หัตถการทางทันตกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับเนื่้อเยื่อของเหงือกในช่องปากหรือบริเวณปลายรากฟันหรือทำให้เกิดการฉีกขาดของเยื่อบุในช่องปากอาจพิจาณาให้ยาปฎิชีวนะป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อในกรณีผู้ป่วยต่อไปนี้ ได้แก่
1. มีลิ้นหัวใจทียมหรือมีความเสียหายของลิ้นหัวใจร่วมกับมีการใส่วัสดุเทียม
2. เคยมีประวัติเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อมาก่อน
3. เคยผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจร่วมกับมีความผิดปกติของการทำงานของลิ้นหัวใจ
4. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease) ดังต่อไปนี้
-ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียวที่ไม่ได้รับการแก้ไขโดยสมบูรณ์ รวมถึงผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการทำ surgical shunt และ conduits
-ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับการแก้ไขโดยสมบูรณ์ร่วมกับการใส่วัสดุหรืออุปกรณ์เทียมในช่วง 6 เดือนแรกหลังการผ่าตัดหรือทำหัตถการ
-ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ได้รับซ่อมรูรั่วแล้วแต่ยังเหลือความผิดปกติอยู่ เช่นยังมีการรั่วหรือความผิดปกติของการใหลของกระแสเลือดในบริเวณหรือใกล้เคียงที่ใส่อุปกรณ์เทียมซ่อมรูรั่ว (เนื่องจากอุปกรณ์ขัดขวางการเกิด endothelialization)
หมายเหตุ: การใช้ยาปฎิชีวนะป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อมีความจำเป็น เนื่องจาก endothelialization คลุมวัสดุเทียมจะเกิดภายในช่วง 6 เดือนแรกหลังผ่าตัดหรือหัตถการหัวใจ
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดที่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฎิชีวนะป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ ได้แก่
-การฉีดยาชาเข้าสู่บริเวณที่ไม่มีการติดเชื้อ
-การถ่ายภาพรังสีในช่องปาก
-การใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้หรือเครื่องมือจัดฟัน
-การปรับแต่งเครื่องมือจัดฟัน
-ฟันน้ำนมหลุดเองตามธรรมชาติ
-การมีเลือดออกจากการบาดเจ็บบริเวณริมฝีปากหรือเยื่อบุในช่องปาก
Ref: http://www.thaidentalmag.com/dent-technical-detail.php?type=1&id=304
http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/CongenitalHeartDefects/TheImpactofCongenitalHeartDefects/Infective-Endocarditis_UCM_307
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
2,660 การให้ยาปฎิชีวนะป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อในทางทันตกรรม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น