ในปี พ.ศ.2556 นี้ กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคไม่ติดต่อได้ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินผลการว่ายน้ำเป็นของเด็กไทย(อายุ 5-14 ปี) พบว่าเด็กไทยช่วงอายุดังกล่าว ซึ่งมีกว่า 8 ล้านคน ว่ายน้ำเป็นเพียงร้อยละ 23.7 หรือประมาณ 2 ล้านคน แต่สามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เพียงร้อยละ 4.4 หรือ 367,704 คน และพบว่าเด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด จะมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 20.7 เท่า มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า และจะมีทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำ/จมน้ำ และการแก้ไขปัญหาและการเอาชีวิตรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน มากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 2.7 เท่า และ 2.8 เท่า ตามลำดับ ซึ่งการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันการจมน้ำได้โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียน แม้การว่ายน้ำเป็นจะเพิ่มขึ้นจากที่สำรวจเมื่อปี 2549 ซึ่งพบว่าเด็กไทยว่ายน้ำเป็นร้อยละ 16.3 แต่ยังอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งสัดส่วนการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญอันหนึ่งในการป้องกันการจมน้ำของเด็กวัยเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทั้งนี้หน่วยงานไหนที่สนใจหนังสือหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอนที่ต้องการนำไปขยายผลให้กับเด็กในพื้นที่สามารถขอได้ที่สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค โดยสามารถดาวน์โหลดได้ตาม ลิ้งค์ นี้ครับ
Ref: http://www.ddc.moph.go.th/pnews/showimgdetil.php?id=773
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น