อาจจะสงสัยว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายในระยะที่เป็นมากแล้ว จะยังต้องให้ยาในกลุ่ม ACEI หรือ ARB หรือไม่?
ซึ่งจากการสืบค้นพบว่า ยาทั้งสองกลุ่มไม่ได้เป็นข้อห้ามในการให้ยกเว้นแต่ว่ามีภาวะโปแตสเซียมในเลือดที่สูง โดยเฉพาะที่มากกว่า 5.5 mEq/L โดยใน N Engl J Med กล่าวว่าแม้ในผู้ป่วยที่เป็น chronic kidney disease ระยะ 4 (ซึ่งมี GFR 15-29 ml/min/1.73 m2) ในการควบคุมระดับความดันโลหิต การควบคุมและลดการมีโปรตีนในปัสสาวะ ก็สามารถใช้ยาทั้งสองกลุ่มได้ โดยยังได้ประโยชน์ทั้งการลดความดันโลหิตและการลดโปรตีนในปัสสาวะ แต่การให้ยาคงต้องมีการติดตามใกล้ชิดและเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยา และดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากผลข้างเคียงจะพบมากกว่าในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ และควรมีการปรับขนาดยาตามการระดับการทำงานของไต ซึ่งสามารถดูการปรับยาแต่ละชนิดได้จากอ้างอิงด้านล่างได้ครับ ในคู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555 กล่าวไว้ว่าควรใช้ยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีระดับครีอะตินีนในเลือดมากกว่า 3.0 มก./ดล ส่วนในแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554 กล่าวไว้ว่าในผู้ป่วยที่มี Cr ตั้งแต่ 2 มก/ดล หรือ GFR น้อยกว่า 60 มล/นาที/1.73 m2 ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp0906797
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น 2555
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,163 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรักษาความดันโลหิตสูงและความสามารถในการลด systolic BP ของแต่ละวิธีการ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนอกจากช่วยป้อง รักษา ลดปัจจัยเสี่ยงในโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้ยาได้อีกด้วยโดย
-การลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5-23 กก./ม2 สามารถลด SBP 5-20 มม.ปรอท ต่อการลดนน. 10 กก.
-การใช้ DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension diet) ให้รับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหารโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว สามารถลด SBP 8-14 มม.ปรอท
-การจำกัดเกลือในอาหาร โดยลดการรับประทานเกลือโซเดียมให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมล/วัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน สามารถ ลด SBP 2-8 มม.ปรอท
-การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาที/วันและเกือบทุกวัน สามารถลด SBP 4-9 มม.ปรอท
-การลดการดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 drink/วัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 drink/วัน ในผู้หญิงและผู้ที่น้ำหนักน้อย (1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล. ของสุรา 40%, 355 มล. ของเบียร์ 5% หรือ 148 มล. ของเหล้าองุ่น 12%) สามารถลด SBP 2-4 มม.ปรอท
Ref: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
-การลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5-23 กก./ม2 สามารถลด SBP 5-20 มม.ปรอท ต่อการลดนน. 10 กก.
-การใช้ DASH (Dietary Approach to Stop Hypertension diet) ให้รับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหารโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว สามารถลด SBP 8-14 มม.ปรอท
-การจำกัดเกลือในอาหาร โดยลดการรับประทานเกลือโซเดียมให้น้อยกว่า 100 มิลลิโมล/วัน หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์ต่อวัน สามารถ ลด SBP 2-8 มม.ปรอท
-การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ เช่นการเดินเร็วๆ อย่างน้อย 30 นาที/วันและเกือบทุกวัน สามารถลด SBP 4-9 มม.ปรอท
-การลดการดื่มแอลกอฮอล์ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 drink/วัน ในผู้ชาย และไม่เกิน 1 drink/วัน ในผู้หญิงและผู้ที่น้ำหนักน้อย (1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล. ของสุรา 40%, 355 มล. ของเบียร์ 5% หรือ 148 มล. ของเหล้าองุ่น 12%) สามารถลด SBP 2-4 มม.ปรอท
Ref: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,162 ตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
สำหรับการดูแลรักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งหน่วยบริการประจำอาจใช้ตัวชี้วัดดังนี้ โดยสามารถดู measure template ของตัวชี้วัดโดยละเอียดในภาคผนวกของอ้างอิงครับ
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 140 และ DBP ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 90)
2) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการตรวจร่างกาย ประจำปี
3) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประจำปี
4) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือด
5) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง
6) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต
7) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิก
Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง :บริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน
http://stream.nhso.go.th/portals/0/library/library13.pdf
โดยประกอบด้วยตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
1) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (SBPต่ำกว่าหรือเท่ากับ 140 และ DBP ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 90)
2) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการตรวจร่างกาย ประจำปี
3) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประจำปี
4) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหัวใจและหลอดเลือด
5) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง
6) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต
7) อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิก
Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง :บริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน
http://stream.nhso.go.th/portals/0/library/library13.pdf
วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,161 ตัวชี้วัดในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่เขียนไว้ในคู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของสปสช ปีงบประมาณ 2556 เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง :บริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประกอบด้วยตัวชี้วัดในด้านขบวนการ (process indicator), ผลลัพท์ (outcome indicator) และด้านโครงสร้าง (structure indicator) เพื่อใช้ในการประเมินตนเองและเปรียบเทียบกับหน่วยบริการอื่น และใช้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานรวมถึงเป็นการชี้วัดงานเบาหวานตามเครือข่าย TCEN (Toward Clinical Excellence’ Network)
ซึ่งสามารถดู measure template ของตัวชี้วัดโดยละเอียดในภาคผนวกของอ้างอิงครับ
โดยประกอบด้วยตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
1) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ Fasting blood sugar อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
(สูงกว่าหรือเท่ากับ 70 mg/dl และ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dl)
2) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการเจาะ HbA1c ประจำปี
3) อัตราผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7%
4) อัตราการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจาก
โรคเบาหวาน
5) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ Lipid profile ประจำปี
46 | คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556
6) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ LDL ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl
7) อัตราระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า
หรือเท่ากับ 130/80 mmHg
8) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ Micro albuminuria ประจำปี
9) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี Micro albuminuria ที่ได้รับการรักษาด้วย ACE
inhibitor หรือ ARB
10) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตาประจำปี
11) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี
12) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าอย่างละเอียดประจำปี
13) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า
14) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา
15) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการสอนให้ตรวจและดูเท้าด้วยตนเองหรือสอน
ผู้ดูแลอย่างน้อย 1ครั้งต่อปี
16) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่
17) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Diabetic retinopathy
18) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Diabetic nephropathy
19) อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง Impaired fasting glucose ( IFG )
Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง :บริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน
http://stream.nhso.go.th/portals/0/library/library13.pdf
ซึ่งสามารถดู measure template ของตัวชี้วัดโดยละเอียดในภาคผนวกของอ้างอิงครับ
โดยประกอบด้วยตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
1) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ Fasting blood sugar อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้
(สูงกว่าหรือเท่ากับ 70 mg/dl และ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 130 mg/dl)
2) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการเจาะ HbA1c ประจำปี
3) อัตราผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีระดับ HbA1c ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 7%
4) อัตราการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจาก
โรคเบาหวาน
5) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ Lipid profile ประจำปี
46 | คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556
6) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ LDL ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl
7) อัตราระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับความดันโลหิตต่ำกว่า
หรือเท่ากับ 130/80 mmHg
8) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ Micro albuminuria ประจำปี
9) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มี Micro albuminuria ที่ได้รับการรักษาด้วย ACE
inhibitor หรือ ARB
10) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจจอประสาทตาประจำปี
11) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากประจำปี
12) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจเท้าอย่างละเอียดประจำปี
13) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้า
14) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขา
15) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการสอนให้ตรวจและดูเท้าด้วยตนเองหรือสอน
ผู้ดูแลอย่างน้อย 1ครั้งต่อปี
16) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกสูบบุหรี่
17) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Diabetic retinopathy
18) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่เป็น Diabetic nephropathy
19) อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง Impaired fasting glucose ( IFG )
Ref: คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง :บริการควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเบาหวาน
http://stream.nhso.go.th/portals/0/library/library13.pdf
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,160 Continuous renal-replacement therapy for acute kidney injury
Clinical therapeutics
N Engl J Med December 27, 2012
การบำบัดทดแทนไตชนิดที่ทำแบบต่อเนื่อง (continuous renal-replacement therapy) ได้แก่สเปกตรัมของวิธีการล้างไตซึ่งได้พัฒนาในช่วงปี 1980 สำหรับการรักษาผู้ป่วยหนักซึ่งมีการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลันที่ไม่สามารถรับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม (traditional intermittent hemodialysis) ได้ โดยเฉพาะที่ระบบการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic instability) ไม่คงที่ หรือในผู้ที่การฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิมไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายหรือการควบคุมเมตาโบลิซึมได้
การค่อยๆ กรองตัวถูกละลายออกอย่างช้าๆ และการดึงของเหลวออกต่อหน่วยของเวลาในการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไหลเวียนโลหิตดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม
ในทางปฏิบัติในปัจจุบันวงจรโลหิตสำหรับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องโดยปกติจะเป็นวงจรระหว่างเส้นเลือดดำ-เส้นเลือดดำ เลือดดำถูกนำออกจากระบบไหลเวียนของผ่านทางรูด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่มีสองทาง (double-lumen), สายสวนที่มีรูขนาดใหญ่ซึ่งจะผ่านเข้าเครื่องสูบฉีดโลหิตที่เป็นลักษณะการบีบตัวอย่างต่อเนื่องเป็นช่วงๆ (peristaltic) ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงซึมผ่านผลักดันเกิดการกรองของพลาสม่าโดยผ่านเยื่อบางๆ (ultrafiltration) ข้ามเยื่อชีวสังเคราะห์ (biosynthetic hemofiltration membrane) ซึ่งจะเป็นการดึงน้ำออก ตัวถูกละลายจะถูกนำออกโดยการนำพา (continuous venovenous hemofiltration) การแพร่ผ่าน (continuous venovenous hemodialysis) หรือทั้งสอง (continuous venovenous hemodiafiltration)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathophysiology and Effect of Therapy
-Clinical Evidence
-Clinical Use
-Adverse Effects
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1206045
N Engl J Med December 27, 2012
การบำบัดทดแทนไตชนิดที่ทำแบบต่อเนื่อง (continuous renal-replacement therapy) ได้แก่สเปกตรัมของวิธีการล้างไตซึ่งได้พัฒนาในช่วงปี 1980 สำหรับการรักษาผู้ป่วยหนักซึ่งมีการทำงานของไตบกพร่องเฉียบพลันที่ไม่สามารถรับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม (traditional intermittent hemodialysis) ได้ โดยเฉพาะที่ระบบการไหลเวียนโลหิต (hemodynamic instability) ไม่คงที่ หรือในผู้ที่การฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิมไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายหรือการควบคุมเมตาโบลิซึมได้
การค่อยๆ กรองตัวถูกละลายออกอย่างช้าๆ และการดึงของเหลวออกต่อหน่วยของเวลาในการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไหลเวียนโลหิตดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฟอกเลือดเป็นช่วงๆ แบบดั้งเดิม
ในทางปฏิบัติในปัจจุบันวงจรโลหิตสำหรับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องโดยปกติจะเป็นวงจรระหว่างเส้นเลือดดำ-เส้นเลือดดำ เลือดดำถูกนำออกจากระบบไหลเวียนของผ่านทางรูด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่มีสองทาง (double-lumen), สายสวนที่มีรูขนาดใหญ่ซึ่งจะผ่านเข้าเครื่องสูบฉีดโลหิตที่เป็นลักษณะการบีบตัวอย่างต่อเนื่องเป็นช่วงๆ (peristaltic) ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงซึมผ่านผลักดันเกิดการกรองของพลาสม่าโดยผ่านเยื่อบางๆ (ultrafiltration) ข้ามเยื่อชีวสังเคราะห์ (biosynthetic hemofiltration membrane) ซึ่งจะเป็นการดึงน้ำออก ตัวถูกละลายจะถูกนำออกโดยการนำพา (continuous venovenous hemofiltration) การแพร่ผ่าน (continuous venovenous hemodialysis) หรือทั้งสอง (continuous venovenous hemodiafiltration)
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
-Pathophysiology and Effect of Therapy
-Clinical Evidence
-Clinical Use
-Adverse Effects
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Recommendations
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1206045
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,159 T4 toxicosis
พบผู้ป่วยหญิงอายุ 50 ปี มาด้วยอาการและอาการแสดงที่สงสัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ผลการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์พบดังนี้ FT3 6.1 (N 2.39-6.97 ng/ml), TSH 0.01 (N 0.3-5.0 ng/ml) จึงได้ส่งตรวจ FT4 ต่อ ผลเท่ากับ 2.7 (N 0.6-1.6 ng/ml)
ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า T4 toxicosis โดยเป็นภาวะที่พบได้น้อย จึงได้ทบทวนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้และทำให้ได้ทบทวนการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ตามข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์ด้วย
ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรคนไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีอุบัติการณ์ของภาวะ T3 toxicosis สูงถึง 16.02%, T4 toxicosis 2.91% สำหรับการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษนั้น การเลือก FT3 กับ TSH เป็นวิธีที่ใกล้ เคียงกับ gold standard มากที่สุดคือค่าความไว 97.57% ค่าความจำเพาะ 100% เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือก FT4 กับ TSH ซึ่งมีค่าความไว 83.98% ความจำเพาะ 100% ซึ่งจากการศึกษานี้สามารถมาใช้ในการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นพิษสำหรับประเทศไทยว่า ควรเลือกตรวจด้วย FT3, TSH ส่วนการตรวจ FT4 ควรจะทำในลำดับต่อมาถ้าสงสัย T4 toxicosis ซึ่งทำให้เกิดความเหมาะสมในการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ และช่วยลดค่าใช้จ่าย
Ref: http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082542000661
ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า T4 toxicosis โดยเป็นภาวะที่พบได้น้อย จึงได้ทบทวนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนี้และทำให้ได้ทบทวนการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ตามข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์ด้วย
ซึ่งเป็นการศึกษาในประชากรคนไทย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีอุบัติการณ์ของภาวะ T3 toxicosis สูงถึง 16.02%, T4 toxicosis 2.91% สำหรับการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษนั้น การเลือก FT3 กับ TSH เป็นวิธีที่ใกล้ เคียงกับ gold standard มากที่สุดคือค่าความไว 97.57% ค่าความจำเพาะ 100% เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือก FT4 กับ TSH ซึ่งมีค่าความไว 83.98% ความจำเพาะ 100% ซึ่งจากการศึกษานี้สามารถมาใช้ในการเลือกตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นพิษสำหรับประเทศไทยว่า ควรเลือกตรวจด้วย FT3, TSH ส่วนการตรวจ FT4 ควรจะทำในลำดับต่อมาถ้าสงสัย T4 toxicosis ซึ่งทำให้เกิดความเหมาะสมในการวินิจฉัยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ และช่วยลดค่าใช้จ่าย
Ref: http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1082542000661
วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,158 สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและ ภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย
เอกสารข้อมูล: สถานการณ์โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย ปี 2555
(Fact Sheet: Diabetes, Hypertension, and their complications; The current situation in Thailand)
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
(Fact Sheet: Diabetes, Hypertension, and their complications; The current situation in Thailand)
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/data/doc_dm_ht.pdf
วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,157 แนวทางปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. การปฏิบัติทั่วไป
2. การใส่ท่อหลอดลมคอ
3. การเจาะคอ
4. การดูดเสมหะ
5. การดูแลความสะอาดช่องปาก
6. การให้อาหารทางสายยาง
7. การป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
8. การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
9. การเฝ้าระวังปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
10. การทำลายเชื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
11. การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจขณะที่ใช้กับผู้ป่วย
ภาคผนวก ก การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
ภาคผนวก ข ข้อดีและข้อจำกัดของการใส่ Endotracheal tube และ tracheostomy tube
ภาคผนวก ค ตัวชี้วัดการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาคผนวก ง แนวทางการวินิจฉัยปอดอักเสบ
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
1. การปฏิบัติทั่วไป
2. การใส่ท่อหลอดลมคอ
3. การเจาะคอ
4. การดูดเสมหะ
5. การดูแลความสะอาดช่องปาก
6. การให้อาหารทางสายยาง
7. การป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น
8. การหย่าเครื่องช่วยหายใจ
9. การเฝ้าระวังปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
10. การทำลายเชื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ
11. การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจขณะที่ใช้กับผู้ป่วย
ภาคผนวก ก การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
ภาคผนวก ข ข้อดีและข้อจำกัดของการใส่ Endotracheal tube และ tracheostomy tube
ภาคผนวก ค ตัวชี้วัดการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ
ภาคผนวก ง แนวทางการวินิจฉัยปอดอักเสบ
ลิ้งค์ดาวน์โหลด http://www.bamras.org/infectioncontrol/pdf/11..pdf
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,156 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ยา ACEIs และ ARBs ในการลดโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) และชลอการดำเนินของโรคไต
ACEIs และ ARBs ในขนาดปานกลางถึงสูงจะมีความสัมพันธ์กับประโยชน์ในการชลอการดำเนินของโรคไตในการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม (ซึ่งมีหลักฐานชัดเจน) โดยในตารางด้านล่างแสดงช่วงของขนาดปกติของ ACEIs และ ARBs ที่ได้จากการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ยกเว้นแต่จะพบว่าจะมีผลข้างเคียงของยา ซึ่งการใช้ยาในขนาดดังกล่าวหรือสูงกว่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายถือเป็นคำแนะนำ
การรักษาด้วยยา ACEIs หรือ ARBs ควรจะเริ่มที่ขนาดปานกลาง และขนาดยาสามารถจะเพิ่มขึ้นที่ 4 - 8 สัปดาห์ ร่วมกับการติดตามผลข้างเคียงอย่างเหมาะสม ซึ่งมีความหลากหลายเป็นอย่างมากของระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยา ACEIs ชนิดต่างๆ โดยถ้ามากกว่า 50% ของการออกฤทธิ์สูงสุดยังคงอยู่ที่ 24 ชั่วโมงจะสามารถให้วันละครั้ง ส่วนยาที่การออกฤทธิ์สูงสุดเหลือน้อยกว่า 50% ที่ 24 ชั่วโมง ควรจะให้วันละสองครั้ง การใช้ยาลดความดันโลหิตวันละครั้งจะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากการยอมรับและสามารถปฏิบัติตามได้ของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษา และมีความผันผวนของระดับความดันโลหิตที่อยู่ในระดับปกติน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้วันละสองครั้ง
โดยการปรับยาเพื่อควบคุมให้ได้ตามเป้าหมาย ได้แก่ความดันโลหิต ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งยา ACEIs หรือ ARBs สามารถลดการขับโปรตีนลงได้ประมาณ 35-40% โดยในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ได้เขียนไว้ว่า
-ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งพบโปรตีนในปัสสาวะ ควรปรับยาจนปริมาณโปรตีนถึงเป้าหมายโดยให้อัตราส่วนโปรตีนต่อครีอะตินินในปัสสาวะ (urine protein/creatinine ratio-UPCR) น้อยกว่า 0.5-1.0 กรัม/กรัมครีอะตินิน
-ในผู้ป่วยเบาหวานควรลดปริมาณโปรตีนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
-ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน และยังคงมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะสูงกว่าเป้าหมาย อาจพิจารณาให้ ACEIs ร่วมกับ ARBs ได้ และควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด หรืออยู่ในการดูแลของอายุแพทย์โรคไต
-ซึ่งระดับความดันโลหิตที่ช่วยชลอดำเนินของโรคไตโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney diseaseม CKD) หรือเป็นเบาหวาน คือน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
อ้างอิง http://www.kidney.org/professionals/kdoqi/guidelines_bp/guide_11.htm
แนวทางการรักษาโรความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554
การรักษาด้วยยา ACEIs หรือ ARBs ควรจะเริ่มที่ขนาดปานกลาง และขนาดยาสามารถจะเพิ่มขึ้นที่ 4 - 8 สัปดาห์ ร่วมกับการติดตามผลข้างเคียงอย่างเหมาะสม ซึ่งมีความหลากหลายเป็นอย่างมากของระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของยา ACEIs ชนิดต่างๆ โดยถ้ามากกว่า 50% ของการออกฤทธิ์สูงสุดยังคงอยู่ที่ 24 ชั่วโมงจะสามารถให้วันละครั้ง ส่วนยาที่การออกฤทธิ์สูงสุดเหลือน้อยกว่า 50% ที่ 24 ชั่วโมง ควรจะให้วันละสองครั้ง การใช้ยาลดความดันโลหิตวันละครั้งจะเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากการยอมรับและสามารถปฏิบัติตามได้ของผู้ป่วย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษา และมีความผันผวนของระดับความดันโลหิตที่อยู่ในระดับปกติน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้วันละสองครั้ง
โดยการปรับยาเพื่อควบคุมให้ได้ตามเป้าหมาย ได้แก่ความดันโลหิต ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งยา ACEIs หรือ ARBs สามารถลดการขับโปรตีนลงได้ประมาณ 35-40% โดยในแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 ได้เขียนไว้ว่า
-ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงซึ่งพบโปรตีนในปัสสาวะ ควรปรับยาจนปริมาณโปรตีนถึงเป้าหมายโดยให้อัตราส่วนโปรตีนต่อครีอะตินินในปัสสาวะ (urine protein/creatinine ratio-UPCR) น้อยกว่า 0.5-1.0 กรัม/กรัมครีอะตินิน
-ในผู้ป่วยเบาหวานควรลดปริมาณโปรตีนให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
-ผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน และยังคงมีปริมาณโปรตีนในปัสสาวะสูงกว่าเป้าหมาย อาจพิจารณาให้ ACEIs ร่วมกับ ARBs ได้ และควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด หรืออยู่ในการดูแลของอายุแพทย์โรคไต
-ซึ่งระดับความดันโลหิตที่ช่วยชลอดำเนินของโรคไตโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney diseaseม CKD) หรือเป็นเบาหวาน คือน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท
แนวทางการรักษาโรความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,155 ไม่ควรใช้ FFP เพื่อทดแทนภาวะการขาดอัลบูมิน
ในเวชปฏิบัติยังพบเห็นการให้ FFP เพื่อทดแทนภาวะการขาดอัลบูมินเป็นบางครั้ง
ซึ่งจากการสืบค้นพบว่า ในผู้ป่วยซึ่งขาดอัลบูมิน ควรสั่งให้สารละลายอัลบูมิน (human albumin solution) ไม่ควรให้ fresh frozen plasma (FFP) เพราะใน FFP มีอัลบูมินน้อย โดยจากการศึกษาพบว่าใน FFP 100 มล. มีโปรตีน 5.5 กรัม โดยเป็นอัลบูมิน 60% (ดังนั้นคิดเป็นอัลบูมิน 3.3 กรัม) ส่วนสารละลาย 25% อัลบูมิน 1 ขวด 50 มล.จะมีอัลบูมิน 12.5 กรัม และยังเสียงต่อการเกิดโรคติดเชื้อด้วย นอกจากนั้นการให้ FFP ปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็ว อาจพบปฏิกิริยาแพ้เฉียบพลัน และรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ รวมถึงต้องมีการตรวจเพื่อให้ตามหมู่ ABO และมีการตรวจคัดกรองแอนติบอดี้ใน FFP ก่อนให้ โดยในแนวทางหรือคู่มือการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตต่างๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึงข้อบ่งชี้นี้และยังเป็นข้อห้ามด้วย ซึ่งอัลบูมินถึงแม้จะได้จากผู้บริจาคโดยนำพลาสมามารวมกัน แล้วผ่านกระบวนการแยกทางอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา (plasma fractional) และมีขั้นตอนการทำลายเชื้อโรค ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยมาก
อ้างอิง -คู่มือบริการงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิธี
-การใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างเหมาะสม, คู่มือแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3943320
ซึ่งจากการสืบค้นพบว่า ในผู้ป่วยซึ่งขาดอัลบูมิน ควรสั่งให้สารละลายอัลบูมิน (human albumin solution) ไม่ควรให้ fresh frozen plasma (FFP) เพราะใน FFP มีอัลบูมินน้อย โดยจากการศึกษาพบว่าใน FFP 100 มล. มีโปรตีน 5.5 กรัม โดยเป็นอัลบูมิน 60% (ดังนั้นคิดเป็นอัลบูมิน 3.3 กรัม) ส่วนสารละลาย 25% อัลบูมิน 1 ขวด 50 มล.จะมีอัลบูมิน 12.5 กรัม และยังเสียงต่อการเกิดโรคติดเชื้อด้วย นอกจากนั้นการให้ FFP ปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็ว อาจพบปฏิกิริยาแพ้เฉียบพลัน และรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ รวมถึงต้องมีการตรวจเพื่อให้ตามหมู่ ABO และมีการตรวจคัดกรองแอนติบอดี้ใน FFP ก่อนให้ โดยในแนวทางหรือคู่มือการใช้โลหิตและส่วนประกอบของโลหิตต่างๆ ก็ไม่ได้กล่าวถึงข้อบ่งชี้นี้และยังเป็นข้อห้ามด้วย ซึ่งอัลบูมินถึงแม้จะได้จากผู้บริจาคโดยนำพลาสมามารวมกัน แล้วผ่านกระบวนการแยกทางอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา (plasma fractional) และมีขั้นตอนการทำลายเชื้อโรค ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยมาก
อ้างอิง -คู่มือบริการงานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิธี
-การใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างเหมาะสม, คู่มือแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3943320
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,153 คอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย
โดยกลุ่มวิเคราะห์คุณค่าโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันในการจัดทำรายกสนอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูง
เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันในการจัดทำรายกสนอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดสูง
ลิงค์ดาวน์โหลด http://nutrition.anamai.moph.go.th/pdf/chorlesterol.pdf
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,152 Celiac disease
Clinical practice
N Engl J Med December 20, 2012
-เมื่อพิจารณาแล้วว่า โรค celiac มีความผิดปกติของทางเดินอาหาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กผิวขาว, โรค celiac ในขณะนี้เป็นที่ทราบกันว่าส่งผลกระทบต่อบุคคลในอายุที่แตกต่างกัน รวมทั้งความแตกต่างของเชื้อชาติ และอาจจะแสดงออกโดยไม่มีอาการของระบบทางเดินอาหารก็ได้
-การตรวจวัด IgA anti–tissue transglutaminase antibodies คือการทดสอบเบื่องต้นที่มักจะทำเพื่อการคัดกรองสำหรับโรค celiac เพราะมีความไวสูงและความเฉพาะเจาะจงสูง แต่มีประสิทธิภาพต่ำในผู้ป่วยที่มีการขาด IgA (ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรค celiac เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป)
-ยืนยันการวินิจฉัยโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อของดูโอดินัมส่งตรวจ แม้ว่าแนวทางเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการตรวจชิ้นเนื้ออาจไม่จำเป็นในเด็กที่มีหลักฐานชัดเจนทางคลินิกและซีโรโลยี่ของโรคนี้
-ยังเป็นที่โต้แย้งถึงบทบาทของกลูเตน (gluten) ที่เป็นสาเหตุของ celiac disease enteropathy และหลักสำคัญของการรักษาคือการดำเนินการให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีกลูเตน
-การมีความไวต่อกลูเตนอาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีโรค celiac และการวินิจฉัยที่แน่นอนควรจะทำก่อนที่จะจำกัดให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีกลูเตนไปตลอดชีวิต
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
Clinical Presentation
Natural History
-Strategies and Evidence
Diagnosis
Treatment
Follow-up
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Clinical Presentation
-Key Clinical Points
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1113994
N Engl J Med December 20, 2012
-เมื่อพิจารณาแล้วว่า โรค celiac มีความผิดปกติของทางเดินอาหาร ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กผิวขาว, โรค celiac ในขณะนี้เป็นที่ทราบกันว่าส่งผลกระทบต่อบุคคลในอายุที่แตกต่างกัน รวมทั้งความแตกต่างของเชื้อชาติ และอาจจะแสดงออกโดยไม่มีอาการของระบบทางเดินอาหารก็ได้
-การตรวจวัด IgA anti–tissue transglutaminase antibodies คือการทดสอบเบื่องต้นที่มักจะทำเพื่อการคัดกรองสำหรับโรค celiac เพราะมีความไวสูงและความเฉพาะเจาะจงสูง แต่มีประสิทธิภาพต่ำในผู้ป่วยที่มีการขาด IgA (ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรค celiac เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไป)
-ยืนยันการวินิจฉัยโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อของดูโอดินัมส่งตรวจ แม้ว่าแนวทางเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่าการตรวจชิ้นเนื้ออาจไม่จำเป็นในเด็กที่มีหลักฐานชัดเจนทางคลินิกและซีโรโลยี่ของโรคนี้
-ยังเป็นที่โต้แย้งถึงบทบาทของกลูเตน (gluten) ที่เป็นสาเหตุของ celiac disease enteropathy และหลักสำคัญของการรักษาคือการดำเนินการให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีกลูเตน
-การมีความไวต่อกลูเตนอาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีโรค celiac และการวินิจฉัยที่แน่นอนควรจะทำก่อนที่จะจำกัดให้ผู้ป่วยรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีกลูเตนไปตลอดชีวิต
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
Clinical Presentation
Natural History
-Strategies and Evidence
Diagnosis
Treatment
Follow-up
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Clinical Presentation
-Key Clinical Points
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1113994
วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,151 คำแนะนำด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ
โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคกระทรางสาธารณสุข
ทุกปีๆ มีนักท่องเที่ยวเป็นล้านคนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ชื่นชอบของพวกเขา ข้อมูลให้นี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวมีการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบบ่อยๆ ได้อย่างเหมาะสมและส่งเสริมให้เกิดความพึงพอใจและมีความสุขขณะอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปใช้ในการให้คำแนะนำและดูแลนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศได้
เนื้อหาของคำแนะนำได้แก่
-โรคมาลาเรีย
-ไข้เลือดออกเดงกี่
-โรคพิษสุนัขบ้า
-ไข้ไทฟอยด์
-ไวรัสตับอักเสบ
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, เอชไอวีและเอดส์
ลิ้งค์ http://thaigcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/Health%20advice%20for%20travelers_2.pdf
ทุกปีๆ มีนักท่องเที่ยวเป็นล้านคนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ชื่นชอบของพวกเขา ข้อมูลให้นี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวมีการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่พบบ่อยๆ ได้อย่างเหมาะสมและส่งเสริมให้เกิดความพึงพอใจและมีความสุขขณะอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถนำไปใช้ในการให้คำแนะนำและดูแลนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศได้
เนื้อหาของคำแนะนำได้แก่
-โรคมาลาเรีย
-ไข้เลือดออกเดงกี่
-โรคพิษสุนัขบ้า
-ไข้ไทฟอยด์
-ไวรัสตับอักเสบ
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, เอชไอวีและเอดส์
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,150 แนวปฏิบัติการผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์
โดยสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค
พิมพ์ครั้งที่ : 5 (ฉบับปรับปรุง) 2551
ถึงแม้จะออกมาหลายปีแต่เนื้อหาเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
พิมพ์ครั้งที่ : 5 (ฉบับปรับปรุง) 2551
ถึงแม้จะออกมาหลายปีแต่เนื้อหาเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไป
ในทิศทางเดียวกัน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2,149 ACCF/AHA guideline for the management of ST-Elevation Myocardial Infarction 2013 : executive summary
แนวทางในการดูแลรักษา ST-elevation myocardial infarction ซึ่งออกโดย American College of Cardiology และ American Heart Association ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร Circulation
โดยคำแนะนำที่มีหลักฐานระดับแข็งแกร่งที่สุดได้แก่
- ควรจะการรักษาด้วยเพื่อให้กลับมามีการใหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ใหม่ (reperfusion therapy) ในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการภายใน 12 ชั่วโมงของการเริ่มมีอาการ
- Primary PCI เป็นวิธีที่แนะนำของรักษา reperfusion therapy
- หลังจากการทำ PCI ควรให้ยาแอสไพรินไปโดยต่อเนื่องตลอดไป
- ถ้าไม่มีข้อห้าม ควรให้การรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic therapy) ถ้าไม่สามารถทำ primary PCI ได้ภายใน 120 นาทีหลังจากมีผู้พบเห็นผู้ป่วย
- ยา ACEI ควรจะให้ภายใน 24 ชม. แรกในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดบริเวณ anterior wall, มีภาวะหัวใจล้มเหลว, มี ejection fraction ตั้งแต่ 40% ลงไป
- ควรมีการให้กำลังใจและให้คำแนะนำเพื่อการหยุดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่มือสอง (การได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น)
สรุปโดย Physician's First Watch for December 18, 2012
และอ้างอิงจาก http://circ.ahajournals.org/content/early/2012/12/17/CIR.0b013e3182742c84.full.pdf+html
โดยคำแนะนำที่มีหลักฐานระดับแข็งแกร่งที่สุดได้แก่
- ควรจะการรักษาด้วยเพื่อให้กลับมามีการใหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงโคโรนารี่ใหม่ (reperfusion therapy) ในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการภายใน 12 ชั่วโมงของการเริ่มมีอาการ
- Primary PCI เป็นวิธีที่แนะนำของรักษา reperfusion therapy
- หลังจากการทำ PCI ควรให้ยาแอสไพรินไปโดยต่อเนื่องตลอดไป
- ถ้าไม่มีข้อห้าม ควรให้การรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (fibrinolytic therapy) ถ้าไม่สามารถทำ primary PCI ได้ภายใน 120 นาทีหลังจากมีผู้พบเห็นผู้ป่วย
- ยา ACEI ควรจะให้ภายใน 24 ชม. แรกในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดบริเวณ anterior wall, มีภาวะหัวใจล้มเหลว, มี ejection fraction ตั้งแต่ 40% ลงไป
- ควรมีการให้กำลังใจและให้คำแนะนำเพื่อการหยุดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่มือสอง (การได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น)
สรุปโดย Physician's First Watch for December 18, 2012
และอ้างอิงจาก http://circ.ahajournals.org/content/early/2012/12/17/CIR.0b013e3182742c84.full.pdf+html
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,148 คู่มือการตรวจคัดกรองระดับการเห็นในเด็กระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา
คู่มือการตรวจคัดกรองระดับการเห็นในเด็กระดับชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา
โครงการพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและประกอบแว่นสายตาสำหรับเด็กวัยก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในประเทศไทย
โดยคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาพตา กระทรวงสาธารณสุขและโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
โครงการพัฒนาระบบการคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติและประกอบแว่นสายตาสำหรับเด็กวัยก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาในประเทศไทย
โดยคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาพตา กระทรวงสาธารณสุขและโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
ลิ้งดาวน์โหลด http://www.hitap.net/system/files/completed.pdf
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,147 แนวทางการรักษาโรคลมชัก สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและทีมสหสาขาวิชาชีพ (ปี 2555)
โดยคณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สปสช.
และด้วยความกรุณาของ อาจารย์สมศักดิ์ เทียมเก่า ที่กรุณาให้เผยแพร่ความรู้แนวทางการรักษาลมชัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรคลมชัก
บทที่ 2 การจำแนกประเภทของอาการชักและโรคลมชัก
บทที่ 3 โรคลมชักในเด็ก
บทที่ 4 การวินิจฉัยโรคลมชักและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
บทที่ 5 การส่งตรวจรังสีวินิจฉัยในโรคลมชัก
บทที่ 6 การจัดการผู้ป่วยชักครั้งแรกและชักซ้ำ
บทที่ 7 การจัดการผู้ป่วยโรคลมชักชนิดไม่ตอบสนองต่อการรักษาและการใช้ยากันชักรุ่นใหม่
บทที่ 8 ภาวะไข้ชัก
บทที่ 9 การจัดการภาวะชักต่อเนื่อง
บทที่ 10 การจัดการภาวะชักต่อเนื่องในเด็ก
บทที่ 11 การจัดการโรคลมชักในผู้หญิง
บทที่ 12 การจัดการปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคลมชัก
บทที่ 13 การบริหารยากันชัก
บทที่ 14 การส่งตรวจระดับยากันชักและการแปลผลระดับยากันชัก
บทที่ 15 บทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคลมชัก
บทที่ 16 การส่งตัวเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมและการรับการรักษาต่อ
และด้วยความกรุณาของ อาจารย์สมศักดิ์ เทียมเก่า ที่กรุณาให้เผยแพร่ความรู้แนวทางการรักษาลมชัก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การซักประวัติและการตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรคลมชัก
บทที่ 2 การจำแนกประเภทของอาการชักและโรคลมชัก
บทที่ 3 โรคลมชักในเด็ก
บทที่ 4 การวินิจฉัยโรคลมชักและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
บทที่ 5 การส่งตรวจรังสีวินิจฉัยในโรคลมชัก
บทที่ 6 การจัดการผู้ป่วยชักครั้งแรกและชักซ้ำ
บทที่ 7 การจัดการผู้ป่วยโรคลมชักชนิดไม่ตอบสนองต่อการรักษาและการใช้ยากันชักรุ่นใหม่
บทที่ 8 ภาวะไข้ชัก
บทที่ 9 การจัดการภาวะชักต่อเนื่อง
บทที่ 10 การจัดการภาวะชักต่อเนื่องในเด็ก
บทที่ 11 การจัดการโรคลมชักในผู้หญิง
บทที่ 12 การจัดการปัญหาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคลมชัก
บทที่ 13 การบริหารยากันชัก
บทที่ 14 การส่งตรวจระดับยากันชักและการแปลผลระดับยากันชัก
บทที่ 15 บทบาทของทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยโรคลมชัก
บทที่ 16 การส่งตัวเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมและการรับการรักษาต่อ
ลิ้งค์ดาวน์โหลด Click
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,146 ต้นทุน-ประสิทธิผลของกลวิธีวินิจฉัยในการตรวจประเมิน subarachnoid hemorrhage ในแผนกฉุกเฉิน
Cost-effectiveness of diagnostic strategies for evaluation of suspected subarachnoid hemorrhage in the emergency department
Acad Emerg Med. 2012 Oct;19(10):1134-44
ที่มา การวินิจฉัย subarachnoid hemorrhage (SAH) ในแผนกฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ท้าทาย วิธีในการวินิจฉัยได้แก่ การทำเฉพาะเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT), การทำ CT แล้วตามด้วยการเจาะหลัง (CT / LP), การทำ CT แล้วตามด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการฉีดสีเข้าหลอดเลือด (CT / MRA), และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับแล้วตามด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับฉีดสีเข้าหลอดเลือด (CT / CTA) วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบต้นทุน-ประสิทธิผลของการวินิจฉัย SAH
วิธีการศึกษา ผู้แต่งได้สร้างแบบจำลองการตัดสินใจในการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วย SAH ในแผนกฉุกเฉิน กับผู้ซึ่งสงสัย SAH โดยความน่าจะเป็นทางคลินิกได้รับมาจากข้อมูลที่มีการเผยแพร่; การวิเคราะห์ความไวกระทำผ่านช่วงที่มีความน่าเชื่อถือ
ผลการศึกษา พบว่าการตรวจโดย CT เพียงอย่างเดียวมีค่าใช้จ่ายของ 10,339 เหรียญสหรัฐ และมีประสิทธิผล 20.25 ของ quality-adjusted life-years (QALYs), CT / LP มีค่าใช้จ่าย 15,120 เหรียญสหรัฐ และมีประสิทธิผล 20.366 ของ QALYs, และ CT / MRA มีค่าใช้จ่าย 16,207 เหรียญสหรัฐและมีประสิทธิผล 20.27 ของ QALYs
โดยในการวิเคราะห์ความไว, ความน่าจะเป็นของความพิการอย่างรุนแรงจาก SAH, ความไวของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยไม่ฉีดสารทึบรังสี, และความจำเพาะของ LP และ MRA ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจที่สำคัญในการขับเคลื่อนรูปแบบจำลองดงกล่าว, โดยการทำ CT เพียงอย่างเดียวและ CT / LP เป็นวิธีที่เหนือกว่า
สรุป พบว่าการทำ CT-เพียงอย่างเดียวเหนือกว่าการทำ CT / CTA และ CT / MRA
เมื่อพิจารณาถึงการวิเคราะห์ความไวแลลักษณะทางตามกฎหมายการแพทย์ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนของต้นทุน-ประสิทธิผลระหว่าง CT / LP กับวิธีทางเลือกอื่น ซึ่งสนับสนุนว่าแพทย์ควรกลับมาพิจารณาการตรวจ CT / LP ที่เคยทำเป็นมาตรฐานมาแต่เดิม
Acad Emerg Med. 2012 Oct;19(10):1134-44
ที่มา การวินิจฉัย subarachnoid hemorrhage (SAH) ในแผนกฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ท้าทาย วิธีในการวินิจฉัยได้แก่ การทำเฉพาะเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT), การทำ CT แล้วตามด้วยการเจาะหลัง (CT / LP), การทำ CT แล้วตามด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการฉีดสีเข้าหลอดเลือด (CT / MRA), และการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับแล้วตามด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับฉีดสีเข้าหลอดเลือด (CT / CTA) วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบต้นทุน-ประสิทธิผลของการวินิจฉัย SAH
วิธีการศึกษา ผู้แต่งได้สร้างแบบจำลองการตัดสินใจในการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วย SAH ในแผนกฉุกเฉิน กับผู้ซึ่งสงสัย SAH โดยความน่าจะเป็นทางคลินิกได้รับมาจากข้อมูลที่มีการเผยแพร่; การวิเคราะห์ความไวกระทำผ่านช่วงที่มีความน่าเชื่อถือ
ผลการศึกษา พบว่าการตรวจโดย CT เพียงอย่างเดียวมีค่าใช้จ่ายของ 10,339 เหรียญสหรัฐ และมีประสิทธิผล 20.25 ของ quality-adjusted life-years (QALYs), CT / LP มีค่าใช้จ่าย 15,120 เหรียญสหรัฐ และมีประสิทธิผล 20.366 ของ QALYs, และ CT / MRA มีค่าใช้จ่าย 16,207 เหรียญสหรัฐและมีประสิทธิผล 20.27 ของ QALYs
โดยในการวิเคราะห์ความไว, ความน่าจะเป็นของความพิการอย่างรุนแรงจาก SAH, ความไวของเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยไม่ฉีดสารทึบรังสี, และความจำเพาะของ LP และ MRA ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจที่สำคัญในการขับเคลื่อนรูปแบบจำลองดงกล่าว, โดยการทำ CT เพียงอย่างเดียวและ CT / LP เป็นวิธีที่เหนือกว่า
สรุป พบว่าการทำ CT-เพียงอย่างเดียวเหนือกว่าการทำ CT / CTA และ CT / MRA
เมื่อพิจารณาถึงการวิเคราะห์ความไวแลลักษณะทางตามกฎหมายการแพทย์ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนของต้นทุน-ประสิทธิผลระหว่าง CT / LP กับวิธีทางเลือกอื่น ซึ่งสนับสนุนว่าแพทย์ควรกลับมาพิจารณาการตรวจ CT / LP ที่เคยทำเป็นมาตรฐานมาแต่เดิม
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23067018?dopt=Abstract
วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,145 Chlamydia trachomatis infections: screening, diagnosis, and management
American Family Physician
December 15 2012 Vol. 86 No. 12
เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่ติดเชื้อบริเวณเยื่อบุผิวของปากมดลูก, ท่อปัสสาวะและทวารหนัก รวมถึงตำแหน่งที่ไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ เช่นที่ปอดและที่ตา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการรายงานบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีมากกว่า 1 ล้านของการติดเชื้อในแต่ทุกปี ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อนี้จะไม่แสดงอาการของการติดเชื้อ การไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นอุ้งเชิงกรานอักเสบ, มีบุตรยาก, และการตั้งครรภ์นอกมดลูกในผู้หญิง และการอักเสบติดเชื้อของท่อน้ำเชื้อและอัณฑะอักเสบในผู้ชาย
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถเกิดปฏิกิริยาการข้ออักเสบซึ่งชักนำโดย chlamydia การรักษาในกรณีที่ไม่ซับซ้อนได้แก่ยา azithromycin หรือ doxycycline
การตรวจคัดกรองแนะนำในผู้หญิงทุกคนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี ในหญิงตั้งครรภ์ทุกคนและในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ การตรวจคัดกรองในปัจจุบันไม่แนะนำในผู้ชาย
ในทารกแรกเกิดและเด็กทารก แบคทีเรียสามารถทำให้เกิดตาแดง (เยื่อบุตาอักเสบ) และโรคปอดอักเสบ
ในผู้ใหญ่อาจจะพบโรคตาแดงที่เกิดจาก chlamydia, ริดสีดวงตาคือการกำเริบของการติดเชื้อที่ตาที่เกิดจาก chlamydia และเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศกำลังพัฒนา
Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/1215/p1127.html
December 15 2012 Vol. 86 No. 12
เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่ติดเชื้อบริเวณเยื่อบุผิวของปากมดลูก, ท่อปัสสาวะและทวารหนัก รวมถึงตำแหน่งที่ไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ เช่นที่ปอดและที่ตา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีการรายงานบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีมากกว่า 1 ล้านของการติดเชื้อในแต่ทุกปี ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อนี้จะไม่แสดงอาการของการติดเชื้อ การไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นอุ้งเชิงกรานอักเสบ, มีบุตรยาก, และการตั้งครรภ์นอกมดลูกในผู้หญิง และการอักเสบติดเชื้อของท่อน้ำเชื้อและอัณฑะอักเสบในผู้ชาย
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงสามารถเกิดปฏิกิริยาการข้ออักเสบซึ่งชักนำโดย chlamydia การรักษาในกรณีที่ไม่ซับซ้อนได้แก่ยา azithromycin หรือ doxycycline
การตรวจคัดกรองแนะนำในผู้หญิงทุกคนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี ในหญิงตั้งครรภ์ทุกคนและในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ การตรวจคัดกรองในปัจจุบันไม่แนะนำในผู้ชาย
ในทารกแรกเกิดและเด็กทารก แบคทีเรียสามารถทำให้เกิดตาแดง (เยื่อบุตาอักเสบ) และโรคปอดอักเสบ
ในผู้ใหญ่อาจจะพบโรคตาแดงที่เกิดจาก chlamydia, ริดสีดวงตาคือการกำเริบของการติดเชื้อที่ตาที่เกิดจาก chlamydia และเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศกำลังพัฒนา
Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/1215/p1127.html
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,144 Purinergic signaling during inflammation
Review article
Mechanisms of disease
N Engl J Med December 13, 2012
พิวรีนเป็นสารที่มีโมเลกุลเป็นวง (cyclic) และมีสมบัติเป็นอะโรมาติก (heterocyclic aromatic molecules) ซึ่งอยู่ในหมู่สารชีวเคมีที่เก่าแก่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการวิวัฒนาการ purine nucleotide adenosine triphosphate (ATP) เป็นพลังงานหมุนเวียนของปฏิกิริยาทางชีววิทยาโดทั่วไปภายในเซลสิ่งมีชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โดยได้มีการตรวจสอบบทบาทของพิวรีนซึ่งเป็นสัญญาณของโมเลกุลภายนอกเซล ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ ATP, adenosine diphosphate (ADP) และ adenosine
มีการรายงานเกี่ยวกับ purinergic signaling ครั้งแรกในปี1929, เมื่อนักวิทยาศาสตร์ฉีดสารสกัดจากเนื้อเยื่อหัวใจเข้าเส้นเลือดดำในสัตว์ที่ปกติเและสังเกตพบว่าอัตราการเต้นหัวใจช้าลงชั่วคราว ซึ่งนัวิทยาศาสตร์ได้ระบุต่อมาว่าสารทางชีววิทยาดังกล่าวเป็นสารประกอบ adenine, การเกิดการปิดกั้นกระแสไฟฟ้าหัวใจ
(heart block) ซึ่งมีการชักนำโดยการฉีดยา adenosine ทางหลอดเลือดดำยังคงมีความสำคัญในการประยุกต์ใช้ purinergic signaling ในทางคลินิก
การวิจัยเพิ่มเติมในทศวรรษที่ผ่านมาได้นำไปสู่การค้นพบของผลทางชีววิทยาหลายอย่างของ ATP, ADP, และ adenosine signaling สารสื่อกลางเหล่านี้ทำงานผ่านการกระตุ้นของ G-protein–coupled หรือ ligand-gated ion-channel receptors
Adenosine ได้มาจาก ATP และ ADP โดยผ่านปฏฺกิริยาของเอนไซม์ที่อยู่บนพื้นผิวเซลล์ รวมทั้งยังมีการแสดงออกของตัวรับสำหรับสารสื่อกลางเหล่านี้ โดยที่ตัวรับของ ATP และ ADP และตัวรับของ adenosine มักจะก่อให้เกิดผลที่ตรงข้ามกัน ผลของการตอบสนองของเซลนำมาสู่ทั้งอัตราส่วนของ ADP และ ATP ต่อความเข้มข้นของ adenosine และระดับความสัมพันธ์ของการแสดงออกและความแรงสัญญาณของตัวรับนั้น โดยในบทความจะอภิปรายบทบาทหน้าที่ของ purinergic signaling ในโรคที่มีลักษณะของการอักเสบและสิ่งที่เสริมให้เกิดความผิดปกติของ purinergic signaling อันนำไปสู่กลไกของการเกิดโรคเฉียบพลันและเรื้อรัง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Extracellular Nucleotide Release and Signaling
Extracellular Conversion of ATP and ADP to Adenosine
Extracellular Adenosine Signaling
Termination of Adenosine Signaling
Purinergic Signaling as a Regulator of Platelet Function
Extracellular ATP and Adenosine during Ischemia and Reperfusion
P1- and P2-Receptor Signaling during Acute Lung Injury
Purinergic Signaling in IBD
Immunotherapy of Cancer
Conclusions
Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1205750
Mechanisms of disease
N Engl J Med December 13, 2012
พิวรีนเป็นสารที่มีโมเลกุลเป็นวง (cyclic) และมีสมบัติเป็นอะโรมาติก (heterocyclic aromatic molecules) ซึ่งอยู่ในหมู่สารชีวเคมีที่เก่าแก่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการวิวัฒนาการ purine nucleotide adenosine triphosphate (ATP) เป็นพลังงานหมุนเวียนของปฏิกิริยาทางชีววิทยาโดทั่วไปภายในเซลสิ่งมีชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โดยได้มีการตรวจสอบบทบาทของพิวรีนซึ่งเป็นสัญญาณของโมเลกุลภายนอกเซล ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ ATP, adenosine diphosphate (ADP) และ adenosine
มีการรายงานเกี่ยวกับ purinergic signaling ครั้งแรกในปี1929, เมื่อนักวิทยาศาสตร์ฉีดสารสกัดจากเนื้อเยื่อหัวใจเข้าเส้นเลือดดำในสัตว์ที่ปกติเและสังเกตพบว่าอัตราการเต้นหัวใจช้าลงชั่วคราว ซึ่งนัวิทยาศาสตร์ได้ระบุต่อมาว่าสารทางชีววิทยาดังกล่าวเป็นสารประกอบ adenine, การเกิดการปิดกั้นกระแสไฟฟ้าหัวใจ
(heart block) ซึ่งมีการชักนำโดยการฉีดยา adenosine ทางหลอดเลือดดำยังคงมีความสำคัญในการประยุกต์ใช้ purinergic signaling ในทางคลินิก
การวิจัยเพิ่มเติมในทศวรรษที่ผ่านมาได้นำไปสู่การค้นพบของผลทางชีววิทยาหลายอย่างของ ATP, ADP, และ adenosine signaling สารสื่อกลางเหล่านี้ทำงานผ่านการกระตุ้นของ G-protein–coupled หรือ ligand-gated ion-channel receptors
Adenosine ได้มาจาก ATP และ ADP โดยผ่านปฏฺกิริยาของเอนไซม์ที่อยู่บนพื้นผิวเซลล์ รวมทั้งยังมีการแสดงออกของตัวรับสำหรับสารสื่อกลางเหล่านี้ โดยที่ตัวรับของ ATP และ ADP และตัวรับของ adenosine มักจะก่อให้เกิดผลที่ตรงข้ามกัน ผลของการตอบสนองของเซลนำมาสู่ทั้งอัตราส่วนของ ADP และ ATP ต่อความเข้มข้นของ adenosine และระดับความสัมพันธ์ของการแสดงออกและความแรงสัญญาณของตัวรับนั้น โดยในบทความจะอภิปรายบทบาทหน้าที่ของ purinergic signaling ในโรคที่มีลักษณะของการอักเสบและสิ่งที่เสริมให้เกิดความผิดปกติของ purinergic signaling อันนำไปสู่กลไกของการเกิดโรคเฉียบพลันและเรื้อรัง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Extracellular Nucleotide Release and Signaling
Extracellular Conversion of ATP and ADP to Adenosine
Extracellular Adenosine Signaling
Termination of Adenosine Signaling
Purinergic Signaling as a Regulator of Platelet Function
Extracellular ATP and Adenosine during Ischemia and Reperfusion
P1- and P2-Receptor Signaling during Acute Lung Injury
Purinergic Signaling in IBD
Immunotherapy of Cancer
Conclusions
Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1205750
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,143 โปสเตอร์ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน
โดยสถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เป็นโปสเตอร์ที่เป็นการสรุปเกี่ยวกับ ลักษณะของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการ การตรวจวินิจฉัย การป้องกัน-รักษา รวมถึงการสนับสนุนจากกรมการแพทย์
ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โปสเตอร์
1. โรคเบาหวานโดยรวม
2. ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน
3. ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจดูแลรักษาป่วยได้สะดวก เนื้อหากระชับ สีสัน สดใส น่าอ่าน
ลิ้งดาวน์โหลด http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/move/poster/dm.rar
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เป็นโปสเตอร์ที่เป็นการสรุปเกี่ยวกับ ลักษณะของโรค ปัจจัยเสี่ยง อาการ การตรวจวินิจฉัย การป้องกัน-รักษา รวมถึงการสนับสนุนจากกรมการแพทย์
ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โปสเตอร์
1. โรคเบาหวานโดยรวม
2. ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน
3. ภาวะแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวาน
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจดูแลรักษาป่วยได้สะดวก เนื้อหากระชับ สีสัน สดใส น่าอ่าน
วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,142 การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย
พรุ่งนี้นักศึกษาพยาบาลที่มาฝึกงานจะมี conference กรณีศึกษาเรื่องการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย (urinary tract infection in males) จึงทบทวนเรื่องนี้ครับ
-อุบัติการณ์ของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ( urinary tract infection, UTI) ในผู้ใหญ่เพศชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปีต่ำ (ประมาณ 5-8 คนต่อปีต่อ 10,000 ประชากร) มักจะเกิดจากความผิดปกติของกายวิภาค, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของท่อปัสสาวะ (เช่น อาจเกิดจากเชื้อ gonococcal และ nongonococcal) และการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก
-ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก (ความชุก 20-50% ) เพราะการมีต่อมลูกหมากโตขึ้น, กลุ่มอาการเนื่องจากโรคของต่อมลูกหมาก (prostatism), ความเสื่อมถอยของอวัยวะ, และผลที่ตามมาจากการใส่เครื่องมือในระบบทางเดินปัสสาวะ สเปกตรัมของเชื้อที่เป็นสาเหตุก็ค่อนข้างกว้างในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า โดยผู้ใหญ่ผู้หญิงเกิดมากกว่าผู้ชาย 30 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ผู้ชายมีอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะน้อยกว่าผู้หญิงอาจเนื่องมาจากท่อทางเดินปัสสาวะในเพศชายยาวกว่าเพศหญิงทำให้เชื้อที่จะเข้าไปในทางเดินปัสสาวะส่วนลึกๆ ทำได้ยากกว่า มีสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากซึ่งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย และการที่เชื้อ E.coli จับกับ uroepithelial cells ของผู้ชายไม่ดีเท่าในผู้หญิง
-ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยโดยรวมของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบ, ท่อนำน้ำเชื้ออักเสบ, อัณฑะอักเสบ, การอักเสบติดเชื้อกรวยไต, กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ
-การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลและปัจจัยความเสี่ยงหลักได้แก่ การใส่สายสวนปัสสาวะ, การใช่อุปกรณ์เครื่องมือ, การผ่าตัดของระบบทางเดินปัสสาวะ และในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่นผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โรคเบาหวาน หรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมถึงกรณีที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น การติดเชื้อราแคนดิดาในทางเดินปัสสาวะ, ฝีคัณฑสูตร
-โดยในการแบ่งชนิดว่าเป็นการติดเชื้อของส่วนล่าง (lower tract) หรือส่วนบน (upper tract) จะแบ่งได้ดังนี้; ส่วนล่างได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบ, ท่อนำน้ำเชื้ออักเสบ, อัณฑะอักเสบ, และท่อปัสสาวะอักเสบ และการส่วนบนคือการมีการอักเสบติดเชื้อของกรวยไต การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นจากการย้อนขึ้นไปจากส่วนล่าง หรืออาจจะมาทางกระแสเลือดก็ได้ ซึ่งรูเปิดของท่อปัสสาวะอาจบวมและสูญเสียการหน้าที่การเป็นลิ้นปิดเปิดทางเดียว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายอาจสัมพันธ์กับการมี complicated infections ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครงสร้างที่จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อป้องกันผลที่ตามมา ดังนั้นในการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายอย่าลืมคำนึงถึงแนวคิดนี้ด้วย
-การรักษา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิต (โดยในผู้สูงอายุที่เป็นกรวยไตอักเสบจะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 3%) ในกรณีการติดเชื้อแบบไม่ซับซ้อน (uncomplicated UTI) การให้ยา fluoroquinolone หรือ TMP-SMX เป็นเวลา 7-14 วัน (บางแนวทางใช้ที่ 10-14 วัน) ถือเป็นคำแนะนำที่เหมาะสม ส่วนในกรณีที่เป็นต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันสามารถปรับเปลี่ยนยาตามผลการเพาะเชื้อต่อเนื่องเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ถ้าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรังควรให้การรักษา 4-6 สัปดาห์ และถ้าเป็นการเกิดซ้ำของต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง (ซึ่งพบไม่บ่อย) จะต้องให้การรักษาเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์
Ref: Urinary tract infection in males/Emedicine.medscape.com
Harrison 's principles of internal medicine, 18e
Nephrology บรรณาธิการโดย อ.นพ. สมชาย เอี่ยมอ่อง
-อุบัติการณ์ของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ( urinary tract infection, UTI) ในผู้ใหญ่เพศชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปีต่ำ (ประมาณ 5-8 คนต่อปีต่อ 10,000 ประชากร) มักจะเกิดจากความผิดปกติของกายวิภาค, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อของท่อปัสสาวะ (เช่น อาจเกิดจากเชื้อ gonococcal และ nongonococcal) และการติดเชื้อของต่อมลูกหมาก
-ในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก (ความชุก 20-50% ) เพราะการมีต่อมลูกหมากโตขึ้น, กลุ่มอาการเนื่องจากโรคของต่อมลูกหมาก (prostatism), ความเสื่อมถอยของอวัยวะ, และผลที่ตามมาจากการใส่เครื่องมือในระบบทางเดินปัสสาวะ สเปกตรัมของเชื้อที่เป็นสาเหตุก็ค่อนข้างกว้างในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า โดยผู้ใหญ่ผู้หญิงเกิดมากกว่าผู้ชาย 30 เท่า ซึ่งสาเหตุที่ผู้ชายมีอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะน้อยกว่าผู้หญิงอาจเนื่องมาจากท่อทางเดินปัสสาวะในเพศชายยาวกว่าเพศหญิงทำให้เชื้อที่จะเข้าไปในทางเดินปัสสาวะส่วนลึกๆ ทำได้ยากกว่า มีสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากซึ่งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย และการที่เชื้อ E.coli จับกับ uroepithelial cells ของผู้ชายไม่ดีเท่าในผู้หญิง
-ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยโดยรวมของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบ, ท่อนำน้ำเชื้ออักเสบ, อัณฑะอักเสบ, การอักเสบติดเชื้อกรวยไต, กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะอักเสบ
-การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในโรงพยาบาลและปัจจัยความเสี่ยงหลักได้แก่ การใส่สายสวนปัสสาวะ, การใช่อุปกรณ์เครื่องมือ, การผ่าตัดของระบบทางเดินปัสสาวะ และในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่นผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง โรคเบาหวาน หรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมถึงกรณีที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น การติดเชื้อราแคนดิดาในทางเดินปัสสาวะ, ฝีคัณฑสูตร
-โดยในการแบ่งชนิดว่าเป็นการติดเชื้อของส่วนล่าง (lower tract) หรือส่วนบน (upper tract) จะแบ่งได้ดังนี้; ส่วนล่างได้แก่ ต่อมลูกหมากอักเสบ, ท่อนำน้ำเชื้ออักเสบ, อัณฑะอักเสบ, และท่อปัสสาวะอักเสบ และการส่วนบนคือการมีการอักเสบติดเชื้อของกรวยไต การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นจากการย้อนขึ้นไปจากส่วนล่าง หรืออาจจะมาทางกระแสเลือดก็ได้ ซึ่งรูเปิดของท่อปัสสาวะอาจบวมและสูญเสียการหน้าที่การเป็นลิ้นปิดเปิดทางเดียว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายอาจสัมพันธ์กับการมี complicated infections ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครงสร้างที่จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อป้องกันผลที่ตามมา ดังนั้นในการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชายอย่าลืมคำนึงถึงแนวคิดนี้ด้วย
-โดยเชื้อ E coli พบได้ประมาณ 25%, proteus และ providencia พบได้รองลงมา ส่วน klebsiella, pseudomonas, serratia, และ enterococci พบได้น้อยกว่า
-การตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นและพบแบคทีเรียจะช่วยในการวินิจฉัย ส่วนมาตรฐานของการวินิจฉัยคือการพบแบคทีเรียจากการเพาะเชื้อ โดยในผู้ชายจะใช้จำนวนแบคทีเรียที่ตรวจพบน้อยกว่าในผู้หญิง โดยใช้จำนวนที่มากกว่า 10 ยกกำลัง3 /mL. (บางแนวทางใช้ที่ 10 ยกกำลัง4 /mL) รวมถึงอาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเช่นภาพถ่ายรังสี, อัลตร้าซาวด์ และอิ่นๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัยและหาสาเหตุ-การรักษา มีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดเชื้อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิต (โดยในผู้สูงอายุที่เป็นกรวยไตอักเสบจะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 3%) ในกรณีการติดเชื้อแบบไม่ซับซ้อน (uncomplicated UTI) การให้ยา fluoroquinolone หรือ TMP-SMX เป็นเวลา 7-14 วัน (บางแนวทางใช้ที่ 10-14 วัน) ถือเป็นคำแนะนำที่เหมาะสม ส่วนในกรณีที่เป็นต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันสามารถปรับเปลี่ยนยาตามผลการเพาะเชื้อต่อเนื่องเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ถ้าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรังควรให้การรักษา 4-6 สัปดาห์ และถ้าเป็นการเกิดซ้ำของต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง (ซึ่งพบไม่บ่อย) จะต้องให้การรักษาเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์
Ref: Urinary tract infection in males/Emedicine.medscape.com
Harrison 's principles of internal medicine, 18e
Nephrology บรรณาธิการโดย อ.นพ. สมชาย เอี่ยมอ่อง
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,141 การวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ชุดโครงการวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
(Clinical Complication in Type 2 Diabetic Patients)
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554
ซึ่งประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ คือ การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่ตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Retinalcomplication in type 2 diabetic patients), การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2(Nephrotic complication in type 2 diabetic patients) และ การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Foot complication in type 2 diabetic patients)
ชุดโครงการวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
(Clinical Complication in Type 2 Diabetic Patients)
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554
ซึ่งประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ คือ การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่ตาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Retinalcomplication in type 2 diabetic patients), การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2(Nephrotic complication in type 2 diabetic patients) และ การศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขาในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Foot complication in type 2 diabetic patients)
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/aw.pdf
2,140 Stem cells 2
วิชาการ กรมการแพทย์
คณะบรรณาธิการ
นพ. มัยธัช สามเสน
นพ. กฤษณพงศ์ มโนธรรม
นพ. วิทยา ยินดีเดช
รศ. นพ. สืบสาย คงแสงดาว
นพ. ภูวัต จารุกำเนิดกนก
พญ.ทพญ. กรรณิกา ชูเกียรติมั่น
นางจีราพร หิรัญรัตนธรรม
โดย
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
คณะบรรณาธิการ
นพ. มัยธัช สามเสน
นพ. กฤษณพงศ์ มโนธรรม
นพ. วิทยา ยินดีเดช
รศ. นพ. สืบสาย คงแสงดาว
นพ. ภูวัต จารุกำเนิดกนก
พญ.ทพญ. กรรณิกา ชูเกียรติมั่น
นางจีราพร หิรัญรัตนธรรม
โดย
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2,139 Stem cells 1
วิชาการ กรมการแพทย์
คณะบรรณาธิการ
นพ. สมเกียรติ โพธิสัตย์
นพ. กฤษณพงศ์ มโนธรรม
นพ. วิทยา ยินดีเดช
ผศ. (พิเศษ) นพ. สืบสาย คงแสงดาว
นพ. ภูวัต จารุกำเนิดกนก
ผศ. นพ. ภนอม บรรณประเสริฐ
นางจีราพร หิรัญรัตนธรรม
โดย
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
คณะบรรณาธิการ
นพ. สมเกียรติ โพธิสัตย์
นพ. กฤษณพงศ์ มโนธรรม
นพ. วิทยา ยินดีเดช
ผศ. (พิเศษ) นพ. สืบสาย คงแสงดาว
นพ. ภูวัต จารุกำเนิดกนก
ผศ. นพ. ภนอม บรรณประเสริฐ
นางจีราพร หิรัญรัตนธรรม
โดย
สถาบันวิจัยวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,138 กลไกและการรักษาโรคไตเรื้อรัง
Mechanisms and treatment of CKD
JASN November 30, 2012 vol. 23 no. 12 1917-1928
โรคไตเรื้อรังยังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลกพร้อมกับความต้องการในการบำบัดรักษาเพื่อช่วยชีวิต มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นในระบบการดูแลสุขภาพ จากการศึกษาทดลองแสดงให้เห็นว่าการมีความดันในหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสสูง (glomerular capillary hypertension) และการทำงานบกพร่องของการกรองร่วมกับผลที่ตามมาของการมีโปรตีนที่ออกมามากในปัสสาวะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพการดำเนินของโรคไตเรื้อรัง
การศึกษาต่างๆ ที่ผ่านมาในมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการมีโปรตีนในปัสสาวะเป็นตัวทำนายอิสระของการดำเนินของโรคและการลดลงของโปรตีนในปัสสาวะนี้คือการมี renoprotective โดยเมื่อเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิต, การยับยั้งระบบ renin-angiotensin system (RAS) รวมทั้ง angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitors และ angiotensin II receptor blockers (ARBs), มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาที่ไม่ใช้ RAS ในการลดลงของโปรตีนในปัสสาวะ ลดการดำเนินไปสู่ ESRD และแม้แต่ได้ปรับปรุงการทำงานของไตที่ประสบความสำเร็จในการลดการดำเนินของโรคในบางกรณี
ในกรณีที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย, RAS inhibitors จะชะลอการเกิดขึ้นของ microalbuminuria และการดำเนินไปสู่ macroalbuminuria และยา ACE inhibitors อาจลดอัตราการเสียชีวิยของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับโรคไตจากเบาหวาน นอกจาก RAS inhibitors แล้วการใช้วิธีการต่างๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการรักษาโดยใช้ยาหลายชนิดร่วมกันอาจจะมีความจำเป็นในกรณีส่วนใหญ่ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมของปัจจัยเสี่ยงหลายประการของ CKD และการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยาตัวใหม่ที่อาจช่วยปรับปรุงต้นทุนประสิทธิภาพของการให้การดูแลรักษาโดย renoprotective เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งต้องสืบค้นต่อ
Ref: http://jasn.asnjournals.org/content/23/12/1917.abstract?sid=ecca78ae-9aaf-4d1f-8450-0c3305bcfb1c
JASN November 30, 2012 vol. 23 no. 12 1917-1928
โรคไตเรื้อรังยังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลกพร้อมกับความต้องการในการบำบัดรักษาเพื่อช่วยชีวิต มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นในระบบการดูแลสุขภาพ จากการศึกษาทดลองแสดงให้เห็นว่าการมีความดันในหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสสูง (glomerular capillary hypertension) และการทำงานบกพร่องของการกรองร่วมกับผลที่ตามมาของการมีโปรตีนที่ออกมามากในปัสสาวะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพการดำเนินของโรคไตเรื้อรัง
การศึกษาต่างๆ ที่ผ่านมาในมนุษย์แสดงให้เห็นว่าการมีโปรตีนในปัสสาวะเป็นตัวทำนายอิสระของการดำเนินของโรคและการลดลงของโปรตีนในปัสสาวะนี้คือการมี renoprotective โดยเมื่อเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิต, การยับยั้งระบบ renin-angiotensin system (RAS) รวมทั้ง angiotensin converting enzyme (ACE) inhibitors และ angiotensin II receptor blockers (ARBs), มีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาที่ไม่ใช้ RAS ในการลดลงของโปรตีนในปัสสาวะ ลดการดำเนินไปสู่ ESRD และแม้แต่ได้ปรับปรุงการทำงานของไตที่ประสบความสำเร็จในการลดการดำเนินของโรคในบางกรณี
ในกรณีที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย, RAS inhibitors จะชะลอการเกิดขึ้นของ microalbuminuria และการดำเนินไปสู่ macroalbuminuria และยา ACE inhibitors อาจลดอัตราการเสียชีวิยของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับโรคไตจากเบาหวาน นอกจาก RAS inhibitors แล้วการใช้วิธีการต่างๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตและการรักษาโดยใช้ยาหลายชนิดร่วมกันอาจจะมีความจำเป็นในกรณีส่วนใหญ่ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมของปัจจัยเสี่ยงหลายประการของ CKD และการเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นยาตัวใหม่ที่อาจช่วยปรับปรุงต้นทุนประสิทธิภาพของการให้การดูแลรักษาโดย renoprotective เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งต้องสืบค้นต่อ
Ref: http://jasn.asnjournals.org/content/23/12/1917.abstract?sid=ecca78ae-9aaf-4d1f-8450-0c3305bcfb1c
2,137 การบำบัดผู้ติดสารเสพติดที่มีปัญหาซับซ้อน
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดในระบบสาธารณสุข พ.ศ.2555
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล,
พอ.พญ.นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล,
พอ.นพ.พิชัย แสงชาญชัย
และ ดร.ดรุณี ภู่ขาว
เนื้อหาประกอบด้วย :
- การประเมินผู้มีปัญหาซับซ้อนโรคจิตเวชร่วม ปัญหาจากการบำบัดไม่สำเร็จ
- การให้คำปรึกษาและการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้มีปัญหาสารเสพติดแอมเฟตามีน
- การจัดการกับพฤติกรรมอยากเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน
- การบำบัดผู้เสพสารเสพติดแอมเฟตามีนด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
- เทคนิคการเพิ่มจำนวนผู้มีปัญหาสารเสพติดเข้าสู่ระบบบริการ เต็มใจอยู่ และอยู่จนครบกำหนดการบำบัดรักษา
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดในระบบสาธารณสุข พ.ศ.2555
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล,
พอ.พญ.นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล,
พอ.นพ.พิชัย แสงชาญชัย
และ ดร.ดรุณี ภู่ขาว
เนื้อหาประกอบด้วย :
- การประเมินผู้มีปัญหาซับซ้อนโรคจิตเวชร่วม ปัญหาจากการบำบัดไม่สำเร็จ
- การให้คำปรึกษาและการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้มีปัญหาสารเสพติดแอมเฟตามีน
- การจัดการกับพฤติกรรมอยากเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน
- การบำบัดผู้เสพสารเสพติดแอมเฟตามีนด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
- เทคนิคการเพิ่มจำนวนผู้มีปัญหาสารเสพติดเข้าสู่ระบบบริการ เต็มใจอยู่ และอยู่จนครบกำหนดการบำบัดรักษา
ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่
2,136 การให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาสารเสพติด
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : เทอดศักดิ์ เดชคง และคณะ
เนื้อหาประกอบด้วย :
- บทนำ ได้แก่ ทฤษฎีของการให้คำปรึกษา, หน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา,
การใช้คู่มือการให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาสารเสพติด,
การให้คำแนะนำแบบสั้น,
การให้คำแนะนำครอบครัวแบบสั้น ฯลฯ
- ประเด็นเนื้อหาที่ใช้ในการให้คำปรึกษา ได้แก่
การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ,
ความรู้เรื่องยาบ้าและผลกระทบจากการใช้ยา,
ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม, การเลิกสารเสพติด, การเลิกสุรา,
วิเคราะห์ตัวกระตุ้น, ทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ,
การหลีกเลี่ยงการหวนกลับไปเสพสารเสพติด, การจัดการตัวกระตุ้น,
ปัญหาที่พบบ่อย, ทักษะการปฏิเสธ,
ความเชื่อที่ถูกต้องและทัศนคติที่ร่วมมือในการเลิกสารเสพติด,
พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด, สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ,
เคล็ดลับในการเลิกเสพสารเสพติด, การสร้างความไว้วางใจ,
การหาเพื่อนใหม่, เป้าหมายและคุณค่าของชีวิต
และการสนับสนุนจากครอบครัว/สังคม
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : เทอดศักดิ์ เดชคง และคณะ
เนื้อหาประกอบด้วย :
- บทนำ ได้แก่ ทฤษฎีของการให้คำปรึกษา, หน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา,
การใช้คู่มือการให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาสารเสพติด,
การให้คำแนะนำแบบสั้น,
การให้คำแนะนำครอบครัวแบบสั้น ฯลฯ
- ประเด็นเนื้อหาที่ใช้ในการให้คำปรึกษา ได้แก่
การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ,
ความรู้เรื่องยาบ้าและผลกระทบจากการใช้ยา,
ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม, การเลิกสารเสพติด, การเลิกสุรา,
วิเคราะห์ตัวกระตุ้น, ทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ,
การหลีกเลี่ยงการหวนกลับไปเสพสารเสพติด, การจัดการตัวกระตุ้น,
ปัญหาที่พบบ่อย, ทักษะการปฏิเสธ,
ความเชื่อที่ถูกต้องและทัศนคติที่ร่วมมือในการเลิกสารเสพติด,
พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด, สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ,
เคล็ดลับในการเลิกเสพสารเสพติด, การสร้างความไว้วางใจ,
การหาเพื่อนใหม่, เป้าหมายและคุณค่าของชีวิต
และการสนับสนุนจากครอบครัว/สังคม
ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่
2,135 การประเมินปัญหาการใช้สารเสพติด
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
รศ.พญ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล
เนื้อหาประกอบด้วย :
- ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดเพื่อการบำบัดรักษา
- ภาวะฉุกเฉินจากสารเสพติดและการดูแลช่วยเหลือ
- การประเมินปัญหาสารเสพติดและการบำบัดแบบสั้นตามผลคัดกรอง
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย :
พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์,รศ.พญ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล
เนื้อหาประกอบด้วย :
- ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดเพื่อการบำบัดรักษา
- ภาวะฉุกเฉินจากสารเสพติดและการดูแลช่วยเหลือ
- การประเมินปัญหาสารเสพติดและการบำบัดแบบสั้นตามผลคัดกรอง
Link download: คลิกที่นี่
วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,134 โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษา ผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่่มแอมเฟตามีนในสถานพยาบาลปฐมภูมิ
คู่่มือสำหรับผู้้ปฏิบัติ : โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่่มแอมเฟตามีนในสถานพยาบาลปฐมภูมิ (ฉบับทดลองนำร่่อง)
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย :
พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และ พญ. บุญศิริ จันศิริมงคล
เนื้อหาประกอบด้วย :
- แนะนำแผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน
- โครงการนำร่องเสริมศักยภาพรูปแบบการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติด
- สรุปสิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
- โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การประเมินเพื่อจำแนกความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
แอมเฟตามีนและให้คำแนะนำเบื้องต้น
2. การจัดบริการดูแลรักษาตามความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
แอมเฟตามีน
3. การประเมินผลลัพธ์การรักษาและการติดตามต่อเนื่องในชุมชน
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย :
พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และ พญ. บุญศิริ จันศิริมงคล
เนื้อหาประกอบด้วย :
- แนะนำแผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน
- โครงการนำร่องเสริมศักยภาพรูปแบบการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติด
- สรุปสิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
- โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การประเมินเพื่อจำแนกความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
แอมเฟตามีนและให้คำแนะนำเบื้องต้น
2. การจัดบริการดูแลรักษาตามความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
แอมเฟตามีน
3. การประเมินผลลัพธ์การรักษาและการติดตามต่อเนื่องในชุมชน
ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,133 หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน
Acute otitis externa: an update
American Family Physician
December 1 2012 Vol. 86 No. 11
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis externa) เป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของช่องหู ซึ่งชนิดเฉียบพลันมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus เป็นเชื้อโรคที่พบมากที่สุด
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลันมีลักษณะการเกิดอาการอย่างรวดเร็วของการมีช่องหูอักเสบทำให้เกิดอาการปวดหู, คัน, รูหูแดง, และมีน้ำใหลออกจากหูและมักจะเกิดขึ้นภายหลังการว่ายน้ำหรือการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับการทำความสะอาดอย่างไม่เหมาะสม การกดเจ็บขณะทำการเคลื่อนไหวของจุดนูนที่เป็นกระดูกอ่อนอยู่หน้าหู (tragus) เป็นสิ่งที่พบได้เสมอ
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เช่น acetic acid, aminoglycosides, polymyxin B, และ quinolones เป็นการรักษาทางเลือกหลักในกรณีที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งยาเหล่านี้ในสูตรการเตรียมอาจมีหรือไม่มีคอร์ติโคสเตอรอยด์ ซึ่งการเพิ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์อาจช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ดีพอว่ายาต้านจุลชีพหรือสูตรยาปฏิชีวนะใดเหนือกว่าอีกยาหนึ่งในทางคลินิก ทางเลือกของการรักษาขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัย, รวมทั้งสถานะของเยื่อแก้วหู, ลักษณะของผลกระทบ, การยอมรับการใช้ยา, และค่าใช้จ่าย
สูตรที่ประกอบด้วย neomycin/polymyxin B/hydrocortisone เป็นยาที่มีเหตุผลอันดับแรกที่เหมาะสมเมื่อแก้วหูปกติ ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานจะสงวนไว้สำหรับกรณีที่การติดเชื้อได้แพร่กระจายเกินกว่าช่องหูหรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่วนโรคหูชั้นนอกอักเสบเรื้อรัง (chronic otitis externa) มักมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้หรือโรคผิวหนังอักเสบที่มีอยู่เดิมและสามารถให้รักษาโดยการรักษาสาเหตุที่เป็นอยู่
Ref: http://www.aafp.org/online/en/home/publications/journals/afp.html
American Family Physician
December 1 2012 Vol. 86 No. 11
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis externa) เป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบของช่องหู ซึ่งชนิดเฉียบพลันมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus aureus เป็นเชื้อโรคที่พบมากที่สุด
หูชั้นนอกอักเสบเฉียบพลันมีลักษณะการเกิดอาการอย่างรวดเร็วของการมีช่องหูอักเสบทำให้เกิดอาการปวดหู, คัน, รูหูแดง, และมีน้ำใหลออกจากหูและมักจะเกิดขึ้นภายหลังการว่ายน้ำหรือการบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้รับการทำความสะอาดอย่างไม่เหมาะสม การกดเจ็บขณะทำการเคลื่อนไหวของจุดนูนที่เป็นกระดูกอ่อนอยู่หน้าหู (tragus) เป็นสิ่งที่พบได้เสมอ
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่เช่น acetic acid, aminoglycosides, polymyxin B, และ quinolones เป็นการรักษาทางเลือกหลักในกรณีที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งยาเหล่านี้ในสูตรการเตรียมอาจมีหรือไม่มีคอร์ติโคสเตอรอยด์ ซึ่งการเพิ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์อาจช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ดีพอว่ายาต้านจุลชีพหรือสูตรยาปฏิชีวนะใดเหนือกว่าอีกยาหนึ่งในทางคลินิก ทางเลือกของการรักษาขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัย, รวมทั้งสถานะของเยื่อแก้วหู, ลักษณะของผลกระทบ, การยอมรับการใช้ยา, และค่าใช้จ่าย
สูตรที่ประกอบด้วย neomycin/polymyxin B/hydrocortisone เป็นยาที่มีเหตุผลอันดับแรกที่เหมาะสมเมื่อแก้วหูปกติ ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานจะสงวนไว้สำหรับกรณีที่การติดเชื้อได้แพร่กระจายเกินกว่าช่องหูหรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ส่วนโรคหูชั้นนอกอักเสบเรื้อรัง (chronic otitis externa) มักมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้หรือโรคผิวหนังอักเสบที่มีอยู่เดิมและสามารถให้รักษาโดยการรักษาสาเหตุที่เป็นอยู่
Ref: http://www.aafp.org/online/en/home/publications/journals/afp.html
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,132 Weaning patients from the ventilator
Review article
Current concept
N Engl J Med December 6, 2012
ในประเทศสหรัฐอเมริกาผู้ป่วยเกือบ 800,000 คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในแต่ละปีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ประมาณการนี้ไม่รวมทารกแรกเกิด และในกรณีที่มีข้อสงสัยอีกเล็กน้อยว่ามีการใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีหรือในผู้ที่อายุมากกว่าซึ่งมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจมีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันในช่วงหลังการผ่าตัด, โรคปอดอักเสบ, ภาวะหัวใจล้มเหลว, ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เป็นภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome, ARDS)
การบทความ-การสนทนาที่จะกล่าวต่อไปนี้ถือว่าแพทย์ได้จัดการปัญหาด้านเมตาโบลิซม การอักเสบและสภาวะการติดเชื้อซึ่งอาจจะมีและได้รับการแก้ไขในขอบเขตที่สามารถทำได้
โดยทันทีที่สภาวะที่ก่อให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้เริ่มต้นดีขึ้น การเปลี่ยนจากการช่วยหายใจแบบเต็มรูปแบบไปสู่การหายใจด้วยตนเองก็ควรจะเริ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องการใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการหายใจที่เพียงพอที่จะส่งเสริมการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซให้อยู่ในในระดับที่ยอมรับได้ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงนี้ยังรวมถึงการนำท่อช่วยหายใจออกด้วย
ในผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวเป็นเวลานาน คำว่า "หย่า (weaning) เครื่องช่วยหายใจ" อาจจะเหมาะสมเพราะเป็นการอธิบายกระบวนการที่ค่อยๆ เพิ่ม strength-to-load ratio ของระบบทางเดินหายใจเพื่อให้สามารถหายใจเอง แต่น่าเสียดายที่คำนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งการใช้คำว่า"ปลดปล่อย (liberation) จากเครื่องช่วยหายใจ " เป็นคำอธิบายที่ดีกว่าเพราะหมายถึงการเอาออกอย่างรวดเร็วของสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไปแล้ว
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Strategies to Reduce the Duration of Mechanical Ventilation
-Approaches to Spontaneous-Breathing Trials
Unsuccessful Weaning from the Ventilator
Treatment of Respiratory Distress after Extubation
-Our Approach
-Future Research
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1203367
Current concept
N Engl J Med December 6, 2012
ในประเทศสหรัฐอเมริกาผู้ป่วยเกือบ 800,000 คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในแต่ละปีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ประมาณการนี้ไม่รวมทารกแรกเกิด และในกรณีที่มีข้อสงสัยอีกเล็กน้อยว่ามีการใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีหรือในผู้ที่อายุมากกว่าซึ่งมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจมีภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันในช่วงหลังการผ่าตัด, โรคปอดอักเสบ, ภาวะหัวใจล้มเหลว, ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เป็นภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome, ARDS)
การบทความ-การสนทนาที่จะกล่าวต่อไปนี้ถือว่าแพทย์ได้จัดการปัญหาด้านเมตาโบลิซม การอักเสบและสภาวะการติดเชื้อซึ่งอาจจะมีและได้รับการแก้ไขในขอบเขตที่สามารถทำได้
โดยทันทีที่สภาวะที่ก่อให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวได้เริ่มต้นดีขึ้น การเปลี่ยนจากการช่วยหายใจแบบเต็มรูปแบบไปสู่การหายใจด้วยตนเองก็ควรจะเริ่มขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องการใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการหายใจที่เพียงพอที่จะส่งเสริมการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซให้อยู่ในในระดับที่ยอมรับได้ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงนี้ยังรวมถึงการนำท่อช่วยหายใจออกด้วย
ในผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวเป็นเวลานาน คำว่า "หย่า (weaning) เครื่องช่วยหายใจ" อาจจะเหมาะสมเพราะเป็นการอธิบายกระบวนการที่ค่อยๆ เพิ่ม strength-to-load ratio ของระบบทางเดินหายใจเพื่อให้สามารถหายใจเอง แต่น่าเสียดายที่คำนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งการใช้คำว่า"ปลดปล่อย (liberation) จากเครื่องช่วยหายใจ " เป็นคำอธิบายที่ดีกว่าเพราะหมายถึงการเอาออกอย่างรวดเร็วของสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไปแล้ว
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Strategies to Reduce the Duration of Mechanical Ventilation
-Approaches to Spontaneous-Breathing Trials
Unsuccessful Weaning from the Ventilator
Treatment of Respiratory Distress after Extubation
-Our Approach
-Future Research
-Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1203367
วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,131 แนวทางเวชปฏิบัติในการใช้ยาสตีรอยด์ทาเฉพาะที่
Clinical practice guideline for topical steroid usage 2011
โดยสมาคมแพทย์โรคผิวหนังแห่งประเทศไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-นิยาม
-หลักการใช้ยา
ตัวยา, รูปแบบของยา (form), ความแรงของยา (potency)
ลักษณะของรอยโรค
ตำแหน่งของรอยโรค
พื้นที่ของรอยโรค
อายุ
ระยะเวลาในการทายา
ความถี่ในการทายา
ปริมาณยาที่ทา
ข้อควรระวัง
ผลข้างเคียงเฉพาะที่ (local side effect)
ผลข้างเคียงตามระบบ (systemic side effect)
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.dst.or.th/files_news/010-Guideline_TopicalSteroidUsage_2011.pdf
โดยสมาคมแพทย์โรคผิวหนังแห่งประเทศไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-นิยาม
-หลักการใช้ยา
ตัวยา, รูปแบบของยา (form), ความแรงของยา (potency)
ลักษณะของรอยโรค
ตำแหน่งของรอยโรค
พื้นที่ของรอยโรค
อายุ
ระยะเวลาในการทายา
ความถี่ในการทายา
ปริมาณยาที่ทา
ข้อควรระวัง
ผลข้างเคียงเฉพาะที่ (local side effect)
ผลข้างเคียงตามระบบ (systemic side effect)
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.dst.or.th/files_news/010-Guideline_TopicalSteroidUsage_2011.pdf
2,130 แนวทางเวชปฏิบัติโรคปวดหลังส่วนล่าง (low back pain)
โดยสมาคมรูมาติซั่มแหงประเทศไทย
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำจำกัดความ
-สาเหตุ
-อาการและอาการแสดง
-การสืบค้น
-การรักษา
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.mediafire.com/view/?12nx05mhefhbeyy
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-คำจำกัดความ
-สาเหตุ
-อาการและอาการแสดง
-การสืบค้น
-การรักษา
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.mediafire.com/view/?12nx05mhefhbeyy
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,129 ทบทวนพยาธิสรีรวิทยาของการเกิดหนองในชั้นกล้ามเนื้อ (pyomyositis)
Tropical pyomyositis (myositis tropicans): current perspective
Postgrad Med J 2004;80:267-270
เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กล้ามเนื้อโครงร่างในระหว่างการมีเชื้อในกระแสเลือดชั่วคราว (transient bacteraemia) ซึ่งเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโครงร่างโดยปกติแล้วจะสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียภายใต้สถานการณ์ปกติ โดยแนวความคิดที่ว่าคือมีการปล่อยธาตุเหล็กออกโดยไมโอโกลบิน (ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย) โดยเมื่อธาตุเหล็กลดลงจะส่งผลให้การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียช้าลง ทำให้ภูมิคุ้มกันโดยเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ (humoral) ในการป้องกันการติดเชื้อสามารถเข้าสู่ตำแหน่งที่ติดเชื้อก่อให้เกิดความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อ ถ้ามีการทำลายของกล้ามเนื้อจะทำให้มีความสามารถในการติดเชื้อของเชื้อที่มาทางกระแสเลือดและเกิดเป็นฝีขึ้นมา
โดย 20%-50% ของผู้ป่วยจะมีประวัติของการบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก (blunt trauma) หรือการออกกำลังกายอย่างหนักของกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ส่วนสมมติฐานของกลไกอื่นๆ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ซึ่งได้แก่ การขาดสารอาหาร, การติดเชื้อไวรัสและปรสิต มีการตั้งสมมติฐานว่าธาตุเหล็กที่มีมากมายที่พร้อมจะนำมาใช้ภายหลังจากการบาดเจ็บส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมากมาย
ยังมีสิ่งสนับสนุนว่าการมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอาจเป็นสาเหตุพื้นฐานในหลาย ๆ กรณีของผู้ป่วย นักวิจัยบางคนได้พิสูจน์ว่าเซลเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที-เซล (T-cells) จะไม่เพียงพอกับในการต่อต้านเชื้อ staphylococcus ในระหว่างที่มีการติดเชื้อ ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่การมีติดเชื้อไวรัสนำมาก่อน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง arbovirus) หรือการติดเชื้อพยาธิตัวกลมบางชนิด แต่บทบาทในการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน
การใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันของเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ เกิดความบกพร่องในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของนิวโทรฟิล เพิ่มแบคทีเรียมาอาศัยอยู่ที่ที่ผิวหนังและการฉีดสิ่งปนเปื้อนเข้าไปโดยตรง
โดยมีการติดเชื้อมากขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวีจากการทำลายกล้ามเนื้อจากตัวโรคเอง การติดเชื้อพยาธิ เชื้อไมโครแบคทีเรียม และการเสียการปกป้องของร่างกายเนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของ helper T-cells และ granulocytes ในบางการศึกษาแสดงให้เห็นว่า CD4 ที่น้อยกว่า 150/mm3 มีบทบาทต่อการเกิดโรค และพบว่ามีการเพิ่มของอุบัติการณ์ของการเป็นพาหะของ staphylococcus เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเอชไอวี
โดยในช่วงแรกของการเกิดโรค กล้ามเนื้อจะมีการบวมและมีการแยกจากกันของเส้นใยกล้ามเนื้อ ตามมาด้วยหย่อมของการสลายของกล้ามเนื้อ (myocytolysis) และดำเนินไปจนเกิดการสลายตัวอย่างสมบูรณ์ เส้นใยกล้ามเนื้อจะถูกล้อมรอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและพลาสม่าเซล เส้นใยกล้ามเนื้ออาจหายได้โดยไม่เกิดฝีหรือการเสื่อมสลาย หรืออาจจะดำเนินไปเป็นหนองที่มีแบคทีเรียและเซลเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonuclear อยู่ได้
Ref: http://pmj.bmj.com/content/80/943/267.full
Postgrad Med J 2004;80:267-270
เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กล้ามเนื้อโครงร่างในระหว่างการมีเชื้อในกระแสเลือดชั่วคราว (transient bacteraemia) ซึ่งเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโครงร่างโดยปกติแล้วจะสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียภายใต้สถานการณ์ปกติ โดยแนวความคิดที่ว่าคือมีการปล่อยธาตุเหล็กออกโดยไมโอโกลบิน (ซึ่งธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรีย) โดยเมื่อธาตุเหล็กลดลงจะส่งผลให้การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียช้าลง ทำให้ภูมิคุ้มกันโดยเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ (humoral) ในการป้องกันการติดเชื้อสามารถเข้าสู่ตำแหน่งที่ติดเชื้อก่อให้เกิดความสำเร็จในการป้องกันการติดเชื้อ ถ้ามีการทำลายของกล้ามเนื้อจะทำให้มีความสามารถในการติดเชื้อของเชื้อที่มาทางกระแสเลือดและเกิดเป็นฝีขึ้นมา
โดย 20%-50% ของผู้ป่วยจะมีประวัติของการบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก (blunt trauma) หรือการออกกำลังกายอย่างหนักของกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ส่วนสมมติฐานของกลไกอื่นๆ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ซึ่งได้แก่ การขาดสารอาหาร, การติดเชื้อไวรัสและปรสิต มีการตั้งสมมติฐานว่าธาตุเหล็กที่มีมากมายที่พร้อมจะนำมาใช้ภายหลังจากการบาดเจ็บส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมากมาย
ยังมีสิ่งสนับสนุนว่าการมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอาจเป็นสาเหตุพื้นฐานในหลาย ๆ กรณีของผู้ป่วย นักวิจัยบางคนได้พิสูจน์ว่าเซลเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที-เซล (T-cells) จะไม่เพียงพอกับในการต่อต้านเชื้อ staphylococcus ในระหว่างที่มีการติดเชื้อ ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่การมีติดเชื้อไวรัสนำมาก่อน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง arbovirus) หรือการติดเชื้อพยาธิตัวกลมบางชนิด แต่บทบาทในการเกิดโรคยังไม่ชัดเจน
การใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคนี้ ซึ่งก่อให้เกิดความบกพร่องทางภูมิคุ้มกันของเซลและภูมิคุ้มกันที่เกิดจากสารน้ำ เกิดความบกพร่องในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของนิวโทรฟิล เพิ่มแบคทีเรียมาอาศัยอยู่ที่ที่ผิวหนังและการฉีดสิ่งปนเปื้อนเข้าไปโดยตรง
โดยมีการติดเชื้อมากขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวีจากการทำลายกล้ามเนื้อจากตัวโรคเอง การติดเชื้อพยาธิ เชื้อไมโครแบคทีเรียม และการเสียการปกป้องของร่างกายเนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของ helper T-cells และ granulocytes ในบางการศึกษาแสดงให้เห็นว่า CD4 ที่น้อยกว่า 150/mm3 มีบทบาทต่อการเกิดโรค และพบว่ามีการเพิ่มของอุบัติการณ์ของการเป็นพาหะของ staphylococcus เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เป็นเอชไอวี
โดยในช่วงแรกของการเกิดโรค กล้ามเนื้อจะมีการบวมและมีการแยกจากกันของเส้นใยกล้ามเนื้อ ตามมาด้วยหย่อมของการสลายของกล้ามเนื้อ (myocytolysis) และดำเนินไปจนเกิดการสลายตัวอย่างสมบูรณ์ เส้นใยกล้ามเนื้อจะถูกล้อมรอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและพลาสม่าเซล เส้นใยกล้ามเนื้ออาจหายได้โดยไม่เกิดฝีหรือการเสื่อมสลาย หรืออาจจะดำเนินไปเป็นหนองที่มีแบคทีเรียและเซลเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonuclear อยู่ได้
Ref: http://pmj.bmj.com/content/80/943/267.full
2,128 แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation ในประเทศไทย
แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation (AF) ในประเทศไทย พศ. 2555
จัดทำโดย
• ชมรมช่างไฟฟ้าหัวใจ
• สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
จัดทำโดย
• ชมรมช่างไฟฟ้าหัวใจ
• สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,127 หนองในชั้นกล้ามเนื้อ (pyomyositis)
หรืออาจรู้จักในชื่อ tropical pyomyositis หรือ myositis tropicans และยังมีชื่อๆ อีกหลายชื่อ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกาย ซึ่งเป็นลักษณะของการเกิดมีฝีหนองมาขังอยู่ มักพบในพื้นที่เขตร้อน แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในเขตหนาว
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรีย staphylococcus aureus (ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ) การติดเชื้อสามารถเกิดกับกล้ามเนื้อโครงร่างต่างๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่มักติดเชื้อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่เช่น quadriceps หรือ gluteal
ส่วนใหญ่เป็นโรคของเด็ก ซึ่งได้มีการอธิบายไว้ครั้งแรกในปี 1885 โดย Scriba ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุ 2-5 ปี แต่การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นในกลุ่มอายุใดๆ ก็ได้ การติดเชื้อมักจะเกิดตามหลังการบาดเจ็บเล็กน้อย และบางครั้งอาจไม่ได้ประวัติของการบาดเจ็บมาก่อน โดยเป็นพบได้บ่อยกว่าในเขตร้อน พบมี 4% ของการนอนโรงพยาบาล ส่วนในประเทศเขตหนาว เช่น ในสหรัฐอเมริกาพบได้น้อยมาก (พบ 1 ใน 3000 ของเด็กที่นอนโรงพยาบาล ) แต่พบได้บ่อยมากขึ้นตั้งแต่การปรากฏของเชื้อ MRSA สายพันธุ์ USA300 ส่วนในผู้ป่วย HIV จากการศึกษาของสถาบันบำราศนราดูร เชื่อที่พบได้บ่อยที่สุดคือ staphylococcus aureus รองลงมาคือ mycobacterium tuberculosis และ salmonella group B
การวินิจฉัยมักทำได้ไม่ยากถ้าคุ้นเคยกับโรคนี้ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีโรคนี้อยู่ ใช้ประวัติและการตรวจร่างกายก็สามารถให้การวินิจฉัยได้
ให้การรักษาโดยจะต้องผ่าตัดระบายฝีภายในกล้ามเนื้อ (ไม่ใช่ผู้ป่วยทั้งหมด แต่อาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีฝีที่ชัดเจน) จะต้องให้ยาปฏิชีวนะที่เหมะสมครอบคลุมเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์เพื่อการกำจัดการติดเชื้อ โดยจะต้องมีการเพาะเชื้อและตรวจความไวต่อยาของเชื้อที่เป็นสาเหตุนั้นๆ ร่วมด้วยเสมอ การได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้าจะก่อให้เกืดความพิการและเสียชีวิตมากขึ้น
Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Pyomyositis
http://www.kmddc.go.th/Library/documents/ddc_journal_vol2_topic7_2548.pdf
http://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fthailand.digitaljournals.org%2Findex.php%2FKKMJ%2Farticle%2Fdownload%2F5722%2F5307&h=oAQEJEfQo
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ เชื้อแบคทีเรีย staphylococcus aureus (ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ) การติดเชื้อสามารถเกิดกับกล้ามเนื้อโครงร่างต่างๆ ได้ แต่ส่วนใหญ่มักติดเชื้อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่เช่น quadriceps หรือ gluteal
ส่วนใหญ่เป็นโรคของเด็ก ซึ่งได้มีการอธิบายไว้ครั้งแรกในปี 1885 โดย Scriba ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุ 2-5 ปี แต่การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นในกลุ่มอายุใดๆ ก็ได้ การติดเชื้อมักจะเกิดตามหลังการบาดเจ็บเล็กน้อย และบางครั้งอาจไม่ได้ประวัติของการบาดเจ็บมาก่อน โดยเป็นพบได้บ่อยกว่าในเขตร้อน พบมี 4% ของการนอนโรงพยาบาล ส่วนในประเทศเขตหนาว เช่น ในสหรัฐอเมริกาพบได้น้อยมาก (พบ 1 ใน 3000 ของเด็กที่นอนโรงพยาบาล ) แต่พบได้บ่อยมากขึ้นตั้งแต่การปรากฏของเชื้อ MRSA สายพันธุ์ USA300 ส่วนในผู้ป่วย HIV จากการศึกษาของสถาบันบำราศนราดูร เชื่อที่พบได้บ่อยที่สุดคือ staphylococcus aureus รองลงมาคือ mycobacterium tuberculosis และ salmonella group B
การวินิจฉัยมักทำได้ไม่ยากถ้าคุ้นเคยกับโรคนี้ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีโรคนี้อยู่ ใช้ประวัติและการตรวจร่างกายก็สามารถให้การวินิจฉัยได้
ให้การรักษาโดยจะต้องผ่าตัดระบายฝีภายในกล้ามเนื้อ (ไม่ใช่ผู้ป่วยทั้งหมด แต่อาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีฝีที่ชัดเจน) จะต้องให้ยาปฏิชีวนะที่เหมะสมครอบคลุมเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อยสามสัปดาห์เพื่อการกำจัดการติดเชื้อ โดยจะต้องมีการเพาะเชื้อและตรวจความไวต่อยาของเชื้อที่เป็นสาเหตุนั้นๆ ร่วมด้วยเสมอ การได้รับการวินิจฉัยและรักษาล่าช้าจะก่อให้เกืดความพิการและเสียชีวิตมากขึ้น
Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Pyomyositis
http://www.kmddc.go.th/Library/documents/ddc_journal_vol2_topic7_2548.pdf
http://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fthailand.digitaljournals.org%2Findex.php%2FKKMJ%2Farticle%2Fdownload%2F5722%2F5307&h=oAQEJEfQo
2,126 Hepatitis A
American Family Physician
December 1 2012 Vol. 86 No. 11
ไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยทั่วโลก ถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลดลงในปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลมาจากการขยายการให้วัคซีน ไวรัสตับอักเสบเอจะติดต่อโดยการรับประทานสิ่งที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ (fecal-oral contamination) และมีการระบาดเป็นครั้งคราวผ่านทางอาหาร เด็กเล็กมักจะไม่แสดงอาการแม้ว่าการเกิดอาการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในสองเดือนของการติดเชื้อ แม้ว่า 10-15% ของผู้ป่วยอาจจะมีการกำเริบของโรคในช่วงหกเดือนแรก
ไวรัสตับอักเสบเอมักจะไม่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรังหรือโรคตับเรื้อรัง ซึ่งการรักษาประคับประคอง (supportive care) ถือเป็นการรักษาหลักของโรคนี้
CDC และ American Academy of Pediatrics แนะนำการฉีดวัคซีนที่ทำประจำ (routine vaccination) ในเด็กทุกคนที่อายุ 12-23 เดือน เช่นเดียวกับประชากรบางกลุ่มที่มีแนวโน้มของการเกิดโรค และวัคซีนไวรัสตับอักเสบยังแนะนำสำหรับกรณีส่วนใหญ่เพื่อการป้องกันภายหลังการสัมผัสโรค (postexposure prophylaxis) แม้ว่าอิมมูโนโกลบูลินเป็นทางเลือกที่ยอมรับในบางสถานการณ์
Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/1201/p1027.html
December 1 2012 Vol. 86 No. 11
ไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยทั่วโลก ถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลดลงในปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลมาจากการขยายการให้วัคซีน ไวรัสตับอักเสบเอจะติดต่อโดยการรับประทานสิ่งที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ (fecal-oral contamination) และมีการระบาดเป็นครั้งคราวผ่านทางอาหาร เด็กเล็กมักจะไม่แสดงอาการแม้ว่าการเกิดอาการมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในสองเดือนของการติดเชื้อ แม้ว่า 10-15% ของผู้ป่วยอาจจะมีการกำเริบของโรคในช่วงหกเดือนแรก
ไวรัสตับอักเสบเอมักจะไม่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเรื้อรังหรือโรคตับเรื้อรัง ซึ่งการรักษาประคับประคอง (supportive care) ถือเป็นการรักษาหลักของโรคนี้
CDC และ American Academy of Pediatrics แนะนำการฉีดวัคซีนที่ทำประจำ (routine vaccination) ในเด็กทุกคนที่อายุ 12-23 เดือน เช่นเดียวกับประชากรบางกลุ่มที่มีแนวโน้มของการเกิดโรค และวัคซีนไวรัสตับอักเสบยังแนะนำสำหรับกรณีส่วนใหญ่เพื่อการป้องกันภายหลังการสัมผัสโรค (postexposure prophylaxis) แม้ว่าอิมมูโนโกลบูลินเป็นทางเลือกที่ยอมรับในบางสถานการณ์
Ref: http://www.aafp.org/afp/2012/1201/p1027.html
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,125 ข้อมูลหลักฐานในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตเกี่ยวกับ renin-angiotensin-aldosterone system blockade ในการปกป้องไต
Renin-angiotensin-aldosterone system blockade for nephroprotection: current evidence and future directions
J Nephrol. 2012 Nov;25(6):900-10
การใช้ยาที่ปิดกั้น renin-angiotensin-aldosterone system ( renin-angiotensin-aldosterone system [RAAS] blockade) เป็นกลวิธีในการรักษาดีที่สุดเท่าที่มีข้อมูลในขณะนี้ในการชะลอการดำเนินของการมีพยาธิสภาพที่ไตจากการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะเรื้อรัง (chronic proteinuric nephropathies)
มีการศึกษาวิจัยแบบ randomized controlled trials ขนาดใหญ่หลายชิ้นได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปกป้องไตของของ angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) และ angiotensin II receptor blockers (ARBs) จากการมีพยาธิสภาพของไตในเกือบจะทุกสาเหตุ
พบว่าการให้ mineralocorticoid receptor antagonists และ direct renin inhibitor aliskiren เพิ่มเข้าไปในการรักษาแบบมาตรฐานร่วมกับการใช้ ACEIs หรือ ARBs ในขนาดที่เหมาะสมจะลดอัลบูมินในปัสสาวะหรือโปรตีนในปัสสาวะและชลอความการเกิดความผิดปกติของไตได้มากกว่ายาหลอก ถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่ชัดเจนในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่ากลวิธีเหล่านี้อาจส่งผลต่อผลลัพท์ในระยะยาวของโรคไต การให้ยาที่ปิดกั้น RAAS ร่วมกันอาจจะใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของไตจากการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถเข้าสู่ภาวะการหายของโรคอย่างสมบูรณ์และถาวรจากการใช้ ACEI หรือ ARB เพียงอย่างเดียว และมีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังของภาวะการมีโปแตสเซียมในเลือดสูงและการทำงานที่ลดลงของไต
บทความนี้จะทบทวนข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ RAAS-inhibiting agents ในโรคไต, พิจารณาถึงการนำ RAAS blockade มาใช้เป็นกลวิธีในการรักษาและกล่าวถึงมุมมองบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนำ RAAS blockade มาใช้ในการปกป้องไต
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22684647
J Nephrol. 2012 Nov;25(6):900-10
มีการศึกษาวิจัยแบบ randomized controlled trials ขนาดใหญ่หลายชิ้นได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปกป้องไตของของ angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) และ angiotensin II receptor blockers (ARBs) จากการมีพยาธิสภาพของไตในเกือบจะทุกสาเหตุ
พบว่าการให้ mineralocorticoid receptor antagonists และ direct renin inhibitor aliskiren เพิ่มเข้าไปในการรักษาแบบมาตรฐานร่วมกับการใช้ ACEIs หรือ ARBs ในขนาดที่เหมาะสมจะลดอัลบูมินในปัสสาวะหรือโปรตีนในปัสสาวะและชลอความการเกิดความผิดปกติของไตได้มากกว่ายาหลอก ถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่ชัดเจนในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามคาดว่ากลวิธีเหล่านี้อาจส่งผลต่อผลลัพท์ในระยะยาวของโรคไต การให้ยาที่ปิดกั้น RAAS ร่วมกันอาจจะใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของไตจากการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถเข้าสู่ภาวะการหายของโรคอย่างสมบูรณ์และถาวรจากการใช้ ACEI หรือ ARB เพียงอย่างเดียว และมีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบอย่างระมัดระวังของภาวะการมีโปแตสเซียมในเลือดสูงและการทำงานที่ลดลงของไต
บทความนี้จะทบทวนข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ RAAS-inhibiting agents ในโรคไต, พิจารณาถึงการนำ RAAS blockade มาใช้เป็นกลวิธีในการรักษาและกล่าวถึงมุมมองบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนำ RAAS blockade มาใช้ในการปกป้องไต
Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22684647
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2,124 Rotation of CXR
ผู้ป่วยหญิงมาตรวจเพื่อทำใบรับรองแพทย์ ปกติดี ไม่มีโรดประจำตัว ตรวจเอกซเรย์ทรวงอกพบดังรูปที่ 1 (คล้ายมีก้อนที่ปอดกลีบขวาบน) ตรวจร่างกายปกติ ตรวจดูโดยละเอียดก็ไม่พบสาเหตุว่าจะมี artifact แต่จะเห็นว่า spinous process อยู่ชิดไปทางขวามากกว่า (ซึ่งปกติควรอยู่กึ่งกลางระหว่างหัวของกระดูกไหปลาร้าทั้งสองข้างหรือทั้ง spinous process และ trachea ควรจะอยู่ในแนว midline) จึงทำให้เห็นเงาของหัวกระดูกไหปลาร้าข้างขวาใหญ่และชัดกว่า และมองให้ละเอียดเป็นไปได้ว่าลักษณะที่เห็นอาจเกิดจากการที่เงากระดูกซึ่โครงและกระดูกไหปลาร้ามาซ้อนทับกันและประกอบกันคล้ายเป็นก้อนพอดี จึงลองเอกซเรย์ซ้ำใหม่เป็นเป็นดังภาพที่ 2 โดยลักษณะคล้ายก้อนนั้นหายไป ซึ่งในตอนนี้จะเห็นว่า spinous process อยู่ห่างจากหัวของกระดูกไหปลาร้าข้างขวาออกมามากกว่าภาพแรก (และค่อนข้างชิดไปทางซ้ายเสียด้วยซ้ำ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า rotation มีผลต่อการแปลผลเอกซเรย์ทรวงอกเป็นอย่างมาก
CXR 1
CXR 2
2,123 เบาหวาน ปัสสาวะหวาน มีมดตอมจริงๆ ด้วย
เห็นที่โถปัสสาวะของโรงพยาบาลมีมดตอม จึงสงสัยว่าน่าจะมีผู้ป่วยเบาหวานปัสสาวะไว้ ที่ผ่านมาก็ไม่เคยได้เห็นว่ามีมดตอมจริงๆ สักที อาจเป็นเพราะเวลาปัสสาวะแล้วราดน้ำทิ้ง แต่กรณีนี้คงปัสสาวะราดที่ขอบโถด้วยมดจึงมาตอม ส่วนในโถน่าจะราดไปแล้ว จริงไม่มีมดมาตอม
โถปัสสาวะ
ขยายใกล้ๆ เห็นมดตอม
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
2,122 คู่มือคำแนะนำการบันทึกเวชระเบียนสำหรับแพทย์
โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
ลิ้งค์ดาวโหลด ศูนย์มาตรฐานหรัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
2,120 Norovirus gastroenteritis in immunocompromised patients
Review article
Mechanism of disease
N Engl J Med November 29, 2012
การอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้พบได้บ่อย เป็นความเจ็บป่วยเฉียบพลันซึ่งมีลักษณะที่สามารถหายได้เอง แต่อาจจะก่อให้เกิดการทำงานผิดปกติของร่างกายและอันตรายถึงชีวิตในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง, Noroviruses คือเชื้อก่อโรคที่สำคัญในหมู่จุลชีพที่สัมพันธ์กับการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้ในทั้งผู้ป่วยภูมิคุ้มกันปกติและภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ในประเทศสหรัฐอเมริกา noroviruses เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบในผู้ใหญ่ที่ส่งผลในการเข้ารับการรักษายังแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล และเป็นอันดับที่สองเรองจาก rotaviruses ในการเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงในเด็กทารกและเด็กเล็ก
โดยในประเทศกำลังพัฒนามีการประมาณการว่า noroviruses จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่า 200,000 คนต่อปีในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และเป็นที่คาดการณ์ว่าไวรัสเหล่านี้จะกลายเป็นสาเหตุหลักของโรคท้องร่วงในทุกกลุ่มอายุทั่วโลกเมื่อ rotavirus ถูกควบคุมผ่านทางฉีดวัคซีน
Noroviruses ได้รับการรับทราบมากขึ้นว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารและลำไส้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยสะท้อนให้เห็นจากตัวเลขของจำนวนของรายงานกรณีทางคลินิก
โดยเป็นศึกษาเปรียบเทียบถึงลักษณะซึ่งเป็นที่ทราบของการอักเสบกระเพาะอาหารและลำไส้จาก norovirus ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยเน้นไปที่ผลรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นของโรคนี้ในผู้ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้อย่างเพียงพอ
วัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้คือการสรุปความคืบหน้าล่าสุดในการวิจัยเชื้อ norovirus ในด้านการป้องกันและการจัดการกับการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากเชื้อ norovirus ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Norovirus Classification and Structure
Noroviruses in Immunocompromised Patients
Diagnosis of Norovirus Gastroenteritis
Norovirus Diversity and Evolution in Immunocompromised Patients
Prevention and Treatment of Norovirus Infection in Immunocompromised Patients
Conclusions
Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1207742
Mechanism of disease
N Engl J Med November 29, 2012
การอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้พบได้บ่อย เป็นความเจ็บป่วยเฉียบพลันซึ่งมีลักษณะที่สามารถหายได้เอง แต่อาจจะก่อให้เกิดการทำงานผิดปกติของร่างกายและอันตรายถึงชีวิตในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง, Noroviruses คือเชื้อก่อโรคที่สำคัญในหมู่จุลชีพที่สัมพันธ์กับการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้ในทั้งผู้ป่วยภูมิคุ้มกันปกติและภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ในประเทศสหรัฐอเมริกา noroviruses เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบในผู้ใหญ่ที่ส่งผลในการเข้ารับการรักษายังแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาล และเป็นอันดับที่สองเรองจาก rotaviruses ในการเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงในเด็กทารกและเด็กเล็ก
โดยในประเทศกำลังพัฒนามีการประมาณการว่า noroviruses จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากกว่า 200,000 คนต่อปีในกลุ่มเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และเป็นที่คาดการณ์ว่าไวรัสเหล่านี้จะกลายเป็นสาเหตุหลักของโรคท้องร่วงในทุกกลุ่มอายุทั่วโลกเมื่อ rotavirus ถูกควบคุมผ่านทางฉีดวัคซีน
Noroviruses ได้รับการรับทราบมากขึ้นว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหารและลำไส้ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยสะท้อนให้เห็นจากตัวเลขของจำนวนของรายงานกรณีทางคลินิก
โดยเป็นศึกษาเปรียบเทียบถึงลักษณะซึ่งเป็นที่ทราบของการอักเสบกระเพาะอาหารและลำไส้จาก norovirus ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยเน้นไปที่ผลรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นของโรคนี้ในผู้ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้อย่างเพียงพอ
วัตถุประสงค์ของการทบทวนนี้คือการสรุปความคืบหน้าล่าสุดในการวิจัยเชื้อ norovirus ในด้านการป้องกันและการจัดการกับการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากเชื้อ norovirus ในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Norovirus Classification and Structure
Noroviruses in Immunocompromised Patients
Diagnosis of Norovirus Gastroenteritis
Norovirus Diversity and Evolution in Immunocompromised Patients
Prevention and Treatment of Norovirus Infection in Immunocompromised Patients
Conclusions
Source Information
อ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1207742
วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
2,119 แนวทางการคัดกรองและการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โดยสำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคอ้วน
โรคมะเร็ง
แนวทางการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคอ้วน
โรคมะเร็ง
แนวทางการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพ
ลิ้งค์ดาวโหลด http://www.dms.moph.go.th/imrta/images/data/05.pdf
2,118 คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
โดย สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์
บรรณาธิการ
แพทย์หญิงใยวรรณ ธนะมัย
นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์
นายแพทย์สิทธิชัย อาชายินดี
นางสุรีพร คนละเอียด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-หลักการและแนวปฏิบัติการให้ความรู้ในการดูแลภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง
-การรักษาความดันโลหิตสูง
-ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูงด้านระบบประสาท
-ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูงด้านโรคหัวใจ
-ฉุกเฉินในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ด้านโรคหัวใจ
-การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
-ยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
-การให้ความรู้ในการดูแลตนเองด้านอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง
-การออกกำาลังกายในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ภาคผนวก
-อยู่กับ “ความดันฯ” อย่างมี“ความสุข”
-การดูแลตนเองด้านการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง
-ตัวชี้วัด เพื่อการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
บรรณาธิการ
แพทย์หญิงใยวรรณ ธนะมัย
นายแพทย์สมเกียรติ โพธิสัตย์
นายแพทย์สิทธิชัย อาชายินดี
นางสุรีพร คนละเอียด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-หลักการและแนวปฏิบัติการให้ความรู้ในการดูแลภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูง
-การรักษาความดันโลหิตสูง
-ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูงด้านระบบประสาท
-ภาวะแทรกซ้อนของภาวะความดันโลหิตสูงด้านโรคหัวใจ
-ฉุกเฉินในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ด้านโรคหัวใจ
-การดูแลรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
-ยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
-การให้ความรู้ในการดูแลตนเองด้านอาหารกับโรคความดันโลหิตสูง
-การออกกำาลังกายในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ภาคผนวก
-อยู่กับ “ความดันฯ” อย่างมี“ความสุข”
-การดูแลตนเองด้านการใช้ยาลดความดันโลหิตสูง
-ตัวชี้วัด เพื่อการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)