วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,814 ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ CK, CK-MB ในการตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

Creatine kinase (CK) หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ creatine phosphokinase (CPK)  CK ชนิดที่พบมากที่หัวใจ คือ CK-MB  และหากเรานำอัตราส่วนของ CK-MB/total CK มีค่ามากกว่า 1/20 (มากกว่าร้อยละ 5 ของ total CK) จะช่วยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่อย่างไรก็ตาม CK-MB ก็ยังสามารถพบได้ในโรคหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อลายของอวัยวะอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่มักจะไม่สูงเกิน 3-4% ของ total CK ดังนั้นระดับ CK-MB ที่สูงขึ้นจึงไม่จำเพาะต่อพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจแต่เพียงอย่างเดียว โดยปกติทางห้องปฏิบัติการควรตรวจหา CK-MB ก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับ total CK เพิ่มขึ้นก่อน ระดับ CK-MB จะขึ้นหลังการกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ในเวลา 2-3 ชม. ถึงระดับสูงสุดในเวลา 12-24 ชม. และอยู่นานประมาณ 48-72 ชม. (ค่าต่างๆ เหล่านี้อาจแตกต่างกันบ้างตามแต่ละอ้างอิง)
พบว่าการตรวจวัดระดับ CK-MB แบบต่อเนื่อง (serial CK-MB) ในเวลา 12 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะช่วยเพิ่มความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจเพียงครั้งเดียว
และแม้ในปัจจุบันจะมี cardiac biomarker ที่นำมาช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้ดีกว่า เช่น cardiac troponin แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงว่าการใช้ cardiac troponin ร่วมกับ CK-MB mass จะช่วยเพิ่มความไวในการตรวจวิเคราะห์โรคและเพิ่มความคุ้มค่าในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย ส่วนใน unstable angina  ค่า CK และ CK-MB จะอยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่ง

เพิ่มเติม
CK มี 3 ชนิดย่อย (isoenzyme) คือ
1. CK-MB(cardiac type) พบมากที่กล้ามเนื้อหัวใจ
2. CK-MM(muscle type) พบมากที่กล้ามเนื้อลาย
3. CK-BB (brain type) พบมากที่สมอง
ขณะนี้มีการตรวจวัด CK-MB ได้เป็น 2 ลักษณะคือ CK-MB activity และ CK-MB mass (concentration) ซึ่งปัจจุบันการวัด CK-MB mass ได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากสามารถตรวจวัดได้แม้มีระดับต่ำมาก และมีความจำเพาะต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่า

Ref: http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/principles-of-pharmacotherapy-in-ischemic-heart-diseases-56-01-15
https://www.facebook.com/permalink.php?id=264011650390317&story_fbid=279454645512684
แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์
กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,813 แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วยไข้สูงเฉียบพลันร่วม

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำจำกัดความ
-แนวทางการซักประวัติ
-แนวทางการตรวจร่างกาย
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มี RUQ tenderness
-บทสรุป
ภาคผนวกประกอบด้วย
-รูปแสดงแนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มาด้วย acute fever with jaundice acute fever with jaundice
-แนวทางการซักประวัติผู้ป่วยที่มาด้วย acute fever with jaundice
-แนวทางการวินิจฉัยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัส
-แนวทางการวินิจฉัยมาลาเรีย
-แนวทางการวินิจฉัย hemolysis
-ภาวะ hemolysis ที่พบร่วมกับไขัที่พบบ่อยในประเทศไทย
-แนวทางการวินิจฉัยโรคตับแข็ง
-แนวทางการตรวจรางกายผู้ป่วยที่มาด้วย acute fever with jaundice
-ตารางเปรียบเทียบความไว  ความจำเพาะ  อัตราป่วยและตายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆในการวินิจฉัยภาวะดีซ่าน
-ตารางแสดงความแม่นยา  ค่า predictive value ภาวะแทรกซ้อน  และอัตราการทำไม่สำเร็จในการวินิจฉัยภาวะดีซ่านที่เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินนาดีนอกตับ จากการศึกษาในประเทศไทย
-ตารางแสดงสาเหตุของ jaundice ที่มี LFT เป็นแบบ hepatocellular
-ตารางแสดงสาเหตุของ jaundice ที่มี LFT เป็นแบบ cholestatic

ลิ้งค์ Click

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,812 หญิง 45 ปี หน้ามืดหมดสติไม่รู้สึกตัวร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ

หญิง 45 ปี หน้ามืดหมดสติไม่รู้สึกตัวร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นครั้งที่สอง ได้รับการตรวจดังรูปด้านล่าง จากรูปที่เห็นเป็นการตรวจอะไร และพบความผิดปกติอะไร และผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องความผิดปกตินี้อย่างไรครับ?


ขอขอบคุณน้องๆ สำหรับคำตอบที่ร่วมเรียนรู้นะครับ

เป็นภาพที่ปริ้นมาจากการตรวจเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (24-hours Holter monitoring) โดยจะพบช่วงที่มีลักษณะเป็น short run ventricular tachycardia หรืออาจจะเรียกว่า nonsustained ventricular tachycardia คือเป็น PVC ที่เกิดติดต่อกันเป็นช่วงสั้นๆ มากกว่าสามตัวขึ้นไปแต่ไม่นานเกิน 30 วินาที ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังคือถ้าเกิดขึ้นติดต่อกันนานเกิน 30 วินาที มักก่อให้เกิด hemodynamic unstable ซึ่งต้องให้การดูแลรักษาแบบ ventricular tachycardia ส่วนน้องที่ถามมาว่ามีช่องเล็กๆ สำหรับใช้เปรียบเทียบในการดูให้หรือไม่ ต้องขออภัยด้วยครับ พอดีถ่ายจากกระดาษที่ปริ้นมาจากเครื่องอีกทีครับ

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,811 Dying with dignity in the intensive care unit

Review article
Critical care medicine
N Engl J Med   June 26, 2014

เป้าหมายดั้งเดิมของการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อลดความพิการและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ในการรักษาการทำงานของอวัยวะและฟื้นฟูสุขภาพ แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเสียชีวิตในหน่วยผู้ป่วยหนัก (ไอซียู) ยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อัตราการเสียชีวิตมีความแตกต่างกันทั้งภายในและระหว่างประเทศและได้รับอิทธิพลจากหลายๆ ปัจจัย ซึ่งยังขาดข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อการเปรียบเทียบ แต่ประมาณการณ์ว่าหนึ่งในห้าของคนที่เสีบยชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกิดขึ้นที่เตียงผู้ป่วยวิกฤต
ในบทความนี้นี้ได้เน้นไปที่แนวคิดของการเสียชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในหน่วยผู้ป่วยหนัก (ไอซียู)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-On the Need for Palliative Care
-Eliciting the Values of Patients
-Communication
-Decision Making
-Providing Prognostic Information
-Making Recommendations
-Providing Holistic Care
-The Final Steps
-Consequences for Clinicians
-End-of-Life Care as a Quality-Improvement Target
-Conclusions

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1208795

วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,810 Prophylaxis against venous thromboembolism in ambulatory patients with cancer

Review article
N Engl J Med  June 26, 2014

ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดดำอุดตันเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4-7 เท่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ความเสี่ยงนี้จะสูงสุดในผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกของอวัยวะชนิดที่เป็นก้อน (solid tumors) บางชนิดและมะเร็งโลหิตวิทยาและจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัด ผู้ที่มีมะเร็งแพร่กระจาย หรือผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (inherited thrombophilias)
อัตราการอยู่รอดที่ 1 ปีในผู้ป่วยคือหนึ่งในสามของอัตราการอยู่รอดในผู้ป่วยมะเร็งแต่ไม่มีหลอดเลือดอุดตัน อุบัติการณ์ของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สัมพันธ์กับโรคมะเร็งได้เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะผลร่วมกันของการรักษาที่ดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดต่อไป, การใช้สูตรการรักษาที่เกิดภาวะเร่งการเกิดหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด (prothrombotic treatment regimens), ประชากรสูงอายุ และการตรวจพบที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเทคโนโลยีภาพถ่ายทางการแพทย์และความถี่ของส่งตรวจที่เพิ่มมากขึ้น
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Risks and Rates of Venous Thromboembolism
-Guidelines
-Conclusions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1401468

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,809 โปรแกรมสำหรับคำนวนค่าต่างๆทางเภสัชกรรม

โดยเภสัชกร Durongrit Tripak สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งได้ฟรี โดยเป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ซึ่งโปรแกรมสามารถใช้การคำนวน
1. BMI, BSA
2. การคำนวนการทำงานของไต
3. การคำนวนขนาดยาวัณโรค
4. ตัวช่วยนับยา 7, 14, 28
5. การคำนวนราคาขายจากราคาทุน



ขอขอบคุณสำหรับผลงานที่ดีที่ให้ดาวน์โหลดและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและวงการแพทย์
ท่านสามารถเข้าไปที่ Play สโตร์ แล้วพิมพ์คำว่า thairx cacl ครับ

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,806 Nausea and vomiting of pregnancy

June 15 2014 Vol. 89 Number 12
American Family Physician 

อาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้นเกือบ 75% ของหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุที่แท้จริงไม่เป็นทราบอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่มากสามารถหายได้เอง สามารถควบคุมด้วยการดูแลรักษาแบบประคับประคอง (conservative) และไม่มีผลที่ไม่พึงประสงค์ของทารกในครรภ์ตามมา ประมาณ 1% ของผู้หญิงตั้งครรภ์เกิดจะภาวะของการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (hyperemesis gravidarum) ซึ่งอาจส่งผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อมารดาและทารกในครรภ์
ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการตั้งครรภ์ ควรได้รับการประเมินสำหรับสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีอาการต่อเนื่องหรือมีลักษณะที่ไม่ตรงไปตรงมา การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการรักษาแบบประคับประคองและการเปลี่ยนอาหาร การช่วยเหลือทางอารมณ์และการเสริมวิตามินบี 6 การรักษาด้วยการใช้ยาเหมาะที่จะใช้ในกรณีที่ไม่ดีขึ้นจากการรักษาเริ่มต้นดังที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีภาวะของการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจจะต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดเต็มที่ รวมถึงการนอน รพ. การแก้ไขภาวะขาดน้ำ และการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0615/p965

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,805 BODE index กับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วย COPD

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ 4 อันดับแรกได้แก่ FEV1, MMRC dyspnea scale, ระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที และ body-mass index เรียกขบวนการตรวจวัดนี้ว่า BODE index ซึ่งประกอบด้วย
-B = BMI
-O = degree of airflow obstruction
-D = functional dyspnea
-E = exercise capacity) คะแนนยิ่งสูงจะช่วยบ่งบอกว่ามีโอกาสเสียชีวิตสูงมากขึน โดยมีการแบ่งระดับคะแนนและอัตราการรอดชีวิตดังตารางด้านล่างครับ



Ref: แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,804 Catamenial pneumothorax

หญิง 30 ปี จะมีอาการเจ็บหน้าอกด้านขวาทุกๆ ครั้งที่เป็นประจำเดือน หายใจเข้าจะเจ็บมากขึ้น เอกซเรย์ทรวงอกจะมีลมรั่วในปอดเล็กน้อย พอหายเป็นประจำเดือนอาการต่างๆ ก็หายไปรวมทั้งลมรั่วในปอด ไม่เคยมีประวัติโรคปอดหรือเคยบาดเจ็บที่ทรวงอกมาก่อน จากข้อมูลคิดถึงโรคอะไร จะให้การรักษาอย่างไร?


ขอขอบคุณสำหรับคำตอบที่ร่วมเรียรู้ครับ

 ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น catamenial pneumothorax โดยคำว่า catamenial เป็นภาษากรีก แปลว่า รายเดือน (monthly) โดยทั่วไป catamenial pneumothorax  มักเป็นข้างขวา เกิดซ้ำๆ โดยสัมพันธ์กับรอบเดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบ pelvic endometriosis ร่วมด้วย ควรนึกถึงโรคนี้ในผู้ป่วยหญิงที่มีประวัติและอาการเข้าได้กับ catamenial pneumothorax ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด VATS ซึ่งเป็นคำย่อของ Video-Assisted Thoracic Surgery หมายถึงการผ่าตัดทางศัลยศาสตร์ทรวงอกโดยใช้กล้องวิดีทัศน์ (thoracoscope) ช่วยผ่าตัดครับ

Ref: VATS for Pleural Diseases
นพ. อุกฤษฎ์ จารุพัฒนาพงศ์
ศัลยแพทย์ทรวงอก  สถาบันโรคทรวงอก

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,803 Atrial ectopic beats (premature extrasystoles)

EKG ชายสูงอายุเป็นดังนี้  จะให้การวินิจฉัยว่าอย่างไร?


ขอขอบคุณสำหรับคำตอบที่ร่วมเรียนรู้ครับ

EKG เป็นลักษณธของ atrial ectopic beats (premature extrasystoles) หรืออาจจะเรียก atrial premature beat หรือ premature atrial contraction ก็พอได้ จะพบ abnormal P-waves ตามด้วย normal QRS complexes และมักจะมี compensatory interval โดย P wave ที่เห็นในรูปเป็น P wave หัวกลับบ่งบอกว่ามาจากบริเวณอื่นของ atrial ที่ไม่ใช่จาก SA node โดยตรง ซึ่งใน EKG นี้จะมีการเกิดขึ้นแบบตัวเว้นตัว (atrial bigeminy) 
ใน atrial ectopic beats ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ อาจพบได้ในคนที่มีโรคปอด หรอมีภาวะกระตุ้นบางอย่าง เช่น การดื่มชา กาแฟ อัลกอฮอล์ อากาศเย็น การแพ้  ถ้าไม่มีอาการอะไรยังไม่ต้องให้การรักษา แต่ถ้าเป็นถี่ๆ มีใจสั่น อาจใช้ยาช่วยควบคุมได้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,802 Diagnostic clinical genome and exome sequencing

Review article
N Engl J Med June 19, 2014

การหาลำดับของจีโนมหรือการหาลำดับของเอ็กโซม (exome) สำหรับการประยุกต์ใช้ในทางคลินิก ซึ่งต่อจากนี้จะเรียกว่า clinical genome and exome sequencing (CGES) ซึ่งขณะนี้ได้เข้ามามีบทบาทในเวชปฏิบัติทางการแพทย์ การตรวจสอบ CGES ได้รับการสั่งสำหรับผู้ป่วยจำนวนหลายพันการตรวจ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการวินิจฉัยโรคที่พบน้อย โรคที่ไม่สามารถแยกได้จากลักษณะทางคลินิก ความผิดปกติที่ไม่แน่ใจหรือที่สงสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากทางพันธุกรรม
โดยคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นในการใช้ CGES, คุณลักษณะที่สำคัญคือความแตกต่างจากรูปแบบอื่น ๆ ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากการตรวจสอบพบมีความแตกต่างประมาณ 20,000 ยีน พร้อมกับๆ ความสามารถในการเป็นวิธีการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Technical Overview and Limitations of CGES
Indications for Ordering CGES
Evaluating a CGES Result
Interpreting and Communicating CGES Results
Incidental Findings
Summary
Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1312543

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,801 Genu varus, genu varum, bowleg

Spot diagnosis: หญิงสูงวัยเดินลำบากมานานมากกว่า 3 ปี ลักษณะขาเป็นดังรูป จะให้การวินิจฉัยอะไร? สาเหตุที่อาจเป็นไปได้?
 ให้ยืนเท้าชิด

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบที่ร่วมเรียนรู้ครับ

จากรูปเป็นลักษณะของเข่าโก่ง เมื่อเอาขามาชิดกัน ซึ่งเรียกว่า genu varus หรือ genu varum (genu = เข่า, varum = งอออก) หรืออาจจะเรียกว่า bowleg
สาเหตุ: มีทั้งทั้งชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ และที่ทราบสาเหตุ สำหรับกรณีที่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากเนื้อกระดูกผิดปกติ ดังเช่นที่พบได้ในในโรคกระดูกอ่อน (rickets) และ Paget's disease หรือเกิดจากข้อเข่าด้านในสึกมากกว่าด้านนอก พบได้บ่อยในโรคข้อเข่าเสื่อมหรืออาจเกิดจากเอ็นยึดข้อยืดตัว

Ref: เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับข้อเข่า (ตอนที่ 2) bangkokhealth.com 

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,800 แอพพลิเคชั่นในการคำนวน GFR สูตรต่างๆ

แอพพลิเคชั่นในการคำนวน GFR สูตรต่างๆ ได้แก่
-CKD-EPI Creatinine 2009 Equation
-MDRD Study Equation
-Cockcroft-Gault Formula
-CKD-EPI Cystatin and Creatinine 2012 Equation
-Revised Bedside Schwartz Formula (For ages 1-17)

สามารถดาวน์โหลดติดตั้งได้ฟรี โดยใช้กับอุปกรณ์ที่เป็น  iPhone, iPad และ Android 
ตามลิงค์ด้านล่างครับ
https://www.kidney.org/apps/app_eGFR.cfm

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,799 แนวทางการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีในกรณีเกิดผื่นแพ้ยา

แนวทางการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีในกรณีเกิดผื่นแพ้ยา
(Therapeutic Options of Drug Allergy in HIV Therapy)
โดยสุทธิพร ภัทรชยากุล ภ.บ.,Pharm.D.

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแพ้ยา
-การแพ้ยาต้านเอวไอวี
-การแพ้ยากลุ่ม NNRTI
-คำแนะนำในการป้องกันการเกิดผื่นแพ้ยาจาก nevirapine
-คำแนะนำในการจัดการเมื่อผู้ป่วยแพ้ยา nevirapine
-บทสรุป

ลิ้งค์: http://www.thaihp.org/download.php?option=showfile&file=61

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,798 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ภาพถ่ายรังสีทรวงอก (chest X-ray, CXR) ในการตรวจวินิจฉัยวัณโรค

บางครั้งอาจเราพบ CXR ที่เข้าได้กับวัณโรค เช่น รอยโรคลักษณะ reticulonodular หรือ cavity ที่ตำแหน่งปอดกลีบบน อย่างไรก็ตามรอยโรคเหล่านี้อาจเป็นรอยโรคเก่าของวัณโรคที่ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาหรือเกิดจากโรคอื่นๆ ก็ได้ เช่น เนื้องอก, ปอดอักเสบจากการติดเชื้อชนิดอื่นๆ  เป็นต้น ดังนั้น CXR แม้ว่ามีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค แต่มีความจำเพาะต่ำ โดยมีการศึกษาในประเทศเนปาลพบว่ามีความไว 78%, มีความจำเพาะ 51%
ดังนั้นจึงไม่ควรใช้  CXR เพียงอย่างเดียวในการวินิจฉัยวัณโรค ต้องตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคร่วมด้วยเสมอ ในกรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ภาพถายรังสีทรวงอกพบความผิดปกติเข้าได้กับวัณโรค การนำภาพถายรังสีทรวงอกเดิมมาเปรียบเทียบ โดยเฉพาะเดิมฟิลม์ที่เคยทำมานานกว่า 3 เดือน จะมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค โดยมีแผนภูมิสำหรับเรื่องนี้ตามในอ้างอิงด้านล่างครับ
ซึ่ง CXR ที่อาจเข้าได้กับวัณโรคระยะลุกลาม เช่น patchy infiltrates + cavitary lesion เป็นต้น
ส่วน CXR ที่อาจเขาได้กับรอยโรคเก่าของวัณโรค เช่น fibroreticular infiltrates with/without calcification เป็นต้น

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
http://203.157.45.179/yala12/wp-content/uploads/2014/01/CPG-TB-17-May-56-corrected.pdf
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16751817

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,797 การแบ่งชนิดการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อในทางการแพทย์

Airborne transmission
เป็นการแพรกระจายเชื้อโรคที่แพร่ทางอากาศที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ได้แก่วัณโรค (tuberculosis), หัด (measles), สุกใส (chickenpox), งูสวัดและเริมแบบแพร่กระจาย (disseminated  herpes zoster and disseminated herpes simplex), โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome ; SARS) และโรคไข้หวัดนก (avian Influenza) เป็นต้น
Droplet transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคจากละอองฝอยเสมหะที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ซึ่งนอกจากการติดต่อผ่านทางเดินหายใจแล้วยังสามารถติดต่อจากการสัมผัสเยื่อบุตา เยื่อบุปากและจมูก ได้แก่ หัดเยอรมัน (rubella), คางทูม (mmmps), ไอกรน (pertussis), ไขหวัดใหญ่ (influenza) และไข้กาฬหลังแอน (meningococcal  infection) เป็นต้น
Contact transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ติดต่อไดโดยการสัมผัสทงทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ infectious diarrhea, infectious wound, abscess, viral hemorrhagic infections, viral conjunctivitis, lice, scabies รวมทั้งเชื้อที่ต้องมีทั้ง airborne และ contract precautions เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) โรคไข้หวัดนก (avain Influenza) และโรคสุกใส รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อหรือ colonization ของเชื้อที่ดื้อยา   เช่น Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และเชื้อ multidrug - resistant gram negative bacilli
(MDR-GNB) เป็นต้น

Ref: การป้องกันและควบคมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล
โดย สายสมร  พลดงนอก
และ ศ.พญ.เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์

2,796 ข้อควรทราบเรื่องการแพร่กระจาย การติดต่อ และคำแนะนำนการลดการแพ่รกระจายเชื้อวัณโรค

วัณโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจแบบการติดต่อทางอากาศ (airborne-transmitted) โดยการสูดหายใจเอาเชื้อวัณโรคที่ปนออกมากับเสมหะเมื่อมีการไอหรือจาม การติดเชื้อวัณโรค (TB infection) คือ การรับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายหลังมีการสัมผัสใก้ลชิดผู้ป่วยวัณโรคที่อยูในระยะแพ่รเชื้อ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 30 ของผู้สัมผัสใก้ลชิด  วินิจฉัยได้ด้วยการทดสอบการติดเชื้อวัณโรคทางผิวหนัง  (tuberculin skin test; TST) หรือการตรวจวัดระดับ  interferon gamma (ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อเชื้อวัณโรค) จากเลือดโดยตรง โดยวิธี interferon-gamma release assay (IGRA) โดยทั่วไปหลังติดเชื้อวัณโรค  คนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกตใดๆ เลยตลอดชีวิต  เรียกว่าการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (latent TB infection; LTBI)  ซึ่งไม่ใช่การป่วยเป็นวัณโรค และไม่สามารถแพ่รกระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้  มีเพียงประมาณร้อยละ 10 ของ LTBI เท่านั้นที่ป่วยเป็นวณโรคในภายหล้ง  เรียกว่าวัณโรคกำเริบ (reactivated TB) โดยบางรายอาจเกิดขึ้้นหลังการติดเชื้อวัณโรคนานนับสิบปี ) สำหรับวัณโรคปฐมภูมิ (primary TB) คือการป่วยเป็นวัณโรคหลังการติดเชื้อวัณโรค โดยมีระยะฟักตัวนาน 4-6 สัปดาห์ มักเกิดในเด็กเล็ก หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอมาก ภายหลังการรักษาด้วยสูตรยารักษาวัณโรคมาตรฐานระยะสั้น (Standard  short-course; SSC) 2 สัปดาห์จำนวนเชื้อและอาการไอของผู้ป่วยจะลดลง ทำให้การแพร่เชื้อของผู้ป่วยวัณโรคลดลงด้วยเชื้อวัณโรคที่เจือปนในสิ่งแวดลอมถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด
คำแนะนำในการลดการแพ่รกระจายเชื้อวัณโรค
-ไม่จำเป็น ต้องรับตัวผู้ปวยไว้รักษาในโรงพยาบาลในช่วง 2 สัปดาห์แรก ยกเว้นแต่มีข้อบ่งชี้การแพทย์หรือมีข้อจำเป็นอื่นๆที่มีเหตุผลสมควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
-กรณีที่เป็นวัณโรคปอดเสมหะบวก แนะนำให้แยกผู้ป่วยจากบุคคลอื่่นอย่างน้อย  2 สัปดาห์แรกของการรักษาด้วย SSC เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
-แนะนำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดใช้หน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างน้อย
2  สัปดาหแรกของการรักษาด้วย SSC หรือจนกว่าไม่ไอหรือไอน้อยลงมาก หรือตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ  วัณโรคแล้ว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
-ใช้กระดาษเช็ดหน้าปิดปากและจมูกขณะไอหรือจามในช่วงที่ยังตรวจเสมหะพบเชื้อ ทิ้งกระดาษในภาชนะที่มีฝาปิดแล้วล้างมือทุกครั้งหรือบ้วนเสมหะใส่ชักโครกหรืออ่างล้างมือ ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวแล้วล้างมือทุกครั้ง
-แนะนำให้บุคคลในครอบครัวหรือผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยทกคน  มารับการตรวจคัดกรองหาวัณโรค โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

Ref: แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,795 Insertion of an intraosseous needle in adults

Videos in clinical medicine
N Engl J Med June 12, 2014

การเปิดเส้นที่หลอดเลือดดำส่วนปลายเป็นสิ่งที่ท้าทายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย (เช่น ก่อนมาถึงโรงพยาบาล ในระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดอุบัติเหตุจำนวนมาก หรือในระหว่างการปฏิบัติการทางทหาร) ส่วนการเปิดเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลางมีความเสี่ยงของการเกิดลมรั่วในปอด (pneumothorax) และการบาดเจ็บของหลอดเลือดแดง ซึ่งต้องใช้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ในกรณีส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ภายนอกโรงพยาบาล การสอดใส่เข็มเข้าโพรงกระดูก (intraosseous) จึงเป็นทางเลือกสำหรับการเข้าถึงหลอดเลือดในสถานการณ์เช่นนี้ ซึงควรใช้วิธีการนี้หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จจากวิธีอื่น ๆ  แม้ว่าการสอดใส่เข็มเข้าโพรงกระดูกมีการทำครั้งแรกในการกู้ชีพผู้ป่วยเด็ก และได้รับการยอมรับสำหรับการทำในผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่มีอุปกรณ๋ที่ช่วยในการทำ (mechanical insertion device) ซึ่งวิดีโอนี้จะมุ่งเน้นไปที่การสอดใส่เข็มเข้าโพรงกระดูกในผู้ป่วยผู้ใหญ่

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Overview
-Indications
-Contraindications
-Anatomy
-Site Selection
-Preparation for Mechanical Insertion
-Intraosseous Needle Insertion with a Mechanical Device
-Preparation for Manual Insertion
-Manual Intraosseous Needle Insertion
-Complications
-Summary

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMvcm1211371?query=featured_home

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,794 The child or adolescent with elevated blood pressure

Clinical practice
N Engl J MedJune 12, 2014

Key clinical points
-ความชุกของการมีความดันโลหิตสูงในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นได้เพิ่มขึ้นร่วมกับการเพิ่มขึ้นอย่างมากของโรคอ้วนในผู้ที่อายุน้อย
-ค่าปกติของความดันโลหิต (และจุดตัดที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงและภาวะก่อนเป็นความดันโลหิตสูง [prehypertension]) สำหรับเด็กและวัยรุ่นมีความแตกต่างกันตามเปอร์เซนต์ไทล์ของอายุและความสูง
-การประเมินผลของความดันโลหิตสูงในเด็กและวัยรุ่นได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจหาความดันโลหิตสูงชนิดที่มีสาเหตุ (secondary hypertension) ซึ่งอาจจะรักษาแก้ไขให้หายขาดได้
-การดูแลรักษาโดยทั่วไปเริ่มต้นด้วยการรักษาโดยยังไม่ใช้ยา ตามด้วยการใช้ยาถ้าการรักษายังไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาจะเริ่มต้นถ้าความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงหรือถ้ามีเงื่อนไขร่วมด้วย เช่นโรคเบาหวาน
-ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานในคนที่อายุน้อยอาจจะเกี่ยวข้องกับความเสียหายของอวัยวะต่างๆ (end-organ damage)
-จากข้อมูลที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตสามารถย้อนกลับความเสียหายของอวัยวะต่างๆ ได้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-The Clinical Problem
-Strategies and Evidence
   Evaluation
   Treatment Options
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1001120

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,793 แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557

จัดทำโดย
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย
สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย
ชมรมคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจแห่งประเทศไทย
ชมรมช่างไฟฟำหัวใจแห่งประเทศไทย
ชมรมคาร์ดิแอคอิมเมจจิงแห่งประเทศไทย
ชมรมัมณฑนำกรหลอดเลือดหัวใจแห่งประเทศไทย (2551)
ราชวทยาลยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
แพทยสภา 
กระทรวงสาธารณสุข


วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,792 แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556

แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาวัณโรคในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2556
(Clinical practice guidelines of tuberculosis treatment in adult 2013)
 สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค  
 สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย 
 สมาคมปราบวัณโรคในพระบรมราชูปถัมภ์ 

ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://db.kmddc.go.th/download.aspx?id=1381&fileid=2915&exturl=

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,791 Malignant middle cerebral artery (MCA) infarction

เป็นคำที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เลวลงอย่างรวดเร็วของระบบประสาทเนื่องจากผลกระทบจากการบวมของพื้นที่ในสมองจากการขาดเลือดของหลอดเลือด middle cerebral artery (MCA) ซึ่งในช่วงแรกลักษณะและอาการทางระบบประสาทได้แก่ อาการปวดศรีษะและอาเจียนซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ควรตระหนักถึงกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นนี้ โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากภาพถ่ายรังสีพบการมีสมองบวมและมีอาการเนื่องจากแรงกดผลักดันจากก้อน (mass effect) ของซีกเนื้อสมองในส่วนนอกที่มีขนาดใหญ่
การพยากรณ์โรคโดยทั่วไปจะไม่ดี และการเสียชีวิตมักจะเกิดขึ้นเนื่องจากผลของการเลื่อนของสมองแบบ transtentorial herniation และการกดเบียดก้านสมอง  (brainstem compression)
การรักษาได้แก่การดูแลทั่วไปและการใช้ยาเพื่อที่จะจำกัดขอบเขตของการบวม และการผ่าตัดเพื่อลดผลของความดันที่จะไปกดเบียดเนื้อสมอง (surgical decompression) จนกระทั่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีหลักฐานเล็กน้อยเพื่อเป็นแนวทางการรักษาที่เหมาะสม แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาข้อมูลจากการสุ่มได้รับการเผยแพร่ถึงบทบาทของ surgical decompression ซึ่งการวิเคราะห์รวบรวมจาก 3 การศึกษาในยุโรปโดยการทดลองแบบสุ่มที่มีตัวควบคุมสนับสนุนว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลกแบบ hemicraniectomy ซึ่งทำภายใน 48 ชั่วโมงช่วยลดอัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้ผลลัพท์ในด้านการช่วยเหลือตัวเอง-การทำงานต่างๆ (functional outcome) ในผู้ป่วยดีขึ้น และสิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนไปถึงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับชาติเมื่อไม่นานมานี้


Ref: http://pmj.bmj.com/content/86/1014/235

2,790 ห่วงโช่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival) กับการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

ห่วงโช่แห่งการรอดชีวิต (chain of survival) ตามบัญญัติของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา  (American College of Cardiology, ACC ) ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญต่อเนื่องได้แก่
1. การประเมินผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นทันทีและเรียกรถพยาบาล
2. เริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เน้นการกดหน้าอก
3. ทำการว็อกไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว
4. การช่วยชีวิตขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพ
5. การดูแลหลังมีภาวะหัวใจหยุดเต้น


ซึ่งในขั้นตอนที่ 3 นี้ก็ถือว่าเป็๋นขั้นตอนที่สำคัญมาก โดยปัจจุบันมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator, AED) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะ VT และ VF ยิ่่งถ้าสามารถเริ่มต้นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการกดหน้าอกร่วมกับการใช้เครื่อง AEDได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพียงใด ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในปัจุบันสามารถทำได้โดยบุคคลทั่วไปแม้จะไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ แต่ได้รับการฝึกฝนจนสามารถใช้งานเครื่องได้ และในอนาคตคงจะมีการติดตั้งเครื่องนี้ไว้ตามสถานที่ต่างๆ ให้เกิดความพร้อมและรวดเร็วในการใช้งานได้มากขึ้น
ซึ่งขั้นตอนหลักในการใช้งาน AED มีดังนี้
1. การเปิดเครื่อง
2. การติดแผ่นนำไฟฟ้า
3. การใช้เครื่องวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4. ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วยในระหว่างที่จะทำการ SHOCK
5. ปฏิบิติตามที่เครื่องบอกได้แก่ ให้ SHOCK หรือทำการกดนวดหัวใจ โดยถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ทำการกดหน้าอก 2 ครั้ง สลับกับการช่วยหายใจ (รวมเวลาจะประมาณ 2 นาที)
หรือจนกว่าเรื่องจะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้งอีกครั้ง
(โดยขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไม่ควรเกิน 30 วินาที)

Ref: เอกสารประกอบการอบรมโครงการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
http://www.heart.org/HEARTORG/CPRAndECC/WhatisCPR/AboutEmergencyCardiovascularCareECC/Chain-of-Survival_UCM_307516_Article.jsp

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,789 การตั้งเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยหลอดลมอุดกั้น

-นิยมใช้เป็น การช่วยหายใจแบบควบคุมความดัน (pressure control ventilation)
-Tidal volume ให้น้อยกว่าปกติคือที่  6-8 (6-10) มล./กก.
-Plateau pressure ไม่เกิน 35 ซม.น้ำ
-Peak inspiratory pressure (PIP) สูงหน่อย เช่นตั้งแต่ 60  ลิตร/นาทีขึ้นไป
-End inspiratory volume (VEI) ให้ต่ำกว่า 1.4 L. หรือน้อยกว่า 20 ml/kg.
-Respiratory rate 8-10 (8-15) ครั้ง/นาที เพื่อให้มีระยะเวลาการหายใจออกที่เพียงพอ
-Inspiratory time: 0.8-1.2 วินาที
-I:E มากกว่า 1:3
-ความเข้มข้นออกซิเจนเริ่มที่ 1.0 แล้วค่อยๆ ลดลง โดยให้ได้ O2sat มากกว่า 90% และ PaO2 มากกว่า 60 มม. ปรอท โดยลดความเข้มข้นของออกซิเจนให้น้อยกว่า 0.6 เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะออกซิเจนเป็นพิษ
-พยายามให้ pH มากกว่า 7.3, PaCO2 น้อยกว่า 50 มม. ปรอท O2 sat มากกว่า 95%และบางครั้งอาจต้องยอมรับ PaCO2 ที่สูงกว่าปกติ (permissive hypercapnia)
-PEEP 3-5 ซม. น้ำ (ไม่ควรเกิน 10 ซม. น้ำ), บางแนวทาง 0-2 ซม. น้ำ, 80-85% สำหรับ auto PEEP
-Wave form: decelerating
-บางครั้งมีความจำเป็นต้องให้ยานอนหลับและยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย
-อาจป้องกันการเกิดอากาศค้างในถุงลม (dynamic hyperinflation) อาจทำโดยการลด TV ลด RR หรือทั้งสองอย่าง โดยอาจยอมให้มีการคั่งของ CO2

Ref: การใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้น (Mechanical ventilation in obstructive airway disease) ศิรยุสม์  วรามิตร พบ,
การใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Mechanical Ventilator in Patients with COPD)
สุปราณี ฉายวิจิตร, พย.ม.

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,788 Amiodarone กับการรักษา atrial fibrillation with rapid ventricular response

ปัจจุบันจะเห็นว่ามีแนวโน้มของการใช้ยา amiodarone ในการรักษา AF with RVR กันมากขึ้น ลองมาทบทวนเรื่องนี้กันนะครับ

Amiodarone ได้รับการอนุมัติจาก FDA ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่มีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตที่เกิดจากหัวใจห้องล่าง (lethal ventricular arrhythmias) แต่ยังไม่ได้ใช้สำหรับ AF แต่กระนั้นก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลายใน AF โดยเหมาะในผู้ป่วยที่มี structural heart disease หรือ congestive heart failure แต่สำรองไว้เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่มี underlying heart disease โดยทั้งใน AHA, ACC และ ESC แนะนำให้สำรอง amiodarone ไว้เป็นยาทางเลือก ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มหรือความดันโลหิตสูงที่มี LVH มาก
โดยการควบคุมอัตราการเต้นของ AF ตามแนวทางจะให้เป็น beta-blockers และ calcium chanel blockers (non dihydropiridine) ทางหลอดเลือดดำ เป็นยาลำดับแรก แต่ในปี 2554 พบว่าใน รพ. ทั่วไปของประเทศไทยไม่มี  beta-blockers และ verapamil จึงใช้เป็น diltiazem ทางหลอดเลือดดำ แต่มีข้อห้ามใน acute decompensated heart fialure หรือความดันโลหิตต่ำ ส่วน digitalis เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลว แต่การออกฤทธ์ช้า ประสิทธิภาพไม่ดีนัก therapeutic index แคบ และควรระวังในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ
หรือถ้ามีข้อห้ามของยาทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นและผู้ป่วย AF ที่มี WPW ร่วมด้วยก็ให้ใช้ amiodarone ได้ (AF ที่มี WPW เป็นข้อห้ามใช้ยาทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น)  

เพิ่มเติม: 
-Amiodarone จะถูกเมตาโบไลท์ไปเป็น desethylamiodarone ในตับ ดังนั้นการใช้ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีโรคตับรุนแรง และการเมตาโบไลท์ของยาไม่มีผลทางคลินิกจากการที่ไตทำงานลดลงหรือในกรณีฟอกไต 

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct065916
คู่มือการดูแลผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ โครงการตำราวิชาการสัญจร ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,787 การแยก hyperacute T wave จาก normal T wave

ในบางครั้งต้องพยายามทำการแยก T wave ที่เห็นว่าเป็น hyperacute T wave จากการมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเป็น T wave ปกติ หรือเป็น early repolarization เพราะ hyperacute T wave สามารถเกิดได้จาก subendocardial ischemia หรือเป็นคลื่นที่เกิดขึ้นระยะเริ่มแรกของ STEMI
ลักษณะที่คิดถึง hyperacute T wave
-สูงมากกว่า 8-9 มม.
-ค่อนข้างสมมาตร
-คงอยู่ชั่วคราว (มีการเปลี่ยนแปลง)
-ฐานอาจจะแคบหรือกว้างก็ได้แต่มักกว้างและกว้างกว่า QRS complex
-อาจจะมี prolonged QT interval
-ถ้่ามี 2 lead ที่ติดต่อกัน (contagious leads) จะคิดถึงมากขึ้น

ลักษณะที่คิดถึง normal T wave
-สูงน้อยกว่า 5-7 มม.
-ไม่สมมาตร (ด้านขาขึ้นจะมีความชันน้อยกว่าขาลง)
-คงอยู่ตลอด (ไม่เปลี่ยนแปลง)

และการแยก hyperacute T wave จาก early repolarization โดยการใช้ EKG อย่างเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก แต่สามารถแยกได้จากอาการทางคลินิก ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการที่เข้าได้กับ acute coronary syndrome ให้นึกว่าน่าจะ เป็น hyperacute T wave จาก ischemia ไว้ก่อน จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นจากอย่างอื่น ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใดเลยที่เข้ากับ ACS เช่น ผู้ป่วยที่มาตรวจสุขภาพประจำปี ก็สามารถวินิจฉัยเป็น early
repolarization ได้อย่างปลอดภัย

Ref: http://www.cardiook.net/content/view/32-Hyperacute-T-wave.html
Critical Decisions in Emergency and Acute Care Electrocardiography

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,786 Pregnancy and infection

Review article
N Engl J Med June 5, 2014

ก่อนที่จะมียาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ได้รับการยอมรับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคปอดอักเสบจากเชื้อ pneumococcal รวมถึงการเสียชีวิต ในการระบาดเป็นวงกว้างของไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อเร็ว ๆ นี้ช่วยบอกเตือนเราว่าการติดเชื้อบางอย่างไม่มีผลเป็นสัดส่วนต่อหญิงตั้งครรภ์
มีคำถามขึ้นว่า หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับการรับการติดเชื้อหรือไม่? หญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสำหรับความรุนแรงของโรคหรือไม่? ในระหว่างตั้งครรภ์กลไกการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างและพยาธิสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น (เช่นการลดลงของปริมาณอากาศในการหายใจและการคั่งของปัสสาวะเนื่องจากมดลูกขยายขนาด) และการปรับตัวของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อที่จะรองรับทารกในครรภ์ โดยในบทความนี้ได้ตรวจสอบและสังเคราะห์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับความรุนแรงและความไวต่อการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การติดเชื้อที่มีหลักฐานของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นหรือมีความไวมากขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ไม่สามารถอธิบายได้อย่างเต็มที่จากการเปลี่ยนแปลงกลไกหรือทางกายวิภาค และได้อภิปรายเกี่ยวกับการติดเชื้อเหล่านี้ในแง่ของการค้นพบใหม่ๆ อันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันในระหว่างตั้งครรภ์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-Pregnancy and Severity of Infection
   Influenza
   HEV Infection
   HSV Infection
   Malaria
   Coccidioidomycosis
   Varicella
-Pregnancy and Susceptibility to Infection
   Malaria
   Listeriosis
-Evolving Concepts of Immunologic Alterations during Pregnancy
-Future Directions
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1213566

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,785 ผู้ป่วยสูงวัยเอกซเรย์ทรวงอกเป็นดังนี้ มองเห็นเป็นก้อนที่ปอดซ้าย แต่สุดท้ายเป็นก้อนที่ผิวหนังทางด้านหลังครับ

ผู้ป่วยสูงวัยเอกซเรย์ทรวงอกเป็นดังนี้ มองเห็นเป็นก้อนที่ปอดซ้าย แต่สุดท้ายเป็นก้อนที่ผิวหนังทางด้านหลังครับ ฉนั้นเวลาเห็นความผิดปกติจากฟิล์มบางทีก็อาจจะเป็นจากสิ่งที่อยู่ส่วนผิวหนังของร่างกาย จะได้ไม่เผลอไปทำการสืบค้นต่างๆ เพิ่มครับ



วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,784 สถิติ 11 อันดับแรกที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุข

โดยเรียงตามลำดับดังนี้
1. มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด (malignant neoplasm, all forms)
2. อุบัติเหตุ และเหตุการที่ไม่สามารถระบุเจตนาและปัจจัย้เสริมที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุการเสียชีวิต (accident,Event of undetermined intent,supplementary factors related to causes of mortality)
3. ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง (hypertension and cerebrovascular disease)
4. โรคหัวใจ (disease of the heart)
5. ปอดอักเสบและโรคอื่น ๆ ของปอด (pneumonia and other diseases of lung)
6. ไตอักเสบ กลุ่มอาการของไตพิการและไตพิการ (nephritis, nephrotic syndrome and nephrosis)
7. โรคเกี่ยวกับตับและตับอ่อน (disease of liver and pancrease)
8. การฆ่าตัวตาย ถูกฆ่าตาย (suicide, homicide)
9. เบาหวาน (diabetes mellitus)
10. วัณโรคทุกชนิด (tuberculosis, all forms)
11. โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากไวรัส (human immunodeficieney virus (HIV) disease)

Ref: Click

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,783 การใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้น

การใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้น (mechanical ventilation in obstructive airway disease)
โดย อ. นพ. ศิรยุสม์  วรามิตร 
วารสารอายุรศาสตร์อีสาน ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ตุลาคม-ธันวาคม 2553

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-การเปลี่ยนแปลงที่พบในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้น
-หลักการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้น
-การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน
-การป้องกันการเกิดอากาศค้างในถุงลม (dynamic hyperinflation)
-การตั้งเครื่องช่วยหายใจ (ventilator setting)
-การหย่าเครื่องช่วยหายใจ (ventilator weaning)
-การเฝาติดตามการเปลี่ยนแปลง (respiratory monitoring)
-สรุป
-เอกสารอ้างอิง

ลิ้งค์ http://home.kku.ac.th/medicine/I-San/9_4/files/3.pdf

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,782 องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 (MERS-CoV)

องค์ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 (Middle East Respiratory Coronavirus, MERS-CoV)
การเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-สายพันธุ์ใหม่

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
-ลักษณะโรค
-สถานการณ์
-เชื้อก่อโรค
-อาการของโรค
-ระยะฟักตัวของโรค
-วิธีการแพร่โรค
-การรักษา
-การป้องกัน

ลิ้งค์ Click