วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

2,193 การศึกษาถึงบทบาทของอัลตราซาวนด์ในผู้ป่วยวิกฤติของแผนก ICU

Deep impact of ultrasound in the intensive care unit: the "ICU-sound" protocol
Anesthesiology. 2012 Oct;117(4):801-9

ที่มา: อัลตราซาวนด์สามารถส่งผลต่อการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาในผู้ป่วยวิกฤติ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจสอบว่าในสภาวะที่ไม่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมหรือข้อจำกัดของผู้ป่วย การตรวจโดยอัลตราซาวนด์ในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติโดยใช้โปรโตคอลอัลตราซาวนด์สามารถดำเนินการตรวจสอบความผิดปกติที่ซ่อนเร้น, การก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรักษาอย่างเร่งด่วนหรือนำมาสู่การตรวจเพิ่มเติมหรือการดูแลรักษาพิ่มเติม และเพื่อยืนยันหรือการปรับเปลี่ยนการวินิจฉัย
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วย 125 คน ที่เข้ารับการรักษาในแผนก ICU ทั่วไป จะได้รับการประเมินภายใต้โปรโตคอลอัลตราซาวน์ในผู้ป่วยวิกฤติ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า โดยเป็นการตรวจอัลตราซาวนด์ของเส้นประสาทตา (optic nerve), ทรวงอก, หัวใจ, หน้าท้องและระบบเลือดดำที่เตียงผู้ป่วย
ผลการศึกษา: พบว่าสภาพแวดล้อมมีผลต่อการตรวจเล็กน้อยในผู้ป่วย 101/125 (80.8%), มีผลปานกลาง 20/125 (16%) และมีผลมาก 4/125 (3.2%) ผลอัลตราซาวนด์เปลี่ยนแปลงวินิจฉัยที่ได้ในครั้งแรก 32/125 (25.6%), ยืนยันการวินิจฉัยในผู้ป่วย 73/125 (58.4%) ไม่มีผลต่อการยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงในผู้ป่วย 17/125 (13.6%) และผิดพลาดในผู้ป่วย 3/125 (2.4%) ผลอัลตราซาวนด์พบว่าต้องมีการตรวจเพิ่มเติมต่อในผู้ป่วย 23/125 (18.4%), นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการรักษา 22/125 (17.6%) และต้องทำหัตถการที่ล่วงล้ำในผู้ป่วย 27/125 (21.6%)
สรุป: การตรวจโดยอัลตราซาวนด์พบความชุกที่สูงในความผิดปกติของทางคลินิกไม่ได้ถูกสงสัย และมีจำนวนความผิดปกติสูงสุดของอัลตราซาวนด์ใหม่ในผู้ป่วยที่มี septic shock ซึ่งในการเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินทั่วไปอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยเมื่อแรกรับเข้ามาในโรงพยาบาล โปรโตคอลการตรวจอัลตร้าซาวด์นี้ถือว่ามีศักยภาพในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22990179?dopt=Abstract

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น