กลยุทธ์ A: เริ่มยาตัวแรกแล้วปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดหลังจากนั้นเริ่มยาตัวที่สอง ถ้า BP ไม่ได้ตามเป้าหมายจากการที่เริ่มให้ยา ให้ปรับขนาดยานั้นขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ และถ้ายังไม่ได้ BP ตามเป้าหมาย ให้เริ่มยาตัวที่สอง (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB) และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ ถ้าได้ยาสองตัวแล้วยังไม่ได้ตามเป้าหมายอีก ให้เลือกยาตัวที่สามจากยาดังกล่าวข้างต้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำเพื่อให้ได้ BP ตามเป้าหมาย
กลยุทธ์ B: เริ่มยาตัวแรกแล้วเริ่มยาตัวที่สองก่อนที่จะถึงขนาดยาสูงสุดของยาตัวแรก แล้วปรับยาให้ได้ขนาดสูงสุดที่แนะนำของยาสองตัว และถ้ายังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้เลือกยาตัวที่สาม (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB) โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำเพื่อให้ได้ BP ตามเป้าหมาย
กลยุทธ์ C: เริ่มยาสองตัวพร้อมกัน (อาจเป็นยาสองชนิดแยกเม็ดกนหรือยาสองชนิดรวมในเม็ดเดียว) ปรับขนาดยา 2 ตัวพร้อมๆ กัน โดยคณะคณะกรรมการบางท่านแนะนำให้เริ่มยาไม่ต่ำกว่า2 ตัวในกรณีที่ SBP มากกว่า 160 มม. ปรอทและ/หรือ DBP มากกว่า 100 มม. ปรอท หรือถ้า SBP มากกว่าเป้าหมายเกินกว่า 20 มม. ปรอท หรือ DBP มากกว่าเป้าหมายเกินกว่า 10 มม. ปรอท และถ้ายังไม่ได้ตามเป้าหมาย ให้เลือกยาตัวที่สาม (โดยอาจเป็น thaizide diuretic, CCB, ACEI, ARB)โดยหลีกเลี่ยงการใช้ ACEI ร่วมกับ ARB และปรับขนาดยาขึ้นจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำ
Ref: http://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557
2,636 สามกลยุทธ์ในการปรับยารักษาความดันโลหิตสูงใน JNC 8 (2014)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น