วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

2,823 Prevention and treatment of motion sickness

July 1 2014 Vol. 90 Number 1
American Family Physician 

อาการเมารถเมาเรือ (motion sickness) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในบางลักษณะ ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการไม่ประสานงานกันของระบบการทรงตัว, ระบบการมองเห็น และระบบการรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (proprioceptive systems)
แม้ว่าอาการคลื่นไส้เป็นอาการหลักที่สำคัญ แต่มักจะมีอาการนำอื่นๆ ได้แก่อาการทางกระเพาะอาหาร, รู้สึกอ่อนเพลียไม่สบาย, วิงเวียน, รู้สึกง่วง, และความกระวนกระวาย
ควรจะเน้นผู้ป่วยในการตรวจสอบวินิจฉัยด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มแรก และผู้ป่วยควรได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกลวิธีการใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเมาก่อนที่จะเดินทาง ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะระบุสถานการณ์ที่จะนำไปสู่อาการดังกล่าวและลดการเคลื่อนไหวให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่สบายเพื่อการหลีกเลี่ยงสภาวะดังกล่าว ในขณะที่เดินทางหรือการอยู่ในตำแหน่งที่มีเสถียรภาพมากที่สุดของยานพาหนะ การเคลื่อนไหวที่ช้าๆ ทำเป็นช่วงๆ สามารถลดอาการ กลวิธีพฤติกรรมอื่น ๆ รวมถึงการดูภาพขอบฟ้าจริง, การหมุนพวงมาลัย, การเอียงศีรษะไปในทิศทางที่เลี้ยวเปลี่ยนท่าหรือการนอนลงร่วมกับการปิดตา
ผู้ป่วยควรพยายามที่จะลดแหล่งอื่นๆ ของความรู้สึกไม่สบายทางร่างกาย, จิตใจ, และอารมณ์  ยา scopolamine เป็นยาตัวแรกที่เลือกในการป้องกันและสามารถให้ผ่านทางผิวหนัง (transdermal) เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนจะต้องทำการการเคลื่อนไหว ยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรกแม้ว่าจะง่วงแต่ว่ามีประสิทธิภาพ ส่วนยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ง่วง, ondansetron และรากขิงมิได้มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดดังกล่าว

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0701/p41

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น