Airborne transmission
เป็นการแพรกระจายเชื้อโรคที่แพร่ทางอากาศที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ได้แก่วัณโรค (tuberculosis), หัด (measles), สุกใส (chickenpox), งูสวัดและเริมแบบแพร่กระจาย (disseminated herpes zoster and disseminated herpes simplex), โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome ; SARS) และโรคไข้หวัดนก (avian Influenza) เป็นต้น
Droplet transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคจากละอองฝอยเสมหะที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน ซึ่งนอกจากการติดต่อผ่านทางเดินหายใจแล้วยังสามารถติดต่อจากการสัมผัสเยื่อบุตา เยื่อบุปากและจมูก ได้แก่ หัดเยอรมัน (rubella), คางทูม (mmmps), ไอกรน (pertussis), ไขหวัดใหญ่ (influenza) และไข้กาฬหลังแอน (meningococcal infection) เป็นต้น
Contact transmission
เป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ติดต่อไดโดยการสัมผัสทงทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ infectious diarrhea, infectious wound, abscess, viral hemorrhagic infections, viral conjunctivitis, lice, scabies รวมทั้งเชื้อที่ต้องมีทั้ง airborne และ contract precautions เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) โรคไข้หวัดนก (avain Influenza) และโรคสุกใส รวมทั้งผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อหรือ colonization ของเชื้อที่ดื้อยา เช่น Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และเชื้อ multidrug - resistant gram negative bacilli
(MDR-GNB) เป็นต้น
Ref: การป้องกันและควบคมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล
โดย สายสมร พลดงนอก
และ ศ.พญ.เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
2,797 การแบ่งชนิดการแพร่กระจายเชื้อของโรคติดต่อในทางการแพทย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น