วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

2,755 Survival with cardiac-resynchronization therapy in mild heart failure

Original article
N Engl J Med    May 1, 2014

ที่มา: Multicenter Automatic Defibrillator Implantation Trial with Cardiac Resynchronization Therapy (MADIT-CRT) แสดงให้เห็นว่าการให้การรักษาตั้งแต่แรกด้วย cardiac-resynchronization therapy ร่วมกับการใช้ defibrillator (CRT-D) ในผู้ป่วยที่คลื่นหัวใจมีการนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้น (left bundle-branch block) มีความสัมพันธ์กับการลดลงอย่างมีนัยสำคัญกับเหตุการณ์หัวใจล้มเหลวในช่วงการติดตามเป็นเวลาเฉลี่ย 2.4 ปี เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจ (defibrillator) เพียงอย่างเดียว
วิธีการศึกษา: ประเมินผลของ CRT-D จากการอยู่รอดในระยะยาวของประชากรใน MADIT-CRT หลังการศึกษาติดตามเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 5.6 ปี การประเมินผู้ป่วยจำนวน 1,691 คนที่ชีวิตรอด (ระยะที่ 1) และต่อมาในผู้ป่วยจำนวน 854 คนที่ได้รับการลงทะเบียนเข้าร่วมในภายหลัง (ระยะที่ 2) รายงานการวิเคราะห์ทั้งหมดถูกดำเนินการบนพื้นฐานของกลุ่มที่ถูกสุ่มเลือกไว้แต่แรก ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนไปรับการรักษาแบบอื่นระหว่างการศึกษา (intention-to-treat basis)
ผลการศึกษา: ในปีที่ 7 ของการติดตามหลังจากการลงทะเบียน อัตราการเสียชีวิตสะสมจากสาเหตุใด ๆ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้น พบว่ามี 18% ในผู้ป่วยที่สุ่มให้การรักษาด้วย CRT-D เทียบกับ 29% ในหมู่ผู้สุ่มให้การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจเพียงอย่างเดียว (confidence interval [CI], 0.43 to 0.80; P น้อยกว่า 0.001) ประโยชน์ของการอยู่รอดในระยะยาวของ CRT-D ในผู้ป่วยที่มีการนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญตามเพศ, สาเหตุความผิดปกติกล้ามเนื้อหัวใจ, หรือช่วงระยะเวลา QRS ในทางตรงกันข้าม CRT-D ไม่ได้สัมพันธ์กับประโยชน์ใด ๆ ทางคลินิก และอาจมีอันตรายในผู้ป่วยที่ไม่มีการนำไฟฟ้าในหัวใจห้องล่างซ้ายถูกปิดกั้น (adjusted hazard ratio สำหรับการเสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆ, 1.57; 95% CI, 1.03 to 2.39; P=0.04; P น้อยกว่า 0.001 สำหรับปฏิกิริยของการรักษาด้วยใช้รูปแบบลักษณะของ QRS ที่พบ)
สรุป: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจล้มเหลวไม่รุนแรง, ความผิดปกติของหัวใจด้านซ้าย, และการนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้น การให้การรักษาตั้งแต่แรกด้วย CRT-D มีความสัมพันธ์กับของการอยู่รอดในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1401426?query=featured_home

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น