Summary of Revisions to the 2014 Clinical Practice Recommendations
Diabetes Care Volume 37, Supplement 1, January 2014
-เป็นที่ชัดเจนว่าการตรวจ HbA1C เป็นหนึ่งในสามวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยเบาหวาน
-คัดกรองเบาหวานชนิดที่ 1 ได้รับการปรับปรุงเพื่อคำแนะนำที่จำเพาะมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองสำหรับญาติของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งทำในศูนย์การวิจัยทางคลินิก
-การตรวจหาและวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของ National Institutes of Health (NIH) และกำหนดให้ใช้ 2 วิธีสำหรับการการตรวจคัดกรองและการวินิจฉัย (เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานเดิมที่แนะนำโดย International Association of the Diabetes และ Pregnancy Study Groups [IADPSG])
-การติดตามระดับน้ำตาลในเลือดได้รับการปรับเพื่อเพิ่มการติดตามอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นพ้องล่าสุดของการใช้เซ็นเซอร์และปั้มเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในกรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆ ตอนกลางคืนบ่อย / หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบบไม่รู้ตัว
-การใช้ยารักษาเบาหวานในเบาหวานชนิดที่ 2 เปลี่ยนจาก 3-6 เดือนเป็น 3 เดือน สำหรับการรักษาด้วยยาเดี่ยวที่ไม่ใช่อินซูลิน
-การใช้โภชนบำบัดได้รับการปรับปรุงเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการปรับปรุงโภชนาการทางการแพทย์สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวาน
-ยาต้านเกล็ดเลือดได้รับการปรับเพื่อคำแนะนำที่มากกว่าการรักษาทั่วๆ ไป (เช่น การให้ยาต้านเกล็ดเลือด 2 ตัว เปรียบเทียบกับการรักษาด้วยแอสไพรินร่วมกับโคพิโดเกรล)
-ความผิดปกติต่อไตได้รับการปรับเพื่อตัดคำว่า "microalbuminuria"และ "macroalbuminuria" ออก โดยถูกแทนที่ด้วยการมีไข่ขาวในปัสสาวะ 30-299 mg/24 ชั่วโมง (ซึ่งก่อนหน้านี้คือ microalbuminuria) และโปรตีนไข่ขาวตั้งแต่ 300 mg/24 ชั่วโมงขึ้นไป (ซึ่งก่อนหน้านี้คือ macroalbuminuria)
-ความผิดปกติของจอประสาทตาได้รับการปรับโดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก 2 ปี โดยเปรียบเทียบกับทุก 2-3 ปี ในกรณีที่ไม่มีความผิดปกติของจอประสาทตา
-ความผิดปกติระบบประสาทได้รับการปรับปรุงเพื่อทางเลือกที่มากกว่าในการรักษาความเจ็บปวดจากระบบประสาท
-การดูแลรักษาโรคเบาหวานในประชากรเฉพาะได้รับการปรับปรุงเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานปัจจุบันของการตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์และ celiac disease นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลของอุบัติการและความชุกจาก SEARCH database เข้ามาร่วมด้วย
-การดูแลรักษาโรคเบาหวานในโรงพยาบาลได้รับการปรับปรุงโดยไม่เห็นด้วยที่จะใช้แค่ sliding scale ของอินซูลินอย่างเดียวในการรักษา
ซึ่งการอ่านเฉพาะหัวข้อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาจจะเข้าใจได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจจะอ่านเนื้อหาเต็มหรืออย่างน้อยก็อ่านแบบสรุปก่อน
อ่านเนื้อหาเต็ม http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S14.full.pdf
แบบสรุป http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S5.full.pdf
ส่วนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงโดยสรุปอยู่ตามลิ้งค์นี้ http://care.diabetesjournals.org/content/37/Supplement_1/S4.full.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557
2,626 สรุปการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคำแนะนำในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน 2014 SEARCH database.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น