วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

2,052 ประเด็นสำคัญและแนวทางการรักษา โรคไข้เลือดออกสำหรับแพทย์

โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
เป็นภาพโปรสเตอร์ซึ่งตัวอักษาอาจจะเล็ก จึงได้ดึงข้อมูลมาเขียนเพื่อทำให้ดูได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

1. ผู้ป่วยอ้วน : คำนวณปริมาณสารน้ำที่จะให้ทางหลอดเลือดดำจาก ideal body weight เท่านั้น
2. ผู้ป่วยที่มีประจำเดือน
-พิจารณาให้เลือด ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีไข้ลง มีประจำเดือนออกมากพร้อมกับมีอาการปวดท้อง มีเกล็ดต่ำลงน้อยกว่า 50.000 เซล/ลบ.มม. และค่า Hct ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
-พิจารณาให้ยา Primolute N เพื่อเลื่อนหรือหยุดประจำเดือน
3. การให้เลือด
เมื่อไรจะให้เลือด
-เลือดออกมากกว่า 10% ของ total blood volume หรือ เกิน 300 มล. ในผู้ใหญ่
-ผู้ป่วยมี Hct ลดลง และอาการยังไม่ดีขึ้น และไม่สามารถลดอัตราความเร็วของสารน้ำลงได้
-ผู้ป่วยที่มีภาวะซีด มีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้มจากการที่มีเม็ดเลือดแดงแตก
จะอย่างไร
-ให้เท่ากับปริมาณที่ออก หรือถ้าไม่สามารถประมาณการปริมาณได้ให้ fresh whole blood ครั้งละ 10 มล./กก. หรือ PRC 5 มล./กก. ในผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 1 ยูนิต โดยการเจาะ  Hct ก่อนและหลังให้
4 ภาวะน้ำเกิน
-ประเมินระยะของโรคให้ถูกต้อง (ระยะพลาสมารั่ว/พ้นระยะพลาสมารั่ว/ระยะสารน้ำถูกดูดซึมกลับ)
-อาการแรกของภาวะน้ำเกินคือ ตาบวม ท้องอืดตึงมาก อัตราการหายใจเร็ว/หายใจลำบาก (respiratory distress)ไม่ต้องรอจนตรวจได้ wheez, rhonchi หรือ fine crepitation
-พิจารณาให้ยาขับปัสสาวะ ในระหว่างการให้ dextran ถ้ายังไม่พ้นระยะพลาสม่ารั่ว หรือผู้ป่วยมีอาการช็อก ขนาด dextran ที่ให้คือ10 มก./กก./ชม. หรือ 500 มล. ใน 1 ชม. ขนาด furosemide คือ 1 มก./กก./ครั้ง หรือในผู้ใหญ่ 40 มก./ครั้ง
5. การให้สารน้ำในผู้ใหญ่ 
-ในระยะวิกฤต : คิดปริมาณสารน้ำไม่เกิน 4,600 มล. ในระยะ 24-48 ชม. โดยไม่ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำนานเกิน 2 วันหลังผู้ป่วยมีภาวะช็อก หรือ 3 วัน หลังจากผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 เซล/ลบ.มม.
-ไม่มีภาวะช็อก : ให้ดื่มน้ำเกลือแร่โดยไม่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ยกเว้นมีอาเจียนมากไม่สามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้ หรือมี Hct สูงขึ้น หรือมีภาวะการขาดสารน้ำ (dehydartion) อย่างชัดเจน โดยขนาดที่ให้ไม่ควรเกิน 40 มล./ชม. (และให้ไม่ควรเกิน 20 มล./ชม. ในระยะ maintenance) โดยเพิ่มอัตราของสารน้ำตามความจำเป็นเมื่อมี Hct สูงขึ้น
-Impending shock : เริ่มให้ 5% D/NSS 300-500 มล./ชม. ในเวลา 1 ชม. แล้วลดอัตราลงครึ่งหนึ่งทุก 1-2 ชม. ในช่วง 6 ชม. แรก ก่อนจะลดเหลือ 80 มล./ชม. ใน 6-12 ชม. ต่อมา และเ หลือ 40 มล./ชม. 0นถึง KVO ภายในเวลา 24 ชม.
-Profound shock : ให้ NSS free flow 10-15 นาที จนวัด BP ได้ แล้วให้สารน้ำต่อเหมือนใน impending shock ถ้ายังไม่สามารถวัดความดันโลหิตได้ภายใน 15-30 นาที ต้องหาภาวะแทรกซ้อนและแก้ไขทันที ที่พบบ่อยคือ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารและช่องท้อง, hypocalcemia, hypoglycemia และ severe acidosis

หลักการให้สารน้ำในผู้ใหญ่ เพื่อให้มีสารน้ำชดเชยเพียงพอจนเริ่มมี tissue perfusion ได้ดีเท่านั้น เช่น ปัสสาวะออกไม่เกิน 20-40 มล./ชม. อัตราชีพจร 90-100 ครั้ง/นาที, pulse pressure ประมาณ 20 มม. ปรอท และมีลักษณะทางคลินิกคือ รู้ตัวดี มือเท้าไม่เย็นซีด เป็นต้น อาจจะมีการปรับปริมาณสารน้ำที่ให้ได้หากผู้ป่วยมีการสูญเสียสารน้ำมากจากการอาเจียนและอุจจาระร่วง

อ้างอิง http://www.thaivbd.org/uploads/DOWNLOAD_VBD_Document/Document_2555/178_2.jpg

5 ความคิดเห็น: