลือดดำ

ที่โรงพยายบาลมียา Beta-blocker ที่สามารถ ให้ทางหลอดเลือดดำอยู่ 1 ตัว จึงลองสืบค้นข้อมูลเรื่องข้อบ่งชี้ ขยาดยา และรายละเอียดของยาเพิ่ม พบดังนี้ครับ
ตารางแสดงการเปรียบเทียบยากลุ่ม Beta-blocker ที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
Agent
FDA-Approved Indication(s) for Intravenous Administration*
Intravenous
Dose Recommendations (Adult)
Comments
Atenolol
(Tenormin®)
Acute myocardial infarction
5 mg IV bolus over 5 minutes, followed by a second IV bolus 10 minutes later
§  Beta-1 selective
§  Maximum IV bolus dose = 10 mg
Esmolol
(Brevibloc®)
-  Hypertension, intra-operative or
- Tachyarrhythmia, intra-operative
80 mg IV bolus (» 1 mg/kg) over 30 seconds, generally followed by continuous infusion
§  Beta-1 selective
§  Short-acting (t1/2 » 9 minutes)
§  May be used as a continuous infusion
§  When used for acute myocardial infarction, dosing is generally the same as listed for supraventricular arrhythmia
§  Maximum continuous infusion rate = 200 mcg/kg/minuteจ
 -  Hypertension, post-operative or
 -  Tachyarrhythmia, post-operative
500 mcg/kg IV bolus over 1 minute, generally followed by continuous infusion or oral maintenance dose
 Supraventricular arrhythmia
500 mcg/kg IV bolus over 1 minute, generally followed by continuous infusion or oral maintenance dose
Labetalol
(Trandate®)
  -  Hypertension
20 mg IV bolus over 2 minutes (may repeat injections of 20-80 mg at 10 minute intervals)
Maximum total dose = 300 mg
§  Nonselective beta-adrenergic blocker with selective alpha-adrenergic blockade
§  May be used as a continuous infusion
Metoprolol
(Lopressor®)
-  Acute myocardial infarction
5 mg IV bolus every 2 minutes x 3 (total dose = 15 mg)
§  Beta-1 selective
§  May be used as a continuous infusion
-  Cardiac dysrhythmia
2.5 - 5 mg IV bolus over 2 minutes, may repeat to total of 3 doses (higher doses may be necessary)
Propranolol
(Inderal®)
-   Acute myocardial infarction
0.1 mg/kg divided into 3 equal doses given at 2-3 minute intervals (rate not to exceed 1 mg/min)
§  Nonselective beta-adrenergic blocker
§  Administration rate should not exceed 1 mg/minute
§  Initial dose may be repeated in 2 minutes, but additional doses should not be administered until 4 hours later
§  Most references suggest continuous EKG monitoring when IV propranolol is administered
 Cardiac dysrhythmia
0.5 - 3  mg IV bolus
(rate not to exceed 1 mg/min)

Or

0.1 mg/kg divided into 3 equal doses given at 2-3 minute intervals
- Thyroid storm, rapid control
1 mg/min IV bolus (maximum dose = 10 mg).  May repeat in 4 - 6 hours


 Ref: doctors.seton.net Link of reference

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

1,760 Albumin for spontaneous bacterial peritonitis: for high-risk patients only

จาก Journal watch, medicine that matters  
ในการศึกษาแบบสุ่มในผู้ป่วยโรคตับแข็ง พบว่าการให้อัลบูมิทางหลอดเลือดดำร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะลดอุบัติการณ์ของภาวะไตวายและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นเองในช่องท้อง (spontaneous bacterial peritonitis, SBP) (N Engl J Med 1999; 341:403)
การศึกษาลำดับต่อมาได้แนะนำว่า ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีการทำงานของไตดีและระดับบิลิรูบินในซีรั่มต่ำอาจไม่จำเป็นต้องได้รับอัลบูมิในระหว่างการเกิด SBP อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ได้ดำเนินการในประชากรผู้ป่วยที่มีการคัดเลือกซึ่งไม่อาจสะท้อนถึงการปฏิบัติงานจริง
     โดยนักวิจัยได้ศึกษาแบบ nonselected cohort  ถึงผลลัพท์ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการรักษาที่ศูนย์แห่งหนึ่งในสเปนซึ่งเป็นตัวแทนของการดูแลรักษาผู้ป่วยของชุมชน  ผู้ป่วยได้รับการพิจารณาว่ามีความเสี่ยงต่ำต่อการเสียชีวิตถ้าระดับยูเรียน้อยกว่า11 มิลลิโมล / ลิตรและบิลิรูบินน้อยกว่า 68 ไมโครโมล / ลิตรในระหว่างที่เกิด SBP และมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตถ้าระดับยูเรียตั้งแต่ 11 มิลลิโมล / ลิตร และบิลิรูบินคือตั้งแต่  68 ไมโครโมล / ลิตร
ผู้ป่วยทุกรายได้รับยาปฏิชีวนะ (ส่วนใหญ่คือ cefotaxime หรือ ceftriaxone นาน 7 วัน) ผู้ป่วยบางคนที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับการให้อัลบูมิ (1.5 กรัม / กิโลกรัมของน้ำหนักร่างกายในวันที่ 1 และ 1 กรัม / กิโลกรัมในวันที่ 3) จุดหมายของการศึกษาหลักคือเพื่อดูการเสียชีวิตระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล ความน่าจะเป็นของการอยู่รอดที่ 3 เดือนและการเกิดภาวะไตวาย (ระดับ creatinine ในเลือดมากกว่า 133 ไมโครโมล / ลิตร)
   ในช่วงเวลา 7 ปี มีการเกิด SBP  216 ครั้ง ในผู้ป่วย 167 คน โดยพบว่า 30% ของจำนวนการเกิด พบในผู้ป่วยที่ความเสี่ยงต่ำและ 70% เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
เมื่อเทียบกันพบว่าในผู้ป่วยโรคความเสี่ยงต่ำมีอัตราของภาวะไตวายน้อยกว่า (4.7% vs 25.6%, P = 0.001) การเสียชีวิตระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า (3.1% vs 38.2%; P <0.001) และความอยู่รอดที่ 3 เดือนที่สูงขึ้น (93% vs 53%, P <0001)
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่ได้รับทั้งอัลบูมิและยาปฏิชีวนะ เปรียบเทียบกับการได้ยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว พบว่าการให้อัลบูมินร่วมด้วยมีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลลดลง (28.8% vs 46.8%, p = 0.02) และการอยู่รอดที่ 3 เดือนที่สูงขึ้น (62% vs 45% p = 0.01)
และในหัวข้อการแสดงความเห็นช่วงท้าย ได้เขียนไว้ว่า ผลการศึกษานี้ช่วยยืนยันผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่า ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยทุกรายซึ่งเป็นโรคตับแข็งและเกิด SBP ต้องได้รับอัลบูมิน การให้ควรทำในผู้ป่วยที่มีระดับบิลิรูบินและยูเรียสูง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการทำหน้าที่ของตับและไต

Ref: http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2012/413/1

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

1,759 Alopecia areata

Review article
Medical progress
N Engl J Med  April 19, 2012

ผลกระทบของโรคผิวหนังบางอย่างต่อชีวิตมีแนวโน้มที่จะมีการประมาณการต่ำหรือเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงปัญหาของความสวยงาม ซึ่งผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) เป็นตัวอย่างของสภาวะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่มีผลกระทบและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและความมั่นใจในตนเอง
แม้ว่าผมร่วงเป็นหย่อมเป็นหนึ่งในโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune) ที่พบมากที่สุด พยาธิชีววิทยานี้เป็นลักษณะเรื้อรัง การกำเริบของโรคยังไม่เป็นที่เข้าใจนัก และการรักษาที่มีอยู่ยังไม่เป็นไปดังที่หวังไว้
บทความนี้จะสรุปเกี่ยวกับพยาธิวิทยาของการเกิดโรค ลักษณะอาการทางคลินิกและการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม รวมถึงการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางชีววิทยาและพยาธิชีววิทยาของเซลรากผม หลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าภาวะผมร่วงเป็นหย่อมถือได้ว่าเป็นโรคของ T-cell–mediated autoimmune ซึ่งจะค่อยๆเกิดการสูญเสียการปกป้องโดย immune privilege ของรากผมตามปกติ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
Epidemiology
Normal Hair Growth
Immunobiology of the Hair Follicle
Clinical Presentation and Diagnosis
Management
Pathobiology of Alopecia Areata
Genetic Component in Alopecia Areata
Basic Immunopathology
Hypothetical Pathogenesis of Alopecia Areata
Future Therapy
Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1103442

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

1,758 Urinary bladder stone

ชาย 73 ปี ปัสสาวะลำบาก ออกกระปริบกระปรอย 4 วัน ไม่มีไข้ ผลตรวจปัสสาวะมี RBC มากกว่า 100 cell/HPF,  film KUB ดังภาพ จากภาพพบอะไร? และคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากอะไรมากที่สุดครับ?

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
พบ oval shape shawdow ที่มี density เพิ่มขึ้นแต่ไม่ถึงกับเป็น opaque ชัดเจน โดยดูเป็นลักษณะ semi-opaque มากกว่า ซึ่งการแบ่งชนิดของนิ่วตามระดับความทึบรังสีได้ดังนี้
Stone classify by opacity
1. Opaque stone , semi-opaque stone เห็นได้จาก plain KUB
ได้แก่ cystine stone, calcium oxalate stone 
2. Non-opaque stone
ได้แก่ uric acid stone 
และจากการทำอัลตร้าซาวด์พบว่ามีนิ่วขนาด 3.3 ซม. ในกระเพาะปัสสาวะจริง (โดยผู้ป่วยมี full bladder ตามความเห็นที่ส่งมา) ดังภาพด้านล่าง

1,757 Atrioventricular septal defect in Down syndrome

ชาย 17 ปี Down syndrome ตรวจพบมี pansystolic murmur grade 3 at left lower sternal border Hct 58%, O2sat 95-99%  CXR และ EKG เป็นดังภาพ  ผล echo เบื้องต้นพบดังภาพ
ซึ่งจากผล CXR และ EKG บ่งบอกว่ามีหัวใจโต และจากผล echo เบื้องต้น พบมี atrial และ ventricle septal defect

จากการสืบค้น ซึ่งจะพบความผิดปกติของ atrioventricular canal defect (AV canal) หรืออาจเรียกว่า atrioventricular septal defect โดยผู้ป่วย Down syndrome จะเกิดความผิดปกติประมาณ 20% บางอ้างอิง 35–40% โดยอาจเกิด atrial septal defect (ASD) และ ventricular septal defect (VSD) และความผิดปกติของ atrioventricular valves ซึ่งมักเป็นลิ้น mitral และ tricuspid ทำให้เกิดการผสมกันของเลือดดำและแดง






วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

1,756 การศึกษาระยะเวลาการนอนราบภายหลังการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

No effect of recumbency duration on the occurrence of post-lumbar puncture headache with a 22G cutting needle
BMC Neurol. 2012; 12: 1.
Published online 2012 January 30
การนอนหงายราบกระทำกันอย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันอาการปวดศรีษะจากการเจาะหลัง (prevent post-lumbar puncture headache, PLPH)
อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่เหมาะสมของการนอนราบหงายยังไม่มีข้อยุติ จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของ PLPH โดยเป็นการศึกษาระยะเวลาของการนอนหงายราบในผู้ป่วย โดยมีผู้ป่วยในการศึกษา 70 คน โดย 35 คนนอนราบหงายเป็นเวลา 4 ชั่วโมง (กลุ่มที่ 1) หลังจากที่เจาะหลังและ 35 ผู้ป่วยที่นอนราบหงายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง (กลุ่มที่ 2)
ผลการศึกษาพบว่า ความถี่โดยรวมของ PLPH คือ 31.4% ความถี่ของการ PLPH ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ 1 (28.6%) และกลุ่มที่ 2 (34.3%) (p = 0.607) โดยในผู้ป่วยที่มี PLPH : ค่ามัธยฐานของความรุนแรง (P = 0.203) และมัธยฐานของเวลาที่เริ่มมีอาการ (P = 0.582) ซึ่งไม่แตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม
ในการวิเคราะห์แบบ logistic regression พบว่าการมีประวัติเคยมีอาการปวดศรีษะภายหลังเจาะหลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิด PLPH (OR = 11.250, 95% CI: 1.10-114.369, P = 0.041)
ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการนอนหงายราบในช่วงเวลาสั้นๆ คือ 1 ชม. มีผลเทียบเท่ากับการนอนราบที่นานกว่าคือ 4 ชม.ในการป้องกัน PLPH

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3292507/

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

1,755 แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป

แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป
(Hypertension 2011)
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


1,754 แนวทางปฏิบัติในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาและการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บรรณาธิการ
นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์
จีราพร หิรัญรัตนธรรม

1,753 Preventing gaps when switching contraceptives

การป้องกันการเกิดช่องว่างในช่วงการเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด 
American Academy of Family Physicians
March 1, 2011 
การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงต์อาจเกิดขึ้นเมื่่อผู้หญิงมีการหยุดการคุมกำเนิดก่อนการที่จะเริ่มวิธีใหม่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างในการคุมกำเนิด แพทย์ควรถามผู้หญิงเสมอเกี่ยวกับผลกระทบ ค่าใช้จ่าย ความยากในการจดจำที่ต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดดังกล่าวในครั้งต่อไป และประเด็นอื่น ๆ ที่มีผลต่อการความสะดวกในการใช้ ผู้หญิงที่ต้องการเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด มีความจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิด
บางครั้งช่วงที่มีการเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน (ซ้อนกัน) ระหว่างวิธีเก่าและวิธีการใหม่ และเมื่่อต้องการเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยจากวิธีหนึ่งไปยังอีกวิธีหนึ่งโดยไม่ซ้อนทับกันระหว่างวิีธีเก่าและวิธีใหม่ อาจจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้วิธีการ เช่นถุงยางอนามัยหรือยาฆ่าเชื้ออสุจิ สำหรับในช่วงเจ็ดวันแรก

อ้างอิงและอ่าต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0301/p567.html

1,752 Tolosa-Hunt syndrome (THS)

พบผู้ป่วยหญิง 62 ปี มาด้วยปวดตาซ้ายมี isolated Lt. 6 CN palsy, ผล CT พบมี asymmetrical thickening of left cavernous sinus คิดถึง Tolosa-Hunt syndrome (THS) หลังได้รับการรักษาอาการผู้ป่วยดีขึ้นหายปวดตา สามารถกลอกตาได้เกือบสุด จึงสืบค้นข้อมูลเพิ่ม พบดังนี้ 
Tolosa-Hunt syndrome (THS) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้น้อยโดยลักษณะของการมีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมกับมีอาการปวด สาเหตุยังไม่ทราบชัดเจน แต่พบว่ามีการอักเสบ โดยจะเกิดที่ผนัง และผนังกั้นของ cavernous sinus พบมีเซล lymphocyte, plasma cell, giant cell granulomas, และมีการเพิ่มจำนวนของ fibroblasts ซึ่งการอักเสบจะทำให้มีการเพิ่มของความดันและส่งผลต่อสิ่งที่อยู่ใน cavernous sinus ได้แก่
เส้นประสาทสมองคู่ที่ II, IV, และ VI รวมถึง superior divisions ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ V จากรายงานไม่พบการมีผลต่อระบบร่างกาย (no systemic involvement) ผู้ป่วยจะมีลักษณะของอาการปวดสัมพันธ์กับการมีการอ่อนแรงของ เส้นประสาทสมองคู่ที่ II, IV, และ VI เส้นใดเส้นหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเส้น สามารถหายเองได้ แต่สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้ การวินิจฉัยแยกโรคมีมากมาย ตามลิ้งค์นี้ link for DDx
นอกเหนือจากการตรวจทางด้าน imaging แล้ว อาจพิจารณาตรวจเพื่อตัดหรือแยกโรคอื่นออกไปเนื่อง
จากการวินิจฉัยโรคนี้อาศํยการตัดโรคอื่นที่มีความเหมือนน้อยกว่าออกไป
การตรวจได้แก่ CBC, ESR, electrolytes, glucose, thyroid function tests, fluorescent treponemal antibody (FTA), ANA, LE preparation,ANCA, serum protein electrophoresis, Lyme titre, angiotensin-converting enzyme (ACE) level, HIV การส่งตรวจน้ำไขสันหลังก็ช่วยในการแยกโรค โดยในโรคนี้จะพบการมี lymphocyteเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การตรวจ Anti-GQ1b antibodies ช่วยแยก Tolosa-Hunt syndrome ที่เป็นช่วงแรก และไม่มีอาการปวดออกจาก Miller Fisher syndrome
คอร์ติโคสเตอรอยด์เป็นการรักษาหลัก อาการปวดมักดีขึ้นภายใน 24-72 ชม. ของการรักษา การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อตามักใช้เวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือนในการรักษา ใบผู้ป่วยบางคนอาจไม่หายโดยสมบูรณ์เนื่องจากมีการอักเสบมากหรือปัจจัยจากการรักษา ถ้าไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 72 ชม. อาจจะต้องประเมินการวินิจฉัยใหม่ ส่วนในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลังให้การรักษาด้วยคอร์ติโคสเตอรอยด์ อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกันโดยการให้ azathioprine (Imuran), methotrexate หรือการฉายรังสี

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

1,751 El Escorial criteria for the diagnosis of amyotrophic lateral sclerosis (ALS)

พบผู้ป่วยที่สงสัย Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS) จึงสืบค้นแนวทางการวินิจฉัย พบดังนี้ครับ

เกณฑ์การวินิจฉัย ของ El Escorial
A. ประกอบด้วย
1. มีหลักฐานของการเสื่อมสลายที่เป็นลักษณะ lower motor neuron (LMN) โดยลักษณะทางคลินิก สรีรวิทยาไฟฟ้า (electrophysiological) หรือการตรวจพยาธิวิทยาของระบบประสาท (neuropathologic)
2. มีหลักฐานของการเสื่อมสลายที่เป็นลักษณะ upper motor neuron (UMN) จากการตรวจทางคลินิก และ
3. มีการดำเนินโรคที่มากขึ้นของอาการหรืออาการแสดงภายในตำแหน่งหรือตำแหน่งอื่น โดยได้้ข้อมูลจากประวัติหรือการตรวจร่างกาย ร่วมกับ
B. โดยไม่มี
1. หลักฐานสรีรวิทยาไฟฟ้าและลักษณะทางพยาธิวิทยาของขบวนการโรคอื่นที่สามารถอธิบายลักษณะของการเสื่อมสลายที่เป็นลักษณะ lower motor neuron (LMN) และหรือ upper motor neuron (LMN)
2. การตรวจทางด้าน imaging ของระบบประสาทมีหลักฐานของขบวนการโรคอื่นที่สามารถอธิบายลักษณะทางคลินิกและลักษณะของสรีรวิทยาไฟฟ้า

การแบ่งลักษณะของวินิจฉัย
-Clinically Definite ALS
มีหลักฐานทางคลินิกอย่างเดียวโดยมี UMN ตลอดจนอาการแสดงของ LMN ในสามตำแหน่ง
-Clinically Probable ALS
มีหลักฐานทางคลินิกอย่างเดียวโดยมีอาการแสดงของ UMN และ LMN อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง ร่วมกับอาการแสดงบางอย่างของ UMN ซึ่งต้องอยู่เหนือต่ออาการแสดงของ LMN
-Clinically Probable - Laboratory-supported ALS เมื่อมีอาการแสดงทางคลินิกของ UMN และ LMN เพียง 1 ตำแหน่ง หรือเมื่อมีอาการแสดงของ  UMN อย่างเดียวในหนึ่งตำแหน่ง  และอาการแสดงของ LMN โดยเกณฑ์ของ EMG ที่มีอย่างน้อย 2 ระยางค์ร่วมกับการตรวจด้าย imaging และการตรวจทางห้องปฎิบัติการคลินิกสามารถตัดแยกโรคอื่นออกไป
-Clinically Possible ALS เมื่ออาการแสดงทางคลินิกของ UMN และ LMN พบร่วมกันเพียง 1 ตำแหน่ง หรือพบเพียงอาการแสดงของ UMN อย่างดียวตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป หรืออาการแสดง LMN ที่พบเหนือต่อ UMN และการวินิจฉัย Clinically Probable - Laboratory-supported ไม่สามารถพิสูจน์ได้จากลักษณะทางคลินิกและการตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้า การตรวจทางด้านสรีรวิทยาของระบบประสาท การตรวจด้าน imaging ของระบบประสาทหรือการศึกษาทางห้องปฏิบัติการคลินิก และไม่มีการวินิจฉัยอื่นที่เข้าได้มากกว่า
-Clinically Suspected ALS เป็นกลุ่มอาการของ LMN ล้วนๆ โดยที่การวินิจฉัยของ ALS อาจจะไม่เพียงพอบางที่จะรวมผู้ป่วยเข้าในการศึกษาวิจัย ดังนั้นการแบ่งประเภทนี้จะถูกลบจากเกณฑ์การวินิจฉัยของ Escorial El ที่ปรับปรุงใหม่

Ref: http://www.medicalcriteria.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=54%3Aneuroals&catid=64%3Aneurology&Itemid=80&lang=en

วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555

1,750 Doxorubicin cardiomyopathy management

พบผู้ป่วยที่มี doxorubicin cardiomyopathy จึงสืบค้นข้อมูลในการรักษา พบดังนี้ครับ
ไม่มีการรักษาเฉพาะในกรณีที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ยาขับปัสสาวะมีประโยชน์ในการลดอาการและอาการแสดงจากการมีน้ำเกินในปอดและระบบหลอดเลือดดำ มีรายงานว่า metoprolol ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะนี้แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมที่บอกว่ายา β-blocker มีประสิทธิภาพในการป้องกันเปลี่ยนแปลงของหัวใจหรือทำให้การพยากรณ์โรคดีขึ้น และยังไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการพยากรณ์โรคก่อนและหลังการให้การรักษาด้วย β-blocker ยา Angiotensin II inhibition ควรพิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวที่เป็นมากแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อยาได้ อาจใช้ยา hydralazine ร่วมกับ isosorbide dinitrate ในขนาดต่ำแทน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลที่สนับสนุนว่าการรักษามีประสิทธิภาพในภาวะนี้ ส่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง ควรพิจารณา amiodarone และ implantable cardioverter และ defibrillator และควรจะระลึกไว้ว่ายังไม่มีการรักษาสำหรับหัวใจขาดเลือดหรือภาวะ idiopathic dilated cardiomyopathy ที่จะทำให้การพยากรณ์โรคในผู้ป่วยกลุ่มนี้ดีขึ้น การปลูกถ่ายหัวใจมีการรายงานว่าทำให้พยากรณ์โรคในระยะยาวดีขึ้น การใช้ ventricular assist devices อาจมีความต้องการก่อนทำการปลูกถ่ายหัวใจ

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2848530/

วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

1,749 New guidelines for cervical cancer screening

การคัดกรองโดยการตรวจเซลวิทยาสำหรับมะเร็งปากมดลูก ทำให้ลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้อย่างเด่นชัด รวมทั้งความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับธรรมชาติของการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) และการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจเซลวิทยาเพียงอย่างเดียวเปรียบเทียบกับการตรวจเซลวิทยาร่วมกับการตรวจ HPV ก่อให้เกิดข้อมูลความรู้สำหรับการพัฒนาแนวทางการคัดกรองใหม่ๆ โดย American Cancer Society (ACS) ได้ทำการพัฒนาร่วมกับ American Society for Colposcopy and Cervical Pathology และ American Society for Clinical Pathology) และ U.S. Preventive Services Task Force (USPSTF)

-ข้อแนะนำเหล่านี้ไม่สามารถนำมาใช้กับผู้หญิงที่มีภูมิคุ้มกันลดลง (รวมถึงการติดเชื้อเอชไอวี) ผู้ซึ่งมดลูกเคยมีการสัมผัสกับสาร diethylstilbestrol หรือผู้ที่เคยได้รับการรักษา cervical intraepithelial neoplasia (CIN) 2+.มาก่อน
-ข้อแนะนำไม่สามารถนำไปใช้กับผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนป้องกัน HPV เนื่องจากสายพันธุ์ของ HPV ที่ใชในวัคซีนขณะนี้มีเพียง 70% ของมะเร็งปากมดลูก
-ข้อแนะนำนี้ไม่สนับสนุนการตรวจ HPV เพียงอย่างเดียว
-ผู้หญิงที่การทดสอบให้ผลบวกสำหรับการติดเชื้อ HPV ต้องได้รับการติดตามใกล้ชิดมากกว่าผู้หญิงที่มี HPV ให้ผลลบโดยไม่คำนึงถึงผลการตรวจเซลวิทยา


วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

1,748 ข้อควรทราบเรื่องการให้ วิตามินบี 6 ในการป้องกัน neuropathy จากยารักษาวัณโรค isoniazid (ไอโซไนอะซิด)

ผู้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไปได้แก่ alcoholism, cancer, uremia, chronic liver disease, advanced age, malnutrition
ควรจะให้วิตามินบี 6 เนื่องจากเราไม่ได้วัดระดับวิตามินบี 6 ในเลือดว่าผู้ป่วยรายใดขาดบ้าง ซึ่งผู้ป่วย TB มักจะ malnutrition อยู่แล้ว การให้เสริมจึงน่าจะมีประโยชน์  โดยอาการจะแปรผันตามขนาดยาที่ได้รับ ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วิตามินบี 6 (pyridoxine) ขนาด 15-50 มิลลิกรัม/วัน หรือบางอ้างอิงแนะนำให้วิตามินบี 6 ปริมาณ 10  มิลลิกรัม ต่อ INH ทุก100 มิลลิกรัม
และอย่าลืมดูด้วยว่าวิตามินบี 6 ที่ รพ. ของเราเป็นชนิดกี่มิลลิกรัม เช่น ถ้าเป็นชนิด 50 มิลลิกรัม การให้วันละ 1 เม็ดก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าเลือกใช้บี 1-6-12 ก็อย่าลืมดูส่วนประกอบด้วย เช่น รพ. ผมจะมีบี 6 อยู่ในส่วนประกอบ 7.5 มิลลิกรัม ดังนั้นคงต้องให้อย่างน้อย 2 เม็ดขึ้นไปจึงจะเพียงพอ
(อ่านเรื่องกลไกการเกิด เพิ่มได้จากลิ้งค์นี้ครับ http://www.phimaimedicine.org/2011/01/983-vitamin-b6-pyridoxine-and-isoniazid.html )


Ref: http://medinfo.psu.ac.th/pr/MedBoard/readboard.php?id=164
http://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/shdp/admin/knowledges_files/13_27_1.pdf
http://chestjournal.chestpubs.org/content/36/3/293.full.pdf

1,747 Dengue

Review article
Current concept
N Engl J Med   April 12, 2012

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ (แต่ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยในวงเล็บนี้ผมเขียนเพิ่มเติมขึ้นมาเอง) เป็นการติดเชื้อไวรัสทั่วทั้งระบบของร่างกาย เป็นการติดเชื้อระหว่างคนสู่คนโดยยุง การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรคไข้เลือดออกเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุข ร่วมกับการที่มีภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่น่าพอใจ วิธีการที่ใช้ในการดูแลรวมถึงการอนุญาตในการใช้วัคซีน การรักษาที่มีความจำเพาะ การควบคุมยุงที่เป็นพาหะของโรคที่มีประสิทธิภาพ บทความนี้เน้นเรื่องความเข้าใจของเราในปัจจุบันเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกได้แก่ ลักษณะทางคลินิก พยาธิกำเนิดของโรค การตรวจที่ใช้เพื่อการวินิจฉัย การดูแลรักษาและการป้องกัน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Determinants of the Current Dengue Pandemic
-Virologic Features
-Immunopathogenesis
-Pathophysiology of Endothelial Dysfunction
-Differential Diagnosis and Disease Classification
-Clinical Manifestations
   Febrile Phase
   Critical Phase
   Recovery Phase
-Diagnostic Tests
-Management
-Effects on Health Care Systems
-New Approaches to Targeting the Vector
-Vaccines
-Future Directions
-Source Information

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1110265

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

1,746 HPV vaccination for treating anal neoplasia?

จาก Journal watch, medicine that matters
วัคซีน human papillomavirus (HPV) ได้รับอนุญาตเพื่อใช้ในการป้องกันแบบปฐมภูมิ แต่ยังมิได้มีบทบาทในการป้องกันผลที่ตามมาในผู้ที่มีการติดเชื้ออยู่แล้ว
ในผู้ป่วยที่มิได้มีการติดเชื้อเอชไอวีที่ระบุว่าตนเองเป็นชายรักชายและผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณทวารหนักในเมืองนิวยอร์กได้รับการเสนอให้เริ่มฉีดวัคซีน HPV ในปี 2006 (ซึ่งเดิมไม่เคยมีข้อบ่งชี้ของวัคซีนมาก่อน) ซึ่งในกลุ่มที่ได้วัคซีนมี 88 คน โดยเคยมีผลตรวจชิ้นเนื้อยืนยันและได้รับการรักษาผ่าตัดเพื่อรักษา high-grade anal intraepithelial neoplasia (HGAIN) มาแล้ว เทียบกับผู้ป่วย114 คนที่เป็น HGAIN ซึ่งไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการกลับเป็นซ้ำของ HGAIN (การเกิดซ้ำ10.2 คน เทียบกับ 15.7 คน/100 คน/ปี) โดยในส่วนย่อยของผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่ามี oncogenic ของ HPV genotypes, การฉีดวัคซีนยังสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำ (15.4 คน เทียบกับ 28.3 คน/100 คน/ปี)
กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนมีอายุน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะมี โรคหูดหงอนไก่ที่ทวารหนักและอวัยวะเพศ (anogenital condyloma) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน แต่ลักษณะทางประชากรอย่างอื่นคล้ายกัน และอัตราของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลังจากที่เข้าร่วมการศึกษา (เป็นการวัดเพื่อเป็นตัวแทนของโอกาสในการที่จะสัมผัส HPV ซ้ำ) มีความคล้ายคลึงเช่นกัน
สรุป: วัคซีนช่วยลดการเกิดซ้ำของ HGAIN อย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มชายรักชาย และอาจเป็นการรักษาที่ให้ร่วมภายหลังที่เคยได้รับการรักษามาแล้ว ซึ่งการศึกษาแบบ randomized controlled trial เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันผลเหล่านี้

อ้างอิงและอ่านต่อ  http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2012/410/3
http://cid.oxfordjournals.org/content/54/7/891.abstract

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

1,745 Anxiety increases impulsivity in patients with mood disorders

จาก Journal watch, medicine that matters
การมีความวิตกกังวล (anxiety) ที่เกิดร่วมในโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder, BD) และโรคซึมเศร้า (unipolar major depressive disorder, MDD) มีความสัมพันธ์กับอาการที่แย่ลง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและอัตราการการฆ่าตัวสูงขึ้น
นักวิจัยได้ศึกษาพบว่าการมีความวิตกกังวลร่วมด้วยหรือการมีอาการวิตกกังวลจะทำใ้ห้เพิ่มภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) ในผู้ป่วย 205 คนที่เป็น BD (อายุเฉลี่ย, 37 ปี เป็นเพศชาย 29 % ) และในผู้ป่วย 105 คนที่เป็น MDD (อายุเฉลี่ย 38 ปี เป็นเพศชาย30 % )
โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการสัมภาษณ์อย่างครอบคลุมเพื่อการวินิจฉัยทางจิตเวชและใช้แบบสอบถามคัดกรองประเมินอาการของความวิตกกังวลและภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
โดยในกลุ่มของความวิตกกังวล โรคย่อยที่พบมากที่สุดคือโรคตื่นตระหนก (panic) และภาวะเครียดภายหลังได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (post-traumatic stress disorder) ซึ่งพบได้ 59% ของผู้ป่วย BD และ 29% ของผู้ป่วย MDD
โดยในทั้งสองกลุ่มพบว่าผู้ที่มีปัญหาความวิตกกังวลมีนัยสำคัญมากกว่าภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง และภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองพบมากใน BD มากกว่า MDD ผู้ที่อายุน้อยจะมีระดับคะแนนของภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองมากว่าผู้ที่อายุมาก แต่ภาวะนี้ไม่มีความแตกต่างในทั้งสองเพศ
และพบว่าอาการวิตกกังวลกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (สภาวะวิตกกังวล หรือ state anxiety) ยังสัมพันธ์กับอาการขาดความสามารถในการควบคุมตนเองที่เพิ่มขึ้นทั้งใน BD และ MDD และสภาวะวิตกกังวลนี้จะเพิ่มระดับภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองใน MDD มากกว่า BD

แปลยังไงก็ยังงง สรุปคือ การศึกษานี้ช่วยยืนยันความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างความวิตกกังวลและภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ ในการวิเคราะห์ทั้งผู้ที่มีภาวะความวิตกกังวลและกำลังมีอาการของความวิตกกังวล 
ซึ่งแพทย์ควรจะระมัดระวังเกี่ยวกับการมีโรควิตกกังวลและอาการวิตกกังวลร่วมด้วย ในผู้ป่วย MDD หรือ BD และความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่อันตราย

อ้่างอิงและอ่านต่อ http://psychiatry.jwatch.org/cgi/content/full/2012/409/3