วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555

2,072 แนวทางการรักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำในไอซียู

Guidelines for managing thrombocytopenia in the ICU
From Medscape Education Clinical Briefs

จุดเน้นของบทความนี้คือ 
-ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) คือการมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150 × 10 ยกกำลัง 9 / ลิตร
-การลดลงอย่างรวดเร็วของเกล็ดเลือดเป็นสัญญานของการมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี และบางคณะกรรมการรู้สึกว่าเกณฑ์ที่บอกถึงพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ควรจะลดลงตั้งแต่ 30% หรือมากกว่า
-การติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลักของเกล็ดเลือดต่ำในไอซียู การติดเชื้อแบคทีเรียมักจะเกี่ยวข้องกับภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด (disseminated intravascular coagulation)
-ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยมักจะช่วยบ่งถึงสาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การเจาะตรวจไขกระดูกจึงไม่มีจำเป็นในกรณีส่วนใหญ่ และการคัดกรองเพื่อหาแอนติบอดีต่อเกล็ดเลือดไม่ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น
-จะมีความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกเฉียบพลันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกล็ดเลือดมีจำนวนต่ำกว่า 20 × 10 ยกกำลัง 9 / ลิตร, และการให้เกล็ดเลือดเพื่อให้มีจำนวนมากกว่านี้มักจะไม่จำเป็น สำหรับการมีเลือดออกอย่างรุนแรงการให้เกล็ดเลือดควรพิจารณาถ้าจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 50 × 10 ยกกำลัง 9 / ลิตร
-เกล็ดเลือดที่เตรียมจาก ผู้ป่วยหายคน (pooled standard platelet units) จะใช้สำหรับผู้ป่วยส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาความผิดปกติของโรคเลือดและผู้ป่วยที่มี alloimmunized (การที่ผู้ป่วยสร้าง alloantibody ต่อแอนติเจนที่ร่างกายได้รับจากการได้รับเลือดของผู้อื่น) ควรได้เกล็ดเลือดเข้มข้นโดยวิธีการ apheresis (การแยกส่วนประกอบโลหิตอัตโนมัติ) จากผู้บริจาคคนเดียว
-โดยทั่วไปควรจะให้เกล็ดเลือด 1 หน่วย (unit) ต่อน้ำหนักตัว 7 กิโลกรัมในผู้ใหญ่ และต่อน้ำหนักตัว 5 กิโลกรัมในเด็ก
-เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเป็นประจำในการประเมินจำนวนเกล็ดเลือดซ้ำในเวลาเป็นชั่วโมงหลังจากการให้เกล็ดเลือดเสร็จ
-การให้เกล็ดเลือดเพื่อการป้องกันโรคโดยทั่วไปไม่แนะนำ แต่คณะทำงานไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นไปได้ว่าเป็นประโยชน์สำหรับ DIC
-ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยไม่ควรได้รับ immunoglobulins แบบที่ให้ประจำ (routinely)
-ผู้ป่วยได้รับยา heparin ควรมีการตรวจวัดเกล็ดเลือดภายใน 1 วันของการเริ่มต้นการรักษา โดยในห้องไอซียูควรจะตรวจวัดเกล็ดเลือดสัปดาห์ละสองครั้งหลังจากนั้น
-การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการของโอกาสในการเกิด heparin-induced thrombocytopenia ที่ต่ำ ควรจะทำให้หมดข้อสงสัยทดสอบก่อนการให้การรักษา
-Thrombotic microangiopathy  ควรให้การรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายพลาสมาอย่างรีบด่วน (emergency plasma exchange) ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายพลาสมาโดยทั่วไปจะทำต่อเนื่องอย่างน้อย 5-7 วัน หรือจนกระทั่งจำนวนเกล็ดเลือดคงที่อย่างน้อย 48 ชม.
-ผู้ป่วย thrombotic microangiopathy ไม่ควรให้การรักษาโดยการให้เกล็ดเลือด จนกระทั่งมีภาวะเลือดออกที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
-Thrombotic thrombocytopenic purpura สามารถให้การรักษาโดย methylprednisolone และการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
-การเปลี่ยนถ่ายพลาสมาควรพยายามทำในผู้ป่วย hemolytic uremic syndrome และการใช้ยาปรับปรุงภูมิคุ้มกัน (immunomodulators) ควรได้รับการพิจารณาถ้าการตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี

Ref: http://www.medscape.org/viewarticle/771661?src=cmemp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น