วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

2,551 การติดตามอิเล็กโตรไลท์ในการใช้ยาขับปัสสาวะ

อาจจะสงสัยว่าในการใช้ยาขับปัสสาวะต้องมีการติดตามอิเล็กโตรไลท์อย่างไร จะติดตามเฉพาะช่วงแรก หรือต้องติดตามตลอดไป และบ่อยมากน้อยแค่ไหน?

ในอ้างอิงที่สืบค้นกล่าวว่าควรมีการติดตามเป็นระยะโดยให้ระดับเกลือแร่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เน้นในช่วงแรกที่เริ่มยา (โดยเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์แรก) หลังการปรับขนาดยาและความเจ็บหรือสภาวะที่มีผลต่อการทำงานของไต และมีอีกอ้างอิงจะเน้นเพิ่มในช่วง ที่มีปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอิเล็กโตรไลท์ได้มากในผู้ที่ใช้ยานี้ เช่น ในภาวะที่มีการสูญเสียน้ำ รับประทานไม่ได้ มีคลื่นใส้อาเจียน เป็นต้น โดยแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการและอาการแสดงที่จะบ่งบอกถึงการมีอิเล็กโตรไลท์ผิดปกติ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา ง่วงผิดปกติ กระสับกระส่าย ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว กล้ามเนื้อล้า ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นใส้ อาเจียน รวมถึงการใช้ยาในขนาดที่สูงจะมีโอกาสเกิดความผิดปกติได้มากกว่าขนาดต่ำ

Ref: http://www.drugs.com/disease-interactions/hydrochlorothiazide-triamterene.html
http://www.rxlist.com/maxide-drug/warnings-precautions.htm
Drug Therapy in Nursing by Diane S. Aschenbrenner,Samantha J. Venable

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น