Original article
N Engl J Med October 24, 2013
ที่มา: ผลทางคลินิกของดูดเอาลิ่มเลือดออกเป็นประจำ (routine intracoronary thrombus aspiration) ก่อนที่จะทำ percutaneous coronary intervention (PCI) ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST-segment elevation ยังไม่แน่นอน ซึ่งการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดูดเอาลิ่มเลือดกับการลดอัตราการเสียชีวิต
วิธีการศึกษา: การศึกษาดำเนินในหลายสถาบัน เป็นการศึกษาแบบ prospective, randomized, controlled, open-label clinical trial โดยการลงทะเบียนของผู้ป่วยครอบคลุมทั่วประเทศของ Swedish Coronary Angiography and Angioplasty Registry (SCAAR)
มีผู้เข้าร่วม 7,244 คน เป็นผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการทำ PCI โดยการสุ่มให้ได้รับการดูดเอาลิ่มเลือดออกแล้วตามด้วยการทำ PCI หรือทำ PCI เพียงอย่างเดียว primary end point คือทุกสาเหตุการเสียชีวิต ณ วันที่ 30
ผลการศึกษา: ไม่มีผู้ป่วยที่ขาดการติดตาม การเสียชีวิตจากทุกๆ สาเหตุ เกิดขึ้น 2.8% ในผู้ป่วยที่ได้รับการดูดเอาลิ่มเลือดออก (103 จาก 3,621) เมื่อเทียบกับ 3.0% ในกลุ่มที่ได้รับการทำ PCI เท่านั้น (110 จาก 3,623) (ค่า hazard ratio, 0.94; ช่วงความเชื่อมั่น 95% [CI], 0.72-1.22, p = 0.63)
อัตราการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เกิดขึ้นในวันที่ 30 คือ 0.5% และ 0.9% ในทั้งสองกลุ่มตามลำดับ (ค่า hazard ratio, 0.61; 95% CI, 0.34-1.07, p = 0.09) และอัตราการเกิดลิ่มเลือดในขดลวดเป็น 0.2% และ 0.5% ตามลำดับ (ค่า hazard ratio, 0.47; 95% CI, 0.20-1.02, p = 0.06)
ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มที่เกี่ยวกับอัตราของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองหรือระบบประสาทในช่วงทีกลับจาก รพ. (P = 0.87)
สรุป: การดูดเอาลิ่มเลือดออกเป็นประจำก่อนที่จะทำ PCI เปรียบเทียบกับการทำ PCI อย่างเดียว ไม่ได้ลดการเสียชีวิต ณ 30 วันในผู้ป่วย STEMI
Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1308789
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
2,553 Thrombus aspiration during ST-segment elevation myocardial infarction
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น