วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,028 Latent tuberculosis infection ในผู้ป่วย Human immunodeficiency virus

Tatent tuberculosis infection ในผู้ป่วย Human immunodeficiency virus มีความหมายอย่างไร มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร มีข้อบ่งชี้ในการรักษาอย่างไร ยาที่ใช้รักษาคือ?

ในประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อวัณโรคตั้งแต่เด็ก และมักจะไม่มีอาการหลังจากนั้นเชื้อก็จะแฝงตัวอยู่ในต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอดไปตลอดชีวิตเรียกว่า “วัณโรคแฝง” (latent TB infection) โอกาสที่คนทั่วไปซึ่งไม่ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในตัวจะเกิดวัณโรคที่มีอาการขึ้นมามีเพียงร้อยละ 10 ในชั่วชีวิต แต่ถ้าคนนั้นติดเชื้อเอชไอวี โอกาสที่วัณโรคแฝงจะกลายเป็นวัณโรคที่มีอาการขึ้นมาเกิดขึ้นได้ร้อยละ 10 ต่อปี และถ้าเป็นวัณโรคขึ้นมาแล้ว ก็จะทำให้การดูแลรักษา รวมทั้งการให้ยาต้านไวรัสยุ่งยากยิ่งขึ้นดังนั้น WHO และอีกหลายประเทศทั่วโลกจึงแนะนำให้ตรวจคัดกรองผู้ติด ถ้ามีก็ให้การรักษาวัณโรคแฝงนั้นด้วย INH เป็นเวลา 6-9 เดือน เพื่อกำจัดเชื้อ เชื้อวัณโรคแี่ฝงตัวอยู่จะได้ลดโอกาสเป็นวัณโรคที่มีอาการในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ติดเชื้อเองและสังคมรอบข้าง
เชื้อเอชไอวีทุกรายว่ามีวัณโรคแฝงหรือไม่อาศัยปฏิกิริยาtuberculin โดยวิธี Tuberculin Skin Test (TST) ถ้าเกิดปฏิกิริยาต่อ tuberculin ตั้งแต่ 5 mm ขึ้นไป ถือว่า TST ให้ผลบวก ในกรณีที่ TST เป็นบวก ให้พิจารณาว่าผู้ป่วยมีอาการของวัณโรคหรือมีภาพถ่ายรังสีปอดที่สงสัยวัณโรคหรือไม่ถ้าไม่มีก็เข้าข่ายว่าเป็นวัณโรคแฝง ไม่ใช่วัณโรคที่มีอาการ ปริมาณเชื้อวัณโรคในร่างกายมีน้อย การให้ INH อย่างเดียวเพียง 6-9 เดือน ก็สามารถกำจัดวัณโรคที่แฝงอยู่ในร่างกายได้ เรียกการรักษานี้ว่า “Isoniazid Preventive Therapy” (IPT) หรืออาจจะเรียกว่า TLTI ก็ได้
ข้อบ่งชี้
• พิจารณาให้ INH ในผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ หรือวัณโรคกล่องเสียงที่มีอาการโดยต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยคนนั้นไม่มีอาการหรืออาการแสดงของวัณโรค และมีภาพรังสีปอดปกติ โดยไม่จำเป็นต้องทำ TST
• ในกรณีที่ผู้ป่วยมีผล TST เป็นบวกอยู่แล้ว (induration มากกว่าหรือเท่ากับ 5 mm)สามารถพิจารณาให้ INH ได้ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการแสดงของวัณโรค และมีภาพรังสีปอดปกติ
• พิจารณาให้ INH ในผ้ปู่วยเด็กทุกรายที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคปอดระยะติด ต่อโดยไม่จำเป็นต้องทำ TST แต่ต้องมั่นใจว่าเด็กคนนั้นไม่มีอาการหรืออาการแสดงของวัณโรค และมีภาพรังสีปอดปกติ
ยาที่ใช้ในการป้องกันและระยะเวลา
• ในผู้ใหญ่ ให้ INH 300 mg รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา9 เดือน
• ในเด็ก ให้ INH 10–15 mg/kg (ไม่เกิน 300 mg) รับประทานวันละครั้ง เป็นเวลา 9 เดือน
• ในเด็กที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะติดต่อที่มีโอกาสเป็นเชื้อวัณโรคที่ดื้อต่อ INH สูง ให้ใช้ rifampicin 10–20 mg/kg
(ไม่เกิน 600 mg) รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 4–6 เดือน

Ref http://gfaidscare.com/doc/HIV%20Guideline%202010.rar

2 ความคิดเห็น:

  1. ทำ PPD > 5 mm.+ no evidence active TB
    treatment INH 300 mg /day 6-9 month

    ตอบลบ
  2. ผมอ่านดูความเห็นของ คุณ Jack แล้วมันไม่เข้ากับคำตอบ แต่เป็นเว็บไซต์และเรื่องยา Osteoporosis งั้นผมขออนุญาตลบนะครับ

    ตอบลบ