American Family Physician
July 15 2014 Vol. 90 Number 2
ไข้ไม่ทราบสาเหตุมีความหมายว่าเป็นการมีไข้ (อุณหภูมิตั้งแต่ 101 F [38.3 C]) เป็นเวลาสามสัปดาห์หรือนานกว่านั้นโดยได้มีการสืบค้นหาสาเหตุให้กับผู้ป่วยเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์แล้ว
เมื่อไม่นานมานี้ความหมายในเชิงคุณภาพนี้มีความต้องการเพียงการสืบค้นที่เหมาะสมเพื่อการวินิจฉัย แม้ว่าจะมีมากกว่า 200 โรคในการวินิจฉัยแยกโรค ซึ่งผู้ใหญ่จะจำกัดอยู่ประมาณไม่กี่สิบโรคที่อาจเป็นสาเหตุได้ ไข้ไม่ทราบสาเหตุมักจะมีลักษณะทางคลินิกไม่ตรงไปตรงมาของโรคที่พบบ่อยๆ มากกว่าการที่จะเป็นโรคที่พบน้อยๆ กลุ่มย่อยที่พบมากที่สุดในการวินิจฉัยแยกโรคได้แก่ การติดเชื้อ, มะเร็ง, โรคของการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ และอื่น ๆ
แพทย์ควรดำเนินการถามประวัติที่ครอบคลุมและการตรวจร่างกายที่จะเป็นช่่องทางในการประเมินเบื้องต้นเพื่อการวินิจฉัย หรือหากไม่มีเบาะแสการวินิจฉัย อย่างน้อยผู้ป่วยควรได้รับการสืบค้นขั้นต่ำสุดได้แก่ CBC, CXR, UA และ UC, electrolyte ต่างๆ, liver enzymes, ESR, and C-reactive protein การตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมได้แก่ blood cultures, lactate dehydrogenase, creatine kinase, rheumatoid factor, และ antinuclear antibodies. การตรวจหา HIV และ region-specific serologic testing ที่เหมาะสม (e.g., cytomegalovirus, Epstein-Barr virus, tuberculosis) และการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง-ช่องเชิงกราน หรือการตรวจด้วย CT หากยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้, 18F fluorodeoxyglucose positron emission tomography ร่วมกับ CT อาจจะช่วยแพทย์ในการเข้าถึงเพื่อการตัดเนื้อเยื่อ ยาปฏิชีวนะแบบ empiric หรือสเตียรอยด์โดยทั่วไปอาจจะส่งผลต่อไข้ไม่ทราบสาเหตุได้
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0715/p91
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
2,842 Prolonged febrile illness and fever of unknown origin in adults
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น