วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

2,036 การป้องกัน acute kidney injury จากการใช้ radiocontrast ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่จะต้องได้รับสารทึบรังสีทางเส้นเลือดจากการถ่ายภาพด้านรังสี ซึ่งอาจส่งมีผลต่อไตโดยการเกิด renal vasoconstriction และ acute tubular necrosis
-บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิด AKI ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (Cr มากกว่า 1.5 mg/dl หรือ GFR น้อยกว่า 60 ml/min/1.73m2), ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว, ได้รับ contrast ในปริมาณมาก, ผู้ป่วย multiple myeloma
แนวทางการป้องกัน 
1 ให้ 0.9% NSS 1 ml/kg/hr 12ชั่วโมงก่อนและหลัง การฉีด IV contrast (ไม่ควรให้ในกรณีผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลว)
2 Acytylcysteine 600 mg oral ทุก 12 ชั่วโมงก่อนและหลัง การฉีด IV contrast
3 พิจารณาใช้ low หริอ iso-osmolar contrast agent และใช้ปริมาณ contrast ให้น้อยที่สุด
4 หลีกเลี่ยงการให้ IV contrast ซ้ำใน 24-48 ชั่วโมง
-บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ให้ส่ง BUN, Cr 24-48 ชั่วโมงหลังได้รับ contrast ซึ่งส่วนใหญ่อาจมีค่า Cr เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณปัสสาวะมักปกติ มีน้อยรายที่ต้องได้รับการทำ hemodialysis และมักจะกลับสู่ภาวะปกติภายใน 7-10 วัน

อ้างอิง คู่มือการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น
http://www.nephrothai.org/news/news.asp?type=PR&news_id=337

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น