แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและอายุรแพทย์สาขาอื่นๆ สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะต้น (ระยะที่ 1-3) ได้ และควรทำการส่งปรึกษาหรือส่งต่ออายุรแพทย์โรคไต ในกรณีต่อไปนี้
1. โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (อัตราการกรองของไต (eGFR) ต่ำกว่า 60 มล/นาที/1.73 ตารางเมตร) ที่มีปัญหาข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
-eGFR ลดลงมากกว่า 7 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร/เดือน
-มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ด้วยยาลดความดันโลหิตขนาดสูงสุด 3 ชนิด
-มีโปรตีนรั่วในป้สสาวะมากกว่า 1,000 มก./วัน หรือ spot urine protein/creatinine ratio มากกว่า 1,000 มก./กรัม cr หรือตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะด้วยแถบสี (dipstick) มีค่า proteinuria 4+ หลังได้รับการควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายแล้วมากกว่า 3 เดือน
2. CKD ระยะที่ 4 เป็นต้นไป (eGFR น้อยกว่า 30 มล/นาที/1.73 ตารางเมตร)
อ้างอิง:
คู่มือ การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น
โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
1,993 ข้อควรทราบเรื่องการส่งปรึกษาหรือการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น