วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

174. Oxygen therapy device

อุปกรณ์ที่เห็นมีหลักการใช้ต่างกันอย่างไรทั้งหมดเป็น Low flow systems
Nasal cannula: FiO2 = 20% + (4 × flow oxygen หน่วยเป็นลิตร) โดยให้ได้ 1-5 L/M การให้ flow เกิน 5 L/M ไม่ค่อยเพิ่ม FiO2 แต่กลับทำให้ระคายเคืองจมูก จมูกแห้ง วิธีนี้สะดวก ผู้ป่วยพอใจ พูดคุยได้ รับประทานอาหารได้ เหมาะกับผู้ป่วย COPD เพราะให้ FiO2 ไม่สูงเกินไป
Simple face mask: อัตราการใหลต้องไม่ต่ำกว่า 5 L/M เพื่อไม่ให้ CO2 ค้าง ใช้ในกรณีที่มีการระคายเคืองในจมูกหรือมีเลือดกำเดาไหล ผู้ที่หายใจโดยใช้ปาก หรือในกรณีที่กลัวว่าจะมี CO2 ค้างเพราะมีรูระบายอากาศที่หายใจออกและให้อากาศจากภายนอกเข้ามาผสมได้ในขณะหายใจเข้า FiO2 ที่ได้จึงไม่สูงนัก อุปกรณ์ชนิดนี้ไม่มีถุงสำรองก๊าซช่องว่างของหน้ากากเป็นที่เก็บออกซิเจนเพิ่มเติมจากโพร่งจมูก ไม่ระคายเคืองจมูก
Mask with bag ชนิด partial rebreathing mask จะไม่มี one-way valve มีถุงทำหน้าที่เก็บ O2 เพิ่มเติมจากโพรงจมูกและและช่องว่างของ maskให้ FiO2 ได้สูงมากขึ้น ไม่ควรใช้ flow ต่ำกว่า 6 L/M โดยต้องให้ถุงโป่งตลอด จึงจะได้ FiO2 สูงสุดและไม่มี CO2 ค้าง
Mask with bag ชนิด nonrebreathing mask ซึ่งจะมี one-way valve 2 จุด ป้องกันไม่ให้ลมหายใจออกถูกสูดย้อนกลับมาและไม่ให้อากาศภายนอกใหลย้อนเข้ามา สามารถให้ Fi O2 เกือบ1.0 แต่ในความเป็นจริงอาจไม่สามารถป้องกันอากาศภายนอกเข้ามาปนได้สนิทจึงอาจได้ FiO2 มากที่สุดประมาณ 0.99 และผู้ป่วยมักอึดอัดเพราะจะแน่นมาก
Oxygen box: เหมะกับเด็กเล็ก ทำให้ขยับ แขน เคลื่อนไหวได้สะดวก ควรมีช่องว่างบริเวณคอเพื่อป้องกัน CO2 ค้าง อัตราการไหลของก๊าซออกซิเจน 10 – 12 ลิตร/นาที Fi O2 = 60 - 70%

- Flow oxygen ที่เกิน 4 L/M ควรมี humudifier เพื่อป้องกันการระคายเคืองจมูก

การเลือกใช้จึงต้องพิจารณาจาก Underlying disease ของผู้ป่วย, ความต้องการออกซิเจนในผู้ป่วยแต่ละคน แต่ละโรค และความเข้มข้นของออกซิเจนในร่างกายผู้ป่วยภายหลังได้รับการให้ออกซิเจน แล้ว เช่นดู O2 sat. ดู arterial blood gas

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น