Preoperative hyponatremia and perioperative complications
Arch Intern Med September 10, 2012
ที่มา ถึงแม้ว่าภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเชื่อมโยงกับการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในความหลากหลายสภาวะทางการแพทย์ แต่ความสัมพันธ์กับผลลัพท์ของการผ่าตัดยังคงไม่ชัดเจน เพื่อตรวจสอบว่าภาวะโซเดียมในเลือดต่ำก่อนการผ่าตัด เป็นตัวบ่งชี้ของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในช่วง 30 วันของการผ่าตัด
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ cohort study โดยใช้ข้อมูลจาก American College of Surgeons National Surgical Quality Improvement Program เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่จำนวน 964,263 ที่เข้ารับการผ่าตัดใหญ่จากกว่า 200 โรงพยาบาล (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2005 ถึง 31 ธันวาคม 2010) โดยสังเกตผลลัพท์ในช่วง 30 วันของการผ่าตัด ใช้ multivariable logistic regression เพื่อประเมิน relative risks ของการเสียชีวต, เหตุการณ์สำคัญของหลอดเลือดหัวใจ, การติดเชื้อของแผล, และโรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นภายใน 30 วันของการผ่าตัดและใช้ quantile regression เพื่อประเมินความแตกต่างระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาล
ผลการศึกษา มีผู้ป่วยรวม 75,423 คนที่มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำก่อนการผ่าตัด (ระดับโซเดียมน้อยกว่า135 mEq / L [แปลงเป็น millimoles per liter โดยคูณด้วย 1.0]) เปรียบเทียบกับผู้ป่วย 888,840 คนที่มีระดับโซเดียมปกติ (135-144 mEq / L) พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของอัตราเสียชีวิตที่ 30 วัน (5.2% เทียบกับ1.3%; odds ratio [aOR], 1.44; 95% CI, 1.38-1.50) และสิ่งที่พบนี้สอดคล้องกับในกลุ่มย่อยทั้งหมด ซึ่งความสัมพันธ์นี้พบได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดแบบไม่ฉุกเฉิน (aOR, 1.59, 95% CI, 1.50-1.69, P น้อยกว่า 0.001 for interaction) และการประเมินสภาพของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดของ (American Society of Anesthesiologists) class 1 และ 2 (aOR, 1.93, 95% CI, 1.57 -2.36, P น้อยกว่า 0.001 for interaction ) นอกจากนี้ ภาวะนี้ยังสัมพันธ์กับกับความเสี่ยงที่มากขึ้นของเหตุการณ์สำคัญของหลอดเลือดหัวใจในช่วงผ่าตัด (1.8% vs 0.7%; aOR, 1.21, 95% CI, 1.14-1.29), การติดเชื้อที่แผล (7.4% vs 4.6%; 1.24; 1.20-1.28) และโรคปอดอักเสบ (3.7% vs 1.5%; 1.17; 1.12-1.22) และระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้นประมาณ 1 วัน
สรุป ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำก่อนการผ่าตัด เป็นสิ่งบ่งชี้ของการพยากรณ์ของการเจ็บป่วยและการเสียชีวตในช่วง 30 วันของการผ่าตัด
Ref: http://archinte.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1357514
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น