วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

2,055 ข้อควรทราบเรื่องการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจาก European Society of Cardiology (ESC) guideline 2012

โดยทั่วไป ST segment elevation ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะวัดที่ J point ซึ่งควรจะพบมี 2 lead ที่อยู่ติดกัน โดยมีการยกขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 0.25 มิลลิโวลท์ ในผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 40 ปี และมากกว่า 0.2 มิลลิโวลท์ ในผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี หรือมากกว่า 0.15 มิลลิโวลท์ ในผู้หญิง ใน lead V2–V3 และมากกว่าหรือเท่ากับ 0.1 มิลลิโวลท์ใน lead อื่น โดยไม่มีการโตของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricular [LV] hypertrophy) หรือ left bundle branch block (LBBB)
ในกรณีที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ inferior wall แนะนำว่าให้ตรวจคลื่นหัวใจที่ right precordial leads (V3R และ V4R) เพื่อหาการมี ST elevation ร่วมด้วยของหัวใจห้องล่างขวา (right ventricular), เช่นเดียวกัน กรณีที่มี ST depression ใน lead V1-V3 โดยเฉพาะเมื่อส่วนปลายของ T wave เป็นบวก ควรตรวจ ใน leads V7–V9 ซึ่งเป็น posterior lead ที่อยู่ทางด้านหลัง (เป็นการดูที่ posterior wall) โดยดูว่ามี ST elevation มากกว่าหรือเท่ากับ 0.1 มิลลิโวลท์ร่วมด้วยหรือไม่
ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจจะยากในบางกรณี แต่อย่างไรก็ตามควรจะได้รับการเตรียมพร้อมเพื่อการดูแลอย่างทันท่วงทีในกรณีดังกล่าว
เพิ่มเติม
-J point คือจุดสุดท้ายของ QRS ที่ต่อกับจุดเริ่มต้นของ ST segment
-เหตุผลที่ต้องทำ posterior chest leads (V7-V9) เนื่องจากเป็น mirror image ของ septal leads (V1-V3) ซึ่งจะช่วยตรวจดูว่ามีการขาดเลือดของ posterior wall หรือไม่
-ส่วนเหตุผลที่ต้องทำ V3R และ V4R เนื่องจาก inferior wall และ right ventricular เลี้ยงด้วย right coronary artery (RCA) เช่นกันซึ่งอาจจะเกิดการขาดเลือดร่วมกันทั้งสองตำแหน่ง โดยเฉพาะถ้าเกิดการอุดตันที่ proximal RCA

Ref: http://eurheartj.oxfordjournals.org/content/early/2012/09/11/eurheartj.ehs215.full

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น