January 15 2014 Vol. 89 Number 2
American Family Physician
หูอื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว นิยามคือรับรู้ของเสียงโดยที่ไม่มีการกระตุ้นจากเสียงภายนอกร่างกาย เนื่องจากหูอื้อเป็นอาการและไม่ใช่โรค ซึ่งสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้เกิดหูอื้อจะต้องค้นหาเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยให้ดีที่สุด แม้ว่าหูอื้อมักจะหาสาเหตุไม่ได้ (idopathic) แต่พบว่าการสูญเสียการได้ยินจากระบบประสาทเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด และยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคของหู, หลอดเลือด, มะเร็ง, ระบบประสาท, ยา, ด้านทันตกรรม, และปัจจัยทางจิตวิทยา รวมถึงสาเหตุที่รุนแรงมากขึ้น เช่นโรคมีเนียร์หรือเนื้องอกของเส้นประสาทหู (vestibular schwannoma) ซึ่งควรตรวจประเมินเพื่อการตัดออก ประวัติและการตรวจร่างกายบริเวณศรีษะ, ตา, หู, จมูก, ลำคอ และระบบประสาทจะเป็นแนวทางในตรวจประเมินต่อไป
โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่มีหูอื้อควรได้รับการตรวจการได้ยิน (audiometry) ร่วมกับการตรวจการทำงานของหูชั้นกลางด้วย tympanometry และผู้ป่วยบางราย จำเป็นต้องตรวจ neuroimaging หรือการตรวจการทำงานของประสาทหูชั้นใน (vestibular function) ร่วมกับเครื่องตรวจบันทึกภาวะนัยน์ตากระตุก (electronystagmography)
การสนับสนุนเพื่อให้คำปรึกษาควรเริ่มต้นในระหว่างการประเมินตั้งแต่ช่วงแรกเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยในการรับมือกับหูอื้อ การให้คำปรึกษาอาจจะเพิ่มโอกาสของการรักษาที่ประสบความสำเร็จต่อไปด้วย
Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/0115/p106.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557
2,651 Diagnostic approach to patients with tinnitus
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น