ผู้ป่วยหญิง 15 ปีมา รพ. ด้วยยิ้มไม่ได้ 4 วัน
เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาลรู้สึกปวดตึงหลังและขา 2 ข้าง ตรวจไม่พบอาการอ่อนแรงหรือข้ออักเสบมาตรวจได้รับยาแก้ปวดไปรับประทาน
ช่วง 1 สัปดาห์ยังปวดตึงหลัง-ขาแต่ยังพอเดินได้ และ 4 วันก่อนมา รพ. ไม่สามารถยิ้มได้ อ้าปากได้ไม่กว้าง ยักคิ้วไม่ได้ ปวดศรีษะ ไม่มีไข้ ไม่มีคลื่นใส้-อาเจียน ไม่มีประวัติบาดเจ็บศรีษะ
ตรวจร่างกายรู้สึกตัวดี พูดคุยถามตอบได้ปกติ หัวใจเต้นสม่ำเสมอแต่เร็ว 120-130 /นาที หลับตา 2 ข้างได้แต่ปิดไม่สนิทเท่าๆ กัน ไม่สามารถยิ้มได้ อ้าปากได้ไม่กว้าง ยักคิ้วไม่ได้ ไม่มีคอแข็ง กล้ามเนื่ออ่อนแรงทั่วๆ ประมาณเกรด 4, การรับรู้ความรู้สึกเจ็บลดลงที่ขา 2 ข้าง, DTR เกรด 0 ทั้งหมด, BBK --
ผลตรวจเลือด CBC, BUN,Cr, Electrolyte, Ca, Mg, PO4, Albumin, LFT ปกติ, CXR และ CT brain with contrast ปกติ, film LS spine: loss lordotic curve
ผลจากการเจาะน้ำหลัง open pressure ปกติ, ใสดี, WBC 3 /cumm,RBC 8/cumm, protein: 241 mg/dl, sugar 75 mg/dl, Gram stain: negative, AFB : negative, india ink: negative, culture รอผล
จากข้อมูลคิดถึงอะไร? และจะให้การรักษาอย่างไรครับ?
ขอขอบคุณสำหรับการตอบเพื่อร่วมเรียนรู้ครับ คำถอบถูกต้องทั้งสองความเห็นนะครับ
ผู้ป่วยมีลักษณะของการอ่อนแรงที่เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ 7 ทั้งสองข้าง (facial diplegia) ผู้ป่วยพบมี muscle weakness (แต่ไม่ได้ตรวจลงในรายละเอียดว่าเป็นการอ่อนแรงแบบ proximal หรือไม่), พบมี areflexia มี sensory involement ไม่มี long tract sign ผลการตรวจน้ำไขสันหลังพบลักษณะที่สำคัญคือการมี albumino-cytologic dissociation ส่วนผลตรวจอืนๆ ตามที่ได้ส่งตรวจไม่อธิบายสาเหตุ ทำให้คิดถึงโรคในกลุ่มของ demyelinating polyneuropathy ที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute inflammatory demyelinating polyneuropathy, AIDP) ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ Guillain–Barre' syndrome (GBS) ร่วมกับการมี facial diplegia ซึงอาจพบการมี facial diplegia ได้ถึง 50% ใน GBS และยังพบว่าผู้ป่วยมี dysautonomia ร่วมด้วยคือการมี tachycardia (ซึง tachycardia เป็น dysautonomia ที่พบได้บอยที่สุด)
ส่วนการรักษาสำหรับ GBS ที่จำเพาะคือการทำ plasma exchange (plasmapheresis) และการให้ intravenous immunoglobulin (IVIg) ซึงทั้ง 2 วิธีมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน โดยสามารถอ่านรายละเอียดได้จากอ้างอิงด้านล่างครับ
Ref: Guillain Barre’ Syndrome and Myositis
นพ.กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์ และรศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า
สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
2,526 Guillain–Barre' syndrome (GBS) with facial diplegia
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Facial Diplegia
ตอบลบGuillain-Barre' Syndrome
ตอบลบ