ผมได้ศึกษาเรื่องการการตรวจรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวาน (diabetic nephropathy) พบข้อมูลทางคิลนิกที่น่าจะเป็นโอกาสในการเรียนรู้และโอกาสในการพัฒนา จะขอยกตัวอย่างมาบางส่วนครับ
-ผู้ให้การรักษาอาจจะยังไม่มั่นใจหรือยังไม่แม่นเกณฑ์การวินิจฉัย เช่น ระดับของ microalbuminuria ที่จะต้องเริ่มยา, หรือบางครั้งตรวจพบเพียงครั้งเดียวก็เริ่มยาเลย
-เมื่อพบว่าระดับ Cr สูงขึ้น เช่น มากกว่า 1.5 มก/ดล. หรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น chronic kidney disease ก็มักจะไม่ค่อยกล้าเริ่มหรือไม่ได้รับการเริ่มยา ACEI และไม่ได้ส่งปรึกษาต่อ
-ไม่ได้ติดตามดูการทำงานของไตและโปแตสเซียม หรือไม่ได้ติดตามในช่วงเวลาที่เหมะะสม หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ติดตามเมื่อมีการปรับเปลี่ยนขนาดยาเพิ่มขึ้น ไม่ได้ติดตามในสภาวะที่อาจส่งเสริมให้เกิดการทำงานของไตลดลงหรือมีการเพิ่มขึ้นของโปแตสเซียมในเลือดในระหว่างการใช้ยา
-หลังเริ่มยาแล้วไม่ได้ติดตามผลลัพท์ เช่นปริมาณโปรตีนที่ออกมาในปัสสาวะ ระดับความดันโลหิต ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ทำให้ไม่ได้ปรับขนาดยาเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายและขนาดยาที่แนะนำ
-เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ให้การรักษา เช่น พบแพทย์ท่านใหม่, ไม่ได้มาตามนัด อาจจะทำให้ไปได้รับการติดตามหรือไม่ได้รับการดำเนินการตามที่เคยวางแผนการรักษาไว้
-หลังการส่งตรวจหาอัลบูมินในปัสสาวะแล้วไม่ได้ดูผล เช่น ผลออกในครั้งต่อไป หรือไม่ได้รับการประเมินผล หรือไม่ได้ส่งตรวจครั้งที่ 2 หรือ 3 ตามแนวทางการวินิจฉัย
-ใช้ยาลดความดันโลหิตสูงกลุ่มอื่นในผู้ป่วยเบาหวาน แทนการใช้ ACEI หรือ ARB ที่ควรใช้เป็นลำดับแรก
-ผู้ให้การรักษารู้สึกว่าการใช้ยาในกลุ่มนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก มีความซับซ้อนในการให้-การติดตาม และการเกิดผลข้างเคียงจากกยา
ซึ่งข้อมูลที่ได้ถือว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และโอกาสในการพัฒนา เช่น อาจมีการจัดอบรมเสริมความรู้ในจุดที่ยังไม่มั่นใจ จัดทำแนวทางที่ชัดเจนซึ่งสามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว เหมาะสม จัดระบบการส่งปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความครอบคลุมครบถ้วนในการดูแลทั้งการตรวจวินิจฉัย การแปลผล การเริ่มให้การรักษา การติดตามผลลัพท์ การติดตามผลข้างเคียงของยา และการปรับยาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556
2,170 ข้อมูลทางคลินิกที่น่าสนใจจากการศึกษาวิจัยโรคไตจากเบาหวาน (diabetic nephropathy)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น